สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าของกัมพูชา ปี 2552 (มกราคม-มิถุนายน)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 19, 2009 14:11 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2552 จากการคาดการณ์ของหลายสถาบันมีความแตกต่างกัน เช่น IMF คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตจะติดลบ ร้อยละ 0.5 (-0.5%) เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ผลคือการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2009 ลดลงร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2008 โดยยอดส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่ง มีมูลค่าปีละ 1,967 ล้านดอลลาร์ฯ(ร้อยละ 66.5 ของยอดส่งออกรวม) ลดลงร้อยละ 30 ทำให้รัฐบาลต้องยอมออกมา ประกาศปรับตัวเลขประมาณการอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ จากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 2

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัว เช่นเดียวกับภาคเกษตรกรรม และภาคบริการจากการท่องเที่ยวที่ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเสียมเรียบในระยะ 6 เดือน แรกของปีนี้มีจำนวน 503,000 คน ลดลงจาก 578,700 คน ของระยะเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 13 โดยนักท่องเที่ยวที่ลดลง มากคือเกาหลี แต่นักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากถึงร้อยละ 30 คือนักท่องเที่ยวเวียดนามที่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้สะดวกและ มีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง กล่าวคือสามารถเดินทางโดยตรงทางรถยนต์และสายการบินแห่งชาติกัมพูชาในนาม Cambodia Angkor Air (การร่วมทุนระหว่างนักลงทุนเวียดนามและรัฐบาลกัมพูชา) รวมถึงการยกเว้นทำวีซ่าระหว่างเวียดนามและกัมพูชา นอกจากนี้ได้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาทางเรือสำราญ จากสถิติในปี 2008 ซึ่งมี่จำนวน 25 ลำ นักท่องเที่ยว 14,159 คน เป็นจำนวน 15 ลำในระยะ 6 เดือนแรก หรือเพิ่มร้อยละ 46 ทำให้รัฐบาลเล็งที่จะขยายท่าเรือที่จังหวัดเกบ เพื่อรองรับนัก ท่องเที่ยวดังกล่าว อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงนั้นเป็นปัญหาที่กระทบจากปัจจัยวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปัจจัยด้าน การเมืองของประเทศไทยซึ่งเป็นประตูด้านการบินจากยุโรป มายังกัมพูชา ปัญหาข้อพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหารระหว่างไทย และกัมพูชา รวมถึงผลกระทบจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ CAMKO CITY มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งแจ้งว่าได้ขายโครงการส่วนแรกจำนวน 700 หน่วยไปแล้วร้อยละ 80 ในราคาหน่วยละ 140,000 -300,000 ดอลลาร์ฯ ได้ประกาศหยุดการก่อสร้างไว้ระยะหนึ่งจนกว่าสถานการณ์ด้านการเงินของบริษัทจะเป็นปกติ ขณะที่ โครงการที่ยังไม่ได้เริ่มต้นก่อสร้าง ก็ไม่มีวี่แววของการก่อสร้าง แม้ว่ารัฐบาลจะออกประกาศผ่าน พรบ.ให้ต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ บนพื้นที่เหนือจากพื้นดิน 1 ชั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม

การก่อสร้างโรงแรมในจังหวัดเสียมเรียบ จำนวน 7 โรงแรม คงดำเนินการต่อไปซึ่งส่วนใหญ่เป็นของนักลงทุน กัมพูชา ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จจะทำให้จำนวนห้องพักในเสียมเรียบเพิ่มอีก 2,700 ห้องจากจำนวนโรงแรมที่มีอยู่ 116 โรงแรม จำนวนห้องพัก 8,000 กว่าห้อง

การลงทุนของต่างชาติชะลอตัว ส่งผลถึงการเลิกจ้างงานสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา ราคาต่ำกว่าปีก่อนๆ ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงและประสบปัญหาภัยธรรมชาติทั้งความแห้งแล้งและน้ำท่วมกำลังซื้อของประชาชน โดยรวมลดลง

2. สถานการณ์ด้านการค้า

การนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกลดลงร้อยละ 23 สินค้าที่นำเข้าลดลงได้แก่ผ้าผืน(ร้อยละ 80 นำเข้าจากจีน) วัสดุก่อสร้าง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อาหาร และ เครื่องดื่ม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการบริโภคของประชาชนที่มีสัญญาณการหดตัว

การค้าระหว่างไทย-กัมพูชา (ม.ค-มิ.ย 52)

การค้าระหว่างไทย-กัมพูชามีมูลค่ารวม 776.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 31.28 จากระยะเดียวกันของ ปี 2551 ซึ่งมีมูลค่ารวม 1,129.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการส่งออกจากไทยไปกัมพูชา มูลค่า 752.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยนำเข้าจากกัมพูชา มูลค่า 23.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 30.91 และร้อยละ 41.40 ตามลำดับ เมื่อเทียบ กับระยะเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 1,089.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 40.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยได้ เปรียบดุลการค้า 729.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ตารางแสดงการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา

 รายการ                           มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ                        อัตราการขยายตัว %
                  2549         2550     2551      2551        2552       2549    2550     2551    2552
                                                (ม.ค-มิ.ย)  (ม.ค-มิ.ย)                            (ม.ค-มิ.ย)
มูลค่าการค้า       1,270.20   1,404.20  2,130.30  1,129.40      776.10     33.48   10.55    51.71   -31.28
การส่งออก        1,235.50   1,355.40  2,040.10  1,089.30      752.60     34.26    9.70    50.52   -30.91
การนำเข้า           34.70      48.80     90.20     40.10       23.50     10.51   40.63    84.84   -41.40
ดุลการค้า         1,200.80   1,306.60  1,949.90  1,049.20      729.10     35.10    8.81    49.23   -30.51
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร

สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญ ได้แก่

  • น้ำมันสำเร็จรูป มูลค่าส่งออก 71.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 68.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปี 2551 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 224.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการใช้น้ำมันทั้งใน ภาคอุตสาหกรรมและการใช้เพื่อ
ยานพาหนะลดน้อยลง ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก
ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับราคาเมื่อช่วงปี 2551
  • เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก 42.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 45.54 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 77.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ปูนซีเมนต์ มูลค่าส่งออก 44.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551
ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 45.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการลดลงทั้งราคาและปริมาณเพราะมีการผลิตปูนซิเมนต์ในประเทศ โดย
บริษัทกัมปอตซีเมนต์(ในเครือของปูนซิเมนต์ไทย ที่ถือหุ้นร้อยละ 90 และนักลงทุนกัมพูชา Khaou Chuly Group ถือหุ้นที่เหลือ
เริ่มผลิตเมื่อมกราคม 2008 ด้วยเงินลงทุน 127 ล้านดอลลาร์ฯ)
  • เครื่องดื่ม มูลค่าส่งออก 39.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปี 2551 ซึ่งมีมูลค่า 56.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะการบริโภคลดลงตามกำลังซื้อที่มุ่งเน้นไปที่สินค้าที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพ
  • เคมีภัณฑ์ มูลค่าส่งออก 38.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2551 ซึ่งมีมูลค่า 41.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และการก่อสร้าง
ที่กำลังอยู่ในภาวะซบเซา

สินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และสินค้าปศุสัตว์ โดยเฉพาะอาหารสัตว์เลี้ยง

สินค้าส่งออกของไทยไปกัมพูชา

รายการ                                                  มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ                         อัตราการขยายตัว
                                           2549     2550      2551     2551       2552       2549     2550    2551     2552
                                                                     (ม.ค-มิ.ย)  (ม.ค-มิ.ย)                            (ม.ค-มิ.ย)
น้ำมันสำเร็จรูป                               144.7     215.2    404.9     224.5       71.7     11.82    48.72    88.15   -68.06
น้ำตาลทราย                                  88.4      61.0    100.0      54.3       66.3     37.69   -31.00    63.93    22.10
ปูนซีเมนต์                                    72.0      86.2     90.7      45.2       44.9     24.78    19.72     5.22    -0.66
เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์                     42.5      42.8    123.1      77.3       42.1     33.65     0.71   187.61   -45.54
เครื่องดื่ม                                    69.2      74.1     93.1      56.3       39.9     31.81     7.08    25.64   -29.13
เคมีภัณฑ์                                     51.1      54.5     78.5      41.6       38.6     17.20     6.65    44.04    -7.21
ผลิตภัณฑ์ยาง                                  32.0      42.1     56.6      29.2       29.7     19.85    31.56    34.44     1.71
เครื่องสำอาง สบู่ และผลิต ภัณฑ์รักษาผิว             31.9      37.0     44.6      23.7       25.5     12.20    15.99    20.54     7.59
สินค้าปศุสัตว์                                   1.2       0.2     33.7       7.2       21.6    -47.87   -83.33   16,750   200.00
ผ้าผืน                                       55.8      37.2     47.3      26.3       20.6     50.17   -33.33    27.15   -21.67
อื่นๆ                                       646.7     705.1    967.6     503.7      351.7         -     9.03    37.23   -30.18
รวมทั้งสิ้น                                 1,235.5   1,355.4  2,040.1   1,089.3      752.6     34.26     9.70    50.52   -30.91
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร

ไทยนำเข้าจากกัมพูชา มูลค่า 23.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 41.40 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ ปี 2551 ซึ่งมีมูลค่า 40.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ผัก/ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก/ผลไม้ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่โลหะ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์เหล็ก เสื้อผ้าสำเร็จรูป เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ หล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ และกาแฟ ชา และเครื่องเทศ

สินค้านำเข้าของไทยจากกัมพูชา

รายการ                                     มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ                       อัตราการขยายตัว %
                                    2549   2550    2551    2551     2552      2549      2550     2551    2552
                                                        (ม.ค-มิ.ย) (ม.ค-มิ.ย)                            (ม.ค-มิ.ย)
ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งจากผัก ผลไม้       0.1     1.0     3.6     3.1      10.3    76.18    900.00   260.00   232.26
พืชและผลิตภัณฑ์                         7.6    15.1    39.3     4.9       4.5   -15.56     98.68   160.26    -8.16
สินแร่โลหะ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์          5.0     5.5    16.9    11.1       1.9   725.95     10.00   207.27   -82.88
เสื้อผ้าสำเร็จรูป                        0.9     1.6     1.9     1.5       1.2   200.00     77.78    18.75   -20.00
เยื่อและเศษกระดาษ                     1.6     2.5     4.0     2.6       1.0   166.67     56.25    60.00   -61.54
เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์              7.2     9.6    15.2    11.0       0.8    67.63     33.33    58.33   -92.73
ไม้และผลิตภัณฑ์                         0.7     0.6     0.5     0.3       0.8   -80.83    -14.29   -16.67   166.67
เนื้อสัตว์                              1.7     1.6     1.1     0.7       0.5    21.43     -6.25   -31.25   -28.57
แร่ และผลิตภัณฑ์                          -       -     0.4       -       0.4        -         -        -        -
กาแฟ ชา เครื่องเทศ                    0.1     0.4     0.8     0.6       0.4   -28.91    300.00   100.00   -33.33
อื่นๆ                                 9.8    10.9     6.5     4.3       1.7        -     11.22   -40.37   -60.47
รวมทั้งสิ้น                            34.7    48.8    90.2    40.1      23.5    10.37     40.63    84.84   -41.40
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร

สคต.พนมเปญ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ