สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - จีน ปี 2552 (ม.ค.—มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 19, 2009 17:07 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง        :  Beijing
พื้นที่             :  9,561,000  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ      :  Putonghua, or Standard Chinese
ประชากร         :  1.31 พันล้านคน (end-2006)
อัตราแลกเปลี่ยน    :  CNY :  Baht 4.9465 (17/08/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                                   9.0         6.0
Consumer price inflation (av; %)                      5.9        -0.2
Budget balance (% of GDP)                            -0.1        -3.6
Current-account balance (% of GDP)                   10.2         6.1
Commercial banks' prime rate (year-end; %)            5.6         5.4
Exchange rate ฅ:US$ (av)                             6.95        6.84

โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยกับจีน
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   6,863.19          100.0         -18.25
สินค้าเกษตรกรรม                     1,046.21          15.24         -21.14
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               123.54           1.80           3.61
สินค้าอุตสาหกรรม                     5,114.95          74.53         -11.93
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    578.49           8.43         -49.35
สินค้าอื่นๆ                                0.0            0.0        -100.02

โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยกับจีน
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               7,218.17          100.00         -28.03
สินค้าเชื้อเพลิง                                68.03            0.94         -45.67
สินค้าทุน                                  3,182.25           44.09         -18.05
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   2,251.85           31.20         -43.03
สินค้าบริโภค                               1,567.04           21.71         -18.39
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  101.75            1.41         -30.59
สินค้าอื่นๆ                                    47.24            0.65       4,437.16
ข้อสังเกต  : (สำหรับสินค้าอื่น ๆ  ในปี 2552 (มค.- มิย.) มีมูลค่าการนำเข้า 47.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการนำเข้าเพียง 1.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 4,437.16)

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - จีน
                           2551            2552          %

(ม.ค.— มิ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            18,424.55       14,081.35      -23.57
การส่งออก                 8,395.58        6,863.19      -18.25
การนำเข้า                10,028.97        7,218.17      -28.03
ดุลการค้า                 -1,633.39         -354.98      -78.27

2. การนำเข้า
จีนเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 2 ของไทย มูลค่า 7,218.17  ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ  28.03
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                        7,218.10          100.00        -28.03
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ                1,185.80           16.43        -14.98
2.เครื่องจักรไฟฟ้าฯ                          981.13           13.59        -16.96
3.เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                       709.43            9.83        -26.86
4.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                 637.43            8.83        -17.74
5.เคมีภัณฑ์                                 503.02            6.97        -29.75
              อื่น ๆ                       856.06           11.86        -23.03

3. การส่งออก
จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 3 ของไทยมูลค่า 6,863.19 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 18.25 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %        % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม              6,863.19          100.00          -18.25
1.เครื่องคอมพิวเตอร์             1,869.06           27.23          -23.16
2.ยางพารา                      610.02            8.89          -33.30
3.เคมีภัณฑ์                       572.90            8.35           38.58
4.เม็ดพลาสติก                    508.42            7.41          -17.21
5.แผงวงจรไฟฟ้า                  328.99            4.79          -15.28
          อื่น ๆ                 819.98           11.95          -20.50

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีน ปี 2552 (มค.- มิย.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- มิ.ย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 0.79 59.89 และ 21.91 ตามลำดับ ในขณะที่ ปี 2552 (มค.-มิ.ย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 23.16 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ยางพารา : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- มิย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 66.11 17.51 และ 21.74 ตามลำดับ ในขณะที่ ปี 2552 (มค.- มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 33.30 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- มิย.) พบว่า ปี 2551 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 36.83 ในขณะที่ปี 2549 25550 และ 2552 (มค.-มิ.ย.) มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้น 126.08 9.49 และ 38.58 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

เม็ดพลาสติก : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- มิย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 18.95 9.33 และ 8.08 ตามลำดับ ในขณะที่ ปี 2552 (มค.- มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 17.21 เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย รองจากญี่ปุ่นและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- มิย.) พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.-มิย.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 10.26 และ 15.28ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.64 และ 33.11 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีนปี 2552 (ม.ค. - มิย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูง มีรวม 11 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                      2551       2552       อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                                       มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ           %
3.เคมีภัณฑ์                              413.41     572.90         38.58
7.ผลิตภัณฑ์ยาง                           224.71     300.79         33.86
8.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                     175.68     237.63         35.26
10.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                      143.25     160.50         12.04
11.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ        129.78     147.11         13.36
14.ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง             68.86      73.09          6.14
15.เครื่องโทรศัพท์/ตอบรับ                   21.58      67.33        211.94
18.เครื่องตัดต่อและป้องกัน                   50.42      58.45         15.93
19.ทองแดงและของทำด้วยทองแดง             51.31      53.20          3.70
23.น้ำตาลทราย                           12.85      43.87        241.47
25.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ             31.37      32.70          4.23

เครื่องโทรศัพท์/ตอบรับ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2552(มค.- มิย.) พบว่า ปี 2550 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 11.06 ในขณะที่ปี 2549 2551 และ 2552 (มค.- มิย.) มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้น 10.16 125.34 และ 211.94 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

น้ำตาลทราย : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย รองจากญี่ปุ่น และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2552 (มค.- มิย.) พบว่า ปี 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 27.85 และ 37.57ในขณะที่ปี 2549 และ2552 (มค.- มิย.) อัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 120.14 และ 241.47 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีนปี 2552 (ม.ค. - มิย.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 14 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                                 มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                             ล้านเหรียญสหรัฐ           %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                          1,869.06         -23.16
2.ยางพารา                                         610.02         -33.30
4.เม็ดพลาสติก                                       508.42         -17.21
5.แผงวงจรไฟฟ้า                                     328.99         -15.28
6.น้ำมันสำเร็จรูป                                     325.59         -45.92
9.น้ำมันดิบ                                          162.12         -66.02
12.วงจรพิมพ์                                         91.99          -2.75
13.มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า                         85.65          -1.81
16.ข้าว                                             66.62         -24.83
17.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                           63.51         -26.19
20.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                    49.61         -19.27
21.เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น               48.08          -4.39
22.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                          46.54         -26.57
24.เครื่องทำสำเนา                                    39.46         -50.48

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน และคณะได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 -16 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งและในระหว่างนั้น ท่านได้เข้าร่วม การประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอาเซียน การประชุมที่เกี่ยวข้องการเยือนไทยครั้งนี้ นายเฉิน เต๋อหมิงได้ร่วมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการลงทุนในเขตการค้าเสรีจีน - อาเซียน กับรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งการลงนามในสัญญาฉบับนี้ จะเกิดผลประโยชน์ต่อการผลักดันการลงทุน ซึ่งระหว่างจีน - อาเซียนเป็นอย่างมาก และแสดงให้เห็นว่า การเจรจาของการก่อตั้งเขตการค้าเสรีจีน - อาเซียนได้จบสิ้นด้วยดี พร้อมทั้งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เขตการค้าเสรีจีน - อาเซียนจะก่อตั้งแล้วเสร็จภายในปีค.ศ. 2010 ซึ่งเป็นการพลิกเข้าสู่โฉมใหม่ของความร่วมมือทางการค้าไทย - จีน อีกทั้งเศรษฐกิจไทย - จีนต่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน มีศักยภาพในการให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะในด้านการแปรรูปสินค้าการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ไทยมีทรัพยากรทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ผลไม้ไทยมีคุณภาพทั้งดีและราคาถูก ซึ่งสามารถตอบเสนอความต้องการของตลาดจีนที่มีขนาดใหญ่ได้

สำหรับด้านอุตสาหกรรม ความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีของจีนและความได้เปรียบด้านวัตถุดิบและตลาดของไทยสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกัน นอกจากนี้ จีนและไทยต่างเป็นประเทศที่มีความสำคัญด้านการท่องเที่ยว กล่าวคือ ทั้งสองประเทศนอกจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศในจำนวนมาก ยังมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และทัศนียภาพที่สวยงาม จึงกล่าวได้ว่า จีนและไทยมีศักยภาพการพัฒนาความร่วมมือในด้านการท่องเที่ยว

บริษัทข้ามชาติเตรียมย้ายฐานการผลิตมาอยู่ในไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะบริษัทจากจีนที่ต้องการใช้ความเชื่อมั่นของไทยในการผลิตสินค้าส่งออกทั่วโลก ขณะเดียวกันสถาบันได้นำภาคเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหารไปเปิดศูนย์กระจายสินค้าที่เมืองหลินเซียะ เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้าช่วยให้ไทยส่งออกไปจีนมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารฮาลาล เพราะมีประชากรที่เป็นมุสลิมถึง 2 ล้านคน ทั้งนี้ จีนกับไทยจะลงทุนอาหารฮาลาลด้วยกัน โดยไทยจะใช้ผลิตในจังหวัดปัตตานี และจีนจะผลิตในเมืองหลินเซียะ เพื่อส่งออกทั่วโลก ปัจจุบันไทยส่งออกอาหารและนำเข้าอาหารจากจีนปีละ 50,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผัก ผลไม้ อาหารทะเล หากจีนเข้ามาลงทุนอาหารไทยเพื่อส่งออกไปจีนรวมถึงการส่งเสริมอาหารฮาลาลร่วมกันภายใน 3 ปีข้างหน้าจะสามารถเพิ่มมูลค่าค้าขายอาหารร่วมกันถึง 100,000 ล้านบาท

สถาบันธุรกิจไทย-จีนภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมนำผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เจรจาการค้า จับคู่ธุรกิจ กว่า 100 รายพร้อมศึกษาตลาดเมืองเสิ่นเจิ้น กวางโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 19-22 ส.ค. 2552 หวังสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยไปยังตลาดจีน

ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ได้วางกลยุทธ์การตลาดหันมาเจาะตลาดจีนมากขึ้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของแผนการลงทุนระหว่างไทย-จีน เนื่องจากนักลงทุนจากจีนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในหลายนิคมของไทย โดยขณะนี้มีนักลงทุนแสดงความสนใจเข้ามาลงทุนในนิคมต่างๆและได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นไปแล้วประมาณ 2,500 ไร่ มูลค่าเงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าภายในปี 2553 ไทยจะสามารถขายพื้นที่ในนิคม ให้กับนักลงทุนจีนไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่ สำหรับบริษัทที่ได้ลงนามแล้ว ประกอบด้วย

1.) บริษัท ซันไชน์ ไบโอเทค อินเตอร์เนชั่นแนล ต้องการพื้นที่ 80 ไร่ ผลิตไบโอเคมีภัณฑ์เพื่อการส่งออก 100%มูลค่าการลงทุนรวม 3,500 ล้านบาท

2.) นิคมฯ อมตะนคร จ.ชลบุรี และนิคมฯอมตะซิตี้ จ.ระยอง มีนักลงทุนจีน 10 รายให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่รวมประมาณ 200 ไร่

3.) การร่วมทุนในธุรกิจบริการระหว่างนิคม ไทยไดมอนด์ ซิตี้ กับนักลงทุนจีน 2 ราย คือ บริษัท Beijing Qilin Real Estate Development บนพื้นที่ 1,000 ไร่ มูลค่าการลงทุน 3,750 ล้านบาท และบริษัทWuxi Modern New Countryside Investment and Development บนพื้นที่1,000 ไร่ มูลค่าการลงทุน 3,750 ล้านบาท

4.) นิคม เหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ระยองมีนักลงทุน 7 ราย ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ประมาณ 140 ไร่ มูลค่าลงทุนรวม 336 ล้านบาท

5.) นิคม อัญธานี กรุงเทพฯ มีนักลงทุน2 ราย ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่มีมูลค่าลงทุนรวม 60 ล้านบาท และ

6.) นิคม ปิ่นทอง (แหลมฉบัง) จ.ชลบุรี มีนักลงทุน 10 ราย ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ มีมูลค่าลงทุนรวม 250 ล้านบาท

โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ การจัดงานที่พัทยาเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยและจีน ให้เข้ามาศึกษาศักยภาพและพื้นที่การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม สำหรับประเทศจีนนั้นเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง โดยการลงทุนส่วนใหญ่ของจีนจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเครื่องจักรกลการเกษตรและอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าน่าจะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการเข้ามาร่วมลงทุนของนักลงทุนจีนในครั้งนี้ และคาดว่าจะมีเงินทุนจีนทยอยเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2550)

ร้านปลาสวยงามแห่งหนึ่งในเมืองเฉิงตู เมืองเอกมณฑลเสฉวน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ เสนอขายปลานกแก้วจำนวนมาก ซึ่งทุกตัวล้วนมีอักษรจีนความหมายมงคลปรากฏอยู่ โดยเจ้าของร้านเผยว่าตัวอักษรที่อยู่บนตัวปลามาจากการใช้เลเซอร์ และบอกว่าเดิมทีปลานกแก้วเหล่านี้มีราคาขายเพียง 10 หยวน ขณะที่ปลาประดับอักษรมงคลเหล่านี้สามารถขยับราคาขายได้อย่างน้อย 25 หยวน นอกจากนี้ราคายังสามารถปรับขึ้นเป็น 120 หยวน หากเป็นอักษรจีนที่มีความหมาย "มั่งมีศรีสุข" , "โชคดี" , "ชีวิตยืนยาว" และ "เจริญรุ่งเรือง" ปลายิงเลเซอร์เริ่มมีวางขายในตลาดจีนเมื่อปี 2549 แต่เพิ่งได้รับความนิยมเมื่อช่วง 1- 2 ปี ที่ผ่านมา แนวทางนี้น่าจะนำปรับให้เข้ากับสินค้าส่งออกของไทยหลาย ๆ ชนิด เพื่อให้เพิ่มมูลค่าได้เช่นกัน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ