เนเธอร์แลนด์เป็นแหล่งใหญ่ที่สุดที่นำเข้าสินค้าไทยในทวีปยุโรป และเป็นผู้ค้าผักและผลไม้สดรายสำคัญในสหภาพยุโรป เป็นผู้นำเข้าผลไม้ และผักรายใหญ่อันดับ 3 และ 4 ตามลำดับส่วนใหญ่ส่งออกต่อ (re-export) มีการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนาหลายรายการและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลไม้สดเช่น องุ่น แอปเปิ้ล ส้ม สับปะรด มะม่วง และกล้วยหอม
- ผักสดเช่น ถั่วต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง(แอสพารากัส)
เป็นตลาดขนาดกลาง ในช่วงปี 2545-2548 การบริโภค
ผลไม้สด มีปริมาณเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 1 มูลค่าลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4
ผักสด มีปริมาณเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 มูลค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4
คาดว่า ในภาพรวมปริมาณการบริโภคจะลดลง และมูลค่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากความนิยมผลไม้และผักพร้อมรับประทาน (prepared fruits and vegetables) ลดลงเพราะมีราคาแพงกว่าการซื้อทั้งผลหรือต้น กลุ่มสินค้า
ผลไม้สดที่นิยมรับประทานได้แก่ แอปเปิ้ล ส้ม กล้วยหอม คิดเป็นอัตราส่วน 2 ใน 3 ของผลไม้รวมส่วนผลไม้ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นได้แก่ tangerines แพร์ กีวี สับปะรด nectarines และสตรอเบอรี่ โดยในปี 2548 มีการบริโภคภายในประเทศรวม 660,000 ตัน
ผักสดที่นิยมเป็นผักที่ปลูกได้เองได้แก่ ผักกาด (lettuce) มะเขือเทศ แตงกวา และที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นได้แก่ sweet pepper ผักประเภท pre-packed ได้รับความนิยมและจำหน่ายได้กว่าร้อยละ 50 ของผักที่วางจำหน่ายในปี 2548 มีการบริโภคผักรวม 515,000 ตัน
แนวโน้มที่มาแรงในปัจจุบันได้แก่ กระแสการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพและความสะดวกสบาย นอกจากนี้รวมถึงการปรุงอาหารที่ใช้เวลาน้อย อาหารพร้อมรับประทาน การซื้อจากร้านอาหาร (complete meals and take away) และการจำหน่ายตามร้านค้าที่ปั๊มน้ำมัน
ผลจากการเอาใจใส่สุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคผักและผลไม้สดเพิ่มขึ้น รวมทั้งสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วย ผู้บริโภคคุ้นเคยกับการมีผักและผลไม้สดรับประทานตลอดปี และผู้บริโภคดัชท์ชอบทดลองสินค้าใหม่(หรือที่เรียกว่า trysumers) ผู้ค้าปลีกจึงนำเสนอสินค้าตามฤดูกาลที่หลากหลายจากต่างประเทศ บรรจุถุงพร้อมรับประทาน
อีกแนวโน้มหนึ่งที่มาแรงได้แก่กระแสนิยมสินค้าท้องถิ่น (local and authentic products) เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อาจได้รับผลกระทบทางลบจากสินค้านำเข้า ซึ่งจะมีจำหน่ายตามตลาดสด ตลาดสินค้าเกษตร (on-farm sales) และผู้ค้าปลีก/ซุปเปอร์มาร์เก็ตก็เพิ่มชั้นวางจำหน่ายด้วย
คาดการณ์และแนวโน้มการผลิต โดยที่เกษตรกรดัชท์ทำการเกษตรปลูกพืชในเรือนกระจก (greenhouses) มาก ทำให้สามารถควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี รวมทั้งการปรับปรุงพันธุ์พืชที่ปลูก(เช่น แตงกวา มะเขือเทศ sweet pepper) โดยให้มีรสชาติดีขึ้น มีพันธุ์และขนาดผลหลากหลาย เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ เช่น ส่งมะเขือเทศเป็นช่อไปเยอรมนี อังกฤษ และเบลเยี่ยมแม้ว่าจะมีการแข่งขันจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นได้แก่ สเปนและโปแลนด์ แต่การปลูกพืชก็ยังขยายตัว ส่วนการปลูกผลไม้ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้แก่ แพร์ โอกาสและความเสี่ยง ในด้านการผลิตและการบริโภค สรุปได้ดังตารางที่ 1
+ ด้านบวก
+ ผู้บริโภคดัชท์นิยมบริโภคผลไม้สดมากขึ้น โดยมีมูลค่ามากขึ้น แต่ปริมาณขยายตัวน้อยกว่า
+ การบริโภคผักขยายตัวทั้งมูลค่าและปริมาณ
+ ผู้บริโภคเพิ่มความนิยมผักและผลไม้สดที่นำเข้า(exotic fruits & vegetables)
+ ผู้บริโภคคุ้นเคยต่อการที่มีผักและผลไม้สดบริโภคตลอดทั้งปี
- ด้านลบ
- เป็นผู้ส่งออกผักรายใหญ่ของสหภาพยุโรป
- การผลิตผักและผลไม้สดขยายตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้านอกฤดูกาลของยุโรป
- การเพาะปลูกผักในเรือนกระจกไม่ต้องกังวลต่อสภาพภูมิอากาศ และสามารถผลิตได้มากตามความต้องการ ไม่มีการขาดแคลน
ช่องทางการค้า ท่าเรือเมือง Rotterdam เป็นท่าเรือขนส่งผักและผลไม้สดใหญ่ที่สุดของยุโรป มีผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องครบถ้วนเช่น ขนส่ง ผู้ค้า(traders) หน่วยงานตรวจสอบด้านสุขอนามัย ศุลกากร มีสถานที่ประมูลสินค้าบางรายการ(เช่น ดอกไม้) ตั้งอยู่ใกล้เคียงเครือข่ายการขนส่งครอบคลุมทั้งทางบก(ถนน รางรถไฟ) ทางน้ำมีแม่น้ำสำคัญ 2 สายของยุโรปบบรรจบกันที่เมือง Rotterdam ได้แก่ แม่น้ำ Rhine เชื่อมไปถึงเยอรมนีและยุโรปกลาง และแม่น้ำ Meuse(Maas) เชื่อมถึงเบลเยี่ยมและฝรั่งเศส ทั้งเมือง Rotterdam ยังเชื่อมทางน้ำกับเมืองท่า Antwerp ในเบลเยี่ยมด้วย
การขนส่งผักและผลไม้สดนิยมขนส่งทางอากาศมากขึ้น โดยเฉพาะประเภทที่เน่าเสียง่ายและมีราคาสูง (perishable and high value) เช่น มะม่วง ถั่วต่างๆ(beans and peas) สนามบินนานาชาติ Schiphol มีความพร้อมในการจัดเก็บ การขนส่งสินค้าสด
แนวโน้มการค้าปลีก ซุปเปอร์มาร์เก็ตมีส่วนแบ่งสินค้าผักและผลไม้สดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากความนิยม one-stop shopping แม้ว่าจะแย่งส่วนแบ่งตลาดมาจากร้านย่อยประเภท greengrocers และ street markets แต่ร้านเหล่านี้ก็ยังคงความสำคัญด้วยการรักษาความพิเศษ (specialty shops) ที่เน้นจำหน่ายสินค้านำเข้าที่หลากหลายและคุณภาพสูงกว่า
การเลือกคู่ค้าที่เหมาะสม บรรยากาศการประกอบธุรกิจของเนเธอร์แลนด์เป็นระดับมืออาชีพ แต่มีวิธีดำเนินการไม่เป็นทางการ ประเด็นสำคัญได้แก่ การตรงต่อเวลา การติดตามและปฏิบัติตามข้อตกลง ความซื่อสัตย์ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าอย่างต่อเนื่อง(เช่น ภายใน 2-3 เดือนต่อไป คาดการณ์ว่าสินค้าจะมีปริมาณน้อยลง ขอให้แจ้งให้คู่ค้า/ผู้นำเข้าทราบ เพื่อที่จะได้เตรียมการได้ทัน(เพราะต้องส่งสินค้าต่อให้เครือข่าย ผู้ผลิต/ส่งออกไม่ควรกังวลว่าคู่ค้าจะไปซื้อสินค้าจากรายอื่น จะเป็นเหตุการณ์เพียงช่วงที่ขาดแคลนชั่วคราวเท่านั้น หลังจากนั้นคู่ค้าจะกลับมาติดต่ออีก โดยจะถือว่ามีความซื่อสัตย์และจริงใจในการประกอบธุรกิจ จะทำให้ติดต่อค้าขายได้ในระยะยาว) คนดัชท์ได้ชื่อว่าประกอบธุรกิจเชิงรุกและรวดเร็ว ในการชำระเงินค่าสินค้าควรใช้เช่น Letter of Credit (หรือ LC)
การนำเข้า ปี 2549 เนเธอร์แลนด์นำเข้าผลไม้และผักสดคิดเป็นร้อยละ 12 และ 8 ตามลำดับ ของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป(27 ประเทศ) นับเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับ 3 โดยมีการนำเข้าเพิ่มจากประเทศ ที่สาม รายใหญ่ได้แก่ อาฟริกาใต้ ชิลี บราซิล ส่วนประเทศสมาชิกฯ ด้วยกันได้แก่ สเปน และเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์นำเข้าผักสดมูลค่า 884 ล้านยูโร ปริมาณ 940,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 และ 16 ตามลำดับเมื่อเทียบกับปี 2545 ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าจากประเทศสมาชิกฯ และประเทศกำลังพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 75 และ 15 ตามลำดับ โดยมีผลไม้รายการสำคัญที่นำเข้าเช่น table grapes(ร้อยละ 17 ของมูลค่าการนำเข้าปี 2549) แอปเปิ้ล( ร้อยละ 12) ส้ม (ร้อยละ 9) กล้วยหอม (ร้อยละ 7) สับปะรด (ร้อยละ 7) tangerines (ร้อยละ 6) รายการที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา เช่น grapes แอปเปิ้ล ส้ม สับปะรด มะม่วง กล้วยหอม grapefruits แพร์ tangerines โดยมีโอกาสและความเสี่ยงสรุปได้ดังตารางที่ 2
+ ด้านบวก
+ ผู้นำเข้าผักและผลไม้สดมีหลายรายและกำลังขยายตัว
+ การนำเข้าผลไม้จากประเทศกำลังพัฒนากำลังขยายตัว
+ เนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำเข้าและส่งออกต่อรายใหญ่ มีการนำเข้าตลอดปี
+ การนำเข้าผักสดจากประเทศกำลังพัฒนามีน้อยแต่ขยายตัวต่อเนื่อง
+/- ด้านบวกและลบ
+/- ผู้นำเข้าดัชท์นำเข้าหลากหลายจากทั่วโลก
+/- จะนำเข้าองุ่น ส้ม แอปเปิ้ล แพร์ ในช่วงนอกฤดูกาลของยุโรป ส่วนในช่วงฤดูกาลเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ด้วย
การนำเข้าจากไทย ในปี 2551 นำเข้าผักและผลไม้สดแช่เย็นและแห้งมูลค่า 7.8 และ 7.2 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.15 และลดลงร้อยละ -4.13 ตามลำดับ
ช่วง 6 เดือนแรกปี 2552 นำเข้าผัก และผลไม้สดฯ มูลค่า 3 และ 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -27.75 และ -20.81 ตามลำดับ
รายการที่นำเข้ามาก ผักเช่น โหระพา กระเพรา ผักชี มะเขือเปาะ มะเขือพวง พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า แอสพารากัส ข้าวโพดอ่อน ผลไม้เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด มะขาม ฝรั่ง ขนุน(ที่แกะแล้ว) แก้วมังกร ชมพู่ มะม่วงสุก
คู่แข่งที่สำคัญ ผักเช่น สเปน เคนย่า อิสราเอล เปรู เนธอร์แลนด์(ผลิตได้เองเช่น โหระพา สะระแหน่)
ผลไม้เช่น เวียดนาม ปากีสถาน มาลิ อียิปต์ อิสราเอล จีน
- กฎระเบียบ (Legal requriements) กำหนดสำหรับสินค้าอาหารที่จะวางจำหน่ายในสหภาพฯ หากไม่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ก็จะไม่ให้นำเข้าหรือหากนำเข้ามาแล้วก็จะถูกถอดถอน (withdrawal) ออกจากท้องตลาดระเบียบที่เกี่ยวข้องเช่น
-ระเบียบ Specific rules for packaging, marking and labeling for a number of fruits and vegetables : EU Marketing Standard Regulation (EC) ที่ 2200/96
-ระเบียบอาหารทั่วไป(The General Food Law : Regulation (EC) ที่ 178/2002)
-ระเบียบสุขอนามัยอาหาร(Hygiene of Foodstuffs : Regulations (EC) ที่ 852/2004, 853/2004, 854/2004)
-ระเบียบการกำหนดปริมาณสารตกค้างสูงสุดในอาหาร(Maximum residue levels (MRLs) in foodstuffs : Regulation (EC) ที่ 396/2005)
-ระเบียบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร(Microbiological contamination of foodstuffs : Regulation (EC) ที่ 2073/2005)
-ระเบียบการปนเปื้อนในอาหาร(Contaminants in food : Regulation (EC) ที่ 1881/2006)
-ระเบียบกำหนดให้ประเทศสมาชิกฯ เพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมการนำเข้าสินค้าอาหารสัตว์และอาหารที่มิได้ผลิตจากสัตว์ Commission Regulation (EC) ที่ 669/2009 : implementing Regulation (EC) No. 882/2004 of the European Parliament and of the Council as regards in increased level of official controls on imports of certain feed and food of non-animal origin and amending Decision 2006/504/EEC
ทั้งนี้ ทุกสัปดาห์คณะกรรมาธิการยุโรปจะประกาศเกี่ยวกับอาหารสัตว์และอาหาร(เช่น ผัก ผลไม้ อาหาร แปรรูป) ที่ไม่สอดคล้องกับระเบียบที่เกี่ยวข้อง ด้วยระบบ RASFF (Rapid Alert System for Food and Feed) ทาง website : http://ec.europa.eu/food/food/rapidalert/ โดยแบ่งเป็น 4 ประเภทสรุปได้ดังตารางที่ 3
Alert Notifications
- เมื่อตรวจพบอาหารฯ ในตลาดมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยและมีการดำเนินการเร่งด่วนโดยทางการของประเทศสมาชิกฯ เช่น เก็บออกจากตลาด (withdrawal)
Border rejections
- ห้ามนำเข้า เมื่อตรวจพบอาหารฯ ที่ด่านนำเข้าไม่สอดคล้องกับระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น ผักสดมีสารเคมีตกค้างเกินปริมาณที่กำหนด(เช่น สาร Carbofuran) มีสารต้องห้ามปนเปื้อน(เช่น DDT) มี เชื้อจุลินทรีย์ต้องห้าม (เช่น Salmonella)
Information
- การแจ้งความเสี่ยงของอาหารฯ ที่วางจำหน่าย แต่ประเทศสมาชิกอื่นไม่ต้องดำเนินการใดใด เพราะไม่มีสินค้าดังกล่าว
RASFF News
- ข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานควบคุมของประเทศสมาชิกฯ
- ด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental requirements) เช่น
GlobalGAP(หรือเดิม EurepGAP) เป็นการริเริ่มของภาคการผลิตเพื่อส่งเสริมให้มีการปฏิบัติที่ดีในภาคเกษตรในการรับประกันด้านความปลอดภัย(to promote good production practices in the agricultural sector in order to ensure food safety) มีการใช้อย่างกว้างขวาง และเป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมที่สำคัญในการเข้าสู่ตลาด/ส่งสินค้าเข้าสหภาพฯ
หากจะเข้มงวดขึ้นก็จะเน้นสินค้า เกษตรอินทรีย์(organic/bio products) ซึ่งมีวิธีการเพาะปลูกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเหมาะสำหรับตลาดเฉพาะผู้บริโภคที่มีฐานะดี(niche market) ซึ่งจะต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมาธิการยุโรป (Food and Veterinary Office (FVO), the European Commission) และต้องติดฉลากที่สินค้าในการเข้าสู่ตลาดสหภาพฯ ทั้งนี้มิใช่ข้อกำหนดสำคัญ แต่เพียงเพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค
- ด้านสังคม/มาตรฐานแรงงาน(Social requirements/ Labour standards) โดยทั่วไปใช้มาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( International Labour Organisation หรือ ILO) เน้นประเด็นที่เกี่ยวกับลูกจ้างเช่นสุขภาพและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ/ปฏิบัติงาน(occupational health and safety หรือ OHS) ห้ามการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานที่ถูกบังคับ(no use of child labour or forced labour) non-discrimination, working hours
หากจะเข้มงวดขึ้นก็จะเป็นการรับรองโดยเฉพาะเช่น การไม่ทำลายป่าเขตร้อน (certified against the Rainforest Alliance standard) บริษัทกล้วยหอม Chiquita ได้รับรองในการเข้าสู่ตลาดสหภาพฯ นอกจากนี้ยังมี Ethical Trading Initiative(ETI) โดยบริษัทที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานสูงนี้ตามหลักการ “fair trade principles” เน้นตลาด niche market สรุปได้ดังตารางที่ 4
-ระเบียบ Specific rules for packaging, marking and labeling for a number of fruits and vegetables : EU Marketing Standard Regulation (EC) ที่ 2200/96
-ระเบียบอาหารทั่วไป(The General Food Law : Regulation (EC) ที่ 178/2002)
-ระเบียบสุขอนามัยอาหาร(Hygiene of Foodstuffs : Regulations (EC) ที่ 852/2004, 853/2004, 854/2004)
-ระเบียบการกำหนดปริมาณตกค้างสูงสุดในอาหาร(Maximum residue levels (MRLs) in foodstuffs : Regulation (EC) ที่ 396/2005)
-ระเบียบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร(Microbiolo-gical contamination of foodstuffs : Regulation (EC) ที่ 2073/2005)
-ระเบียบการปนเปื้อนในอาหาร(Contaminants in food : Regulation (EC) ที่ 1881/2006)
-ด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental requirements) เช่น GLOBALGAP(หรือเดิม EurepGAP) ผู้ผลิตที่ใช้ เช่น Dole, Fyffes, Del Monte
หากจะเข้มงวดขึ้นก็จะเน้นสินค้า เกษตรอินทรีย์ (organic/bio products)
-ด้านสังคม/มาตรฐานแรงงาน(Social requirements/ Labour standards) เช่น สุขภาพและความปลอดภัยในการ ประกอบอาชีพ/ปฏิบัติงาน(occupational health and safety หรือ OHS) ห้ามการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานที่ถูกบังคับ(no use of child labour or forced labour) non-discrimination, working hours
หากจะเข้มงวดขึ้นก็จะเป็นการรับรองโดยเฉพาะเช่น การไม่ทำลายป่าเขตร้อน (certified against the Rainforest Alliance standard) Ethical Trading Initiative(ETI) ผู้ผลิตที่ใช้ เช่น Chiquita(Rainforest Alliance), Dole(ETI), Del Monte(ETI)
การตรวจสอบสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น GSP (Generalised System of Preference) ซึ่งจะเสียภาษีนำเข้าถูกกว่าอัตราปกติ ขอให้ตรวสอบที่สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 02 547 4817 โทรสาร 02 547 4816
สินค้าไทยที่ได้รับสิทธิพิเศษ GSP : ผักเช่น แอสพารากัสสดหรือแช่เย็น ผลไม้เช่น สับปะรดสดหรือแห้ง ทุเรียน
แนวทางการปรับตัวต่อผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีผลต่อการส่งออก ส่วนต่าง การจ้างงานในภาคการผลิตผักและผลไม้สด การส่งออกจากประเทศกำลังพัฒนาถูกกดดัน โดยเฉพาะเมื่อผู้นำเข้าในยุโรปใช้อำนาจตลาดลดราคา(using their market power to reduce prices) นอกจากนี้ยังกระทบโดยตรงจากความต้องการผลิตผลเขตร้อนชื้นที่ลดลงเพราะมีราคาสูง บางบริษัทได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่มุ่งตลาดอังกฤษ
ผลกระทบรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น ประเภทของสินค้าที่ส่งออก โครงการสร้างของสินค้า(เช่นมีผลิตผลรายปี หรือตลอดปี) ส่งออกไปตลาดใด(ตลาดยุโรปตะวันตกและเอเซียจะมีสถานะดีกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันออก) มีปัญหาด้านสภาพคล่อง การให้สินเชื่อของธนาคารและเพิ่มความเข้มงวดในการให้กู้ยืมผู้นำเข้าในยุโรปแจ้งว่า ผู้ส่งสินค้าให้มีปัญหาด้านการใช้บริการการเงิน(เช่น export credit insurance) โดยขอให้ผู้นำเข้าฯ ช่วยเหลือ(เช่น จ่ายเงินล่วงหน้าหรือ pre-financing ซึ่งจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อได้ติดต่อธุรกิจด้วยดีต่อกันเป็นระยะเวลาพอสมควร) ผู้นำเข้าเองก็ประสบปัญหาที่ผู้ซื้อชำระเงินล่าช้า(ปัจจุบันระยะเวลา 60 วันเป็นเกณฑ์ปกติ) เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความกดดันทั่วทั้งภาค ผู้นำเข้ายุโรปกล่าวว่าผู้ประกอบการบางรายในประเทศกำลังพัฒนาอาจจะต้องเลิกกิจการ
ผู้นำเข้าขาดความเชื่อมั่นและเพื่อความอยู่รอดจึงพยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่าย การเข้าสู่ตลาดของผู้ส่งสินค้า/ผู้ซื้อรายใหม่ค่อนข้างยาก ผู้นำเข้าไม่วางใจเนื่องจากไม่มีข้อมูลฐานะทางการเงิน จึงไม่ต้องการเสี่ยงด้วยการจัดทำความตกลงระยะยาวและมักสั่งสินค้าไม่มาก ผู้นำเข้าเพิ่มความเข้มงวดด้านคุณภาพและเน้นการคุ้มค่าเงินข้อเสนอแนะ นับแต่ช่วงต้นปี 2552 ผู้นำเข้าและเครือข่ายประสบปัญหาในทุกส่วน และฤดูร้อนเป็นช่วงที่มีการจำหน่ายสินค้าไม่มากผลกำไรลดลง และ 2-3 เดือนถัดไปเป็นช่วงสำคัญที่คาดว่าจะมีบางบริษัทต้องล้มละลาย ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายอื่น
CBI มีความเห็นว่า
- ผู้ประกอบการผลิตควรเพิ่มความสำคัญการลงทุนด้านคุณภาพ(เช่น quality control and value chain development) ความปลอดภัยในทุกขั้นตอนการผลิตครอบคลุมถึงการขนส่ง การปฏิบัติที่สอดคล้องกับระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้นำเข้า การได้รับการรับรองต่างๆ (เช่น GAP, GlobalGAP. HACCP) โลจิสติกส์และกิจกรรมการเข้าสู่ตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดผู้ส่งออกจะต้องเน้นประกอบการในด้านที่ตนมีความเข้มแข็ง/เชี่ยวชาญ เพิ่มการพัฒนาคิดค้นในระยะยาวและต่อเนื่อง ความร่วมมือ(เช่น การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและระยะยาวระหว่างผู้ส่งออกและผู้นำเข้า)ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย การจัดการ/ประเมินความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ต้องหาวิธีอำนวยความสะดวกในการรับประทานให้ผู้บริโภคมากที่สุด เช่น วิธีการรับประทานมะพร้าวอ่อนที่ปลอดภัยและสะดวก รวมทั้งผู้ผลิตรายเล็กๆ ควรรวมตัวกัน เพื่อสร้างพลังในการผลิตและส่งสินค้าคุณภาพเดียวกัน จะประหยัดด้านโลจิสติกส์ได้
- ผู้นำเข้า ตามระเบียบ Food Safety กำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใน supply chain ต้องรับผิดชอบด้านความปลอดภัย ผู้นำเข้าต้องเพิ่มความรับผิดชอบตั้งแต่การนำเข้าจนถึงกระจายสินค้าไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือทำหน้าที่ supply chain manager เพื่อให้เชื่อมั่นว่าลูกค้าได้สินค้าที่ปลอดภัย มีคุณภาพ
- ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่/ที่มีสาขาหลายแห่ง จะต้องมั่นใจว่ามีสินค้าวางจำหน่ายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (stable supply) จึงมุ่งหาผู้ส่งสินค้าที่มีความพร้อมที่จะส่งสินค้าปริมาณมาก คุณภาพเชื่อถือได้และคงที่ราคาที่แข่งขันได้ ติดต่อธุรกิจในระยะยาวกว่า และประสงค์จะติดต่อกับผู้ประกอบการรายเดียวที่สามารถส่งสินค้าได้หลายรายการ (one contact for their orders) ดังนั้น ผู้ผลิตรายเล็กๆ หลายๆ รายควรรวมตัวกันเพื่อนำเสนอสินค้าที่ได้รับการรับรองคุณภาพเดียวกัน ซึ่งรวมการควบคุมคุณภาพและโลจิสติกส์ไว้ในบริการด้วย
- ผู้บริโภคสินค้าผัก ผลไม้สดนำเข้ามีราคาสูงและได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ความต้องการลดลงผู้บริโภคจะซื้อสินค้าอื่นทดแทน เช่น ซื้อถั่วอื่นแทนถั่วเขียวที่นำเข้าจากเคนย่า รวมทั้งประหยัดมากขึ้นดังนั้นการนำเสนอสินค้ารายการใหม่อาจต้องเลื่อนออกไป ทั้งผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญต่อการผลิตและการขนส่งที่
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สมาชิกทราบอย่างต่อเนื่อง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ศักยภาพและการผลิตสินค้าของประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อถือและไว้วางใจในประเทศ/ตลาดนำเข้าเช่น มีการรับรอง/ประกัน(guarantees or insurance) ความร่วมมือกับสถาบันการเงิน เป็นศูนย์กลางประสานระหว่างผู้ส่งออกในการรวมตัวกัน และอำนวยความสะดวกในการส่งสินค้าให้รวดเร็วยิ่งขึ้น จะต้องเสริมสร้างให้ผู้ผลิตและส่งออกเพิ่มความใส่ใจและปฏิบัติสอดคล้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและการรับผิดชอบต่อสังคมตามที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปกำหนด
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก
ที่มา: http://www.depthai.go.th