ภาวะสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาบด (ซูริมิ)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 7, 2009 14:20 —กรมส่งเสริมการส่งออก

จากสถิติล่าสุดในปี 2007 แสดงมูลค่าการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาบด (ซูริมิ) พิกัดศุลกากร 1604200 ซึ่งรวมถึงสินค้าอื่นๆ เช่น ลูกชิ้นปลา เต้าหู้ปลา ไส้กรอก ซาลามีปูอัด ฯลฯ สินค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่นำเข้าผ่านรัฐดูไบเกือบทั้งสิ้นในปี 2007 มีปริมาณนำเข้ารวม 242,607 กก. คิดเป็นมูลค่า 821,917 เหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากประเทศ

          ประเทศ          ปริมาณ (กก.)       มูลค่า (เหรียญสหรัฐฯ)
          ญี่ปุ่น              89,337               330,000
          อัฟริกาใต้          27,356               110,000
          ไทย              30,304               100,000
          เยอรมันนี          14,242                70,000
          สหรัฐฯ            18,558                60,000
          ฝรั่งเศส            1,989                20,000
          อื่นๆ              60,821                10,000
          รวม             242,607               821,917

ภาวะตลาด

เนื่องจากประเทศยูเออีอยู่บนชายฝั่งทะเลมีอาหารทะเลอุดมสมบรูณ์ อาหารทะเลแปรรูปจึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากเท่ากับอาหารทะเลสด อีกทั้งการบริโภคอาหารแปรรูปของมุสลิมที่เป็นประชากรส่วนใหญ่นั้นมักจะไม่ค่อยให้ความไว้วางใจว่าเป็นอาหาร Halal หรือไม่

นอกจากนี้สินค้ากลุ่มนี้ไทยต้องเผชิญกับภาวะกดดันต่างๆ จากทั้งลูกค้า และผู้ขาย เช่น การกดราคาจากคู่ค้า เนื่องจากคู่แข่งรายใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งภายในประเทศเองหรือคู่แข่งต่างประเทศ อาทิ ประเทศจีนเวียดนามอินเดียและบางประเทศในทวีปยุโรป เช่น ฝรั่งเศส ลิทัวเนีย เป็นต้น

ลักษณะสินค้า

ซูริมิที่วางจำหน่ายในตลาดดูไบมีลักษณะ ราคา และการหีบห่อดังนี้

ยี่ห้อ Saint-Malo (ฝรั่งเศส)

  • ขนาด 150 กรัม ราคา 4.29 เหรียญสหรัฐฯ

ผลิตเป็นรูปคล้ายตัวกุ้ง บรรจุในซองพลาสติก

  • ขนาด 400 กรัม ราคา 7.33 เหรียญสหรัฐฯ สไลด์เป็นแผ่นกลมหนา

บรรจุในซองพลาสติก

ยี่ห้อ Carrfour (Surimi crab stick)

  • ขนาด 200 กรัม ราคา 2.53 เหรียญสหรัฐฯ เป็นแท่งบรรจุในซองพลาสติก
  • ขนาด 500 กรัม ราคา 6.29 เหรียญสหรัฐฯ เป็นแท่งบรรจุในซองพลาสติก

ยี่ห้อ Little Chef (ไทย)

  • ขนาด 250 กรัม ราคา 5.74 เหรียญสหรัฐฯ เป็นแท่งบรรจุในซองพลาสติก

นอกจากนั้นมีสินค้าของฝรั่งเศสผลิตเป็นแท่งซาลามีซูริมิ สไลด์เป็นแผ่นตามความต้องการของลูกค้า จำหน่ายกิโลกรัมละ 22.20 เหรียญสหรัฐฯ สินค้าจากเวียตนามที่มีราคาถูกกว่าไทย และสินค้าจากประเทศลิทัวเนียเป็นต้น

ผู้บริโภคและความต้องการสินค้า

จากการสอบถามผู้นำเข้าทราบว่ากลุ่มผู้ซื้อสินค้านี้ส่วนใหญ่คือชาวญี่ปุ่น เกาหลีและจีน นอกจากนั้นเป็นชาวยุโรปซื้อเพื่อปรุงเป็นสลัด หรือแซนวิช ส่วนชาวอาหรับไม่นิยมรับประทาน สำหรับอินเดีย และชาวฟิลิปปินส์ซึ่งต่างชาติกลุ่มใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไม่นิยมซื้อหารับประทานเช่นกัน

ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ซูริมิในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางมีปริมาณน้อย และไม่เป็นที่นิยม ขณะที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกซูริมิมากเป็นอันดับต้นของโลก แต่เนื่องการขึ้นราคาวัตถุดิบจากผู้ขาย การขาดแคลนวัตถุดิบที่จะป้อนโรงงานผลิต ภาวะกดดันเหล่านี้ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ดังนั้นจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านต่างๆ เช่น ด้านการผลิต ด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และด้านการตลาด เป็นต้น

เพื่อลดต้นทุนการผลิตเนื้อปลาบด(ซูริมิ)แช่แข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปซูริมิซึ่งปัจจุบัน

วัตถุดิบที่เข้าสู่โรงงานได้จากการจับปลาจากน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน หรือมีการนำเข้าวัตถุดิบในบางช่วงเวลาที่วัตถุดิบภายในประเทศขาดแคลนหรือราคาสูงมาก การหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่นที่มีปลาทะเลสมบรูณ์ ซึ่งกลุ่มประเทศในอ่าวอาระเบียนมีอาหารทะเลอุดมสมบรูณ์ มีชนิดของปลาที่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบผลิตซูริมิ เช่น ปลาทรายแดง ปลาตาหวาน ปลาไซตอ และปลาข้างเหลือง เป็นต้น จึงน่าเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาได้อีกทางหนึ่ง

แนวทางในการส่งเสริมการส่งออก
  • เข้าร่วมมงานแสดงสินค้า Gulfood ณ เมืองดูไบ
  • จัดคณะผู้แทนการค้าอาหารเยือนตะวันออกกลาง
  • จัด In-store Promotion ในซูเปอร์มาร์เก็ต อาทิ Greenhouse Supermarket ของ HTA ซึ่งปัจจุบันนำเข้าซูริมิจากบริษัทไทยกริฟูด และผลิตภัณฑ์จากลิทัวเนีย และเวียดนาม ซึ่งมีราคาสินค้าถูกกว่าประเทศไทย
  • พิจารณาช่องทางในการขนส่ง (Logistic) เพื่อลดต้นทุนและการบรรจุหีบห่อที่ปลายทาง เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ