การศึกษาสำรวจแหล่งเพาะปลูกผลไม้เมืองร้อน ณ จังหวัดวาฮาก้า Oaxaca ในประเทศเม็กซิโกในระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 7, 2009 14:58 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การศึกษาสำรวจแหล่งเพาะปลูกผลไม้เมืองร้อน ณ จังหวัดวาฮาก้า Oaxaca ในประเทศเม็กซิโก ของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกในระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม 2552

--------------------------------------------

ด้วยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกได้รับติดต่อจากสำนักผู้ว่าการจังหวัดวาฮาก้า Oaxaca ว่ากลุ่มผู้ปลูกผลไม้เมืองร้อนจากจังหวัดวาฮาก้าซึ่ งกำลังเริ่มการเพาะปลูกเงาะและมีความสนใจในการร่วมลงทุนพัฒนาสายพันธุ์ ขบวนการผลิตเก็บเกี่ยวและด้านการตลาดกับประเทศไทย เนื่องจากทราบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในการเพาะปลูกผลไม้เมืองร้อน ในการนี้ สำนักงานฯ จึงได้หาโอกาสเดินทางไปศึกษาสำรวจสถานะและศัยกภาพของแหล่งเพาะปลูกในจังหวัดดังกล่าวและขอรายงานการเดินทางการไปเยี่ยมสวนลิ้นจี่ของนายโรแบโต้ โมริโน ซาดา Roberto Moreno Sada ณ เมืองซานฮวนบาติสต้า ทุซเตเบก San Juan Bautista Tuxtepec ในรัฐวาฮาก้า Oaxaca ในระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม 2552 ดังต่อไปนี้

1. รายงานการศึกษาสำรวจการเพาะปลูกลิ้นจี่ในเมืองทุซเตเบก Tuxtepec

เมืองซานฮวนบาติสต้า ทูชเตเบก San Juan Bautista Tuxtepec เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของรัฐวาฮาก้า ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเม็กซิโกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปประมาณ 500 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของรัฐเวราครูซ Veracruz ประมาณ 160 กิโลเมตร มีแม่น้ำสำคัญหล่อเลี้ยงพื้นที่อย่างอุดมสมบูรณ์อันได้แก่ แม่น้ำปาปูลัวอาปาน Papoloapan ในพื้นที่เขตเมืองทุซเตเบก Tuxtepec ซึ่งอยู่เหนือระดับทะเล 36 ฟุต มีอากาศร้อนอบอ้าวใกล้เคียงกับสภาพอากาศของประเทศไทย ในรัฐดังกล่าว มีการกิจกรรมการเกษตรหลากหลายที่มีการเพาะปลูก อันได้แก่ อ้อย กล้วย สับปะรด ข้าว พริก มะม่วง ส้ม และมะนาว และมีไม้ยืนต้นเช่น ต้นยาง เป็นต้น มีการเลี้ยงวัวสุกรและปลานิล โดยมีธุรกิจด้านการเกษตรที่สำคัญของเม็กซิโกล้วนมาทำกิจการปศุสัตว์และการเกษตรในพื้นที่ ได้แก่ บริษัท Pipasamex บริษัท Compannia Cervecera del Tropico บริษัท Ingenio Adolfo Lopez Mateos บริษัท Empacadora de Carnes del Papaloapan และ บริษัท Beneficiadora de Hule

การเยี่ยมชมสวนลิ้นจี่

นาย Roberto Moreno Sada เจ้าของสวนลิ้นจี่ฟินคา เอล เรฟูจิโอ Finca El Refugio ในเมืองทุซเตเบก Tuxtepec ได้ติดต่อมายังสำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงเม็กซิโก เนื่องจากนาย Roberto Moreno มีความสนใจที่จะเดินทางไปประเทศไทย เพื่อศึกษาดูประสบการณ์การเพาะปลูกและการส่งเสริมการค้าผลไม้เงาะและลิ้นจี่ของไทย เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการเพาะปลูกและส่งเสริมการค้าของกลุ่มผู้เพาะปลูกผลไม้ลิ้นจี่ในประเทศเม็กซิโกในพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนของรัฐบาลเม็กซิโกภายใต้โครงการ Alianza por el Campo ของมูลนิธิ Fundacion Produce Oaxaca ซึ่งนาย Roberto Moreno ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนอยู่ในปัจจุบัน

นาย Roberto Moreno ได้ทำการเพาะปลูกลิ้นจี่มาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว มีพื้นที่การเพาะปลูกพันธุ์ลิ้นจี่ Brewster ในขนาดพื้นที่ 50 เอเคอร์ (ประมาณ 125 ไร่)โดยมีจำนวนต้นลิ่นจี่ 4,500 ต้น และได้รับความช่วยเหลือของภาครัฐ เพื่อสร้างโรงบรรจุผลไม้ใส่กล่องรวมห้องเย็น การผลิตลิ้นจี่ทั้งหมดมีตลาดเป้าหมายคือ การส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นหลัก ทั้งนี้ การเก็บเกี่ยวจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมของทุกปี โดยในปี 2009 นี้ ให้ผลผลิตมากที่สุดที่เคยมีมา โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้ในปริมาณ 150 ตัน

นาย Roberto Moreno ได้พาคณะของสคต. ไปเยี่ยมชมสวนสิ้นจี่อยู่แห่งในบริเวณใกล้เคียงคือสวนฟินคา เดอ เพอร์โร โบคา Finca Boca de Perro ที่อยู่ใกล้เคียงกับไร้ของตน ทำการเพาะปลูกและทำการบรรจุลิ้นจี่ใส่กล่องเพื่อส่งออก สำหรับไร่นี้มีพื้นที่การเพาะปลูกบนเนื้อที่ 60 เอเคอร์ ผลการเก็บเกี่ยวในปีนี้ ได้ ในปริมาณ 200 ตัน แต่หากเทียบแล้ว ได้ผลผลิตต่อพื้นที่น้อยกว่าไร่ของนาย Moreno ด้วยสาเหตุคือ เนื่องจากเจเจ้าของสวนไม่ได้ดูแลต้นลิ้นจี่อย่างจริงจังแลtใกล้ชิด อย่างที่นาย Moreno ปฏิบัติ แต่ไร่ Finca Boca de Perro มีโรงงานบรรจุผลไม้ใส่กล่องที่มีขนาดใหญ่กว่า และในไร่ดังกล่าวมีต้นเงาะที่มีอายุมากกว่าของนาย Moreno ซึ่งได้มีการเริ่ม การปลูกต้นมังคุดเติมอีกด้วย

การส่งออกลิ้นจี่จาก Tuxtepec

กระบวนการส่งออกลิ้นจี่จากประเทศเม็กซิโกจะต้องติดต่อตกลงราคาและการส่งมอบกับผู้ซื้อในสหรัฐฯ ล่วงหน้า 1-2 สัปดาห์ ก่อนที่ผลผลิตลิ้นจี่จะพร้อมบรรจุกล่อง นาย Roberto Moreno จ้างคนงานเก็บเกี่ยวประมาณ 100 คนในแต่ละฤดูการ และเช่ารถบรรทุกปรับอากาศในอุณหภูมิที่ต้องปิดล็อกประตูด้วยปรอทวัดและบันทึกอุณหภูมิในตู้ปรับอากาศ ซึ่งต้องรักษาระดับอุณหภูมิไว้ระหว่าง 5-7 องศาเซลเซียส รถบรรทุกจะขับตรงไปยังชายแดนสหรัฐฯ (เวลาเดินทางประมาณหนึ่งวัน) ข้ามชายแดนที่เมืองท่าแม๊คแอลลัน MacAllen ในรัฐเท็กซัส Texas และสามารถขับข้ามชายแดนได้โดยไม่ต้องเปิดตู้หากผู้ตรวจสอบจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (Food and Drug Administration —FDA) ตามชายแดน ไปยังตลาดเป้าหมายในรัฐเท๊กซัสและนครลอสแอนเจลิส โดยใช้เวลาการเดินทางประมาณสามวัน

โดยปกติ การผ่านชายแดนมักจะได้รับการประสานงานจากผู้นำเข้าเพื่อให้มั่นใจว่าผลไม้สามารถผ่านชายแดนได้โดยไม่ติดปัญหาเรื่องของการตรวจสอบมากนัก และก็มีในบางกรณีที่มีการตรวจสอบมีความเข็มข้นเช่นกัน แต่ไม่บ่อยนัก ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศเม็กซิโกมีความได้เปรียบในประเด็นของความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และสามารถใช้เส้นทางการขนส่งทางบกเข้าสู่สหรัฐฯ ได้ง่าย

ในขบวนการผลิต ลิ้นจี่ที่ได้ถูกคัดออกไม่ได้ส่งออกเพราะลูกที่มีขนาดเล็กหรือมีตำหนิ จะส่งขายภายในประเทศโดยป้อนในตลาดท้องถิ่น หรือตลาดสินค้าเกษตรกลางของกรุงเม็กซิโก โดยมีราคาตลาดในเม็กซิโกที่ 15-20 เปโซต่อกิโล ( อัตราแลเปลี่ยน 10 เปโซ = 1 เหรียญสหรัฐฯ) ส่วนราคาขายในสหรัฐฯ จะเท่ากับ15 เหรียญฯ ต่อกล่อง ๆ โดยน้ำหนักกล่องละ10 ปอนด์ lbs.

เมื่อเทียบกับการส่งออกลิ้นจี่ของไทยแล้ว ผู้ผลิตลิ้นจี่ของเม็กซิโกย่อมได้เปรียบผู้ส่งออกไทยทั้งในด้านต้นทุนการผลิต ต้นทุนการขนส่งและระยะเวลาที่สั้นกว่าระหว่างการเก็บเกี่ยวจนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับสินค้าที่มีข้อจำกัดในเรื่องของอายุของสินค้า ตลอดจนเงื่อนไขมาตรฐานและมาตรการของสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ FDA ที่น้อยกว่า ยกตัวอย่าง เช่น ไม่จำเป็นต้องฉายรังสีฆ่าแมลงเชื้อโรคเหมือนผลไม้ของไท

ทั้งนี้ แม่พันธุ์ของต้นลิ้นจี่ นั้นมากจากรัฐเชียปัส Chaipas ทางภาคใต้ของประเทศเม็กซิโก ซึ่งมีความเป็นพิเศษ เนื่องจากมีกลุ่มชุมชนคนจีนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศเม็กซิโกเป็นเวลานาน โดยได้มีการนำต้นไม้และผลไม้จากประเทศจีนและผลไม้เมืองร้อนมาปลูกด้วย จึงมีการเพาะปลูกต้นลิ้นจี้ เงาะ มังคุดหรือแม้กระทั้งขนุน แต่ยังไม่มีการดำเนินการในเชิงธุรกิจมากนัก

โรงบรรจุลิ้นจี่ใส่กล่อง

นาย Moreno มีความสนใจหาพันธุ์ผลไม้อื่น ๆ จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีคุณลักษณะเข้าได้กับต้นลิ้นจี่ เพื่อขยายการใช้งานโรงบรรจุผลไม้ใส่กล่องให้เต็มกำลัง ซึ่งในปัจจุบันโรงบรรจุกล่องใช้งานได้แค่ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมเท่านั้น สำหรับการบรรจุลิ้นจี่เท่านั้น และต่อไปเพื่อที่จะสามารถบรรจุเงาะได้เพิ่มเติม ซึ่งได้ลงต้นอ่อนไว้แล้วโดยมีอายุประมาณ 3-4 ปี โดยแม่พันธุ์ได้นำมาจากรัฐเซนาลัว Sinaloa ทางภาคเหนือของประเทศเม็กซิโกและจากคอสตาริกา แต่นาย Moreno คาดว่าการเพาะปลูกเงาะจะขยายการผลิตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากต้นเงาะให้ผลผลิตได้ภายในหนึ่งปีได้ และหากการส่งออกได้ราคาดี ย่อมมีเกษตรกรหันมาปลูกเงาะเป็นจำนวนมาก อาจเป็นผลให้มีการส่งออกเงาะไปยังสหรัฐฯที่เกินความต้องการภายใน 5 ปีข้างหน้า จึงมีความจำเป็นต้องหาพืชผลไม้อื่นมาเพาะปลูกเพื่อกระจายความเสี่ยง และเพื่อใช้โรงบรรจุกล่องให้เต็มกำลัง

2. รายงานด้านการวิจัยภาวะการเพาะปลูกและการส่งออกลิ้นจี่ของประเทศเม็กซิโก

ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรพาณิชย์ของเม็กซิโก ASERCA ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเพาะปลูกลิ้นจี่ ร่วมกับศูนย์วิจัย CIESTAAM มหาวิทยาลัยชาพิงโก Chapingo รัฐเอสตาโด เดอ เม็กซิโก Estado de Mexico โดยสรุปใจความของรายงานได้ดังต่อไปนี้ (รายงานเป็นภาษาเสปนรวมประมาณ 200 หน้า ณ เวปไซด์ www.aserca.gob.mx/sicsa/proafex/LITCHI_MEXICANO.pdf)

การเพาะปลูกลิ้นจี่ในระดับใหญ่เพื่อการค้าในประเทศเม็กซิโก ได้เริ่มต้นโดยในครัวเรอน Redo de Culiacan ที่รัฐซีนาลัว Sinaloa โดยได้นำแม่พันธุ์มาจากประเทศจีน มาเป็นเวลานานประมาณร้อยปีแล้ว

พื้นที่การเพาะปลูกขยายอย่างรวดเร็ว

ในระหว่างปี 1960-1980 รัฐบาลของเม็กซิโกได้พยายามส่งเสริมการขยายการปลูกผลไม้ในเชิงพาณิชย์หลากหลายชนิด โดยการรณรงค์ของสภาผลไม้แห่งชาติ (CONAFRUT) สถาบันวิจัยป่าไม้ เกษตร และปศุสัตว์ (INIFAP) สถาบันกาแฟแห่งเม็กซิโก (INMECAFE) และเกษตรกรอิสระ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากการขาดประสบการณ์ในการเพาะปลูก และขาดการส่งเสิรมทางการตลาดเพื่อให้ผลไม้ที่ได้รับการส่งเสริมใหม่ได้รับการยอมรับของผู้บริโภคท้องถิ่น

ปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้รัฐบาลเม็กซิโกหันมาส่งเสริมการปลูกผลไม้เชิงเกษตร โดยเฉพาะลิ้นจี่ ได้แก่การที่ประเทศเม็กซิโกปลูกต้นกาแฟในประเทศอยู่มากและมีมีราคาตกต่ำลง โดยผลของการวิจัยการเกษตรได้บ่งชี้ว่า ผลไม้ที่เหมาะแก่การปลูกทดแทนกาแฟได้แก่ ผลไม้มาราคูยา maracuy (ผลไม้ตระกูลส้ม) ต้นถั่วมักคะเดเมีย macademia และต้นลิ้นจี่

มีการเก็บสถิติเกี่ยวกับพื้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่จากปี 1976 เป็นต้นมา โดยมีการบันทึกตัวเลขพื้นที่การเพาะปลูกต้นลิ้นจี่ในปีนั้นมีทั้งหมด 1.82 ล้านตารางเมตร ซึ่งพื้นที่ 1.8 ล้านตารางเมตรเป็นพื้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่ในรัฐเซนาลัว Sinaloa เพียงรัฐเดียว อีก 2 หมื่นตารางเมตรเป็นพื้นที่การเพาะปลูกในรัฐนายาริด Nayarit สถิติปี 1996 แสดงพื้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่จำนวน 102 ล้านตารางเมตร โดยเขตการเพาะปลูกได้ขยายไปสู่รัฐอื่น ๆ นอกเหนือจากซานาลัว Sinaloa อันได้แก่ รัฐ ซานหลุย โบโตซี San Luis Potosi รัฐนายาริด Nayarit รัฐพัวบลา Puebla รัฐเวราครูซ Veracruz รัฐวาฮาก้า Oaxaca รัฐบาฮาแคลิฟอร์เนียใต้ Baja California Sur รัฐคัวอะฮูลา Coahuila, รัญคัมเพเช Campeche รัฐเชียพัส Chiapas และรัฐฮิลดาโก้ Hidalgo ทั้งนี้ การเก็บตัวเลขยอดขายของต้นอ่อนลิ้นจี่จากธุรกิจเพาะต้นอ่อนบ่งชี้ว่า เกษตรกรมีความสนใจขยายการเพาะปลูกลิ้นจี่มากพอสมควร

ตลาดภายในประเทศไม่พัฒนา

การบริโภคลิ้นจี่ภายในประเทศยังไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคโดยทั่วไป ผู้ซื้อผลไม้ในเม็กซิโกมีความเห็นว่า ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่แปลก (exotic) และที่สำคัญมีราคาแพง เมื่อเทียบกับผลไม้พื้นเมืองอื่นๆ หรือผลไม้ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ที่มีหลายหลายประเภทและราคาพอประมาณ

โครงสร้างการขนส่งจากผู้ผลิตลิ้นจี่ไปยังตลาดขายส่งผลไม้ตามภูมิภาคต่าง ๆ ยังขาดการพัฒนา และมีการแบ่งตลาดในระดับภูมิภาค โดยการเพาะปลูกในพื้นที่รัฐซานหลุย โปโตซี San Luis Potosi เน้นการส่งขายในพื้นที่ใกลัเคียง โดยรัฐพัวบลา Puebla รัฐเวราครูซ Veracruz และรัฐนายาริด Nayarit เน้นการส่งไปยังศูนย์ค้าส่งผลไม้ CEDA ของกรุงเม็กซิโก ซึ่งเป็นศูนย์จำหน่ายขายส่งผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเม็กซิโก และเป็นแหล่งป้อนผลไม้ให้กับเครือข่ายห้างสรรพสินค้าสำคัญ ๆ เช่นห้างอาเรร่า Aurrera, ห้างซุปเปอร์ ซุปเปอรามาSuperama ห้างซุปเปอร์เชราอุล (เดิมห้างฯ คาร์ฟู) Chedraui และห้างซุปเปอร์จิกานเต้ Gigante รวมทั้งการขายส่งให้กับร้านอาหารและโรงแรม ส่วนรัฐอื่น ๆ ส่งขายไปตามศูนย์จำหน่ายผลไม้ในพื้นที่ (Centrales de Abasto) ของรัฐต่าง ๆ

การเพาะปลูกลิ้นจี่ในเชิงเกษตรพาณิชย์ จึงมีโอกาสของการตลาดขึ้นอยู่กับการส่งออกเป็นหลัก โดยมีรัฐเซยาลัว Sinaloa และรัฐเนยาริด Nayarit เน้นการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ ส่วนรัฐเวราครูซ Veracruz มุ่งส่งออกไปยังญี่ปุ่นและยุโรป ซึ่งใช้บริการโครงสร้างเพื่อการส่งออกผลไม้ที่มีอยู่ดั้งเดิมในพื้นที่เหล่านี้

ปัญหาการพัฒนาสำคัญ

การส่งออกลิ้นจี่ของเม็กซิโกยังขาดคุณภาพ และประสบปัญหาต่าง ๆ เช่นการขาดการสนับสนุนทางการเงินเพื่อพัฒนาโครงสร้าง การขาดงบประมาณการรณรงค์การขายและการส่งออก หรือการเริ่มโครงการใหม่ โดยขาดประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลต้นไม้ และความไม่คุ้นเคยเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูกที่จะให้ผลผลิตงอกงามเต็มที่ โดยรวมแล้วทั้งเกษตรกรและผู้ส่งออกขาดการผสมผสานรวบรวมข้อมูลความรู้และประสบการณ์จากการเพาะปลูกผลไม้อื่น ๆ มาใช้ปรับปรุงการผลิตลิ้นจี่ รวมทั้งการขาดการพัฒนาการตลาดสำหรับผู้บริโภคภายในประเทศ

ผลไม้ที่สามารถขยายการผลิตในเชิงพาณิชย์อื่น ๆ มีโอกาสหลายประเภทเช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้รับการส่งเสริม ขาดความรู้ด้านเทคนิค ขาดการวิจัย และมีตลาดแคบ โดยเฉพาะภายในประเทศ และแนวทางการขยายฐานของผู้บริโภคของผลไม้เพื่อไปสู่อาหารในรูปแบบอื่นๆ โดยการแปรรูป อาทิ ในรูปแบบกระป๋อง อบแห้ง ไอศกรีม ขนมเป็นต้น

ศูนย์ส่งเสริมเกษตรพาณิชย์เม็กซิโก ได้เสนอแนะว่าควรมีการตั้งองค์กรรวมสำหรับการส่งเสริมผลไม้ (Patronato de Frutas Ex?ticas) โดยใช้ลิ้นจี่เป็นผลไม้นำทาง เนื่องจากลิ้นจี่เป็นผลไม้ส่งออกที่มีผลตอบแทนในเชิงพาณิชย์สูง และควรส่งเสริมการเพาะปลูกผลไม้อื่น ๆ ที่มีพันธุ์ผลไม้ใกล้เคียง เช่น เงาะ ลำไย หรือ pulasan (เงาะขนสั้น) โดยควรจะมีเป้าหมายพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตได้คุณภาพดี และส่งขายได้ตลอดปี ลดความผันผวนของการผลิตตามฤดูกาล รวมทั้งความจำเป็นในการวิจัยค้นหาวิธีการเพิ่มอายุขัย storage shelf life ทั้งนี้ รายงานดังกล่าว ได้บ่งชี้ว่าฤดูกาลผลิตลิ้นจี่ของเม็กซิโก มีความได้เปรียบในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่การผลิตโลกไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดยุโรป

ปัญหาสำคัญของผลผลิตลิ้นจี่จากเม็กซิโกที่เป็นปัจจัยลดความแข่งขันด้านการขาย ได้แก่ การเสียคุณภาพเร็ว เปลือกดำง่าย ลูกเล็ก การเก็บเกี่ยวไม่ถูกเวลา การรักษาหลังการเก็บเกี่ยวและการบรรจุหัยห่อยังขาดการพัฒนา

3. ข้อคิดเห็นของ สคต. ณ กรุงเม็กซิโก:

การผลิตลิ้นจี่เพื่อการส่งออกจากประเทศเม็กซิโก เป็นคู่แข็งสำคัญสำหรับการส่งออกลิ้นจี่จากประเทศไทย โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐฯ แต่เป็นกระบวนการที่ได้เริ่มมาแล้วหลายปีและไม่สามารถหยุดยั้งได้ ผู้ผลิตเม็กซิโกนับวันจะมีข้อได้เปรียบในตลาดสหรัฐฯ อย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ผลิตเม็กซิโกในปัจจุบันยังต้องได้รับการพัฒนาในการเพิ่มผลผลิต กระบวนการความรู้เกี่ยวกับการบรรจุและขนส่ง การประสานนโยบายในระดับรัฐเพื่อป้องกันการผลิตเกินความต้องการของตลาด ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรและการตลาด

ในเมื่อผู้ผลิตลิ้นจี่ของไทยได้สะสมประสบการณ์เกี่ยวการส่งออกผลไม้มาเป็นเวลานาน ต้องแข่งขันกับผู้ผลิตลิ้นจี่และผลไม้ใหม่ ๆ จากทั่วโลก ซึ่งยิ่งนับวันมีผู้ส่งออกรายใหม่เกิดขึ้น ซึ่งได้เปรียบทางด้าน ราคา การขนส่ง ระยะทาง โครงสร้างทางภาษีหรือกฎระเบียบการนำเข้า เช่น ประเทศเวียดนาม ประเทศจีน แอฟริกาหรือประเทศเม็กซิโกเองที่เริ่มเข้าตลาดใหม่ ผู้ส่งออกผลไม้ไทยน่าจะพิจารณาโอกาสการลงทุนร่วมกับเกษตรกรเม็กซิโก เพื่อตักตวงผลประโยชน์จากความใกล้ชิดกับตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญ แต่เจาะลำบากเนื่องจากกฏระเบียบด้านมาตรฐานสุขลักษณะที่สหรัฐฯ กำหนดใช้กับผลไม้นำเข้าจากประเทศไทย ระบบโลจิสติกส์ที่ต้องเสียเปรียบ ทำให้ราคาผลไม้ไทยมาสู่ผู้บริโภคที่มีราคาแพง และสูญเสียระยะเวลาของผลไม้ เนื่องจากระยะทางการขนส่ง จึงถือว่ายังมีโอกาสสำหรับผลไม้บางประเภทของไทยที่จะสามารถเข้ามาร่วมพัฒนาการเพราะปลูกมาสู่ตลาดในสหรัฐฯ ในรูปแบบการร่วมลงทุนในต่างประเทศ การร่วมการทำตลาและการพัฒนาขบวนการผลิตและการขยายฐานการผลไม้ให้มีการแปรรูปในอนาคตได้

ทั้งนี้หากมีผู้สนใจที่เป็นผู้ผลิตผู้ส่งออกผลไม้ไทย และมีความสนใจร่วมลงทุนพัฒนาสายพันธุ์และการตลาดกับฝ่ายเม็กซิโกจอได้โปรดติดต่อมา ณ ที่ e-mail: thaitcmexico@profigy.net.mx หรืที่ติดต่อของสำนักงานฯ ในเวปของกรมส่งเสริมการส่งออกในโอกาสแรกด้วย

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ