สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.—ส.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 29, 2009 14:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง         :   Washington , DC
พื้นที่              :   9,161,923  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ       :   English
ประชากร          :   301.6 ล้านคน (1 ก.ค. 2550)
อัตราแลกเปลี่ยน     :   US$ : 33.3057 บาท (24/09/52)

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐอเมริกา

                                   มูลค่า :          สัดส่วน %        % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  10,276.91         100.00           -25.67
สินค้าเกษตรกรรม                       933.26           9.08           -26.38
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร             1,268.55          12.34            -0.34
สินค้าอุตสาหกรรม                     7,805.20          75.95           -28.25
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    269.90           2.63           -33.45
สินค้าอื่นๆ                               0.01            0.0       818,699.72
ข้อสังเกต : (สำหรับสินค้าอื่น ๆ  ในปี 2552 (มค.- สค.) มีมูลค่าการนำเข้า 0.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ไม่มีมูลค่าการนำเข้า ทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง  818,699.72 )

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                               มูลค่า :       สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                                     5,264.33       100.00        -30.32
สินค้าเชื้อเพลิง                                      74.90         1.42        -54.57
สินค้าทุน                                        1,957.75        37.19        -26.14
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                         2,469.35        46.91        -35.74
สินค้าบริโภค                                       666.56        12.66        -18.07
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                         65.40         1.24         -0.78
สินค้าอื่นๆ                                          30.36         0.58         72.22

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐอเมริกา
                           2551             2552          %

(ม.ค.-สค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            21,380.78         15,541.24     -27.31
การส่งออก                13,825.25         10,276.91     -25.67
การนำเข้า                 7,555.53          5,264.33     -30.32
ดุลการค้า                  6,269.72          5,012.58     -20.05

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 5,264.33 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 30.32
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                         5,264.33          100.00         -30.32
1.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                  677.65           12.87          -5.82
2.แผงวงจรไฟฟ้า                             595.26           11.31         -27.65
3.เคมีภัณฑ์                                  484.69            9.21         -36.10
4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                374.60            7.12          -3.68
5.เครื่องคอมพิวเตอร์                          368.42            7.00         -40.63
         อื่น ๆ                             569.52           10.82         -36.21

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปเป็นสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 1 มูลค่า 10,276.91  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.67
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                  10,276.91          100.00        -25.67
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                  1,754.00           17.07        -26.33
2.อาหารทะเลกระป๋อง                   712.48            6.93          1.76
3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                      693.60            6.75        -29.04
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                         531.01            5.17        -16.41
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                 486.71            4.74        -31.76
            อื่น ๆ                  1,978.74           19.25        -27.38

4. ข้อสังเกต
4.1  สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (มค.- สค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากจีนและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- สค.) พบว่าปี 2552 (มค.- สค.) มีอัตราการขยายตัวลดลง 26.33 ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ44.83 17.40 และ 1.13 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (ม.ค.- ส.ค.)พบว่าปี 2550 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.04 ในขณะที่ปี 2549 2551 และ 2552 (ม.ค.- ส.ค.)มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25 14.18 และ 1.76 ตามลำดับ เมื่อเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ผลิตภัณฑ์ยาง : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- สค.) พบว่า ปี 2552 (มค.- สค.) มีอัตราการขยายตัวลดลง 16.41 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 23.36 11.87 และ 11.22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549-2552 (ม.ค.- ส.ค.) พบว่า ปี 2549 และ ปี 2552 (ม.ค.- ส.ค.) ที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 1.84 และ 31.76 ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และ 4.78 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552(ม.ค.- สค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูง มีรวม 3 รายการ คือ
       อันดับที่ / รายการ                    มูลค่า        อัตราการขยายตัว    หมายเหตุ
                                     ล้านเหรียญสหรัฐ         %
2.  อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป             712.48           1.76
12. ข้าว                                 240.45           3.68
23. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ             109.48          12.34


4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.- สค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 22 รายการ คือ
       อันดับที่ / รายการ                               มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                                ล้านเหรียญสหรัฐ           %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                1,754.00          -26.33
3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                      693.60          -29.04
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                                         531.01          -16.41
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                                 486.71          -31.76
6.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                       457.27          -23.52
7.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                      385.93          -25.86
8.กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                                   381.58           -5.88
9.แผงวงจรไฟฟ้า                                       320.61          -36.06
10.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                               304.83           -2.02
11.น้ำมันดิบ                                           268.48          -28.27
13.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล              184.22          -15.13
14.เครื่องโทรศัพท์  เครื่องตอบรับโทรศัพท์                    155.15          -21.07
15.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                     150.32          -35.63
16.ยางพารา                                          148.40          -64.98
17.ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน                   146.66          -28.19
18.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                            146.25          -60.52
19.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                                136.22          -16.60
20.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน                 130.73          -20.43
21.เลนซ์                                             130.51          -14.96
22.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                          126.10          -48.24
24.เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ                    99.34           -18.77
25.รองเท้าและชิ้นส่วน                                   97.86           -39.17

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษียางล้อรถยนต์ของจีน ส่งผลให้ผู้ส่งออกยางล้อรถของจีนได้รับผลกระทบที่ถูกปรับภาษีขึ้นถึงร้อยละ 31 (จากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 31 ในปีแรก) โดยทางการจีนยื่นฟ้องสหรัฐฯ ต่อองค์การการค้าโลก (WTO) และใช้มาตรการทางการค้าตอบโต้สหรัฐฯ โดยประกาศไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าไก่และรถยนต์จากสหรัฐฯ ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าการส่งออกไก่ของสหรัฐฯ ไปจีนน่าจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกไก่ที่สำคัญของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอุ้งเท้าไก่ การใช้มาตรการทางการค้าตอบโต้ระหว่างสหรัฐฯ และจีน อาจเร่งให้กระแสการกีดกันทางการค้าทั่วโลกรุนแรงขึ้น ซ้ำเติมต่อภาวะการค้าโลกที่ซบเซาอยู่แล้วในปัจจุบัน และเป็นปัจจัยถ่วงการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกด้วย นอกจากนี้ การส่งออกของจีนที่เผชิญกับปัญหาจากมาตรการกีดกันทางการค้า คาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางไปจีนของประเทศในเอเชียและไทยสำหรับใช้ผลิตเพื่อส่งออกอาจต้องได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในฐานะที่จีนเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกและยังมีบทบาทสำคัญในการนำเข้าสินค้าจากภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทยเพื่อผลิตและส่งออก

ปัญหาจากมาตรการกีดกันทางการค้าเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในที่ประชุมกลุ่มผู้นำจี 20 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24-25 กันยายนนี้ หากผู้นำกลุ่มจี 20 ยึดมั่นต่อข้อตกลงในที่ประชุมผู้นำกลุ่มจี 20 ใน 2 ครั้งก่อนหน้า ที่ให้ประเทศต่างๆ ร่วมกันเปิดตลาดสินค้าและลดมาตรการกีดกันทางการค้าที่เป็นรูปธรรม ก็คาดว่าอาจส่งผลให้บรรยากาศการค้าโลกปรับดีขึ้นและช่วยให้การค้าโลกหลุดพ้นจากภาวะหดตัวได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ดีขึ้นด้วย เนื่องจากมูลค่าการค้าของกลุ่มจี 20 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 ของการค้าโลก โดยสหรัฐฯ และจีนถือเป็นประเทศผู้ส่งออกและนำเข้ามีมูลค่าสูงอยู่ใน 3 อันดับแรกของโลก

สำหรับผลต่อประเทศไทยต่อการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ กับยางล้อรถยนต์จากจีนนั้น คาดว่า การส่งออกยางพาราของไทยอาจได้รับผลกระทบจากการที่ยางล้อรถยนต์ของจีนถูกสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษี ทำให้ความต้องการนำเข้ายางพาราจากจีนเพื่อผลิตเป็นยางล้อส่งออกไปสหรัฐฯ ชะลอลง แต่คาดว่าผลกระทบนี้อาจไม่รุนแรงนัก เนื่องจากยังมีความต้องการนำเข้ายางพาราจากจีนเพื่อใช้ผลิตยางล้อรถสนองความต้องการของตลาดรถยนต์ในจีนที่ยังเติบโตได้ดี เนื่องจากอานิสงส์ของมาตรการกระตุ้นการซื้อรถยนต์ของภาครัฐ นอกจากนี้ การปรับขึ้นภาษียางล้อของสหรัฐฯ จากจีน อาจเร่งให้ผู้ผลิตยางรถยนต์ของจีนอาจหันมาลงทุนผลิตยางล้อในไทยมากขึ้นด้วย

สำหรับการส่งออกยางล้อรถของไทยไปสหรัฐฯ อาจมีขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับยางล้อรถจีนที่ถูกปรับเพิ่มภาษี แต่การที่ทางการจีนอาจใช้มาตรการช่วยเหลือบริษัทผลิตยางล้อและบริษัทส่งออกยางล้อในประเทศ ตามข้อเรียกร้องของภาคเอกชน เช่น การปรับเพิ่มอัตราภาษีคืนภาคส่งออก (Rebate Tax) การปรับลดอัตราภาษีส่งออกและการใช้ยางล้อที่ผลิตในประเทศมากขึ้น อาจช่วยบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ และส่งผลให้ขีดความสามารถด้านราคาของยางล้อรถจีนในสหรัฐฯ ดีขึ้น ทำให้ผลดีข้างต้นของการส่งออกยางล้อรถของไทยไปสหรัฐฯ ลดลงไป นอกจากนี้ การส่งออกยางล้อรถของไทยอาจต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นกับยางล้อของจีนทั้งในประเทศไทยและในตลาดประเทศที่สาม เนื่องจากผู้ส่งออกยางล้อของจีนอาจหันมาส่งออกไปตลาดอื่นๆ มากขึ้น ทดแทนตลาดสหรัฐฯ ที่ถูกปรับขึ้นภาษี

ส่วนการตอบโต้ทางการค้าของจีนที่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นภาษีสินค้าไก่จากสหรัฐฯ โดยอยู่ระหว่างการไต่สวนการทุ่มตลาดนั้น คาดว่าอาจไม่ได้ส่งผลดีต่อโอกาสการขยายการส่งออกไก่ของไทยไปจีนเท่าไรนัก เนื่องจากสินค้าไก่ที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นไก่แปรรูป โดยมีตลาดส่งออกหลักอยู่ที่ญี่ปุ่น สัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่ง รองลงมาเป็นอังกฤษ (สัดส่วนร้อยละ 29) ขณะที่สินค้าส่งออกไก่ของสหรัฐฯ ที่จีนนำเข้าส่วนใหญ่เป็นอุ้งเท้าไก่ และการส่งออกของไทยไปจีนเป็นสินค้ากระดูกสัตว์ปีกและขนสัตว์ปีกและสินค้าปศุสัตว์อื่นๆ ซึ่งยังมีมูลค่าค่อนข้างน้อยเฉลี่ยปีละราว 3.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าสินค้าไก่ของไทยไปจีนจะได้รับอานิสงส์จากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีภายใต้กรอบความ ตกลง FTA อาเซียน-จีน ตั้งแต่ปี 2548 แล้วก็ตาม โดยอัตราภาษีสินค้าไก่ของไทยไปจีนในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 5 และจะเหลือร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2553 แต่มูลค่าส่งออกสัตว์ปีกของไทยไปจีนระหว่างปี 2548 ถึงปัจจุบันยังค่อนข้างน้อยและคงที่

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ