ภาวะเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์นับว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้งในกลุ่มของชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น เครื่องปรับอากาศ แนวโน้มดังกล่าวเป็นผลมาจากตลาดโลกที่เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวแม้อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นภาคที่อ่อนไหวและผันตัวตามภาวะตลาดโลก เมื่อสถานการณ์ตลาดโลกเริ่มดีขึ้น จึงทำให้มียอดคำสั่งซื้อกลับเข้ามาเพิ่มมากขึ้น คาดว่าปลายปีนี้จะมีอัตราการขยายตัวลดลง 10% จากปี 2551 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ไว้เมื่อต้นปีนี้ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์จะมีอัตราการขยายตัวลดลง 30%
ทั้งนี้ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ปี 2553 มีความเป็นไปได้สูงที่จะกลับเป็นบวกเนื่องจากปี 2552 การส่งออกติดลบมากทำให้ฐานะการส่งออกปี 2552 ต่ำลงและคาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์จะไม่สูงเท่ากับฐานปี 2551 ที่ 1.65 ล้านล้านบาทและต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี จึงจะกลับมามีมูลค่าเท่ากับปี 2551 ได้
ขณะที่คำสั่งซื้อมีแนวโน้มดีขึ้นทำให้การใช้กำลังผลิตสูงขึ้นโดยครึ่งปีแรกใช้กำลังผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ 50-60%คาดในไตรมาส 3 ปีนี้ การใช้กำลังผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% และลดลงในไตรมาส 4 เล็กน้อยตามฤดูกาล ทั้งนี้คำสั่งซื้อที่เข้ามามากขึ้นทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มงานล่วงเวลา (โอที) และบางโรงงานต้องรับคนงานเพิ่มโดยโรงงานอิเลคทรอนิคส์มีความต้องการแรงงานเพิ่มประมาณ 1 หมื่นคน เพราะคำสั่งซื้อเข้ามาเร็วและมีระยะเวลาส่งมอบทำให้ต้องเพิ่มโอทีและหาแรงงานเสริมเพื่อเร่งผลิตให้ทันตามที่ลูกค้าต้องการ ที่ผ่านมาผู้นำเข้าจะสั่งซื้อสินค้าแบบสัญญาระยะยาวและทยอยส่งมอบใน 6-12 เดือน แต่ปัจจุบันผู้นำเข้าทำสัญญาระยะสั้นส่งมอบภายใน 30-45 วัน เท่านั้น
จากแนวโน้มดังกล่าวทำให้ภาคการผลิตต้องมีการปรับตัวรับมือกับการจ้างงานที่กำลังกลับเข้ามาเนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวก่อนหน้านี้ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับลดจำนวนแรงงาน ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมต้องมีความพร้อมในด้านของการเพิ่มทักษะและพัฒนาฝีมือแรงงานการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับกระแสการดูแลสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน หรือให้มีกลไกอัจฉริยะ ตลอดจนการซ่อมบำรุงรักษาสายการผลิตให้อยู่ในสภาพดีเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต
สำหรับทิศทางการทำตลาดผลิตภัณฑ์ในอนาคต จะเป็นการผลิตสินค้าตามเทรนด์ของตลาดโลก ที่มุ่งเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองกระแสของการดูแลสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Green Product ซึ่งปัจจุบันมีเอกชนได้ผลิตสินค้าดังกล่าวแล้วในประเภทคอมเพรสเซอร์และเครื่องปรับอากาศ โดยแนวโน้มดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับเทรนด์ของตลาดโลก ปัจจุบันอาเซียนอยู่ระหว่างจัดทำร่างระเบียบมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ โดยมีเป้าหมายให้ชาติสมาชิกอาเซียน ยอมรับมาตรฐานตรวจสอบสินค้าระหว่างกันโดยเดือน ต.ค.นี้ จะมีการประชุมความคืบหน้าร่วมกันที่ประเทศอินโดนีเซีย และจะประกาศบังคับใช้ระเบียบมาตรฐานดังกล่าววันที่ 1 ม.ค.2554 ซึ่งจะเป็นบันไดก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะเสนอรายชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งชื่อผลิตภัณฑ์ของแต่ละประเทศอาจไม่เหมือนกัน โดยสินค้าที่ไทยจะเสนอให้อาเซียนพิจารณามี 34 รายการและอยู่ในมาตรฐานบังคับของ สมอ. เช่น หลอดไฟฟ้า บัลลาสต์ สวิตช์ไฟฟ้า สตาร์ทเตอร์ สายไฟทองแดง สายไฟอะลูมิเนียม เตารีด เป็นต้น การใช้ระเบียบดังกล่าว จะทำให้การค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ในอาเซียนคล่องตัวขึ้น เพราะปัจจุบันการส่งออกสินค้าดังกล่าวจะใช้ใบรับรองจากประเทศผู้ผลิต แต่ต้องตรวจสอบคุณภาพสินค้าซ้ำ ซึ่งไทยส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ปฟิลิปปินส์จำนวนมาก ขณะนี้ฟิลิปปินส์ต้องส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบโรงงานในไทยก่อนอนุญาตนำเข้า แต่เมื่อระเบียบมาตรฐานดังกล่าวบังคับใช้แล้ว ผู้ผลิตสามารถขอรับรองที่ สมอ.ได้ทั้งนี้ในอนาคตอาเซียนมีเป้าหมายพัฒนาไปสู่เครื่องหมาย "Asian Mark" เหมือนอียูภายในปี 2558 ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตสินค้าในอาเซียนสามารถรับรองมาตรฐานจากประเทศใดในอาเซียนก็ได้
ปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) ประเทศไทยส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ มูลค่า 16,354.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 23.48
ตลาดหลักในการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ 5 อันดับแรกของปี 2552 (ม.ค.- ส.ค.) ได้แก่ จีน สหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ โดยมีอัตราขยายตัวลดลงทุกตลาด
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเทศ 2551 (ม.ค.-ส.ค.) 2552 (ม.ค.- ส.ค.) % ขยายตัว % สัดส่วน จีน 4,331.13 3,558.11 -17.85 21.76 สหรัฐฯ 3,377.53 2,411.06 -28.61 14.74 ฮ่องกง 2,668.91 1,920.25 -28.05 11.74 ญี่ปุ่น 2,072.66 1,540.91 -25.66 9.42 สิงคโปร์ 1,628.29 1,350.48 -17.06 8.26 ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก ทั้งนี้หากพิจารณาการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดโลก (57 ประเทศ) จะพบว่าตลาดส่งออกที่มีมูลค่าการส่งออกไม่ต่ำกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ ประเทศ 2551 (ม.ค.- ส.ค.) 2552 (ม.ค.- ส.ค.) % ขยายตัว % สัดส่วน 17.อิหร่าน 14.93 152.40 920.95 0.93 34.กัมพูชา 10.09 20.29 101.02 0.12 52.ซีเรีย 0.55 2.91 427.03 0.02 54.ปานามา 0.01 2.24 27,174.35 0.01 ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก กลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออก
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ปี 2552 (ม.ค.- ส.ค.) แม้ว่าสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มมีทิศทางที่ชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เห็นได้จากการส่งออกของหลายๆ อุตสาหกรรมที่กลับมาปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกเพราะมีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มมากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศแต่อย่างไรก็ตามยังคงอยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องร่วมมือกันในการกระตุ้นการขับเคลื่อน โดยเฉพาะการสร้างยุทธศาสตร์เชิงรุกและการสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทย อาทิ
- พัฒนาคุณภาพและรูปแบบสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและเพิ่มมูลค่าสินค้า
- หาตลาดใหม่ทดแทนตลาดสหรัฐอเมริกา เช่น ตลาดอินเดีย ตะวันออกกลาง อาเซียน เป็นต้น
- ส่งเสริมการสร้าง Brand สินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวสินค้าและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ
- ลงทุนในส่วน Research Development มากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพสินค้าไทยให้ทันสมัยและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
- จัดตั้ง Outlet เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าในประเทศ
- บริหารงานด้านโลจิสติกส์ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ประสานงานกับ BOI เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าในประเทศ
เป้าหมายการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2552 จะมีมูลค่าเท่ากับการส่งออกปี 2551 คือ 18,029 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.1 ของเป้าหมายการส่งออกรวมทั้งประเทศ
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปีนี้คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะมีอัตราขยายตัวในช่วงไตรมาส 3 และจะเริ่มลดลงโดยจะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2553 และสูงสุดในไตรมาส 3 ปีหน้า เนื่องจากเป็นสินค้าราคาไม่สูงทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่าย รวมทั้งผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ เช่น ไอที อุปกรณ์สื่อสาร พยายามสร้างเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาจูงใจผู้บริโภคต่อเนื่อง
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2551 2552 การเปลี่ยนแปลง (%) สินค้า 2550 2551 ม.ค.- ส.ค. ม.ค.- ส.ค. 2550 2551 2552
ม.ค.-ส.ค. ม.ค.-ส.ค.
เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ฯ 3,070.84 3,150.33 2,169.06 1,819.21 -11.18 2.59 -16.13 เครื่องปรับอากาศ 3,189.10 3,274.32 2,531.09 1,670.90 39.41 2.67 -33.98 ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 1,152.73 1,376.13 940.20 788.04 22.14 19.38 -16.18 ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก พบว่า ตลาดสาธารณรัฐเช็ก (2) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบของไทยมีมูลค่าการส่งออก 183.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมีการส่งออกเพียง 8.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตราการขยายตัวสูงมากถึง 2,050.45 ทั้งนี้ การส่งออกใน 50 ประเทศแรกมีตลาดส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวสูงเกินร้อยละ 100 อาทิ สาธารณรัฐเช็ก (2) อาร์เจนติน่า(22) อิตาลี (33) อียิปต์ (37) และลิเบีย (41) มีอัตราการขยายตัว 2,050.45 141.80 892.52 507.32 และ 250.62 ตามลำดับ
การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซียและสหรัฐฯอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของไทย มีอัตราการขยายตัวลดลงทุกตลาดทั้งนี้การส่งออกใน 50 รายการแรก มีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่า ร้อยละ 50 คือ จีน (22) สวีเดน (27) รัสเซีย (28) ไนจีเรีย (33) และนอร์เวย์ (44) มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.62 54.98 1,035.63 199.36 และ73.14 ตามลำดับ
คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เห็นชอบให้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศชนิดขนาดไม่เกิน 72,000 บีทียูต่อชั่วโมง จากเดิมที่จัดเก็บภาษีในอัตรา 15% เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม เกิดความสะดวกทางการค้าและสร้างแรงจูงใจ ให้สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ ได้มากขึ้น กรอ.ให้เหตุผลการยกเลิกภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศ เพราะปัจจุบันเครื่องปรับอากาศ ไม่ถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอีกต่อไปแล้ว และแม้ว่าการยกเลิกการเก็บภาษีจะกระทบรายได้ภาครัฐ แต่จะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ประโยชน์ 2 พันราย ส่วนประชาชนจะซื้อสินค้าเครื่องปรับอากาศได้ถูกลง 10%
การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก พบว่ามีเพียงตลาดเวียดนาม(2) และฟิลิปปินส์(4) ที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.94 และ 0.35 ทั้งนี้ ตลาดส่งออกสินค้าตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบใน 50 ประเทศแรก มีตลาดส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวสูงเกินร้อยละ 50 อาทิ แอลจีเรีย (18) พม่า(22) ลิเบีย (40) มอร็อคโค (45) มีอัตราการขยายตัว 88.51 55.87 61.61 และ 100.45 ตามลำดับ
แม้ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นของไทยยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งธุรกิจร้านอาหาร นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจค้าปลีกทุกระดับ ทั้งมินิมาร์ท ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เกต และไฮเปอร์มาร์เกต ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ส่วนในต่างประเทศการส่งออกขยายตัวมากในตลาดหลัก ทั้งยุโรป และอเมริกาเพราะในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้บริโภคบริโภคอาหารแช่แข็งแทนอาหารนอกบ้าน สำหรับสินค้าที่การส่งออกขยายตัวมาก มีทั้งเครื่องผลิตน้ำแข็งแผ่น ที่ใช้ในการแช่อาหารสด เครื่องผลิตน้ำแข็งแบบเกล็ด ซึ่งใช้ในร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ เครื่องบรรจุน้ำแข็งอัตโนมัติ ซึ่งการส่งออกขยายตัวมากในหมู่เกาะมาร์แชล ปากีสถาน มัลดีฟส์ บังคลาเทศ และอาเซียน สินค้าไทยได้เปรียบคู่แข่งมาก เพราะมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพัฒนาเทคโนโลยี ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบสนองความต้องการหลากหลายของผู้ชื่อเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญผลักดันไทยสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมนี้ของอาเซียน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
การส่งออกสินค้าอิเลคทรอนิคส์ในช่วง 8 เดือนแรก (มค.-สค.) ของปี 2552 มีมูลค่าทั้งสิ้น16,354.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ23.48
เป้าหมายการส่งออกอิเลคทรอนิคส์ในปี 2552 จะมีมูลค่าเท่ากับการส่งออกปี 2551 คือ 13,102 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.5 ของเป้าหมายการส่งออกรวมทั้งประเทศ
การส่งออกสินค้าอิเลคทรอนิคส์เริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาในไตรมาส 2 โดยเฉพาะกลุ่มฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ซึ่งมีปัจจัยจากความต้องการสินค้ามีมากขึ้นเพื่อทดแทนสินค้าคงคลังรวมทั้งต้องการสินค้ารองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดระดับบน เช่น ไอโฟน 3 จี ทำให้คาดว่าไตรมาส 4 การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟจะเพิ่มขึ้น โดยสินค้าอิเลคทรอนิคส์จะกลายเป็นสินค้าพื้นฐานและเป็นสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
2551 2552 การเปลี่ยนแปลง (%) สินค้า 2550 2551 ม.ค.- ส.ค. ม.ค.- ส.ค. 2550 2551 2552
ม.ค.-ส.ค. ม.ค.-ส.ค.
เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ 17,331.58 18,384.60 12,551.17 9,669.97 16.56 6.07 -22.96 แผงวงจรไฟฟ้า 8,418.14 7,241.26 5,192.44 3,881.40 19.75 -13.98 -25.25 ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก
การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ ตลาดจีน สหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ฯของไทยมีอัตราการขยายตัวลดลงทุกตลาด ทั้งนี้ การส่งออกใน 50 รายการแรก มีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่า ร้อยละ 100 คือ อิหร่าน (11) พม่า (30) ลาว (37) และเดนมาร์ก(46) มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,046.85 106.33 106.43 และ 196.78 ตามลำดับ
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผลประกอบการปีงบประมาณ 2552 (สิ้นสุดเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา) บริษัทมีรายได้เติบโตเพิ่มจาก 21% เมื่อปีที่ผ่านมาเป็น 22% คิดเป็นอัตราขยายตัว 2 เท่าของตลาดซอฟต์แวร์ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 3 นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็น 1 ใน 5 ตลาดที่โตเร็วที่สุดของไมโครซอฟท์ ร่วมกับบังคลาเทศ อียิปต์ อาร์เจนติน่า และเวียดนาม ซึ่งเป็นผลจากการทำงานร่วมกับพันธมิตร โดยในไทยบริษัทยังคงเน้นการขายผ่านช่องทางพันธมิตรราว 98%
การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ ตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน และ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าแผงวงจรไฟฟ้าของไทยมีอัตราการขยายตัวลดลงทุกตลาด ทั้งนี้ การส่งออกใน 50 รายการแรก มีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่า ร้อยล 100 คือ แคนาดา (14) ออสเตรีย (19) แอฟริกาใต้ (27) โรมาเนีย(31) และนิวซีแลนด์ (37) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 306.99 121.38 374.58 287.58 และ 189.61 ตามลำดับ
สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังกลุ่มแผงวงจรไฟฟ้าอาจขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 5-10 ตลาดที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ก่อน ได้แก่ จีน กลุ่มประเทศแถบเอเชีย และตะวันออกกลาง ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีกว่าในภูมิภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของการส่งออกโดยภาพรวมยังต้องอาศัยการฟื้นตัวของตลาดหลักในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นด้วย ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้อาจยังมีความไม่แน่นอนหากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อยๆ หมดลง ในขณะที่ปัญหาการว่างงานยังคงเป็นปัจจัยกดดันการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ที่มา: http://www.depthai.go.th