ภาพรวมเศรษฐกิจและการค้าของฮ่องกง 8 เดือนแรกของปี 2009

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 9, 2009 14:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงปี 2008(2551) ทำให้ฮ่องกงและตลาดทั่วโลกมีการนำเข้าสินค้าลดน้อยลงใน ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 เมื่อเปรียบเทียบปีที่ผ่านมาอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 5.8 (ช่วงเดียวกันของปี 2008 ขยายตัวร้อยละ 2.4)

          อัตราการขยายตัว           ปี 2552            ปี 2551

(ม.ค.- ส.ค.)

ราคาดัชนีผู้บริโภค                     - 0.2%          + 4.3% (ม.ค.-ส.ค.)
อัตราการว่างงาน                       5.4%            3.6% (ทั้งปี)
การค้าปลีก                          - 4.6%           10.6% (ทั้งปี)
การส่งออก                          -17.6%            5.1% (ทั้งปี)
จำนวนนักท่องเที่ยว                    - 4.9%            4.7%
                              (16.1 ล้านคน)        (29.5ล้านคน) ทั้งปี

สถิติการค้าฮ่องกง
ภาพเศรษฐกิจโดยรวมของฮ่องกง
          ดัชนีชี้วัด                             2551       คาดการณ์ 2552
Population, Mid — year(Million)              6.98             7.01 a
Gross Domestic Products(US$ billion)        215.2      205.3-207.5 b
Real GDP Growth(%)                            2.4        -3.5-4.5% b
GDP per Capital(US$)                       30,800      29,800-29,600
อัตราเงินเฟ้อ(inflation)(%)                     +4.3             +0.2 c
อัตราการว่างงาน(Unemployment Rate) (%)          3.6               5.4d
A 2009, b government forecast for 2009, c year-on-year change in January —August 2009;
d June-August 2009

การค้าของฮ่องกง
-  Merchandise  Trade
                                 2550                     2551                      2552(ม.ค.-ส.ค.)
                       US$ billion    Growth%    US$ billion    Growth%      US$ billion      Growth%
Total Export              344.6         9.2         362.1         5.1           198.0          -17.2
Domestic Exports           14.0       -18.9          11.6       -16.8             4.7          -41.5
       Re-Exports         330.6        10.8         350.4         6.0           193.3          -16.3
Imports                   367.7        10.3         387.9         5.5           213.5          -17.4
Total Trade               712.2         9.8         749.9         5.3           411.5          -17.3
Trade Balance             -23.1         N/A         -25.8         N/A           -15.5            N/A

-  Service Trade
                             2550                    2551                  2552(ม.ค.-ส.ค.)
                   US$ billion    Growth    US$ billion    Growth      US$ billion     Growth
 Exports               84.7         16.9        92.3         8.8           38.2         -12.6
Imports                42.6         15.4        45.8         7.5           19.6         -13.4
Total Trade           127.3         16.4       137.9         8.3           57.8         -12.9
Trade Balance          42.1          N/A        46.4         N/A           18.6           N/A

สถานะด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน
  • ฮ่องกงถูกจัดว่ามีเศรษฐกิจการค้าที่เสรีที่สุดในโลก
  • ฮ่องกงมีความเข้มแข็งด้านการค้าบริการมากที่สุด(คิดเป็นจำนวน 90% ของ GDP)
  • เป็นศูนย์กลางเงินการธนาคารใหญ่อันดับสองของโลก
  • การถือเงินตราต่างประเทศใหญ่เป็นอันดับเจ็ด
  • ฮ่องกงเป็นแหล่งการลงทุนตรงจากต่างประเทศ(Foreign direct investment(FDI) ใหญ่

เป็นอันดับ 2 ของเอเชีย

ภาวะการค้าในปัจจุบัน

แม้ว่าในปี 2551 ภาวะเศรษฐกิจฮ่องกงได้รับผลกระทบจากภาวะการเงินทั่วโลก แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 เศรษฐกิจรวมของฮ่องกงมีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น แต่หากดูภาพรวมครึ่งปีแรกของปี 2552 เศรษฐกิจฮ่องกงมีอัตราขยายตัว ลดลง 5.8% ครึ่งปีแรกของปี 2551 มีการขยายตัว 2.4%) การบริโภคลดลงตัวร้อยละ 3.5 การลงทุนชะลอตัวลดลงร้อยละ 13.8 การส่งออกสินค้าและภาคบริการชะลอตัวลงร้อยละ 17.4 และ ร้อยละ 6.0 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 ขยายตัว 1.9% และ 5.7% และในปี 2552 ตลอดทั้งปี รัฐบาลคาดการณ์อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจระหว่าง 3.5- 4.5%

เศรษฐกิจฮ่องกงมีภาคธุรกิจที่เป็นหลักสำคัญ 4 ภาคธุรกิจ ได้แก่ Trading and logistics (25.8% ของ GDP ในปี 2007) Tourism (3.4%), Financial service (19.5%) และ Professional service and other producer services(11%)

ภาพรวมการค้าส่งออกและนำเข้าของฮ่องกง
  • เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจการค้าใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลก
  • เป็นเมืองที่มีการดำเนินธุรกิจการส่งออกด้านบริการใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก

มูลค่าการส่งออกของฮ่องกงเดือนสิงหาคม 2552 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ที่ร้อยละ -13.6 ชะลอลงจาก ร้อยละ -19.9 ในเดือนก่อนหน้า โดย มูลค่าการส่งออกสินค้านำเข้า(Re-export) ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 97 ของการส่งออก รวม หดตัวลงที่ร้อยละ -13.2 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าที่ผลิตในประเทศ ยังคงหดตัวในระดับสูง แต่ด้วยอัตราที่ชะลอลงที่ ร้อยละ -37.3 ในแง่มิติประเทศคู่ค้าการส่งออกไปยังเอเชียโดยรวมหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -10.7 ในขณะที่การส่งออกไปยัง สหรัฐฯ และจีน ยังคงหดตัวถึงร้อยละ -14.6 และร้อยละ -11.1 ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าสินค้าเดือนสิงหาคม 2552 หดตัวร้อยละ -9.8 ชะลอลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -17.8 ทำให้ดุลการค้าฮ่องกงเดือนสิงหาคม 2552 ขาดดุล ที่ -21.8 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง

นโยบายรัฐบาล

รัฐบาลจัดสรรงบประมาณของปี 2009-2010 ให้เป็นงบขาดดุล 40 พันล้านเหรียญฮ่องกง คิดเป็นร้อยละ 2 ของ GDP มุ่งเป็นที่จะรักษาระดับการงบประมาณมูลค่า 1.6 พันล้านเหรียญ เพื่อเพิ่มงานจำนวน 62,000 งาน ภายในใน 3 ปีข้างหน้า

รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ 300 ล้านเหรียญ ให้กับโครงการร่วมมือระหว่างฮ่องกง/กวางตุ้ง/ไต้หวัน/มาเก๊า เพื่อ สนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมการจัดงานประชุม การจัดงานแสดงสินค้า ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมไวน์ ทั้งนี้ยังต้องการ พัฒนาตลาดพันธบัตร ที่ออกโดยพันธบัตรรัฐบาล

ในช่วงตุลาคม 2551 รัฐบาลฮ่องกงเผชิญปัญหาภาวะวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ฮ่องกงคงยังต้องรักษาตำแหน่งศูนย์ กลางด้านการเงินของโลกให้แข็งแกร็งขึ้น

ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาการค้า รัฐบาลมุ่งตรงไปยังโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น สร้างความร่วมมือกับมณฑล กวางตุ้ง อุตสาหกรรมด้านบริการ ด้านสื่อสารเทคโนโลยี่ไปยังจีนแผ่นดินใหญ่และทั่วโลก สร้างความสัมพันธ์กับไต้หวันด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และส่งเสริมการค้าอุตสาหกรรมไวน์ ตลอดจนการพิจารณาเพิ่มพื้นที่จัดงานแสดงสินค้าในฮ่องกง

ฮ่องกงได้ขยายการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะเวลาขนาดกลางและยาวนาน โดยมีการส่งเสริมอุตสาหกรรม 6 ด้าน เช่น การบริการด้านการศึกษา การแพทย์ ทดสอบและรับรองอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี่และนวัตกรรม และวัฒนธรรม และสร้างอุตสาหกรรมใหม่

ตลอดจนการสนับสนุนความตกลงการค้าเสรีประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้ Closer Economic Partnership Arrangement(CEPA) โดยการลงนามร่วมมือเพิ่มเติมครั้งที่ 6 (9 พ.ค. 2552) ทำให้เปิดเสรีทางการค้า ในธุรกิจบริการ 20 รายการ(รวมครอบคลุมสินค้าและบริการทั้งสิ้น 42 กลุ่มธุรกิจ) และการร่วมมือยังได้สนับสนุนทางการเงิน เพื่อให้นักธุรกิจชาวฮ่องกงเข้าไปลงทุนและแข่งขันพัฒนาภาคบริการในจีน

ด้านการลงทุน

ฮ่องกงเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนต่างชาติ ตามรายงานของ UNCTAD World Investment Report 2009 ฮ่องกงได้รับการยอมรับว่าเป็นชาติน่าลงทุนที่สุดเป็นอันดับสองในเอเชีย และใหญ่อันดับเจ็ดที่มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน (FDI) ปี 2551 มีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลมาฮ่องกงประมาณ 63 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 16% และฮ่องกงถือเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ที่มีการลงทุนในต่างประเทศคิดเป็น 60 พันล้านเหรียญสหรัฐ

การลงทุนในภาคธุรกิจบริการ ได้แก่ real estate, การขายส่ง การค้าปลีก และธุรกิจการค้า ได้แก่ Banking, Finance และ การประกันภัย ตลอดจน การขนส่งและการสื่อสาร

ความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่
  • ฮ่องกงเป็นที่เก็บสินค้าที่สำคัญของจีน
  • ฮ่องกงมีการลงทุนในจีนมากที่สุด
  • ศูนย์กลางการลงทุนนอกฝั่งที่สำคัญของจีน
  • จีนถือฮ่องกงเป็นแหล่งการลงทุนภายนอกใหญ่อันดับสอง

ฮ่องกงนับว่าเป็นที่เก็บสินค้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการ re-export ไป-มาจากจีนไปยังที่อื่นๆ คิดเป็น อัตราส่วน 17% ที่ฮ่องกงเป็นผู้ดำเนินการ คิดเป็นอัตราสูงในการขนส่งสินค้าจากจีนผ่านฮ่องกง จากสถิติปี 2551 ตัวเลขการส่งออก ของจีน 63% และส่งไปยังจีน 49% และฮ่องกงถือเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของจีนรองจากสหรัฐฯและญีปุ่น

ฮ่องกงเป็นบริษัทต่างประเทศที่มีการลงทุนในจีนมากที่สุด โดยปลายปี 2551มีโครงการเงินทุนร่วมที่จดทะเบียนในจีนคิด เป็นร้อยละ 45 เป็นการลงทุนจากฮ่องกงมูลค่า 350 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคิดเป็นร้อยละ 40 จากต่างประเทศ

จีนเป็นอันดับหนึ่งที่มีการลงทุนในฮ่องกง จากตัวเลขของหน่วยงานสถิติแห่งชาติฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ลงทุนในฮ่องกง คิดเป็นมูลค่า 479 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือร้อยละ 41 ของช่วงปี 2550

ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2552 ฮ่องกงได้อนุญาตให้ธนาคาร 7 ธนาคาร และ 6 สำนักงานตัวแทน ที่จดทะเบียนในจีน เข้ามาจัดตั้งสำนักงานสาขาในฮ่องกง รายใหญ่ๆ ได้แก่ Bank of China, Industrial and Commercial Bank of China, Agricultural Bank of China and China Construction Bank

ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการลงทุนนอกฝั่งที่สำคัญของจีน ในเดือนธันวาคม 2551 มีจำนวนบริษัทจากจีน 465 ราย ประกอบ ด้วย H-share, red-chip และ private companies โดยมีการลงทุนด้านตลาด มูลค่า 790 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 60 ของยอดรวมการตลาดทั้งหมด สำหรับช่วง 10 ปีผ่านมา บริษัทจีนลงทุนผ่านการซื้อหุ้นฮ่องกงมีมูลค่า $1.4 trillion(180 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ
  • ฮ่องกงได้รับความนิยมในการที่มีสำนักงานตัวแทนและสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างชาติมาจัดตั้ง
  • เป็นผู้นำด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในเขตเอเชียแปซิฟิก
  • มีธุรกิจการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
  • เป็นท่าเรือใหญ่อันดับ 3 ของโลก
  • เป็นศูนย์กลางการลงทุนร่วมทุนใหญ่ที่สุดในเอเชีย
  • ตลาด Stock Market ใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียและใหญ่อันดับ 7 ของโลก
  • ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราใหญ่อันดับ 3 ในเอเชีย และอันดับ 6 ของโลก

ฮ่องกงได้รับความนิยมในการที่มีบริษัท Headquarters หรือสำนักงานตัวแทน สำหรับบริษัทต่างประเทศมาจัดตั้ง ได้แก่ เขต Asia Pacific และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ในปี 2551 มีบริษัทต่างประเทศรวม 3,882 บริษัท และเพิ่มขึ้น 21% ในเวลา 5 ปีที่ผ่านมาฮ่องกงถือเป็นประตูการค้าสำคัญของจีน ที่มีบริษัทตัวแทนต่างๆ ตั้งอยู่ในฮ่องกง ประมาณร้อยละ 84 เช่น สหรัฐอเมริกามี RHQs/ROs ร้อยละ 24 ญี่ปุ่น ร้อยละ 19 สหราชอาณาจักร ร้อยละ 9 และจีน ร้อยละ 6 จำนวนครึ่งหนึ่ง ดำเนินธุรกิจประเภท ค้าส่ง ค้าปลีก นำเข้าและส่งออกและอื่นๆ เช่น ธุรกิจด้านบริการ(18%) สถาบันการเงินและธนาคาร(10%) และการขนส่ง(9%)

ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางธนาคารและสถาบันการเงินที่ใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก ในปลายปี 2551 ฮ่องกงมีจำนวนธนาคาร กว่า 200 และสำนักงานตัวแทนกว่า 71 บริษัท ทำดำเนินการกู้ยืมเงินจากธนาคารให้แก่สถาบันการเงินต่างประเทศ และกู้ยืม อื่นๆให้กับต่างประเทศ มีมูลค่ากว่า 24 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ 70 พันล้านเหรียญ ตามลำดับ

ฮ่องกงเป็นตลาด Stock Market ใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียและใหญ่อันดับ 7 ของโลก จำนวน 1,254 บริษัท และ 189 บริษัทที่จะเกิดขึ้น

ฮ่องกงเป็นผู้นำด้านการสื่อสารโทรคมนาคมใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก ปลายปี 2551 มีจำนวน สายโทรศัพท์ 3.71 ล้านสาย และโทรสาร 319,000 สาย และ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนกว่า 11.4 ล้าน มากกว่าจำนวนประชากรของฮ่องกง และส่วน แบ่งตลาดของ Broadband internet เกินกว่า 77% ครัวเรือน

ฮ่องกงเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกในการทำธุรกิจและจัดงานแสดงสินค้าใหญ่ๆ ในแต่ละปีมีการจัดงานแสดงสินค้าและการ ประชุมมากกว่า 300 งาน

การค้าฮ่องกง-ไทย
                                   2007                          2008                        2009(ม.ค.-ส.ค.)
                        US$ million    Change% 07/06    US$ million   Change% 08/07    US$ million   Change% 09/08
Total Export                  3,693         15.9           4,048           9.6            1,969          -27.5
  Domestic Exports              138        -21.7            178           28.5              67           -40.7
  Re-Exports                  3,555         18.1          3,870            8.9           1,901           -26.9
Imports                       7,356          8.1          8,174           11.1           4,548           -18.1
(Of which re-exported)        6,018         34.8          6,087            1.1           3,879             2.3
Total Trade                  11,049         10.6         12,222           10.6           6,516           -21.2
Trade Balance                 -3,662                     -4,126                         -2,579

ในปี 2009(ม.ค.-ส.ค.) ฮ่องกงนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 213,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (-17.4) ในขณะที่นำเข้า สินค้าจากไทยมูลค่า 4,548 ล้านเหรียญสหรัฐ(-18.1) สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์(-23.0) อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์(-18.0) เครื่องสื่อสารอุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ(-13.3)

ในขณะที่ผลไม้และผลไม้แห้ง (+44.6) ของเด็กเล่นและเกมส์ (+19.7) ส่วนประกอบและชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ (+7.2) เนื้อสัตว์ สด แช่เย็น/แช่แข็ง (+9.7) ข้าว (+4.4)

สินค้าที่มีศักยภาพและมีลู่ทางการค้า
  • ข้าว /ผลไม้/อาหารทะเลแช่แข็ง/เครื่องปรุงรสที่ใช้ในภัตตาคาร/โรงแรม
  • วัตถุดิบในการผลิตต่อ เช่น แผงวงจรไฟฟ้า ชิ้นส่วน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
  • ของเด็กเล่นและเกมส์
  • สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
การสนับสนุนเพื่อเป็นแรงผลักดันในการส่งออก
  • สนับสนุนภาพเอกชนในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าให้มากขึ้น(ไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในฮ่องกงประมาณ
ปีละ 12-14 งาน)
  • เร่งรัดหาข้อสรุปการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ฮ่องกง(CEPA) ให้เห็นผลทางปฏิบัติ เพื่อเปิดตลาด

สินค้าไทยผ่านฮ่องกงไปจีนให้มากขึ้น(โดยเฉพาะมณฑลทาง PRD) สนับสนุนการจัดตั้ง Thai-Macau Chamber of Commerce

เพื่อใช้ประโยชน์ในการขยายตลาดส่งออกไปยังมาเก๊าและประเทศที่พูดภาษาโปรตุเกศให้มากขึ้น(อาทิ โปรตุเกส บราซิล)

Top 10 Imports from Thailand to Hong Kong

Rank Category

1 Computers

2 Semi-Conductors, Electronic Valves & Tubes, Etc

3 Telecommunications Equipments & Parts

4 Fruits (fresh or dried)

5 Parts & Accessories of Office Machines / Computers

6 Rice

7 Electrical Apparatus for Electrical Circuits

8 Polymers of Styrene

9 Pearls, Precious & Semi-Precious Stones

10 Other plastics, in primary forms

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ