ข้อมูลนัยสำคัญทางการค้าประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 9, 2009 16:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.ข้อมูลการค้า 5 ปี
  ปี        มูลค้าการค้า       การส่งออก      การนำเข้า        ดุลการค้า      GDP       GDP      GDP per     จำนวนประชาชากร
          รวม (ล้าน $)      (ล้าน $)      (ล้าน $)         (ล้าน$)     (พันล้าน$)   growth%    Capita $        (พันคน)
2548       257,234.42    130,794.51    126,439.91      4,354,60     307.10     2.50     36,608.10       7,415.10
2549       289,351.43    147,883.72    141,467.71      6,416.01     323.00     3.40     38,918.90       7,459.13
2550       333,410.11    172,122.40    161,287.71     10,834.70     339.62     3.30     41,128.50       7,508.74
2551       383,535.98    200,335.65    183,200.33     17,135.31     352.91     1.60     42,452.40       7,593.49
2552       185,496.91     97,341.99     88,154.92      9,187.07     350.09    -2.41     43,759.70       7,667.72
(ม.ค.-ก.ค)                                                                  (ม.ค.-ก.ค)
ที่มา —สำนักงานสถิติแห่งชาติ สวิตเซอร์แลนด์

2. ภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปี 2008

สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศมีสภาพเศรษฐกิจที่มั่งคั่งและมั่นคง มีอัตราการว่างงานต่ำ มีกำลังซื้อสูง ปี 2552 มี GDP ประมาณ 350 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐและโลกทำให้มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ -2.4 ซึ่งเป็นปริมาณที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี 2550 สำหรับปี 2553 และ 2554 คาดว่า GDP จะค่อย ๆ เติบโตเพียงร้อยละ 0.3 แล 1.4 รายได้ของประเทศอยู่ในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 34.00, ภาคเกษตรกรรมร้อยละ 1.5 และบริการต่างๆ ร้อยละ 64.5 โดยอัตราเงินเฟ้อติดลบอยู่ที่ ร้อยละ 0.10 อัตราการว่างงาน คิดเป็นร้อยละ 3.50 และในปี 2553 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น

ในปี 2552 (ม.ค.-ก.ค.) สวิสมีมูลค่าการค้าระว่างประเทศรวม 185,496.91 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้ดุลการค้า 9,187.07 ล้าน เหรียญสหรัฐ ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ (1) เยอรมนี (2) สหรัฐ (3)อิตาลี(4)ฝรั่งเศส (5) สหราชอาณาจักร โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 34 สินค้าส่งออกหลักของสวิส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์(24%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (12%) เคมีภัณฑ์ออกานิค(10%) เลนซ์และเครื่องมือแพทย์ (8%)นาฬิกา (7%) และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (7%) ในขณะ ที่สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (11%) ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ (11%) อัญมณีและเครื่องประดับ (9%) เชื้อเพลิง/น้ำมัน (7%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (7%) และรถยนต์นั่ง (7%)

3. การได้เปรียบ/เสียเปรียบ ดุลการค้าทั้งภาพรวม และรายสินค้า/บริการที่สำคัญกับไทย

ในปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) สวิสเป็นตลาดส่งออกอันดับ 10 ของไทย โดยนำเข้าสินค้าจากไทยรวมมูลค่าทั้งสิ้น ประมาณ 2,243.87 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 121.47 เมื่อเทียบกับปี 2551 ระยะเวลาเดียวกัน และคาดว่าตลอดทั้งปี 2552 และ ปี 2553 จะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาทองในตลาดโลกเพิ่มมูลค่าขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามจากสถิติที่ผ่านมาไทยขาดดุลการค้ามาโดยตลอด

ในปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) สินค้าส่งออกหลักของไทยไปสวิส ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (85%) นาฬิกาและส่วน ประกอบ (5%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบส่วนประกอบ (3%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (2%) ส่วนประกอบอากาศยาน (0.8%)เนื้อสัตว์กระป๋องและแปรรูป (0.7%)เครื่องใช้สำหรับเดินทาง/กระเป๋า(0.5%) หัวน้ำหอมและเครื่องสำอาง (0.4%)ไม้และ ผลิตภัณฑ์ไม้(0.3%) และธัญพืช(0.3%) ในส่วนของธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจสปาและนวดแผนไทย ส่วน สินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากสวิส ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ(63%) นาฬิกาและส่วนประกอบ(9%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (7%) เวชภัณฑ์และเภสัชกรรม(5%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (3%) เลนซ์ (2%) เคมีภัณฑ์ (2%) เคมีภัณฑ์ออกานิค(1%) สีและน้ำมันเคลือบเงา (1%) เหล็กและเหล็กกล้า (1%)

4. ความสำคัญของตลาด

สวิตเซอร์แลนด์เป็นตลาดที่สำคัญและมีศักยภาพสูงของไทย แม้ว่าจะมีพื้นที่ขนาดเล็ก (41,280 ตารางกิโลเมตร) และมีประชากร 7.67 ล้านคน (เป็นชาวสวิสร้อยละ 80) แต่มีชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวและพำนักมีบ้านพักอยู่เป็นจำนวนมาก สวิสตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป มีระบบเศรษฐกิจ กฏระเบียบธุรกิจ/การค้า เงินสกุลของตนเอง (สวิสฟรังก์) ใช้ภาษาราชการ 3ภาษาตามเขตพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ เยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี

สวิสเป็นประเทศอิสระ มีสถานะเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มีการปกครองระบบสหพันธ์รัฐ รัฐบาลกลางตั้งอยู่ที่กรุงเบิร์น- เมืองหลวง มีเมืองสำคัญ ได้แก่ เมืองซูริค-ด้านการค้า เมืองเจนีวา-องค์กรนานาชาติ เมืองลูเซิน-ด้านท่องเที่ยว เมืองบาเซิล-ด้าน อุตสาหกรรมประเทศสวิสไม่มีทางออกทะเล สนามบินสำคัญสำหรับขนส่งสินค้าได้แก่ เมืองซูริค (347,300 ตัน/ปี) เมืองเจนีวา (44,960 ตัน/ปี) และเมืองบาเซิล (107,307 ตัน/ปี)

ไทยและสวิสมีข้อตกลงเพื่อส่งเสริมการลงทุนและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกันเมื่อปี 2542 สำหรับสาขาธุรกิจที่ผู้ประกอบการ ไทยลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์ ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหารไทย (ได้รับความนิยมมาก เพราะเป็นอาหารเน้นสุขภาพ รสชาติดี) และธุรกิจบริการ/ ผลิตภัณฑ์สปา/ นวดไทย

5. การสร้างโอกาสทางการค้าและลงทุนของไทยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  • ตลาดของผู้อยู่ในวัยทำงานและสูงวัยที่ใส่ใจกับคุณภาพชีวิต เช่น อาหารไทยเพื่อสุขภาพ แฟชั่นแต่งกายและของตกแต่ง
ที่มีดีไซน์/เอกลักษณ์/ วัฒนธรรม ธุรกิจสปา/นวดไทย
  • การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าและบริการ: เน้นเจาะตลาดระดับกลาง — บน
  • การเชื่อมโยงในลักษณะ cluster ระหว่างสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกันและเชื่อมโยงไปยังภาคการท่องเที่ยวอาทิ

ผนวกการส่งเสริมด้านตลาดของร้านอาหารไทย สปา และการรักษาพยาบาล ร่วมกับธุรกิจท่องเที่ยว และต่อเนื่องไปยังสินค้าที่เกี่ยว

ข้องกับสุขภาพและความงาม

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ