ตลาดเสื้อผ้าและสิ่งทอในประเทศฝรั่งเศส

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 9, 2009 16:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาดภายในประเทศ

ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ผลิตเสื้อผ้ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของยุโรปรองจากประเทศอิตาลี เสื้อผ้า ที่อยู่ภายใต้แบรนด์ฝรั่งเศสและออกแบบโดยช่างฝีมือฝรั่งเศสถือเป็นที่ยอมรับทั่วโลก และถือเป็นเสื้อผ้าที่มี เอกลักษณ์ มีความเป็นสมัยนิยม และมีคุณภาพสูง การนำเอาแฟชั่นมาประยุกต์ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าเป็นต้นกำเนิด ที่ทำให้ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่รู้จักเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้านำสมัย และเป็นต้นกำเนิด ของคำว่า Haute Couture ถ่ายทอดจากนักออกแบบชื่อดังในอดีต จนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามตลาดเสื้อผ้าและสิ่งทอในประเทศฝรั่งเศสเกิดการชะลอตัวในช่วง 20 ปี หลัง เนื่องจากมีการ แข่งขันกันอย่างสูงจากผู้ผลิตที่ใช้ต้นทุนต่ำกว่า ทำให้ในช่วง 10 ปีหลังมีการเลิกจ้างงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าใน ฝรั่งเศสมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนแรงงานทั้งหมด

สาเหตุของการเลิกจ้างนั้นเกิดจากการย้ายฐานการผลิตในประเทศฝรั่งเศสไปยังประเทศที่ต้นทุนการผลิต และค่าแรงถูกกว่า หรือมีการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ ยุโรปตะวันออก

บริษัทฝรั่งเศสมากกว่าครึ่งเลือกที่จะพัฒนาระบบ outsourcing เช่น การจ้างผลิตจากบริษัทอื่น ๆ ในต่างประเทศ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการผลิต ซึ่งวิธีนี้ช่วยลดต้นทุนการผลิตบางส่วนได้

เพื่อตอบรับกับการแข่งขันอย่างสูงระหว่างประเทศกลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอในประเทศฝรั่งเศส ต้องหาวิธีการตลาดต่าง ๆ เช่น Branding การออกแบบ และนวัตกรรม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังนี้

  • เพื่อการพัฒนาคุณภาพของสิ่งทอ
  • เพื่อคิดค้นสิ่งทอใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพและไม่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อคิดหากระบวนการผลิตใหม่ ๆ ที่จะช่วยรักษาสภาพแวดล้อม

เสื้อผ้าสตรีครองอันดับหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส ด้วยปริมาณการผลิตสูงถึง 43% และมากกว่า 1/3 ของยอดขายเสื้อผ้าที่ผลิตได้ทั่วโลกเป็นเสื้อผ้าสำหรับผู้หญิง กล่าวได้ว่าประเทศฝรั่งเศสประสบความสำเร็จ ในการผลิตเสื้อผ้าอย่างมีสไตล์และเป็นที่ต้องการในกลุ่มลูกค้าหญิงชาวฝรั่งเศสมากกว่าประเทศอื่น ๆ

อุปโภคภายในประเทศ

ประเทศฝรั่งเศสเป็นตลาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในสหภาพยุโรป รองจากเยอรมนี อิตาลี และสหราชอณาจักร

แนวโน้มราคา

การที่เงินดอลล่าร์อ่อนค่าลง ประกอบกับการระงับมาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศจีนทำให้มีการ นำเข้าเสื้อผ้าราคาถูกเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ราคาเสื้อผ้าลดลง โดยเฉพาะ เสื้อผ้าผู้หญิงและเด็ก เนื่องจากมีการแข่งขัน กันสูงระหว่างผู้ประกอบการที่คอยเสาะหาแหล่งผลิตเสื้อผ้าที่ถูกกว่าแต่นำสมัย ในทางกลับกันเสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย จะมีราคาสูงกว่าและราคาไม่ถูกลงมากนัก

พฤติกรรมของผู้ซื้อ

โดยทั่วไปผู้ซื้อชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญในเรื่องราคาและกระแสแฟชั่น ผู้ซื้อส่วนใหญ่จะไม่นิยมซื้อสินค้า ถี่เกินไป เนื่องจากคำนึงถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ชาวฝรั่งเศส เมื่อชอบเสื้อผ้าแต่ราคาสูงเกินไปก็จะรอให้ถึงช่วงของการลดราคาหรือช่วงเซลส์ จึงงจะค่อยซื้อเสื้อผ้าตัวนั้น ๆ ได้

กลุ่มผู้ที่ซื้อเสื้อผ้ามากที่สุดได้แก่ กลุ่มผู้หญิงอายุระหว่าง 13 ถึง 34 ปี โดยจะนิยมซื้อเสื้อผ้าตามสมัยนิยม ขณะที่ผู้ชายเริ่มที่จะนิยมการแต่งตัวมากขึ้นและพร้อมที่จะจ่าย เพิ่มขึ้นเพื่อเครื่องแต่งกาย

เสื้อผ้าที่ได้รับความนิยมจะเป็นแนวไปรเวตและแนวกีฬา โดยขณะนี้ชุดไปรเวตได้รับความนิยมมากขึ้น ในการสวมใส่ไปทำงานในช่วง 2 — 3 ปีที่ผ่านมา เนื้อผ้าที่คนนิยมสวมใส่คือเนื้อผ้าสวมใส่สบายจำพวก jersey cotton ฯลฯ สำหรับเด็ก เสื้อผ้าจะต้องดูแลง่าย และไม่ต้องรีด

ยอดขายของเสื้อผ้าและสิ่งทอในประเทศฝรั่งเศสขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของปีและช่วงลดราคา โดยส่วนใหญ่ จะมียอดขายสูงในช่วงเดือนธันวาคม เพราะเป็นเทศกาลคริสต์มาส เดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงลดราคาฤดูหนาว เดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฏาคม เพราะเป็นช่วงลดราคาฤดูร้อน และเดือนตุลาคม เพราะเป็น ช่วงเข้าฤดูหนาวตาม กฏระเบียบของประเทศฝรั่งเศส สินค้าที่จะนำมาลดราคาจะต้องเป็นของที่เหลืออยู่ในคลังสินค้าและห้ามสั่งทำสินค้า เพิ่มเพื่อนำมาขายในช่วงลดราคา

การค้าปลีกและช่องทางการตลาด

ตลาดขายปลีกในประเทศฝรั่งเศสค่อนข้างกระจายและไม่มีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันอย่างจริงจังโดยปกติ ชาวฝรั่งเศสจะนิยมซื้อเสื้อผ้าในร้านค้าอิสระที่ขายสินค้าหลากหลายยี่ห้อซึ่งร้านค้าอิสระนี้เองสามารถครองส่วนแบ่ง ตลาดได้ถึง 40% แต่ก็ลดลงถึง 21% ในช่วงปีหลังเนื่องจากมีคู่แข่งที่เป็นร้านค้าเครือข่ายขายปลีกห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ และขนาดกลาง

ในปัจจุบันมีร้านค้าอิสระมากกว่า 25.000 แห่งในประเทศฝรั่งเศสและครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้านค้าใน ประเทศอื่นๆ ของสหภาพยุโรป แต่ร้านค้าเหล่านี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันสูง เนื่องจากห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้า เครือข่ายต่างๆมีวิธีการจัดการขนส่งการโฆษณา เทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งวิธีการบริหารจัดการที่ดีกว่าด้วยเหตุผล เหล่านี้เอง จึงทำให้ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ามีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตเสื้อผ้ามากกว่า ร้านค้าอิสระทั่วไป

ร้านค้าเครือข่าย อาทิ H&M และ Zara มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปีหลังห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ และห้างขายเสื้อผ้าขนาดใหญ่ขายสินค้าราคาถูกกว่าร้านค้าเครือข่าย เนื่องจากมีการนำเข้าโดยตรงหรือ สั่งซื้อจากประเทศที่ผลิตเสื้อผ้าโดยใช้ต้นทุนต่ำ

ห้างสรรพสินค้า เช่น Galerie Lafayette และ Printemps มียอดการจำหน่ายเสื้อผ้าที่เติบโตในอัตราคงที่ ส่วนการขายสินค้าเสื้อผ้าผ่านอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มลดลง แต่มีการโฆษณาและลดราคาอยู่ต่อเนื่อง

ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และขนาดกลาง สามารถทำส่วนแบ่งการตลาดได้มากในช่วงปีหลัง โดยเฉพาะ ยอดจำหน่ายเสื้อผ้าสำหรับเด็กที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ต้องเผชิญการแข่งขันอย่างสูง กับร้านเสื้อผ้าบุรุษและสตรีเนื่องจาก สินค้าเหล่านี้ที่ขายในห้างสรรพสินค้าไม่เป็นสมัยนิยม

พ่อค้าคนกลางมีบทบาทน้อยลง เนื่องจากร้านค้าขายปลีกสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต ที่อยู่ในต่างประเทศ แต่ผู้ผลิตมีอำนาจต่อรองน้อยลงเนื่องจากร้านค้าขายปลีกสามารถต่อรองราคาดีขึ้น

เพื่อแก้ปัญหานี้ ทางผู้ผลิตหลายรายได้ใช้ระบบการกระจายสินค้าโดยตั้งร้านเพื่อขายสินค้าของตนเอง (Outlet) หรือใช้แฟรนไชส์ (Franchise)การก่อตั้งร้านค้าเครือข่ายของตนเองจะช่วยสร้างอิทธิพลในระบบกระจาย สินค้า และช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

ช่องทางตลาดอื่น ๆ ที่ควรนำมาพิจารณาคือการใช้ตัวแทนขาย และผู้นำเข้า หรือผู้สั่งซื้อโดยปกติแล้วตัวแทน การขายได้ค่านายหน้า 10-15% ถ้าผู้ผลิตมาจากประเทศที่สาม การส่งออกเสื้อผ้าไปยังตลาดฝรั่งเศสผ่านตัวแทนขายเป็นเรื่องที่ทำกันโดยปกติ ซึ่งผู้จัดการของกลุ่มผู้ซื้อมักจะนำเข้าสินค้าผ่านตัวแทนการขายที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ผลิตนต่างประเทศ

บริษัทนำเข้ามีบทบาทสำคัญในการกระจายสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศฝรั่งเศส ร้านค้าขายปลีกมักจะไม่เข้าไป ควบคุมการยพเข้าในตลาดต่างประเทศ แต่จะสั่งซื้อสินค้าผ่านทางผู้นำเข้าและมักจะได้รับข้อเสนอที่น่าสนใจ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปารีส

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ