การที่น้ำมันขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2545-2550 ทำให้เศรษฐกิจเวเนซูเอลาเติบโตอย่างมั่นคงประชากรส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกเติบโตตามไปด้วย การบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากรายได้ของกลุ่มคนระดับรากหญ้า ผู้ใช้แรงงานจะนำมาซื้อหาของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน มากกว่าออมทรัพท์หรือการลงทุน
หลังจากที่รายได้สูงขึ้น คนเวเนซูเอลาเริ่มจะลืมตาอ้าปากได้จากสภาพเศรษฐกิจจนสามารถจับจ่ายใช้สอยสินค้าฟุ่มเฟือยที่ไม่ใช่ของในชีวิตประจำวันมากขึ้น บางคนเปลี่ยนจากการที่ซื้อสินค้ายี่ห้อธรรมดากลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มหรือยี่ห้อที่ดีขึ้น ผู้บริโภคจะใช้จ่ายด้านเสื้อผ้า เครื่องสำอางและเครื่องใช้ในห้องน้ำมากขึ้น
ในธุรกิจค้าปลีกการแข่งขันยังคงสูงอยู่ และห้าง Mercal ซึ่งเป็นห้างค้าปลีกสำคัญของรัฐกำลังถูกพวกเชนสโตร์แย่งตลาดไปเป็นส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา มูลค่าการค้าปลีกประเภทไม่ผ่านห้าง (Non store retailing) ยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับประเภทผ่านห้าง (Store based retailing) โดยมีการค้าทางอินเทอร์เน็ตเป็นผู้นำในประเภทค้าปลีกไม่ผ่านห้าง เพราะนับวันจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าแบบออนไลน์มีมากขึ้นเรื่อยๆ
เศรษฐกิจของเวเนซูเอลาคาดกันว่าจะยังไปได้ดีในช่วงปี 2550-2555 เนื่องจากคาดการณ์ว่าค่าน้ำมันจะยังคงมีราคาสูงอยู่ การขาดวินัยทางการคลังทำให้ภาวะเศรษฐกิจไม่มั่นคง แต่ถึงอย่างไรตราบใดที่ราคาน้ำมันยังคงสูงอยู่ การบริโภคในประเทศก็จะยังคงสูงต่อไปทั้งสิ้นค้าพื้นฐานรวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือย
การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ยังผลให้รายได้เข้าประเทศสูงตามไปด้วย รัฐบาลจึงให้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 11 มาเป็น ร้อยละ 9 เมื่อปี 2550 รัฐบาลเวเนซูเอลาได้รับประโยชน์โดยตรงกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมพลังงานที่รัฐเป็นเจ้าของมีกำลังการผลิต 2 ล้านบาเรลต่อวัน จึงได้ภาษีน้ำมันสูงและสามารถลดภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อช่วยประชาชนได้ นอกจากนี้ยังต้องมีมาตรการควบคุมดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อเอื้อประโยชน์ให้คนในประเทศ
คาดการว่าราคาน้ำมันจะยังสูงอยู่ระหว่างปี 2550-2555 แม้ว่าจะลงมาในบางช่วงก็ตามตราบใดที่สถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้การเติบโตของค้าปลีกก็จะสูงตามไปด้วยนับแต่ปี 2550 ค้าปลีกในเวเนซูเอลาเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่ใช่อาหารเติบโตถึงร้อยละ 42
หากแต่เมื่อใดที่สถานการณ์ด้านน้ำมันลดต่ำลงการลงทุนต่างๆ เช่น สาธารณูปโภค การศึกษา การพัฒนาต่างๆก็คงไม่สามารถทำได้ดังเช่นช่วงที่ผ่านมา
2545 2546 2547 2548 2549 2550 การจ้างงานทั้งหมด ('000 คน) 9,851.3 9,851.3 9,851.3 9,851.3 9,851.3 9,851.3 การจ้างงานในระบบค้าปลีก('000 คน) 1,365.3 1,324.8 1,359.6 1,395.2 1,452.6 1,520.4 การจ้างงาน ร้อยละ 13.9 13.4 13.8 14.2 14.7 15.4 แหล่งที่มาของข้อมูล: Official statistics, trade associations, trade press, company research, trade interviews,Euromonitor International estimates ตาราง 2 ยอดขายค้าปลีก: มูลค่า 2545-50 พันล้านเวเนซูเอลาโบลิวาร์ 2545 2546 2547 2548 2549 2550 ค้าปลีก 27,566.4 29,656.8 32,714.9 42,113.6 53,738.6 72,815.3 ค้าปลีกผ่านห้าง 26,748.1 28,575.2 31,250.4 40,303.7 51,602.2 70,040.4 ค้าปลีกไม่ผ่านห้าง 818.4 1,081.6 1,464.5 1,809.8 2,136.4 2,774.9 แหล่งที่มาของข้อมูล: Official statistics, trade associations, trade press, company research, trade interviews, Euromonitor International estimates อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท เท่ากับ 62.58 เวเนซูเอลาโบลิวาร์
การคาดการในอนาคต ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่เติบโตเช่นนี้ คนก็ยังจะจับจ่ายใช้สอยทั้งอาหารดีๆ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในบ้านเพื่อหาความสุข รวมไปถึงสินค้าแฟชั่น และความงามต่างๆด้วย
ศูนย์การค้าที่ผุดขึ้นราวดอกเห็ดเป็นแนวโน้มใหม่ของเวเนซูเอลา ศูนย์การค้าแห่งแรกและยังเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดคือ Sambil Caracas Mall ซึ่งเปิดเมื่อปี 2533 ความสำเร็จของ Sambil Caracas Mall ทำให้เกิดศูนย์การค้าที่ทันสมัยขึ้นอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ๆ ทุกแห่งจนมีมากถึง 100 แห่งในปี 2549 โดยที่ในคาราคัสมีถึง 49 แห่ง และมีโครงการก่อสร้างอีก 17 แห่งแม้ว่าพื้นที่ในเมืองเริ่มจำกัดสำหรับโครงการใหม่ๆ แต่บริษัทออกแบบก็ยังมองหาทำเลดีๆ เพื่อทำการก่อสร้างต่อไป ศูนย์การค้าที่สร้างเสร็จแล้วพยายามจะแข่งขันกับโครงการทันสมัยเช่นตึก Sambil Margarita Mall อยู่บริเวณที่มีชื่อด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจะมีการเปิดโครงการอีกถึง 42 แห่งในบริเวณชานเมือง แต่ก็มีศูนย์การค้ารูปแบบใหม่คือที่ Tolon Mall เป็นที่รวมของค้าปลีกกว่า 100 ร้าน เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็น Fashion Mall ของกรุงคาราคัส
ศูนย์การค้าเป็นที่ที่คนจะไปช้อปปิ้ง ดูหนังและใช้บริการอื่นๆ เช่น ธนาคาร โรงหนัง ศูนย์อาหาร ภัตตาคาร ร้านค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆภายในที่เดียวกันและเป็นที่เชื่อถือได้ในเรื่องความปลอดภัย เพราะตามท้องถนนในคาราคัสค่อนข้างอันตรายความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ลูกค้าหลักของศูนย์การค้าคือหนุ่มสาวจากครอบครัวที่มีฐานะปานกลางไปถึงสูงซึ่งในการมาแต่ละครั้งจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง โดยตามสถิติเมื่อปี 2550 คนในเมืองใหญ่ถึง ร้อยละ 92 เข้าไปใช้บริการของศูนย์การค้าร้อยละ 46.3 ของคนกลุ่มนี้ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีก ขณะที่ที่เหลือซื้ออาหารหรือเครื่องดื่ม หรือเพียงแต่เดินเล่น บางคนไปดูหนังหรือใช้บริการธนาคาร แต่ระหว่างเดินอยู่เมื่อพบว่ามีการลดราคาสินค้า หรือกิจกรรมพิเศษอาจจะทำให้เกิดเปลี่ยนใจมาซื้อสินค้าได้ คนที่เข้าไปในศูนย์การค้ามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเพิ่มจาก 56,450 เวเนซูเอลาโบลิวาร์ ( ประมาณ 900 บาท ) เมื่อปี 2548 มาเป็น 80,480 เวเนซูเอลาโบลิวาร์ (ประมาณ 1,286 บาท) ในปีถัดมา
สินค้าที่ประสบความสำเร็จจากการมีร้านในศูนย์การค้าคือค้าปลีกสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เสื้อผ้าบางยี่ห้อเลือกที่จะอยู่ในศูนย์การค้าแทนที่จะเป็นถนนที่มีคนเดินมากๆ เพื่อให้ดูมีภาพลักษณ์ของความปลอดภัย ร้านที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคือ เสื้อผ้าและรองเท้า Zara ส่วนร้านขายยา Farmatodo CA. จะมีร้านของตนเองอยู่ทั่วไป แต่ก็จะมีสาขาตามศูนย์การค้าด้วย ร้านหนังสือ Tecniciencia ก็เป็นตัวอย่างของเชนสโตร์ที่ประสบความสำเร็จ เช่นกัน
ส่วนค้าปลีกแบบไม่มีห้างก็ได้ประโยชน์จากสินค้าที่วางขายในศูนย์การค้า เนื่องจากบางคนจะมาดูของตามห้างแล้วมาหาซื้อในอินเทอร์เน็ต หรือใช้บริการสั่งซื้อจากแคตาล็อก สินค้ามีชื่อบางยี่ห้อมีขายเฉพาะทางการสั่งซื้อหรือขายตรงเท่านั้น เช่น Avon และ Ebel
ตามเมืองเล็กๆ นับวันจะมีศูนย์การค้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เครือข่าย Sambil มีแผนจะเปิดศูนย์การค้าแห่งที่ 7 ในเร็วๆ นี้ ตามข้อมูลของสภาหอการค้าศูนย์การค้า (Chamber of Shopping Center)จะประสบความสำเร็จต่อเมื่อเศรษฐกิจดีและมีอาชญากรรมสูง อย่างไรก็ตามสมาคมธุรกิจก่อสร้างยังบอกว่าศูนย์การค้าในเวเนซูเอลายังมีน้อย เมื่อคิดตามรายได้ต่อหัว เพราะในประเทศที่เจริญแล้วศูนย์การค้า 1 แห่งต่อ ประชากร 10,000 คน ขณะที่เวเนซูเอลามีศูนย์การค้า 1 แห่งต่อประชากร 100,000 คน เท่านั้น
ศูนย์การค้ายังเป็นช่องทางสำคัญสำหรับร้านค้าปลีกประเภทที่ขายผ่านห้าง จะมีร้านยี่ห้อดังๆ โดยเฉพาะเสื้อผ้าและรองเท้า ห้างสรรพสินค้าและสินค้าที่เกี่ยวกับแฟชั่นทั้งหลาย ในขณะเดียวกันก็ต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมาย ที่มีกำลังซื้อสูง
2545 2546 2547 2548 2549 2550 ค้าปลีกแบบผ่านห้าง 26,748.1 28,575.2 31,250.4 40,303.7 51,602.2 70,040.4 ค้าปลีกสินค้าอาหาร 16,289.9 17,580.5 18,333.1 23,209.6 27,934.1 36,406.6 - ค้าปลีกขนาดใหญ่ 625.4 653.0 738.2 1,054.9 1,491.0 2,026.5 - ซูเปอร์มาร์เก็ต 5,054.6 5,551.8 6,676.2 8,206.9 11,204.6 15,932.4 - ร้านสะดวกซื้อ - 353.8 944.9 2,597.0 2,795.6 3,052.2 - ร้านขายสินค้าอาหารขนาดเล็ก 7,703.2 8,221.6 6,120.5 6,649.8 7,118.5 8,980.7 - ร้านขายอาหารเครื่องดื่มและบุหรี่ 2,819.3 2,695.5 3,758.0 4,613.0 5,225.5 6,289.1 - ค้าปลีกอื่นๆ 87.4 104.9 95.3 87.9 98.9 125.8 ค้าปลีกแบบไม่ใช่สินค้าอาหาร 10,458.1 10,994.6 12,917.4 17,094.1 23,668.0 33,633.8 - รวม 507.6 595.4 650.7 755.8 996.1 1,376.3 - สุขภาพและเครื่องสำอาง 4,798.9 4,839.4 5,532.8 7,035.2 9,625.8 13,410.4 - เลื้อผ้าและรองเท้า 1,449.4 1,744.9 2,181.1 3,132.9 4,671.3 7,197.5 - เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งบ้าน 1,093.9 1,100.7 1,494.7 1,953.3 2,638.3 3,703.6 - สินค้าคงทน ( เครื่องไฟฟ้า ) 1,700.5 1,740.1 2,008.1 2,828.4 3,856.8 5,380.7 - สินค้าเพื่อความบันเทิงกีฬา 680.5 744.8 816.5 1,084.2 1,453.1 1,971.3 - ค้าปลีกไมใช่อาหาร อื่นๆ 227.3 229.4 233.5 304.3 426.6 594.0 แหล่งที่มาของข้อมูล: Official statistics, trade associations, trade press, company research, trade interviews, Euromonitor International estimates ตาราง 4 ยอดขายค้าปลีกผ่านห้าง แบ่งเป็นประเภท : ร้อยละของมูลค่าการเติบโต 2545 -50 ร้อยละอัตราเติบโต ปี 2549/50 เพิ่ม 45-50 รวม 45/50 ค้าปลีกแบบผ่านห้าง 35.7 21.2 161.9 ค้าปลีกสินค้าอาหาร 30.3 17.4 123.5 - ค้าปลีกขนาดใหญ่ 35.9 26.5 224.0 - ซูเปอร์มาร์เก็ต 42.2 25.8 215.2 - ร้านสะดวกซื้อ 9.2 - - - ร้านขายสินค้าอาหารขนาดเล็ก 26.2 3.1 16.6 - ร้านขายอาหารเครื่องดื่มและบุหรี่ 20.4 17.4 123.1 - ค้าปลีกอื่นๆ 27.1 7.6 44.0 ค้าปลีกแบบไม่ใช่สินค้าอาหาร 42.1 26.3 221.6 - รวม 38.2 22.1 171.2 - สุขภาพและเครื่องสำอาง 39.3 22.8 179.4 - เลื้อผ้าและรองเท้า 54.1 37.8 396.6 - เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งบ้าน 40.4 27.6 238.6 - สินค้าคงทน ( เครื่องไฟฟ้า ) 39.5 25.9 216.4 - สินค้าเพื่อความบันเทิงกีฬา 35.7 23.7 189.7 - ค้าปลีกไมใช่อาหาร อื่นๆ 39.2 21.2 161.3 แหล่งที่มาของข้อมูล:Official statistics, trade associations, trade press, company research, trade interviews, Euromonitor International estimates แนวโน้มใหม่ของร้านสะดวกซื้อ
ลูกค้าเวเนซูเอลาเดิมจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากราคาเพียงอย่างเดียว เพราะต้องประหยัดอย่างไรก็ตามร้านสะดวกซื้อได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตด้วย แม้ว่าราคาและการลดแลกแจกแถมจะถือเป็นตัวดึงดูดใจ คนส่วนใหญ่ทำงานในเมืองใหญ่เช่นคาราคัส วาเลนเซีย และมาราไคโบ ต้องใช้เวลากว่า 12 ชม. อยู่นอกบ้าน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหารถติดร้านสะดวกซื้อที่ตั้งอยู่ตามทางกลับบ้านหรือใกล้ๆบ้าน ที่เปิดถึงดึกและมีที่จอดรถสะดวกสบายจึงเป็นทางเลือกที่ลงตัวสำหรับคนทำงาน
ร้านสะดวกซื้อมีที่มาจากกลุ่มบริษัทน้ำมันข้ามชาติ เช่น Exxon Mobil BP Amoco ซึ่งเข้ามาในเวเนซูเอลาได้กว่า 20 ปี แล้ว อย่างไรก็ตามซูเปอร์มาร์เก็ตเล็กๆ ตามปั๊มน้ำมัน Excelsior Gama ก็ได้เข้ามาเปิดตามศูนย์การค้าที่มีคนมากๆ และมีรูปแบบใหม่คือ Gamma Express เป็นร้านสะดวกซื้อในคาราคัส โดยมุ่งเน้นที่คนที่รายได้ไม่สูงนัก นอกจากนั้นก็มี Practimercados CA. มาเป็นคู่แข่งโดยมีสินค้ายี่ห้อ Dia ซึ่งเริ่มเปิดสาขาตามเส้นทางกลับบ้าน และยังมีซูเปอร์มาร์เก็ตใหม่อีก 2 แห่ง คือ Cada และ Kromi Market ที่เปิดตลอด 24 ชม.
ร้านสะดวกซื้อชนิดที่ไม่ได้ขายอาหารก็หันมาใช้ระบบนี้เช่นกัน เช่นร้านขายยา FarmatodoTOD เป็นร้านที่เปิด 24 ชม. และมีช่องแบบ drive — in ทั่วประเทศ ส่วนร้าน EPA ซึ่งขายสินค้าแบบ DIY วัสดุก่อสร้าง เครื่องมือ และของใช้ในบ้าน ก็เริ่มเปิดแบบ express เช่นกัน ขณะที่การค้าแบบไม่ผ่านห้าง คือทางการขายตรง อินเทอร์เน็ต และโฮมช้อปปิ้งก็เป็นทางเลือกที่สะดวกอีกทางหนึ่งของกลุ่มแม่บ้าน คนทำงาน
อาชญกรสูงเป็นปัจจัยที่ทำให้ร้านเปิดขาย 24 ชม. ไม่ปลอดภัยนักโดยเฉพาะในเขตชานเมือง จึงต้องมีการดัดแปลงเป็นร้านที่ขายผ่านหน้าต่างลูกกรง แทนที่จะเป็นแบบเปิดประตูตามปกติ
แนวโน้มของร้านสะดวกซื้อที่กำลังมาแรงสำหรับ lifestyle ของคนในเมืองใหญ่ ส่วนหนึ่งมาจากปัญหารถติดและการต้องอยู่นอกบ้านเป็นเวลานานหลายชั่วโมงทำให้คนต้องหาสิ่งที่สะดวกและไม่เสียเวลามาก ตราบใดที่เศรษฐกิจดีเพราะราคาน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อก็จะเติบโตขึ้นมาก
คนเวเนซูเอลาเป็นคนช่างแต่งตัว ทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะในกลุ่มคนชั้นกลางและสูง ที่จะให้ความสำคัญกับแฟชั่นค่อนข้างมาก คนกลุ่มนี้จะติดตามเทรนด์ใหม่ๆ ของโลก ส่วนคนรายได้น้อยบางครั้งก็จะซื้อของตามคนที่มีฐานะดีกว่า เพราะอยากจะเท่าเทียมและดูดีมีฐานะเช่นกัน
ค้าปลีกเวเนซูเอลาจะอยู่บนพื้นฐานของแฟชั่นและความงาม ร้านขายอาหารจะต้องเน้นไปที่สินค้าที่มีไขมันต่ำทั้ง low fat และ fat free ส่วนร้านขายยาจะมีอาหารเสริมหรืออาหารลดน้ำหนัก เพิ่มความงาม ร้านหนังสือก็จะเน้นไปที่เรื่องสุขภาพ การดูแลรูปร่างและความงาม ค้าปลีกแบบไม่ผ่านร้านก็จะมีผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เสื้อผ้า รองเท้าแฟชั่น ร้านค้าปลีกเสื้อผ้า รองเท้า น้ำหอม และสินค้าสุขภาพก็ต้องตามแฟชั่นกันอย่างมากเพื่อดึงดูดลูกค้า
สินค้าที่ประสบความสำเร็จเช่น Zara Beco Farmatodo ตอบสนองลูกค้าในเรื่องแฟชั่นได้เป็นอย่างดี Zara เปลี่ยนคอลเลคชั่นหลายครั้งต่อปีเพื่อตอบสนองเรื่องแฟฃั่น Beco เน้นเรื่องเสื้อผ้าแบรนด์ดังๆ เช่น Spirit และ Concept โดย Angel Sanchez หรือเครื่องสำอางดังๆของโลกเช่น Clinique Estee Lauder และ Lancome Beco เคยโปรโมทร้านของตนด้วยการสาธิตบำรุงความงามและคอร์สแต่งหน้าฟรี เพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ส่วน Farmatodo ก็จัดให้คำปรึกษาด้านผิวพรรณในร้านทั่วประเทศเพื่อให้ลูกค้าติด แบรนด์ของตน ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
การมุ่งเน้นที่ความงามและแฟชั่นเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของเวเนซูเอลา ซึ่งเป็นกลยุทธที่คนทำการค้าควรให้ความสำคัญ เพราะยิ่งนับวันยิ่งได้ผลเป็นรูปธรรม เพราะอิทธิพลของสื่อมวลชน โทรทัศน์ นิตยสารแฟชั่นและการปรากฏตัวตามหน้าหนังสือพิมพ์ของคนดัง
คาดการณ์ว่าเทรนด์นี้นับวันยิ่งจะมีบทบาทมากขึ้นในสังคม สินค้าที่เกี่ยวข้องกับความงามและแฟชั่นจะแข่งขันกันสูง สินค้าที่จะขายดีในตลาดนี้จะเน้นไปที่เครื่องสำอางและเครื่องใช้ให้องน้ำ ซึ่งเวเนซูเอลาจัดว่าเป็นลูกค้ารายใหญ่ ขนาดที่ซูเปอร์มาร์เก็ตก็ยังต้องจัดมุมความงามอด้วย
ร้อยละของค้าปลีก : มูลค่า 2547 2548 2549 2550 Mercal CA 2.6 5.7 4.7 3.8 Cativen CA - Cadena de Tiendas Venezolanas 2.3 2.2 2.3 2.2 Movistar CA - 2.1 2.1 2.1 Farmatodo CA 1.6 1.9 2.0 2.1 Telecomunicaciones Movilnet CA 1.5 1.6 1.6 1.6 Zara Venezuela SA 1.1 1.0 1.1 1.3 Central Madeirense CA 1.4 1.3 1.2 1.3 Almacenes Vengreco CA 0.7 0.8 0.9 0.9 Comercial Belloso CA 1.2 0.7 0.8 0.8 Texcoven SA 0.6 0.7 0.7 0.8 Avon Cosmetics de Venezuela CA 1.4 1.1 1.0 0.8 CA Sucesora Beco de Blohm & Co 0.7 0.9 0.7 0.7 Distribuidora Al Galope CA 0.8 0.6 0.6 0.6 Corporacion Digitel CA 0.7 0.6 0.6 0.6 Galaxia Medica CA 0.6 0.7 0.6 0.6 Grupo Mistral SA - 0.5 0.5 0.6 Ceramicas para el Hogar CA 0.4 0.4 0.4 0.5 Don Regalon-Dinosaurio CA 0.4 0.4 0.4 0.4 Sony de Venezuela SA 0.4 0.5 0.4 0.4 Almacenes Gina CA 0.3 0.2 0.3 0.4 Telcel CA 1.9 - - - Others 79.3 76.0 76.9 77.6 Total 100.0 100.0 100.0 100.0 แหล่งที่มาของข้อมูล: Official statistics, trade associations, trade press, company research, trade interviews, Euromonitor International estimates ตาราง 6 ส่วนแบ่งตลาดของค้าปลีก : มูลค่าร้อยละ ปี2547-50 ร้อยละของยอดขาย 2547 2548 2549 2550 Mercal CA 4.7 10.3 9.0 7.6 Cativen CA - Cadena de Tiendas Venezolanas 4.1 4.1 4.5 4.3 Central Madeirense CA 2.4 2.3 2.4 2.5 Excelsior Gama Supermercados CA 0.6 0.6 0.6 0.7 Unicasa CA 1.9 0.9 0.7 0.6 Rattan CA 0.5 0.5 0.6 0.6 Automercados Plaza's CA 0.4 0.4 0.4 0.5 Viveres de Candido 0.3 0.3 0.3 0.3 Euromercado CA 0.2 0.2 0.2 0.2 El Nuevo Mercado de Petare CA 0.2 0.2 0.2 0.2 Lacor CA 0.2 0.2 0.2 0.2 Plan Suarez CA 0.2 0.2 0.2 0.2 Petrนleos de Venezuela SA (PDVSA) 0.1 0.1 0.1 0.1 Others 84.1 79.7 80.6 82.0 Total 100.0 100.0 100.0 100.0 แหล่งที่มาของข้อมูล: Official statistics, trade associations, trade press, company research, trade interviews, Euromonitor International estimates นโยบายรัฐบาล
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเวเนซูเอลาไม่ค่อยเอื้อต่อธุรกิจและการลงทุนมากนักเนื่องจากรัฐบาลจะใช้การเมืองเข้ามาแทรกแซงอยู่ตลอดเวลา แถมสถาบันการค้ายังเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย ราคาขายปลีกสินค้าอาหารและยา เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างเวเนซูเอลากับบริษัทเอกชนไม่ค่อยจะราบรื่นนัก ฮูโก ชาเวซ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี เนื่องจากให้สัญญาจะปกป้องคนจน แรงงาน จากนักธุรกิจและนายทุนชาเวซจะโจมตีบริษัทใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทเหล่านี้จึงให้การสนับสนุนฝ่ายค้าน
ปี 2526 รัฐบาลได้สร้างเครือข่ายค้าปลีกของตนเอง Mercal ซึ่งกระจายสินค้าอาหารไปให้ผู้มีรายได้น้อยและชนชั้นกลาง เมื่อปี 2549 Mercal มีร้านอยู่ถึง 16,000 ร้านทั่วประเทศ และกลายเป็นค้าปลีกที่มีบทบาทสำคัญที่สุดของเวเนซูเอลา
กฏหมาย ปี 2495 และระเบียบการส่งเสริมและปกป้องการลงทุนรวมไปถึงการลงทุนของต่างชาติในเวเนซูเอลา ซึ่งจะต้องปฏิบัติเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งแยกระหว่างบริษัทของในประเทศเองหรือต่างประเทศ
หากแต่ในความเป็นจริง รัฐบาลเวเนซูเอลาไม่ค่ยเป็นมิตรกับบริษัทลงทุนข้ามชาติมากนักดังจะเห็นจากคำกล่าวของประธานาธิบดีชาเวซเมื่อขึ้นรับตำแหน่ง
ความเข้มงวดในด้านเงินลงทุนและกำไรเป็นปัญหาใหญ่ที่บริษัทต่างชาติพบ เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน การแลกเงิน เพื่อการนำเข้าและการท่องเที่ยว ปัญหาของบริษัทต่างชาติหลักๆคือเรื่องการเปลี่ยนกฏระเบียบบ่อยๆ เช่นเรื่องแรงงาน อาชญกรรม และความไม่มั่นคงทางการเมือง
ตามตัวเลขของทางการ ร้อยละ 45 ของแรงงานถือว่าเป็นแรงงานนอกระบบ คนงานส่วนใหญ่ทำงานในระบบค้าปลีก (ค้าขายตามข้างถนนหรือตามตลาดนัด) ซึ่งเป็นการค้านอกระบบอยู่ประมาณ 1.2 ล้านคน
ค้าปลีกเป็นวิธีง่ายที่จะทำรายได้ เมื่องานหลักหายาก การขายของตามข้างถนนเป็นการลงทุนต่ำ และไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถมาก คนที่ไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่งพบว่าการทำธุรกิจค้าปลีกนอกระบบนี้เป็นงานที่ง่ายแถมอาจจะทำรายได้ได้ดีกว่างานปกติทั่วไปด้วยซ้ำ
คนขายของนอกระบบมีอิสระในการค้า คนที่โดนผลกระทบจะมีเพียงร้านขายของที่มีแบรนด์แต่ราคาไม่สูงนักเนื่องจากคู่แข่งขายของราคาถูก แต่สินค้าเหล่านี้จะด้อยคุณภาพ ไม่มีประกัน และไม่มีบริการหลังการขาย ดังนั้นคนที่มีฐานะจะซื้อของจากห้างมีชื่อมากกว่าค้าปลีกนอกระบบจะอยู่ตามข้างถนนในย่านผู้มีรายได้น้อย และถนนหลักที่มีคนผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก
สมาคมและสภาผู้ค้าปลีกจะไม่พอใจพวกค้าปลีกนอกระบบ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบใดๆ แถมยังไม่ต้องจ่ายภาษีอีกด้วย
นับแต่ปี 2546 รัฐบาลเวเนซูเอลาได้มอบหมายให้ Cadivi เป็นหน่วยงานควบคุม อัตราแลกเปลี่ยนและการกำหนดจำนวนของการนำเข้า ส่งออก ในตลาดมืดจะมีการควบคุมให้แลกเงินได้ไม่เกิน 10,000 เหรียญสหรัฐ แต่หากสูงกว่านั้นจะต้องถูกลงโทษอย่างหนักเมื่อเดือนตุลาคม 2549 มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนดังนี้ คือ 1 เหรียญเท่ากับ 2,150 เวเนซูเอลาโบลิวาร์ ขณะที่ถ้าแลกในตลาดมืดจะได้สูงถึงเหรียญละ 5,000 เวเนซูเอลาโบลิวาร์
เวเนซูเอลาผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มได้น้อยมาก ของส่วนใหญ่ที่มีขายตามห้างค้าปลีกเป็นสินค้านำเข้าห้างค้าปลีกจึงได้รับผลกระทบสูงจากความเข้มงวดของการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จึงทำให้สินค้ามีราคาแพง Cadivi เป็นผู้อนุมัติสินค้านำเข้า กว่าร้อยละ 70-80 แต่การคาดหมายว่าเวเนซูเอลาจะลดค่าเงินและระเบียบอย่างอื่นดูจะเป็นไปได้ยาก
การควบคุมราคาขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน หลายครั้งที่สินค้าส่วนใหญ่โดยเฉพาะอาหารและยา ต้องจำหน่ายให้ลูกค้าในราคาที่หน่วยงาน Nation Execution เป็นผู้กำหนดซึ่งจริงๆ แล้วการขึ้นราคาจะใช้เวลานานมากกว่าจะได้รับอนุญาต ในสถานการณ์เงินเฟ้อทำให้ค้าปลีกต้องยอมได้กำรน้อยลงเพื่อคงยอดขายและรักษาชื่อเสียงของตนไว้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ในเวเนซูเอลาลดจากร้อยละ 11 เป็น 9 ในปี 2550 โดยจะยกเว้นให้สินค้าบางประเภท เดิมที VAT อยู่ที่ ร้อยละ 16.5 แต่เนื่องจากประเทศมีรายได้จากการค้าน้ำมันทำให้ประเทศมีรายได้สูงขึ้น VAT ลดลงส่งผลดีต่อค้าปลีกทำให้สามสรถเพิ่มยอดการจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น
เวลาเปิดปกติคือ 9.30 -18.30 พักเที่ยง 1 ชั่วโมง
ตามกฏหมายแรงงาน เวลาทำงานคือ 8 ชั่วโมง ขณะที่ชั่วโมงทำงานต้องไม่เกิน 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พนักงานที่ทำงานกะกลางคืนต้องไม่ทำงานเกิน 7 ชั่วโมง หรือรวม 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กะผสม (กลางคืน 4 ชั่วโมง) ต้องไม่เกิน 7 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวันหรือ 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ล่วงเวลาวันละ 10 ชั่วโมง หรือปีละไม่เกิน 100 ชั่วโมง
ห้างค้าปลีกที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ถือว่าเป็นสิ่งใหม่มากสำหรับเวเนซูเอลา ห้างเหล่านี้ได้แก่ร้านขายยา รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่
อย่างไรก็ตามคดีอาชญากรรมทำให้ร้านค้าปลีกต้องระมัดระวังในเรื่องเวลาการเปิด บางร้านจะเปิดถึงเที่ยงคืน บางแห่งจะเปิดถึงดึกกว่านั้นในช่วงสุดสัปดาห์ แต่จะปิดในวันจันทร์
ศูนย์การค้าใหญ่ๆ พยายามให้เปิดได้ 365 วัน ศูนย์การค้าเหล่านี้จะมีกฏระเบียบของตนเอง และจะให้ร้านที่อยู่ในศูนย์การค้าเปิดภายใต้ระเบียบเดียวกัน คือจาก 9.00-21.00 น. ในวันเสาร์อาทิตย์และนักขัตฤกษ์ แต่วันธรรมดาจะเปิด 12.00 -20.00 น. แต่ในเดือนที่มีการซื้อขายมากๆ เช่นธันวาคม ห้างจะเปิดดึกกว่าปกติคือถึง 22.00-23.00 น.
2550 2551 2552 2553 2554 2555 ค้าปลีกแบบผ่านห้าง 70,040.4 74,114.4 76,453.0 78,462.5 80,250.9 81,369.9 ค้าปลีกสินค้าอาหาร 36,406.6 37,872.5 38,680.6 39,390.4 39,982.1 40,322.3 - ค้าปลีกขนาดใหญ่ 11,541.9 12,647.3 13,657.6 14,573.0 15,393.8 16,120.3 - ซูเปอร์มาร์เก็ต 2,026.5 2,318.2 2,443.7 2,644.5 2,760.0 2,854.7 - ร้านสะดวกซื้อ 3,052.2 3,032.5 3,063.7 3,094.4 3,117.9 3,137.3 - ร้านขายสินค้าอาหารขนาดเล็ก 8,980.7 8,995.4 9,064.7 9,083.5 9,113.9 9,128.3 - ร้านขายอาหารเครื่องดื่มและบุหรี่ 6,289.1 6,281.1 6,204.3 6,133.0 6,063.3 5,993.4 - ค้าปลีกอื่นๆ 125.8 129.0 133.2 134.7 136.1 137.7 ค้าปลีกแบบไม่ใช่สินค้าอาหาร 33,633.8 36,241.8 37,772.4 39,072.1 40,268.8 41,047.6 - รวม 1,376.3 1,514.1 1,586.1 1,658.5 1,731.0 1,784.9 - สุขภาพและเครื่องสำอาง 13,410.4 14,104.4 14,645.0 15,143.0 15,550.7 15,823.0 - เลื้อผ้าและรองเท้า 7,197.5 8,022.8 8,504.1 8,881.7 9,302.7 9,553.0 - เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งบ้าน 3,703.6 3,984.2 4,112.6 4,170.3 4,229.5 4,247.5 - สินค้าคงทน (เครื่องไฟฟ้า) 5,380.7 5,901.0 6,124.8 6,335.4 6,493.2 6,626.8 - สินค้าเพื่อความบันเทิงกีฬา 1,971.3 2,082.0 2,156.7 2,218.3 2,281.6 2,321.5 - ค้าปลีกไม่ใช่อาหาร 594.0 633.3 643.1 664.9 680.0 690.8 แหล่งที่มาของข้อมูล: Official statistics, trade associations, trade press, company research, trade interviews, Euromonitor International estimates ตาราง 8 คาดการณ์ยอดขายผ่านห้าง: มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2550-55
ร้อยละอัตราเติบโต
เพิ่มขึ้นต่อปี เพิ่มขึ้นรวม
ค้าปลีกแบบผ่านห้าง 3.0 16.2 ค้าปลีกสินค้าอาหาร 2.1 10.8 - ค้าปลีกขนาดใหญ่ 7.1 40.9 - ซูเปอร์มาร์เก็ต 3.7 19.7 - ร้านสะดวกซื้อ 0.6 2.8 - ค้าปลีกขนาดเล็ก 0.3 1.6 - ร้านขายอาหารเครื่องดื่มและบุหรี่ -1.0 -4.7 - ค้าปลีกอื่นๆ 1.8 9.5 ค้าปลีกแบบไม่ใช่สินค้าอาหาร 4.1 22.0 - รวม 5.3 29.7 - สุขภาพและเครื่องสำอาง 3.4 18.0 - เลื้อผ้าและรองเท้า 5.8 32.7 - เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งบ้าน 2.8 14.7 - สินค้าคงทน (เครื่องไฟฟ้า) 4.3 23.2 - สินค้าเพื่อความบันเทิงกีฬา 3.3 17.8 - ค้าปลีกไม่ใช่อาหาร 3.1 16.3 แหล่งที่มาของข้อมูล: Official statistics, trade associations, trade press, company research, trade interviews, Euromonitor International estimates ตาราง 9 คาดการณ์ยอดจำหน่ายไม่ผ่านห้าง: มูลค่าปี 2550-55 พันล้านเวเนซูเอลาโบลิวาร์ 2550 2551 2552 2553 2554 2555 ค้าปลีกไม่ผ่านห้าง 2,774.9 3,064.0 3,391.8 3,709.1 4,053.0 4,453.0 เครื่องขายอัตโนมัติ 121.0 123.4 125.9 128.1 130.1 132.0 โฮมช้อบปิ้ง 243.2 248.1 252.2 255.4 257.9 260.3 ซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต 598.1 807.4 1,087.2 1,362.4 1,666.5 2,032.2 ขายตรง 1,812.6 1,885.1 1,926.6 1,963.2 1,998.5 2,028.5 แหล่งที่มาของข้อมูล: Official statistics, trade associations, trade press, company research, trade interviews, Euromonitor International estimates การจ้างงานในธุรกิจค้าปลีก
เนื่องจากเศรษฐกิจพัฒนาขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จำนวนคนที่เข้าสู่แรงงานค้าปลีกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สูงถึงร้อยละ 25 ของการจ้างงานเมื่อปี 2550
นับแต่ปี 2548 เป็นต้นมาบริษัทที่มีพนักงาน 20 คนขึ้นไปจะต้องทำตามกฏหมายแรงงานด้วยการจัดอาหารกลางวันให้พนักงานหรือโบนัสค่าอหาร(คูปองหรือบัตรเดบิต) นอกจากนี้ยังต้องจัดการดูแลเด็กอ่อนให้พนักงานด้วย ขณะที่คนท้องจะได้รับการประกันว่าจะได้ทำงานต่อหลังจากที่คลอดแล้ว รวมไปถึงพ่อของเด็กด้วย (กฏหมายคุ้มครองครอบครัว กันยายน 2550) นอกจากนี้ยังมีกฏหมายคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้ระบบสวัสดิการสังคมครบวงจร
หลังจากการทำงาน 3 เดือน จะได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น รวมไปถึงโบนัสในเดือนธันวาคม เงินออมสำหรับเกษียณและได้วันหยุด 1 เดือน โดยได้เงินเดือน นโยบายแรงงานเวเนซูเอลาคือต้องการช่วยเหลือสภาพของคนงาน แต่กลับมาสร้างแรงกดดันให้นายจ้างที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น โดยเฉพาะบริษัทเล็กๆ
มาตรการที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการจ้างงานคือห้ามไล่พนักงานออก ซึ่งหมายถึงว่าบริษัทไม่สามารถจะไล่พนักงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 535,975 เวเนซูเอลาโบลิวาร์ (ประมาณ 8,565 บาท) ต่อเดือนออกจากงานได้ (กฏหมายปี 2550)
ตำแหน่งงานบริหารสำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกยังมีความต้องการสูง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจ ในช่วงที่เศรษฐกิจดี เช่นเมื่อปี 2547 บริษัทต้องให้เงินเดือนสูงๆ และมีสวัสดิการดีๆ สำหรับพนักงานที่มีผลงานดี
สหภาพแรงงานมีบทบาทสูงในเวเนซูเอลา แต่ไม่ใช่ในกรณีธุรกิจค้าปลีก ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน การผลิตสินค้าจากน้ำมันและการก่อสร้าง
ร้านค้าปลีกในปัจจุบันจะย้ายจากถนนสายหลักในเมืองเข้าไปอยู่ในศูนย์การค้า มีศูนย์การค้าเพิ่มมากขึ้น และดึงดูดผู้คนจากทุกๆ สาขาอาชีพ สินค้ายี่ห้อดังที่ไม่ใช่อาหาร พยายามจะมาเปิดร้านตามศูนย์การค้าดังๆ ซึ่งมีอยู่ตามเมืองใหญ่ทุกแห่ง
ร้านค้าปลีกขนาดเล็กยังคงมีสภาพอยู่แบบดั้งเดิม เช่นตามถนนสายสำคัญในเมือง ซึ่งไม่จำเป็นต้องขยายสาขาไปอยู่ตามศูนย์การค้าต่างๆ แต่ก็ยังมีลูกค้าประจำอยู่
สถานที่ที่คนนิยมไปช้อปปิ้งคือแคว้นที่ไม่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนำเข้าเช่นที่เกาะมาการิต้า (Margarita Island) และแคว้นปารากัวนา ( Paraguana Region) เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ไปช้อปปิ้งสินค้านำเข้าและปลอดภาษี ซึ่งราคาจะถูกกว่าปกติถึงกว่า ร้อยละ 30
แม็คโคร เป็นห้างค้าส่งข้ามชาติห้างเดียวที่มาเปิดธุรกิจในเวเนซูเอลา โดยเข้ามาดำเนินธุรกิจนานแล้วทั้งในรูปค้าส่งและค้าปลีกที่ราคาถูกกว่าซูเปอร์มาร์เก็ต
ร้านค้าส่งต้องปรับกลยุทธด้วยการขายปลีกให้ราคาต่ำกว่าซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับประเทศที่ครอบครัวส่วนใหญ่เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากผู้ชื้อต้องซื้อของเป็นจำนวนมากในทุกครั้งที่ไปซื้อ และยังมีข้อจำกัดในการรับบัตรเครดิต(รับอยู่เพียงธนาคารเดียว) ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยซื้อสินค้าจากห้างเหล่านี้
การเปิดรับสมาชิกจากคนทั่วไป นอกเหนือจากที่เดิมอนุญาตให้แก่เพียงผู้ประกอบธุรกิจ เช่น ร้านค้า ภัตตาคารกลายเป็นประชาชนทั่วไป ทำให้มีสมาชิกและยอดขายเพิ่มมากขึ้น
ลูกค้าของแม็คโคร มี 3 กลุ่ม คือลูกค้าทั่วไป ผู้เป็นเจ้าของร้านค้าปลีกขนาดเล็ก และผู้ประกอบธุรกิจ โรงแรม ร้านอาหาร โดยมีลูกค้ากลุ่มแรกประมาณ ร้อยละ30
แม็คโคร ให้บริการ Telemakro คือขายสินค้าราคาพิเศษให้แก่บริษัทที่มีการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าไปยังห้าง ข้อดีของห้างค้าส่งคือมีสินค้าหลากหลายตั้งแต่อาหารไปถึงของใช้เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องเสียง เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์สำนักงาน แถมยังมีบริการธนาคาร ล้างรถ ซ่อมอุปกรณ์ และอื่นๆ
เป็นที่คาดหมายถึงการเติบโตของห้างค้าส่ง เนื่องจากยังเป็นที่ต้องการของร้านค้าขนาดเล็กที่ต้องอาศัยซื้อสินค้าที่มีราคาถูกและมีให้เลือกมากมาย และยังเพิ่มไลน์ใหม่ออกมาเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต Mikro ในย่านที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ยังไปไม่ถึง
ที่มา: http://www.depthai.go.th