สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สวีเดน ปี 2552 (ม.ค.—ส.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 13, 2009 15:16 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง         :  Stockholm
พื้นที่              :  449,964 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ       :  Swedish
ประชากร          :  9,182,294 คน (Dec 2007)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                                -0.4        -5.5
Consumer price inflation (av; %)                    3.5        -0.5
Consumer price inflation                            3.3         1.2
(av; %; EU harmonised measure)
General government budget balance (% of GDP)        2.5        -4.7
Current-account balance (% of GDP)                  8.3         5.5
3-month Treasury-bill rate (av; %)                  4.7         1.0
Exchange rate Skr:US$ (av)                          6.6        8.03

โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยกับสวีเดน
                                    มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าส่งออกสำคัญทั้งสิ้น                  286.16            100.0         -24.70
สินค้าเกษตรกรรม                       32.27            11.28         -38.37
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               33.91            11.85          -5.08
สินค้าอุตสาหกรรม                      219.90            76.85         -24.58
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                     0.07             0.03         -78.62
สินค้าอื่นๆ                               0.0              0.0

โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยกับสวีเดน
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้านำเข้าสำคัญทั้งสิ้น                       263.41            100.0         -34.70
สินค้าเชื้อเพลิง                               3.30             1.25          20.40
สินค้าทุน                                   98.59            37.43         -33.87
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   113.59            43.12         -42.31
สินค้าบริโภค                                36.94            14.02           0.90
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์                      9.86             3.74         -44.96
สินค้าอื่นๆ                                   1.13             0.43       1,001.83
ข้อสังเกต  : 1. สำหรับสินค้าอื่นๆ ในปี 2552 (มค.- สค.) มีมูลค่าการนำเข้า  1.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมีการนำเข้าเพียง 0.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง1,001.83

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สวีเดน
                           2551           2552           %

(ม.ค.— ส.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม              783.37         549.57       -29.84
การส่งออก                  380.01         286.16       -24.70
การนำเข้า                  403.36         263.41       -34.70
ดุลการค้า                   -23.35          22.75

2. การนำเข้า สวีเดนเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 33 ของไทยมูลค่า 175.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.41 สินค้า
นำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                          263.41            100.0         -34.70
1.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                  52.40            19.89         -32.00
2.กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ                  47.21            17.92         -22.39
3.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                   25.09             9.53         -56.81
4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                23.39             8.88         -37.99
5.ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม                22.57             8.57           4.18
         อื่น ๆ                              6.27             2.38         -48.08

3. การส่งออก สวีเดนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 42 ของไทย มูลค่า 488.51  ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 สินค้า
ส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                              มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                              286.16           100.0         -24.70
1.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น                   26.63            9.31         -14.04
2.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                        19.07            6.66         -17.62
3.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                   13.70            4.79          54.98
4.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                     13.06            4.56         -60.34
5.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                12.71            4.44          -5.89
             อื่น ๆ                             57.33           20.03         -25.11

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสวีเดน ปี 2552 (มค.- สค.) ได้แก่

เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ : สวีเดนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 12 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- สค.) พบว่า ปี 2549 และ 2552 (มค.-สค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 15.13 และ 14.04 ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.64 และ 52.65 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ : สวีเดนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 31 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- สค.) พบว่า ปี 2552 (มค.-สค.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 17.62 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.12 39.58 และ 3.44 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ : สวีเดนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 27 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- สค.) พบว่า ปี 2551 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 48.65 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2552 (มค.- สค.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.58 76.86 และ 54.98 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : สวีเดนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 61 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- สค.) พบว่า ปี 2550 - 2552 (มค.-สค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 16.96 32.72 และ 60.34 ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2549 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.35 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สวีเดนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 19 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- สค.) พบว่า ปี 2550 และ 2552 (มค.-สค.) มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 13.64 และ 5.89 ในขณะที่ปี 2549 และ2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.70 และ 8.93 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสวีเดนปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงมีรวม 5 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                        2551         2552           อัตราการขยายตัว       หมายเหตุ
                                  (ม.ค.-ส.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ            %
3. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ          8.84        13.70              54.98
7. สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล                   7.28        11.09              52.35
13.เลนซ์                               7.09         7.30               2.89
14.เครื่องทำสำเนา                       4.20         7.02              66.97
21.สิ่งปรุงรสอาหาร                       4.64         5.19              11.74

4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสวีเดน ปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 20 รายการ คือ
          อันดับที่ / รายการ                           มูลค่า            อัตราการขยายตัว
                                               ล้านเหรียญสหรัฐ              %
1.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                      26.63              -14.04
2.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                 19.07              -17.62
4.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                          13.06              -60.34
5.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                     12.71               -5.89
6.เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ               11.10              -14.98
8.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                          10.46              -15.03
9.ไก่แปรรูป                                           9.89              -40.44
10.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                     8.73              -50.46
11.ข้าว                                              8.47              -15.15
12.เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น                7.88              -38.00
15.เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง                              6.78              -54.83
16.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล              6.50              -60.45
17.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                               6.42              -11.57
18.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                                6.06              -20.97
19.อัญมณีและเครื่องประดับ                                5.93              -20.28
20.แผงวงจรไฟฟ้า                                      5.30              -21.20
22.เครื่องกีฬาและเครื่องเล่มเกม                           5.05              -22.82
23.ผลิตภัณฑ์ยาง                                        5.03              -21.59
24.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                                  4.83              -41.78
25.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                     4.65              -31.34

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

บริษัท กำแพงแสน คอมเมอร์เชียล จำกัด ผู้ผลิตส่งออกผลิตภัณฑ์ผัก และผลไม้สดพร้อมบริโภคชั้นนำรวมทั้งจำหน่ายในประเทศ ภายใต้แบรนด์ เค.ซี.เฟรช โดยภาพรวมของบริษัทในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 มียอดขายเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมากกว่า 30% โดยตลาดขยายตัวอย่างน่าพอใจทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ เป็นผลจากสินค้ากลุ่มอาหารได้รับผลกระทบไม่มากจากวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ในทางกลับกันจากการที่บริษัทซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าผักและผลไม้สดที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย (ฟูดเซฟตี้) ระดับสากล ได้วางแผนการขยายตลาดกับคู่ค้าในต่างประเทศมาเป็นอย่างดีนับแต่ปีที่แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ล่าสุดในต้นปีที่ผ่านมาบริษัทร่วมกับคู่ค้าได้จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่สนามบินเมืองมิวนิก เพื่อกระจายสินค้าสู่ตลาดทางภาคใต้ของประเทศเยอรมนี มีสินค้าอาทิ ข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง มังคุด แก้วมังกร ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ยอดขายในภาพรวมของบริษัทในช่วงครึ่งแรกขยายตัวมาก ส่วนในปีหน้าบริษัทมีแผนที่จะรุกหนักตลาดสวีเดน ขณะเดียวกันตลาดในประเทศช่วงครึ่งแรก จากผลพวงที่คนไทยต้องการบริโภคสินค้าที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีผลให้คู่ค้าของบริษัทได้เพิ่มยอดในการจัดหาสินค้าที่ได้รับการรับรองด้านความปลอดภัยของบริษัทไปจำหน่ายมากขึ้น เพราะหากรับจากผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานอาจถูกฟ้องร้องจากผู้บริโภคได้ ส่วนสถานการณ์ในครึ่งปีหลังยังมั่นใจว่า ตลาดจะยังไปได้ดีทั้งในและต่างประเทศเนื่องจากความเชื่อมั่นของคู่ค้าและผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องค่าเงินที่ยังมีความผันผวน ซึ่งหากแข็งค่ามากขึ้นกว่าคู่แข่ง จะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันรวมถึงรายได้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ