สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค.—ส.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 20, 2009 16:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง           :  Tokyo
พื้นที่                :  377,899  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ         :  Japanese
ประชากร            :  127.8 ล้านคน (October 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน       :  100  เยน =  34.372 บาท (15//06/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                               1.9         1.4
Consumer price inflation (av; %)                  0.0         0.4
Budget balance (% of GDP)                        -2.6        -2.4
Current-account balance (% of GDP)                4.9         4.6
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        1.8         2.1
Exchange rate ฅ:US$ (av)                        117.4       105.0

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   9,811.74          100.00        -28.42
สินค้าเกษตรกรรม                     1,471.75           15.00        -21.54
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร             1,050.42           10.71         -6.55
สินค้าอุตสาหกรรม                     7,127.01           72.64        -27.00
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    162.56            1.66        -82.79
สินค้าอื่นๆ                                0.0             0.0       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              14,441.02          100.0         -35.83
สินค้าเชื้อเพลิง                               103.71           0.72          36.18
สินค้าทุน                                  5,809.02          40.23         -31.63
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   6,311.01          43.70         -41.79
สินค้าบริโภค                                 861.48           5.97         -17.12
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์                    1,354.95           9.38         -33.80
สินค้าอื่นๆ                                     0.85           0.01         -72.25

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — ญี่ปุ่น
                           2551            2552            %

(ม.ค.—ส.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            36,209.72       24,252.76       -33.02
การส่งออก                13,707.12        9,811.74       -28.42
การนำเข้า                22,502.60       14,441.02       -35.83
ดุลการค้า                 -8,795.47       -4,629.28       -47.37

2.  การนำเข้า
ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 1 ของไทย มูลค่า  14,441.02 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 35.83
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                              มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม             14,441.02         100.00         -35.83
1.เครื่องจักรกล                 2,962.09          20.51         -31.45
2.เหล็ก เหล็กกล้า               1,565.51          10.84         -52.75
3.แผงวงจรไฟฟ้า                1,435.08           9.94         -21.98
4. เครื่องจักรไฟฟ้า              1,393.63           9.65         -33.24
5. เคมีภัณฑ์                    1,081.53           7.49         -44.19
         อื่น ๆ                  937.72           6.49         -25.22

3.  การส่งออก
ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 2 ของไทย มูลค่า 9,811.74 ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงร้อยละ  28.42
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                 มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                 9,811.74         100.00         -28.42
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯ                576.95           5.88         -18.70
2.แผงวงจรไฟฟ้า                     530.91           5.41         -28.60
3.ไก่แปรรูป                         437.08           4.45          15.92
4.อาหารทะเลกระป๋องฯ                350.36           3.57          -2.59
5.รถยนต์ อุปกรณ์ฯ                    304.93           3.11         -58.41
           อื่น ๆ                 3,690.67          37.61         -36.52

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค.—ส.ค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2552 พบว่าปี 2551 และ 2552 (มค.- สค.) มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 6.98 และ 18.70ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.40 และ 14.34 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.- สค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 12.64 และ 28.60 ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.49 และ 10.27 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ไก่แปรรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 0.63 4.10 94.11 และ 15.92 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย รองจากสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 พบว่า ปี 2549 และ 2552 (มค.- สค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 2.15 และ 2.59 ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.58 และ 24.19 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์ฯ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 พบว่า ปี 2552 (มค.- สค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 58.41 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.16 19.81 และ 19.28 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค.—ส.ค.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูง มีรวม 6 รายการ คือ
            อันดับที่ / รายการ              มูลค่า             อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                                    ล้านเหรียญสหรัฐ               %
 3. ไก่แปรรูป                             437.08               15.92
15. เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า         179.85                7.22
16. กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                     174.41               26.26
 8. ส่วนประกอบอากาศยานฯ                  169.95               62.98
21. อาหารสัตว์เลี้ยง                        158.67                2.78
22. เครื่องสำอาง สบู่                       145.62               39.59

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2552 (ม.ค.- สค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง
รวม 19 รายการ คือ
       อันดับที่ / รายการ                              มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                               ล้านเหรียญสหรัฐ              %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ                       576.95             -18.70
3.แผงวงจรไฟฟ้า                                      530.91             -28.60
4.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                          304.93             -58.41
5.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                          278.49             -19.41
6.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                     276.68             -21.44
7.เลนซ์                                             276.00             -15.25
8.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                      271.07              -9.07
9.ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม                                    252.83             -61.09
10.ยางพารา                                         232.16             -20.84
11.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                           207.68             -40.87
12.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล             199.10             -26.78
13.ผลิตภัณฑ์ยาง                                       190.85              -9.46
14.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ                         304.93             -58.41
17.เม็ดพลาสติก                                       171.55             -22.03
19.เคมีภัณฑ์                                          166.74             -15.69
20.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                       160.17             -20.46
23.เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง                             139.40             -28.93
24.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                               138.02             -17.08
25.เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ                     131.60             -40.46


4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ในส่วนของประเทศไทยที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2552 โดยทั้งสองกรอบความตกลงได้ลดภาษีนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มระหว่างกันลงเป็น 0% แล้วในเวลานี้ ได้ส่งผลดีต่อการส่งออกสิ่งทอของไทยอย่างมาก โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้การส่งออกสินค้าเครื่องนุ่งห่มของไทยซึ่งเป็นปลายน้ำของอุตสาหกรรมสิ่งทอไปยังญี่ปุ่นมีมูลค่า 157.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีการส่งออก 147.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.54% ถือเป็นตลาดส่งออกหลักเพียงตลาดเดียวของไทยที่ยังขยายตัวเป็นบวก ขณะที่ตลาดหลักอื่นๆ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (อียู) และอาเซียนยังขยายตัวติดลบตามภาวะเศรษฐกิจโลก ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มของไทยไปญี่ปุ่นยังขยายตัวสวนกระแสตลาดอื่นๆ สืบเนื่องจากภาษีที่ลดลงเป็น 0% จูงใจให้คู่ค้าจากญี่ปุ่นได้เข้ามาพัฒนาสินค้าร่วมกับผู้ผลิตของไทยเพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นมากขึ้น ประกอบกับญี่ปุ่นต้องการที่จะลดการพึ่งพาการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากจีนเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องคุณภาพและการส่งมอบสินค้า โดยจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าเครื่องนุ่งห่มของญี่ปุ่นประมาณ 22,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ในอดีตต้องพึ่งพาการนำเข้าจากจีนสัดส่วนกว่า 91% แต่ในปีนี้จะลดสัดส่วนลงเหลือ 83% ญี่ปุ่นได้เริ่มย้ายฐานการผลิตและการสั่งซื้อมาที่อาเซียน เช่น ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า และลาวมากขึ้น บางส่วนไปบังกลาเทศโดยให้สิทธิภาษีนำเข้าอัตรา 0% เช่นกัน อย่างไรก็ดีปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกเครื่องนุ่งห่มของไทยไปญี่ปุ่นยังน้อย โดยช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ส่งออกไปสัดส่วนประมาณ 8% ของการส่งออกในภาพรวม ส่วนตลาดที่ไทยส่งออกมีสัดส่วนมากที่สุดคือสหรัฐฯและอียู มีสัดส่วน 40 และ 33% ตามลำดับ ขณะที่เดียวกัน จากความตกลง JTEPA และ AJCEP ที่มีผลให้สินค้าผ้าผืนส่งออกไปญี่ปุ่นลดภาษีจาก 11-13% ลงเป็น 0% แล้วในเวลานี้ มีผลให้ไทยส่งออกผ้าผืนไปญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นเช่นผ้าดิบเพื่อเอาไปฟอกย้อมจากปกติญี่ปุ่นจะซื้อจากจีนเป็นหลัก นอกจากนี้เป็นผลจากโครงการความร่วมมือด้านสิ่งทอภายใต้ความตกลงทั้งสองกรอบ โดยญี่ปุ่นได้สนับสนุนเงินช่วยเหลือจำนวน 11 ล้านเยน หรือประมาณ 3 ล้านบาทในการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาช่วยพัฒนาด้านสิ่งทอของไทย แยกเป็นโรงงานทอผ้า 6 โรง โรงฟอกย้อม 4 โรง และโรงงานเครื่องนุ่งห่ม 4 โรง ซึ่งในอนาคตโรงงานเหล่านี้จะช่วยเพิ่มยอดส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นรวมถึงตลาดอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น สำหรับความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรของไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น และตลาดญี่ปุ่น สินค้าไทยที่เด่นกว่า ได้แก่ สตาร์ชและอินูลิน น้ำตาลและกากน้ำตาล เครื่องเทศ เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง ข้าว ปลา/ปูกระป๋อง ไส้กรอก/ผลิตภัณฑ์ ปลา/ผลิตภัณฑ์แปรรูป เนื้อปลาฟิเล่สดแช่แย็นแช่แข็ง ส่วนสินค้าที่ไทยเป็นรอง ได้แก่ พริกไท กุ้ง/ปูสด แช่เย็นแช่แข็ง อบเชย แป้งและสาคู น้ำมันถั่วเหลือง กล้วยสด ไขมัน/น้ำมันสัตว์ น้ำแร่และน้ำอัดลม สุราและไวน์ น้ำมันปาล์ม อย่างไรก็ตาม เนื้อสัตว์ปรุงแต่งเป็นสินค้าอ่อนไหว ที่ไม่นำมาลดภาษีในกรอบไทย-ญี่ปุ่น และอาเซียน-ญี่ปุ่น

สำหรับทิศทางการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในช่วงในช่วงที่เหลือของปี 2552 คาดว่าการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นน่าจะกระเตื้องขึ้นตามภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ส่งสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความตกลง FTA อาเซียน-ญี่ปุ่นในการเปิดเสรีการค้าสินค้าซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 น่าจะช่วยให้การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นมีขีดความสามารถทางการแข่งขันที่ดีขึ้นในตลาดญี่ปุ่น และขณะเดียวกันญี่ปุ่นจะได้รับประโยชน์จากการที่ต้องลดภาษีนำเข้าให้อาเซียนทำให้ต้นทุนนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ/ขั้นกลางลดลง โดยญี่ปุ่นต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียน ซึ่งสินค้าร้อยละ 96.7 ของมูลค่านำเข้าจากอาเซียนจะถูกนำมาลด/ยกเลิกภาษีนำเข้า โดยร้อยละ 90 ของมูลค่าสินค้านำเข้าจะลดเป็น 0 ทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ โดยสินค้าส่งออกจากไทยไปญี่ปุ่นที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นได้แก่ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปโดยเฉพาะไก่แปรรูป และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปซึ่งบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งนำเข้าสินค้าจากไทย รวมถึงการเข้ามาจัดตั้งฐานการผลิตในไทยของนักลงทุนญี่ปุ่นเพื่อป้อนกลับสู่ตลาดญี่ปุ่นหลังจากที่ประสบปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหารในประเทศจีน ส่วนสินค้าส่งออกของไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้ายานยนต์และส่วนประกอบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามอุปสงค์ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากนโยบายสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ผลักดันให้ผู้บริโภคหันมาสนใจเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

สถานการณ์การส่งออกกุ้งปีนี้ตลาดกุ้งของไทยเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่า ซึ่งเป็นเซ็กเตอร์เดียวที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าส่งออกอื่น ๆ มีปัญหาตัวเลขในปี 2551 ไทยส่งออกกุ้งมูลค่าประมาณ 86,000 ล้านบาท ปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาใหม่ ๆ เข้ามาในช่วงนี้จะได้เห็นกุ้งไทยส่งออกถึง 100,000 ล้านบาท โดยในไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ส่งออกไปแล้วถึง 40,000 ล้านบาท และในช่วงปลายปี ซึ่งมีงานเฉลิมฉลองจะทำให้ตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นอีก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กุ้งไทยมีปริมาณการส่งออกที่สูงขึ้นในปีนี้ เป็นผลมาจากประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามและอินโดนีเซีย ประสบปัญหา โดยเวียดนามได้รับผลกระทบจากพายุกิสนาทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 10% ในขณะที่อินโดนีเซียเจอปัญหาโรคระบาดในกุ้ง ทำให้ผลผลิตลดลง 20% ประเทศไทยจึงได้รับอานิสงส์ แต่ถ้าคู่แข่งของไทยไม่มีปัญหาดังกล่าว ปีนี้กุ้งไทยจะประสบปัญหาอย่างหนัก เนื่องจากผลผลิตกุ้งมากกว่าปีที่ผ่านถึง 1 แสนตัน นอกจากนั้นพฤติกรรมการบริโภคกุ้งที่เปลี่ยนแปลงไป เดิมเราตั้งสมมติฐานว่า กุ้งแพงคนจะหันไปกินทูน่าแทน แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคนมีเงินไปกินกุ้งที่ภัตตาคารในราคาจานละ 10 เหรียญ จึงเปลี่ยนไปซื้อกุ้งในซูเปอร์มาร์เก็ต 2 กิโลกรัม 10 เหรียญไปทำกินที่บ้าน ซึ่งตรงนี้ทำให้กุ้งไทยเติบโตมากขึ้น ตลาดส่งออกกุ้งยังเป็นตลาดอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นเป็นหลัก

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยถึงคำสั่งซื้อเครื่องนุ่งห่มในช่วงไตรมาส 4 ปี 2552 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงต่าง โดยปีนี้คาดว่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มจะอยู่ที่ 3,300 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากปีที่แล้ว 10% โดยในไตรมาส 1 ปี 2553 ได้มีลูกค้าแจ้งว่าจะสั่งซื้อสินค้ากับผู้ส่งออกไทยเต็มกำลังการผลิตแล้ว คาดว่าการส่งออกปีหน้าจะขยายตัว 5% การส่งออกตลาดหลักดีขึ้นทุกตลาด คือสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น โดยจะทำให้การส่งออกปี 2553 กลับมาเท่ากับปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องนุ่งห่มในปี 2553 เพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยเสื้อเด็ก ปรับตัวดีขึ้นเพราะผู้ผลิตไทยสามารถผลิตตามมาตรฐานเสื้อผ้าเด็กของสหรัฐที่ควบคุมเรื่องสารตกค้างได้ ส่วนเสื้อผ้ากีฬา มีคำสั่งซื้อเข้ามาจำนวนมาก เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก ที่จะมีขึ้นในกลางปี 2553 ซึ่งผู้นำเข้าต้องการสั่งสินค้ามาเตรียมไว้ตั้งแต่ต้นปี ปี 2553 สมาคมมีเป้าหมายที่จะขยายตลาดส่งออกญี่ปุ่นมากขึ้น เพื่อใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้เงินช่วยเหลือ 11.5 ล้านเยน เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตผ้าผืนและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งวันที่ 20 ต.ค.นี้ ทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบมาช่วยเหลือผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 14 ราย ทำให้ผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ