- หน่วยงาน CPB (Netherlands Bureau for Economic Policy Analysis) คาดการณ์เศรษฐกิจมหภาคปี 2552 และ 2553 (ล่าสุดเดือน ก.ย.52)
ปี 2552 ปี 2553 GDP (%) -4.75 0.0 Private consumption (%) -2.75 -0.75 Export of goods(non-energy) (%) -13.75 3.00 Imports of goods (%) -11.50 1.25 Value GDP (bln euro) 575 580 Population(1000’s of pers.) 16,515 16,570 Unemployment (1000’s of pers.) 405 615 Unemployment rate (%) 5.25 8.00
- หน่วยงาน Central Bureau of Statistics (CBS) รายงานภาวะเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 2 ปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สรุปได้ดังนี้
ในช่วง 6 เดือนแรกมีมูลค่ากว่า 356 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นเกือบ 10 พันล้านยูโรจากช่วงปลายปี 2551 โดยหนี้ภาครัฐมีอัตราร้อยละ 61.1 (debt-to-GDP ratio) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์/เพดานที่อียูกำหนดไว้ (ร้อยละ 60) ซึ่งในปี 2542 เกิดเหตุการณ์นี้มาแล้ว
สาเหตุจากวันที่ 26 มกราคม 2552 รัฐบาลรับร้อยละ 80 ของความเสี่ยงและกำไรของการจำนองในสหรัฐอเมริกาของธนาคาร ING (took on 80 percent of the risks and profits of the American mortgage portfolio of ING Bank)
การแทรกแซงดังกล่าวทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 20 พันล้านยูโร ในขณะเดียวกันสามารถลดหนี้สาธารณะลงได้จากการที่ธนาคาร Fortis ไถ่ถอนการกู้ยืม 34 พันล้านในช่วงครึ่งแรกปี 2552 โดยเข้าบัญชีฝาก 15 พันล้านยูโรและที่เหลือช่วยลดหนี้สาธารณะ ในช่วง 6 เดือนแรกหนี้สาธารณะเพิ่มจากสาเหตุการขาดดุลเกือบ 11 พันล้านยูโร ปัจจุบันมีอัตราร้อยละ 3.7 ของ GDP สูงกว่าที่อียูกำหนดไว้ (ร้อยละ 3)
รายได้ภาครัฐลดลงกว่า 6 พันล้านยูโรในช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งเป็นรายได้จากการจัดเก็บภาษีเงินได้และ Social contribution การเก็บภาษีรายการอื่นก็ลดลงอย่างมาก เช่น
รายได้จากการเก็บภาษี VAT ลดลง 1 พันล้านยูโร(เนื่องจากตลาดบ้านเรือนหดตัว) ภาษีการโอนทรัพย์สินลดลงเกือบ 1 พันล้าน ภาษีจากเงินปันผลลดลง 1.5 พันล้านยูโร corporate tax ลดลง 2 พันล้านยูโร
การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นเกือบ 6 พันล้านยูโร โดยเฉพาะการจ่าย benefit ภายใต้ Medical Expenses Act (AWBZ) โดย basic health care benefits เพิ่มเกือบ 3 พันล้านยูโร ค่าจ้าง การลงทุน การชดเชยเพิ่มรายการละ 1 พันล้านยูโร การลดเงินอุดหนุนสหภาพยุโรปช่วยให้ดุลการเงินมีสถานะดีขึ้นเกือบ 2 พันล้านยูโร
- ส่งออกลดลง ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 8 (นับเป็นการลดที่สูงกว่าเดือน ก.ค.) มูลค่ารวม 23.6 พันล้านยูโร ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551 การส่งออกไปประเทศสมาชิกอียูด้วยกันลดลงมากกว่าการส่งออกไปประเทศที่มิใช่สมาชิกฯ ในภาพรวมราคาสินค้าส่งออกลดลงร้อยละ 11.4
- การนำเข้า ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 13 (นับเป็นการลดที่สูงกว่าเดือน ก.ค.เช่นกัน)มูลค่ารวม 21.4 พันล้านยูโร ลดลงร้อยละ 21 การนำเข้าจากประเทศสมาชิกอียูมีมากกว่าการนำเข้าจากประเทศที่มิใช่สมาชิกฯ ในภาพรวมราคาสินค้านำเข้าลดลงร้อยละ 9.5
- ดุลการค้ามูลค่า 2.1 พันล้านยูโร สูงขึ้นกว่า ส.ค.51 มูลค่า 0.4 พันล้านยูโร
- ธนาคาร DSB ถูกทางการเข้าแทรกแซง เนื่องจากผู้ก่อตั้งนาย Dirk Scheringa ยืมเงินไปจำนวนมาก บัญชีออมทรัพย์ถูกห้ามดำเนินการ ลูกค้าถอนเงินได้วันละ 250 ยูโร จนถึงวันที่ 14 ต.ค. 52 บัญชีที่มีเงินฝากถึง 1 แสนยูโร รัฐบาลประกันการฝาก แต่ลูกค้าประมาณ 4 พันคนที่มีเงินฝากสูงกว่ามีแนวโน้มว่าจะสูญเงิน ทางการให้เวลาถึง 16 ต.ค.เพื่อหาผู้ซื้อกิจการ ไม่เช่นนั้นจะประกาศให้ธนาคารล้มละลาย
- การค้ารวม มูลค่า 2,505.0 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -32.34
- การนำข้าจากไทย(ไทยส่งออก) มูลค่า 1,994.0 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -32.17
- ไทยนำเข้า มูลค่า 511.0 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -32.99
- ดุลการค้าไทยมูลค่า 1,483.0 ล้านเหรียญฯ ไทยได้เปรียบดุลฯ ลดลง 31.88
- สินค้าไทยตามหมวดที่ นธ.นำเข้า : เกษตรและเกษตรแปรรูป : ข้าว ร้อยละ -55.47, ไก่แปรรูป ร้อยละ -38.53, ผลไม้กระป๋องแปรรูป ร้อยละ 20.20
- อุตสาหกรรม : เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบร้อยละ -44.28, รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบร้อยละ 66.39 เสื้อผ้าสำเร็จรูป ร้อยละ -1.83
*** ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
โดย สคต.ณ กรุงเฮก
ที่มา: http://www.depthai.go.th