ไมอามี่ได้ชื่อว่าเป็น Capital of the Latin America เนื่องจากตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกสำหรับการไปมาหาสู่กับกลุ่มประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ที่พูดภาษาสเปนเป็นภาษาประจำชาติและมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากการครอบครองของสเปนมาก่อน กลุ่มประชากรที่มาจากประเทศเหล่านี้หรือในปัจจุบันอาจสืบเชื้อสายมาถึงรุ่นที่3-4 มีชื่อเรียกตามกลุ่มวัฒนธรรมว่า Hispanic ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อสายต่างชาติหรือ “ชนกลุ่มน้อย” (Ethnic Minority) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอเมริกาและมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นชนกลุ่มหลักของอเมริกาในไม่ช้า เฉพาะในเขตเมืองไมอามี่ (Miami Dade County) มีประชากร Hispanic ซึ่งมีที่มาจากประเทศต่างๆรวมกันถึง 1.496 ล้านคนในปี 2008 นากจากนั้นยังมีแนวโน้มการโยกย้ายถิ่นฐานออกไปยังเมืองใกล้เคียงที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก สภาพสังคมของไมอามี่จึงแตกต่างจากเมืองสำคัญอื่นๆในสหรัฐอเมริกาเป็นผลให้การบริโภคมีความแตกต่างไปด้วย
วัฒนธรรม Hispanic ทำให้เกิดตลาดเฉพาะกลุ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าเหมือนในถิ่นเดิมหรือตรงกับรสนิยมของตน หากเปรียบเทียบกับคนไทยในต่างแดนที่ยังต้องการอาหารเสื้อผ้าของใช้ของไทยอยู่ก็จะเข้าใจความรู้สึกของคน Hispanic ได้เช่นกัน
ในโอกาสนี้จะยกตัวอย่างถึงเฉพาะสินค้าอาหารซึ่งแต่ละชาติก็จะมีอาหารประจำชาติของตนเองที่รสชาดอาจแตกต่างหรือคล้ายคลึงกันไม่มากไม่น้อยขึ้นอยู่กับเครื่องเทศที่ใช้ อาหารแมกซิกันเป็นตัวอย่างหนึ่งของอาหาร Hispanic แต่ไม่สามารถเป็นตัวแทนของกลุ่ม Hispanic ทั้งหมดได้เพราะยังมีอีกหลายเชื้อชาติ
ไมอามี่เป็นศุนย์รวมของผู้บริโภค Hispanic และการสร้าง trend ของตลาด Hispanic ทั้งในและนอกสหรัฐฯ การศึกษาตลาดกลุ่มเชื้อชาติต่างๆได้แสดงให้เห็นว่าสินค้าอาหารที่ชาว Hispanic บริโภคโดยทั่วไปไม่แต่เพียงที่ไมอามี่ อาจจะจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ กลุ่มอาหารที่อยู่ในตลาด Mainstream อยู่แล้วหรือไทยผลิตอยู่แล้ว เช่น สับปะรดกระป๋อง อาหารทะเลกระป๋อง กะทิ น้ำมะพร้าว อาหารทะเลแช่แข็ง เป็นต้น กับอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มอาหารพื้นเมือง ซึ่งผู้ผลิตไทยอาจจะยังไม่คุ้นเคยนักแต่ก็ไม่เกินความสามารถที่จะผลิตได้เพราะขนาดขนมจีบหรือเทมปุระก็ยังผลิตส่งออกมาแล้ว อาหาร Hispanic บางอย่างคล้ายคลึงกับอาหารไทยผสมฝรั่ง เช่น กะหรี่ปั๊ปหรือพายต่างๆซึ่งสอดใส้ผลไม้กวนหรือเนื้อสัตว์ผสมมันฝรั่ง อาจเป็นเพราะได้รับอิทธิพลตะวันตกมาเหมือนกัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้มากที่ผู้ผลิตไทยจะผลิตอาหารสำหรับตลาด Hispanic ได้โดยเพียงการศึกษาและพัฒนาเพียงเล็กน้อยให้เข้ากับรสนิยมและวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่มีอยู่ในทุกระดับราคาและกระจายไปในทุกภูมิภาคของสหรัฐฯ ที่สำคัญนั้นการไปมาหาสู่ของญาติมิตรจากบ้านเดิมยังเป็นสื่อโฆษณาที่ดีให้กับสินค้าไทยได้อีกด้วย
ข้อมูลต่อไปนี้จะให้ภาพของการผสมผสานของกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมมาจากประเทศต่างๆมารวมกันเป็นความโดดเด่นของไมอามี่และพอจะบอกได้ว่ารัฐฟลอริด้าภาคใต้มีสภาพสังคมอย่างไร ในขณะที่ประชากรเชื้อสาย Hispanic ในไมอามี่มีมากถึงกว่าล้านคน (ประมาณ 62%) ส่วนกลุ่ม White non-Hispanic มีเพียง 18% และกลุ่มเชื้อสาย African American อีกประมาณ 19%
2007 2008 Cuban 794,883 791,913 Nicaraguan 105,415 113,383 Colombian 94,511 101,273 Puerto Rican 94,264 88,367 Honduran 49,137 56,840 Venezuelan 37,865 46,595 Mexican 45,776 46,899 Dominican Republic 48,635 46,047 Peruvian 36,258 39,384 Argentinean 21,120 25,793 El Salvadorian 12,615 21,445 Costa Rican 7,045 6,168 Uruguayan 6,824 4,865 Bolivian 4,847 2,334 Others 119,805 104,694 Total 1,479,000 1,496,000 Demographic changes 2007 2008 Languages: - Speak English only 4.3% 4.7% - Speak English “ not very well” N/A 4.9% - Speak English “ less than very well” 51.3% 49.1% - Speak a language other than English at home 95.7% 95.3% of which 89% speak Spanish, 11% others Education: 25 age and older 2007 2008 - High school graduate or higher 73.8% 73.7% - Bachelor degrees 16.2% 17.0% - Graduate or professional degrees 7.44% 8.0% Jobs in 2008: 719,499 Hispanics over age 16 were employed in civilian sector. - Management, professional and related fields 26.3% - Service job 18.5% - Construction, maintenance and repair 12% - Production, transportation and material moving occupation 11.7% - Sales and office jobs 30.8% - Farming, fishing and forestry 0.3%
ผู้ส่งออกที่สนใจการเข้าตลาด Hispanic โปรดติดต่อสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี่ (ttcmiami@earthlink.net)
ที่มา: http://www.depthai.go.th