ประเทศเวียดนามตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรอินโดจีน มีพื้นที่ประมาณ 331,150 ตารางกิโลเมตร เรียงเป็นรูปตัว S ตามแนวชายฝั่งตะวันตกของทะเลจีนใต้ระหว่างละติจูดที่ 23 องศา 22 ลิบดาเหนือถึง 8 องศา 30 ลิบดาเหนือ และระหว่างลองติจูดที่ 102 องศา 10 ลิบดาตะวันออก ถึง 109 องศา 29 ลิบดาตะวันออก โดยมีความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาว 3,444 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน ความยาว 1,281 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดประเทศลาว ความยาว 2,130 กิโลเมตร
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับประเทศกัมพูชา ความยาว 1,228 กิโลเมตร และอ่าวไทย
ทิศตะวันออก มีชายฝั่งทะเลยาวติดกับทะเลจีนใต้
ประมาณ 3 ใน 4 ของเวียดนาม ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ บริเวณแผ่นดินทั้งหมดของเวียดนาม มีพื้นที่ราว 328,000 ตารางกิโลเมตร นอกนั้นเป็นไหล่เขาและหมู่เกาะต่าง ๆ นับพันเกาะเรียงรายตั้งแต่อ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทย
เวียดนามเป็นประเทศที่มีพื้นที่แคบแต่มีความยาวมาก ทำให้ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
ภาคเหนือ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงมากมาย โดยเฉพาะเทือกเขาฟานซีปาน (Fan Si Pan) ซึ่งสูงถึง 3,143 เมตร สูงที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำกุง (Cung) ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำแดงเป็น ดินดอนสามเหลี่ยม(Red River Delta) ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก และเป็นที่ตั้งของกรุงฮานอย (Ha Noi) ซึ่งเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตที่ได้รับอิทธิพลกระแสอากาศหนาวเย็นจากขั้วโลกจึงทำให้ภูมิอากาศในเขตภาคเหนือมี 4 ฤดู คือ
- ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-เมษายน) มีฝนตกเล็กน้อยและความชื้นสูง อุณหภูมิประมาณ 17 C - 23 C
- ฤดูร้อน (พฤษภาคม-สิงหาคม) อากาศร้อนและมีฝน อุณหภูมิประมาณ 30 C - 39 C เดือนที่ร้อนที่สุด คือ มิถุนายน
- ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) อุณหภูมิ 23 C - 30 C
- ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในรอบปี คือ ประมาณ 7 C - 20 C บางครั้งอุณหภูมิอาจลดลงถึง 0 C เดือนที่หนาวเย็นที่สุดคือ มกราคม
ภาคกลาง
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงเต็มไปด้วยหินภูเขาไฟ หาดทราย เนินทราย และทะเลสาบ ภูมิอากาศค่อนข้างร้อนตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดูคือ
- ฤดูฝน ( พฤษภาคม - ตุลาคม ) เดือนที่อากาศร้อนที่สุดคือ มิถุนายน - กรกฎาคม อุณหภูมิเกือบ 40 C
- ฤดูแล้ง ( ตุลาคม - เมษายน ) เดือนที่อากาศหนาวเย็นที่สุดคือ มกราคม อุณหภูมิเกือบ 20 C
ภาคใต้
แม้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง แต่ก็มีที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong River Delta ) หรือที่รู้จักกันในชื่อ กู๋ลองยาง ( Cuu Long Giang) อันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นที่ตั้งของนครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) หรืออดีตเรียกว่าไซ่ง่อน (Saigon)
ภูมิอากาศของภาคใต้ค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 C มี 2 ฤดูเช่นเดียวกับภาคกลาง คือ
- ฤดูฝน ( พฤษภาคม-พฤศจิกายน) เดือนที่อากาศร้อนที่สุดคือเมษายน อุณหภูมิประมาณ 39 C
- ฤดูแล้ง (พฤศจิกายน-เมษายน) เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ มกราคม อุณหภูมิประมาณ 28 C
เมืองสำคัญทางภาคเหนือ ได้แก่
กรุงฮานอย (Ha Noi) เป็นเมืองหลวง มีพื้นที่ประมาณ 3,348 ตารางกิโลเมตร ( หลังรวมจังหวัดใกล้เคียงเข้าเป็นกรุงฮานอยใหม่ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 ) ประชากร 6.23 ล้านคน ( ปี 2551) ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง โดยมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ฮานอยยังเป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศและเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าทางภาคเหนือ โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติ Noi Bai และท่าเรือ 2 แห่งที่สามารถเดินเรือไปยังท่าเรือไฮฟองได้
นครไฮฟอง (Hai Phong) มีพื้นที่ 1,522 ตารางกิโลเมตร ประชากรราว 1.8 ล้านคน ( ปี 2550 )เป็นเมืองท่าสำคัญในภาคเหนือและเป็นเขตอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเคมี ต่อเรือ และวัสดุก่อสร้าง มีท่าเรือสำคัญคือ Hai Phong Port และสนามบิน Cat Bi Airport
กว๋างนินห์ (Quang Ninh) มีพื้นที่ 6,099 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 1.1 ล้านคน ( ปี 2550 )กว๋างนินห์เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม มีท่าเรือสำคัญได้แก่ Hon Gai Port เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและเป็นแหล่งถ่านหินใหญ่ที่สุดในประเทศ รวมทั้งมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ อ่าวฮาลอง ( Ha Long Bay)
เซินลา (Son La) มีพื้นที่ 14,174 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1.0 ล้านคน ( ปี 2550 ) โดยพื้นที่กว่า 80% เป็นไหล่เขา เหมาะแก่การทำฟาร์มโคนม มีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ชาดำ
ลายเจิว (Lai Chau) มีพื้นที่ 9,112 ตารางกิโลเมตร ประชากร 3.3 แสนคน ( ปี 2550 ) มีสนามบินคือ Dien Bien Phu Airport
เตวียนกวาง (Tuyen Quang) มีพื้นที่ 9,112 ตารางกิโลเมตร ประชากร 7.5 แสนคน ( ปี 2550 ) เป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วยป่าไม้ และไม้มีค่าต่างๆ รวมถึงพืชสมุนไพรกว่า 1,000 ชนิด
หลาวกาย (Lao Cai) มีพื้นที่ 6,384 ตารางกิโลเมตร ประชากร 6.0 แสนคน ( ปี 2550 ) มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และไม้หายากหลายชนิด รวมถึงพืชสมุนไพรและสัตว์หายากอื่นๆ เช่น กวาง หมูป่า เสือ เป็นต้น เมืองสำคัญทางภาคกลาง ได้แก่
นครดานัง ( Da Nang) มีพื้นที่ 1,283 ตารางกิโลเมตร ประชากร 8.1 แสนคน ( ปี 2550 ) เป็นศูนย์กลางธุรกิจ การท่องเที่ยว และเป็นเมืองท่าสำคัญ โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติ Da Nang และมีท่าเรือ Tien Sa Seaport
ถัว เทียน เว้ ( Thua Thien Hue ) มีพื้นที่ 5,065 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1.1 ล้านคน ( ปี 2550 )มีเมืองสำคัญคือ เว้ ( Hue) เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเวียดนาม มีท่าอากาศยานนานาชาติ Phu Bai
กวางนัม ( Quang Nam ) มีพื้นที่ 10,438 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1.5 ล้านคน ( ปี 2550 ) มีเมืองสำคัญคือ ฮอยอัน ( Hoi An) เป็นเมืองเก่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เมืองสำคัญทางภาคใต้ ได้แก่
นครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) เป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม มีพื้นที่ 2,096 ตารางกิโลเมตร ประชากร 6.6 ล้านคน ( ปี 2551 ) เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าและบริการ การนำเข้าส่งออก การลงทุนและเป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมของนานาชาติ โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติ Tan Son Nhat และมีท่าเรือ Saigon Port ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
นครเกิ่นเธอ (Can Tho) มีพื้นที่ 1,402 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 1.2 ล้านคน ( ปี 2550 ) เป็นเมืองอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลที่สำคัญ และเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เตี่ยงยาง (Tien Giang) มีพื้นที่ 2,484 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1.7 ล้านคน ( ปี 2550 ) เนื่องจากเตี่ยนยางตั้งอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเขตร้อน จึงเป็นแหล่งผลิตข้าวและผลไม้ต่างๆ อาทิ ทุเรียน มะม่วง รวมถึงผลไม้เมืองร้อนชนิดอื่นๆ
บาเรีย - หวุงเต่า (Ba Ria - Vung Tau) มีพื้นที่ 1,987 ตารางกิโลเมตร ประชากร 9.26 แสนคน ( ปี 2550 ) เป็นเมืองที่มีการผลิตน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติ โดยเวียดนามสามารถผลิตน้ำมันได้มากที่สุด ในคาบสมุทรอินโดจีน แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง เรียกว่า "Bac Ho" หรือ "White Tiger"
จากการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดโดยสำนักงานสถิติ ( General Statistic Office : GSO ) ของเวียดนาม ประกาศเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ว่าเวียดนามมีประชากร 85,789,573 คน ( ปี 2551 ) ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์และเป็นอันดับที่ 13 ของโลกโดย 49.35% เป็นประชากรหญิงอีก 50.5% เป็นประชากรชาย ประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปีมีถึง 65% และมีกำลังแรงงาน 47.41 ล้านคน
ตามข้อมูลของ GSO ในช่วง 10 ปีระหว่างปี 2542 — 2552 จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น 9.47 ล้านคน คิดเป็นอัตราเพิ่ม 1.2% เทียบกับที่เคยสูง 1.7% ต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราส่วนระหว่างประชากรชายกับประชากรหญิง เป็น 100 ต่อ 98.1 ช่วงห่างนี้ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 100 ต่อ 96.7 เมื่อปี 2542 อย่างไรก็ตามสื่อต่าง ๆ รายงานว่าทารกเกิดใหม่ในช่วง 2 — 3 ปีมานี้ยังพบว่ามีทารกเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งกำลังจะทำให้เกิดปัญหาสังคมและอาชญากรรมติดตามมาในช่วงอีกหลายสิบปีข้างหน้า ท่ามกลางความกังวลของหลายฝ่าย
การสำรวจล่าสุดพบว่าชาวเวียดนาม 25,347,262 คน ( 29.6%) อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่เหลืออีก 60,415,311 คน ( 70.4 %) อยู่ในชนบท ช่วงสิบปีมานี้ประชากรอพยพเข้าเขตเมืองเพิ่มขึ้น 3.4% เพื่อหางานทำและเป็นผลจากการพัฒนาเมืองที่ขยายตัวออกไปอีกด้วย
ชาวเวียดนามส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติขิ่น ( Khin) หรือเวียต (Viet) โดยมีมากกว่า 86% นอกนั้นเป็นชนกลุ่มอื่นๆ อีก 53 เชื้อชาติกระจายอยู่ตามเทือกเขาและที่ราบสูงประชากรเวียดนามส่วนใหญ่ไม่นับถือศาสนาแต่นับถือลัทธิต่าง ๆ ( 80.8% ) มีบ้างที่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ( 9.3% ) ศาสนาคริสต์ ( 7.2% ) อิสลาม ( 0.1% ) และอื่น ๆ ( 2.6% ) ภาษาราชการคือภาษาเวียดนาม แต่ปัจจุบันภาษาอังกฤษ มีความสำคัญมากขึ้นเป็นภาษาที่สอง และมีการใช้ภาษาอื่น ๆ อีก เช่น จีนและรัสเซียเป็นต้น
0 — 14 ปี : 24.9 % ( ชาย 11,230,402 คน หญิง 10,423,901 คน)
15 — 64 ปี : 69.4 % ( ชาย 29,971,088 คน หญิง 30,356,393 คน)
65 ปีขึ้นไป : 5.7 % ( ชาย 1,920,043 คน หญิง 3,065,697 คน)
ด้านการศึกษา เวียดนามมีระบบการศึกษาภาคบังคับที่มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล อีกทั้งในปัจจุบัน ภาครัฐให้ความสนใจกับระบบการศึกษามากขึ้น และพยายามวางโครงการปรับปรุงการศึกษาระดับ ต่าง ๆ ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลด้วย ปัจจุบันเวียดนามมีสัดส่วนผู้อ่านออกเขียนได้ ( 10 ขวบขึ้นไป ) 90%
เวียดนามนับเป็นประเทศหนึ่งในแถบคาบสมุทรอินโดจีนที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน และยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน และโดยที่เวียดนามมีความสัมพันธ์กับจีนมาก่อนการปฏิวัติระบบการปกครอง จึงทำให้ความเชื่อ ศิลปะ วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ของจีนมีอิทธิพลต่อเวียดนามด้วย รวมทั้งลัทธิขงจื๊อที่ให้ความสำคัญต่อการนับถือเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ที่สอนเรื่องความสมดุลของธรรมชาติ รวมไปถึงศาสนาพุทธนิกายมหายานที่สอนเรื่องกรรมดีและกรรมชั่ว ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามจะทำลายความเชื่อและศาสนาส่วนหนึ่งไปในช่วงปฏิวัติระบบการปกครอง แต่ปัจจุบันมีการผ่อนปรนมากขึ้น
ชาวเวียดนามเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีเทพเจ้าสถิตย์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้าดิน เทพเจ้าน้ำ หรือเทพเจ้าอื่นๆ ดังนั้น นอกจากวัดในศาสนาพุทธ (จั่ว - Chua) ศาลาประชาคม (ดินห์ - Dinh) หรือแท่นบูชาจักรพรรดิในอดีต (เดน - Den) แล้ว ยังมีการตั้งแท่นบูชาเทพเจ้า (เหมียว - Mieu) กระจายอยู่โดยทั่วไป ประชาชนนิยมนำดอกไม้ธูป เทียน และผลไม้ มาสักการะบูชาในวันที่ 1 และ 15 ค่ำ
เต๊ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)" แปลว่า “เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี” ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “เทศกาลเต๊ด (Tet)” เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุด โดยจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะถึงวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติคือ อยู่ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาวกับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน (วิษุวัต) ในฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า และขงจื๊อ ศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพบรรพบุรุษ
"เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง" โดยนับตามจันทรคติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจัดประกวด "ขนมบันตรังทู" หรือขนมเปี๊ยะโก๋ญวน ที่มีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกรขึ้น เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ ในบางหมู่บ้านอาจประดับโคมไฟ พร้อมทั้งจัดงานขับร้องเพลงพื้นบ้าน
เวลาของเวียดนามตรงกับเวลาของไทย สำหรับเวลาทำการของหน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข คือ 8.00 -12.00 น. และ 13.30 — 16.30 น.ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ แต่หากเป็นพิพิธภัณฑ์จะเปิดให้บริการในวันเสาร์อีกครึ่งวันด้วย ร้านค้าเอกชนทั่วไปเปิดให้บริการระหว่าง 6.00 — 21.00 น. โรงงานอุตสาหกรรมทำงานวันจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์อีกครึ่งวัน โดยเวลาทำงานรวมไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากเกินจากนี้ต้องจ่ายเงินค่าล่วงเวลา สำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่ม 2 เท่า และวันหยุด นักขัตฤกษ์จ่ายเพิ่ม 3 เท่า
วันหยุดสำคัญของเวียดนาม มี 8 วันต่อปี คือ
1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
30 เมษายน วันปลดแอกกรุงไซ่ง่อน
1 พฤษภาคม วันแรงงาน
2 กันยายน วันชาติเวียดนาม
วันหยุดเทศกาลขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ หรือ "เทศกาล เต็ด” (วันตรุษเวียดนาม) 4 วัน
เวียดนามปกครองโดยระบบสังคมนิยม มีพรรคการเมืองเดียวคือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม (Communist Party of Vietnam หรือ CPV) ที่มีอำนาจสูงสุดตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้เมื่อปี 2535 มีสภาแห่งชาติ (National Assembly) ที่มาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี แต่สภาชุดปัจจุบันกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งเหลือ 4 ปี เพื่อให้หมดวาระลงตรงกับการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวสต์เวียดนามครั้งหน้า ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2554 สำหรับรัฐบาลได้รับการแต่งตั้งจากสภาแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คณะรัฐมนตรีชุดล่าสุดเพิ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2550 และจะสิ้นสุดในปี 2555
ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาแห่งชาติ (Quoc Hoi หรือ National Assembly) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกรวม 493 คน มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ มีหน้าที่บัญญัติและแก้ไขกฎหมาย แต่งตั้งประธานาธิบดีตามที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ ให้การรับรองหรือถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานาธิบดีเสนอ รวมทั้งแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ อันเป็นระบบการบริหารแบบผู้นำร่วม
ฝ่ายบริหาร ( หรือรัฐบาลส่วนกลาง ) ประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์ เช่น สมัชชาของพรรคคอมมิวนิสต์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรบริหารระดับสูง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของพรรค คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กรมการเมือง (Politburo) เป็นองค์กรบริหารสูงสุด เป็นศูนย์กลางอำนาจในการกำหนดนโยบายและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด
เลขาธิการพรรค นายนง ดึ๊ก หมั่น ( Nong Duc Manh ) ประธานสภาแห่งชาติ นายเหวียน ฟู๊ ตรอง ( Nguyen Phu Trong ) ประธานาธิบดี นายเหวียน มิน เตรียด ( Nguyen Minh Triet ) รองประธานาธิบดี นายเหวียน ตัน หยุง ( Nguyen Tan Dung ) นายกรัฐมนตรี นายเหวียน ตัน หยุง ( Nguyen Tan Dung ) รองนายกรัฐมนตรี นายเหวียน ซิง หุ่ง ( Nguyen Sinh Hung )
นายเตรือง หวิง ตรอง ( Truong Vinh Trong )
นายฝ่าม ยา เคียม ( Pham Gia Khien )
นายหว่าง ตรุง หาย ( Hoang Trung Hai )
นายเหวียน เทียน เยิน ( Nguyen Thien Nhan )
การปกครองท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการประชาชน (Provincial People's Committee) ทำหน้าที่บริหารงานภายในท้องถิ่นให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ที่บัญญัติโดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่าระบบการบริหารราชการท้องถิ่นของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัดและเทียบเท่า มี 59 จังหวัด กับอีก 5 นคร คือ ฮานอย โฮจิมินห์ ไฮฟอง ดานัง และเกิ่นเธอ ซึ่งจะได้รับงบประมาณจากส่วนกลางโดยตรง รวมทั้งข้าราชการจะได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากส่วนกลาง จึงมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน สำหรับระดับเมืองและเทศบาลมีประมาณ 600 หน่วย และระดับตำบลมีประมาณ 1 หมื่นตำบล
นับตั้งแต่เวียดนามปฏิรูปเศรษฐกิจโดยใช้นโยบาย “Doi Moi” เมื่อเดือนธันวาคม 2529 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบจากการวางแผนส่วนกลางมาสู่ระบบตลาดเสรีภายใต้การควบคุมของรัฐบาล มีการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น รวมถึงการกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ โดยก่อนหน้านี้ก็มีการปรับตัวบ้างแล้วแต่ยังเป็นไปอย่างช้า ๆ
เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวสูงในช่วงปี 2534 — 2538 โดยขยายตัวเกินกว่า 8% ต่อปี แต่มาชะลอตัวในช่วงปี 2539 — 2543 เหลือประมาณ 5.8%ในปี 2541 และ 4.8% ในปี 2542 เนื่องจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเซีย แต่ก็ยังนับว่าสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้หลังจากปี 2543 เป็นต้นมาเศรษฐกิจเวียดนามก็ขยายตัวเกิน 7% มาโดยตลอด อย่างไรก็ตามปลายปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามชะลอตัวเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 เป็นเพียง 3.9% ซึ่งนับว่าต่ำสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมาและคาดว่าการขยายตัวตลอดปี 2552 จะเป็นเพียง 5.2%
เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจของเวียดนาม
รายการ หน่วย 2547 2548 2549 2550 2551 2552
(คาดการณ์)
1. GDP (ราคาปัจจุบัน ) พันล้าน USD 52.9 61.0 71.1 89.9 92.9 2. อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP growth) % 7.7 8.4 8.2 8.5 6.2 5.20% 3. อัตราเงินเฟ้อ % 9.5 8.7 6.6 12.6 22.97 7.00% 4. อัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี ด่อง : 1 USD 15,916 16,055 16,010 17,433 18,317 5. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ล้าน USD na 4,003 7,566 17,856 60,271 20,000 6. การส่งออก ล้าน USD na 32,233 39,605 48,387 62,906 61,000 7. การนำเข้า ล้าน USD na 36,881 44,410 60,830 80,416 71,000 8. ดุลการค้า ล้าน USD na -4,648 -4,805 -12,443 -17,510 -10,000 ที่มา : - สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม ( GSO )
- คาดการณ์ปี 2552 โดยกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม
เป้าหมายทางเศรษฐกิจปี 2553 ของเวียดนาม
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ( GDP growth) 6.5 %
- รายได้ต่อหัว 1,200 เหรียญสหรัฐ - อัตราเงินเฟ้อ 7 % - การส่งออก 60 พันล้านเหรียญสหรัฐ - การขาดดุลงบประมาณ 6.5 % ของ GDP - การจ้างงาน งานสำหรับประชากร 1.6 ล้านคน - อัตราความยากจน ต่ำกว่า 10 % - การลงทุนทั้งหมด 41.5% ของ GDP 3. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ( FDI )
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ( 2549 — 2551) มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศหรือ FDI ในเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากรัฐบาลได้มีการปรับปรุงกฏหมายว่าด้วยการลงทุนของชาวต่างชาติในเวียดนาม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนมากขึ้นธุรกิจที่นักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในเวียดนาม ได้แก่ อุตสาหกรรมหนัก การสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน / แก๊สธรรมชาติ การก่อสร้างอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัย กิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว เป็นต้น
ในปี 2551 มาเลเซียมีจำนวนเงินเข้ามาลงทุนมากที่สุด (55 โครงการ) รองลงมาได้แก่ไต้หวัน (132 โครงการ) ญี่ปุ่น (105 โครงการ) สิงคโปร์ (101 โครงการ) บรูไน (19 โครงการ) แคนาดา (9 โครงการ) และไทยอยู่ในลำดับที่ 7 (32 โครงการ)
การลงทุนโดยตรงในเวียดนามแยกตามประเทศผู้ลงทุน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเทศ 2548 2549 2550 2551 2552
(มค.- กย.)
รวมทั้งสิ้น 4,003 7,566 17,856 60,271 7,673 1. มาเลเซีย 124 15 1,091 14,938 143.8 2. ไต้หวัน 345 216 1,735 8,643 1,336 3. ญี่ปุ่น 379 938 965 7,287 131.6 4. สิงคโปร์ 156 262 2,614 4,466 344.5 5. บรูไน na na 63 4,400 17.6 6. แคนาดา 42 27 145 4,238 29.8 7. ไทย 30 41 285 3,993 8.2 8. บริติชเวอร์จิน 79 320 4,268 3,941 1,022 9. เกาหลีใต้ 552 2,419 4,463 1,803 1,293.3 10. สหรัฐอเมริกา 147 639 358 1,486 104.1 ประเทศอื่น ๆ 2,149 2,689 1,869 5,076 3,242.1 ที่มา : General Statistic Office of Vietnam
ในช่วง 9 เดือนแรก ( มค. — กย.) ของปี 2552 เวียดนามมี FDI มูลค่า 12.54 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 78.6% y-on-y ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นโครงการลงทุนในสาขาท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์
โครงการลงทุนของ FDI มูลค่า 7.67 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นของโครงการที่ได้รับอนุญาตใหม่จำนวน 583 โครงการ ซึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อนลดลง 85.7% และส่วนที่เหลืออีก 4.86 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการเพิ่มทุนในโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้วจำนวน 168 โครงการ ซึ่งเพิ่มขึ้น 7% y-on-y
โรงแรมและภัตตาคาร เป็นธุรกิจที่ FDI เข้ามามากที่สุดมีมูลค่าเกือบ 4.57 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคืออสังหาริมทรัพย์ มูลค่า FDI เป็น 3.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ และสาขาอุตสาหกรรมมูลค่า 2.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นักลงทุนที่สำคัญอันดับหนึ่ง คือสหรัฐอเมริกา โดยมีเงินลงทุนสะสม 3.96 พันล้านเหรียญสหรัฐในโครงการใหม่ 24 โครงการโครงการที่ดำเนินการแล้ว 11 โครงการ ตามด้วยเกาหลีใต้ ฮ่องกง อังกฤษและสิงคโปร์
จังหวัดบาเรีย — หวุงเต่า เป็นจังหวัดที่มี FDI มากที่สุด โดยมีมูลค่าลงทุน 6.66 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามด้วยจังหวัดบิ่นห์ เยือง (2.45 พันล้านเหรียญสหรัฐ ) นครโฮจิมินห์ ( 1.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ ) กรุงฮานอย ( 383 ล้านเหรียญสหรัฐ ) และจังหวัดด่องไน ( 284 ล้านเหรียญสหรัฐ )
คาดทั้งปี 2552 เวียดนามจะมี fresh FDI เป็น 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 70% จากปีที่แล้ว ( 66.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ) และ FDI disbursement จะเป็น 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ผู้ลงทุนต่างประเทศ จำนวน เงินลงทุน จังหวัดที่ลงทุน จำนวน เงินลงทุน โครงการ โครงการ รวมทั้งสิ้น 10,409 164,679.96 10,409 164,679.96 1. ไต้หวัน 1,996 21,196.16 1.นครโฮจิมินห์ 3,017 26,942.68 2. เกาหลีใต้ 2,183 20,052.92 2.บาเรีย - หวุงเต่า 205 23,337.66 3. มาเลเซีย 324 18,020.28 3.กรุงฮานอย 1,416 18,989.12 4. ญี่ปุ่น 1,113 17,566.37 4.ด่งนาย 1,013 14,020.15 5. สิงคโปร์ 722 16,906.56 5.บิ่งเซือง 1,886 11,239.29 6. บริติส เวอร์จิ้น ไอร์แลนด์ 444 12,849.35 6.นิ่งห์ท่วน 24 9,996.73 7. สหรัฐ 464 8,587.01 7.ฮา ติ๊ง 9 7,920.11 8. ฮ่องกง 541 7,416.31 8.แทงฮว๋า 33 6,996.15 9. ไทย 202 5,687.04 9.ฝูเอียน 47 6,377.96 ประเทศอื่น ๆ ที่มา : กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม โครงสร้างการลงทุน ( ณ วันที่ 19 มิ.ย.2552 ) สาขาการลงทุน จำนวนโครงการ เงินลงทุน
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
รวมทั้งหมด 10,409 164,679.96 1. อุตสาหกรรม 6,616 87,400.95 อุตสาหกรรมหนัก 2,767 42,116.95 อุตสาหกรรมเบา 2,839 18,665.77 น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 48 12,830.93 อุตสาหกรรมอาหาร 379 8,661.85 การก่อสร้าง 583 5,125.45 2. เกษตร ป่าไม้ ประมง 989 8,856.98 เกษตร ป่าไม้ 827 4,224.76 ประมงและสัตว์น้ำ 162 4632.22 3. การบริการ 2,804 68,422.03 ออฟฟิต อาคารให้เช่า 201 18,265.86 โรงแรมและท่องเที่ยว 242 18,356.21 เขตเมืองใหม่ 18 9,169.48 การขนส่ง ไปรษณีย์ และสื่อสาร 361 9,277.72 บริการอื่นๆ 1,551 6,291.83 วัฒนะธรรม สาณารณสุขและการศึกษา 312 3,812.83 ก่อสร้างเขตนิคมอุตสาหกรรม 48 1,962.77 การธนาคารและการเงิน 71 1285.33 ที่มา : กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ประเภทการลงทุนจากต่างประเทศ ( ณ วันที่ 19 มิ.ย.2552 ) ประเภทการลงทุน จำนวนโครงการ เงินลงทุน
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
จากต่างประเทศ 100% 8078 99,212.40 แบบร่วมทุน 1915 53,948.13 แบบสัญญาร่วม 416 11,519.43 รวมทั้งหมด 10,409 164,679.96 ที่มา: กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม 4. การค้าระหว่างประเทศของเวียดนาม
เวียดนามอยู่ในช่วงของการพัฒนาประเทศมีความต้องการนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ รวมถึงสินค้าสำเร็จรูปที่ไม่สามารถผลิตได้ประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้การนำเข้ามีอัตราขยายตัวสูงและเกิดการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2551 ที่ขาดดุลการค้ากว่า 17,500 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ช่วง 7 เดือนแรก ( มค. — กค.) ของปี 2552 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามมีมูลค่ารวม 68,731 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 22.5% (y-on-y) โดยส่งออก 32,555 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.1% และนำเข้า 36,176 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 34.1% ขาดดุลการค้า 3,621 ล้านเหรียญสหรัฐ
การค้าระหว่างประเทศของเวียดนาม
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
2548 2549 2550 2551 2552
( มค.-กค.)
มูลค่าการค้า 69,114 84,015 109,217 143,322 68,731 ( + %) 18.2% 21.6% 30.0% 31.2% - 22.5% การส่งออก 32,233 39,605 48,387 62,906 32,555 ( + %) 21.7% 22.9% 22.2% 29.5% - 11.7% การนำเข้า 36,881 44,410 60,830 80,416 36,176 ( + %) 15.4% 20.4% 37.0% 32.2% - 30.3% ดุลการค้า -4,648 -4,805 -12,443 -17,510 - 3,621 ที่มา : General Statistic Office of Vietnam 4.1 การส่งออก
การส่งออกของเวียดนามแยกตามประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
2548 2549 2550 2551 2552
( มค.-กค.)
รวมทั้งสิ้น 32,233 39,605 48,387 62,906 32,555 1. สหรัฐฯ 5,931 7,829 10,089 11,869 6,174 2. สหภาพยุโรป 5,552 7,203 9,402 10,853 5,440 3. ญี่ปุ่น 4,411 5,232 6,070 8,538 3,311 4. จีน 2,961 3,030 3,357 4,535 2,378 5. ออสเตรเลีย 2,570 3,651 3,557 4,225 1,458 6. สิงคโปร์ 1,808 1,631 2,202 2,660 1,148 7. อินโดนีเซีย 469 958 1,105 793 357 8. ไต้หวัน 936 969 1,139 1,401 585 ประเทศอื่น ๆ 7,595 9,102 11,466 18,032 11,704* ที่มา : General Statistic Office of Vietnam หมายเหตุ : *ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกไปฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ไทยและลาว
มูลค่า 1,121 1,077 1,084 720 และ 99 ล้านเหรียญสหรัฐ
การส่งออกสินค้าสำคัญของเวียดนาม
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
2548 2549 2550 2551 2552
( มค.-กค.)
รวมทั้งสิ้น 32,233 39,605 48,387 62,906 32,555 1. น้ำมันดิบ 7,387 8,323 8,477 10,450 3,708 2. สิ่งทอ 4,806 5,802 7,784 9,108 5,037 3. รองเท้า 3,005 3,555 3,963 4,679 2,424 4. อาหารทะเล 2,741 3,364 3,792 4,569 2,197 5. ข้าว 1,399 1,306 1,454 2,902 1,948 6. ผลิตภัณฑ์ไม้ 1,517 1,904 2,364 2,779 1,344 7. คอมพิวเตอร์ / อิเลกทรอนิกส์ 1,442 1,770 2,178 2,703 1,392 8. กาแฟ 725 1,101 1,854 2,022 1,169 9. ยางพารา 787 1,273 1,400 1,597 480 10. สายไฟฟ้าและสายเคเบิล 520 701 884 1,014 390 สินค้าอื่น ๆ 7,904 10,506 14,237 21,083 12,466 ที่มา : General Statistic Office of Vietnam
ตลาดส่งออกหลักของเวียดนามประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่นและจีน และเกาหลีใต้ โดยมีสัดส่วนการส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดดังกล่าว 70% สำหรับตลาดอาเซียนมีฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของเวียดนามประกอบด้วย สิ่งทอ น้ำมันดิบ อัญมณี รองเท้า และข้าว สินค้าดังกล่าวมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าที่ส่งออกทั้งหมด
การส่งออกสินค้าสำคัญของเวียดนาม ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552
ประเทศคู่ค้า มูลค่าส่งออก ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
(ล้านเหรียญสหรัฐ )
รวมทั้งสิ้น 32,555 1. สิ่งทอ 5,037 สหรัฐ ( 59.0%) สหภาพยุโรป ( 14.4%) ญี่ปุ่น ( 11.6%) 2. น้ำมันดิบ 3,708 ออสเตรเลีย ( 28.5%) สิงคโปร์ (20.7%) มาเลเซีย (15.6%) 3. อัญมณี 2,617 สวิตเซอร์แลนด์ ( 88.3%) แอฟริกาใต้ ( 7.7%) 4. รองเท้า 2,424 สหภาพยุโรป ( 49.6%) สหรัฐ ( 27.6%) 5. ข้าว 1,948 ฟิลิปปินส์ ( 63.8%) มาเลเซีย ( 10.9%) สินค้าอื่น ๆ 16,821 ที่มา : General Statistics Office of Vietnam 4.2 การนำเข้า
การนำเข้าของเวียดนามแยกตามประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
2548 2549 2550 2551 2552
( มค.-กค.)
รวมทั้งสิ้น 36,881 44,410 60,830 80,416 36,176 1. จีน 5,779 7,391 12,502 15,652 8,360 2. สิงคโปร์ 4,598 6,274 7,609 9,392 2,150 3. ไต้หวัน 4,329 4,823 6,917 8,363 3,544 4. ญี่ปุ่น 4,093 4,701 6,178 8,241 3,840 5. สหภาพยุโรป 2,588 3,156 3,300 7,935 2,826 6. เกาหลีใต้ 3,600 3,871 5,333 7,066 3,616 7. ไทย 2,393 3,034 3,737 4,906 2,214 8. สหรัฐฯ 864 982 1,700 2,635 1,502 9. ฮ่องกง 1,236 1,441 1,941 2,633 386 10. มาเลเซีย 1,256 1,482 2,290 2,596 1,290 ประเทศอื่น ๆ 6,145 7,255 9,323 10,997 6,448 ที่มา : General Statistic Office of Vietnam
ด้านการนำเข้า เวียดนามมีประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ จีน (23 %) ญี่ปุ่น (11 %) เกาหลีใต้ (10 %) ไต้หวัน (10 %) สหภาพยุโรป (8 %) ไทย (6 %) และสิงคโปร์ (6 %) ตามลำดับ เวียดนามนำเข้าจากประเทศดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60 % ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด
สินค้าเข้าสำคัญ 5 อันดับแรกของเวียดนามประกอบด้วย เครื่องจักร น้ำมันสำเร็จรูป ผ้าผืน เหล็ก และคอมพิวเตอร์ สินค้าดังกล่าวมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด
การนำเข้าสินค้าสำคัญของเวียดนาม
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
2548 2549 2550 2551 2552
( มค.-กค.)
รวมทั้งสิ้น 36,881 44,410 60,830 80,416 36,176 1. เครื่องจักรและอุปกรณ์ 5,254 6,555 10,376 13,712 6,342 2. น้ำมันสำเร็จรูป 4,969 5,848 12,554 10,888 3,515 3. เหล็ก 5,637 2,905 7,705 6,566 3,366 4. ผ้าผืน 2,406 2,954 3,989 4,434 1,087 5. คอมพิวเตอร์ / อิเลกทรอนิกส์ 1,695 2,055 2,944 3,722 1,952 6. เคมีภัณฑ์ 2,027 4,178 3,375 815 7. เม็ดพลาสติก 1,426 1,846 2,506 2,924 1,465 8. รถยนต์ 1,079 705 1,444 2,442 524 9. อาหารสัตว์ 597 742 1,124 1,738 1,033 10. ปุ๋ย 2,308 673 996 1,470 811 สินค้าอื่น ๆ 18,100 13,014 29,145 15,266 ที่มา : General Statistic Office of Vietnam
การนำเข้าสินค้าสำคัญของเวียดนาม ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552
ประเทศคู่ค้า มูลค่านำเข้า ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
(ล้านเหรียญสหรัฐ )
รวมทั้งสิ้น 36,176 1. เครื่องจักร 6,342 จีน (33.9%) ญี่ปุ่น (20.1%) เกาหลีใต้ (7.1%) 2. น้ำมันสำเร็จรูป 3,515 สิงคโปร์ (41.5%) ไต้หวัน (22.0%) จีน (16.8%) 3. เหล็ก 3,366 ไต้หวัน (17.1%) รัสเซีย (16.7%) ญี่ปุ่น (14.5%) 4. คอมพิวเตอร์ 1,952 จีน (38.7%) ญี่ปุ่น (20.9%) มาเลเซีย (8.4%) 5. ผ้าผืน 1,087 จีน (36.3%) เกาหลีใต้ (22.3%) ไต้หวัน (20.4%) สินค้าอื่น ๆ 19,914 ที่มา : General Statistics Office of Vietnam 5. การค้ากับประเทศไทย
มูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามและไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 3,970 เหรียญสหรัฐในปี 2549 เป็น 6,468 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2551 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 60% ในเวลาเพียง 3 ปีโดยเวียดนามเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับไทย
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
2549 2550 2551 2552
( มค.-สค.)
มูลค่าการค้า 3,970 4,916 6,468 3,616 (อัตราขยายตัว) 22.00% 23.80% 31.60% -21.30% การส่งออกมาไทย 895 1,112 1,450 861 (อัตราขยายตัว) 0.70% 24.2 30.4 -16.40% การนำเข้าจากไทย 3,075 3,804 5,018 2,755 (อัตราขยายตัว) 30.10% 23.70% 31.90% -22.70% ดุลการค้า -2,180 -2,692 -3,568 -1,894 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์
ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 การค้าระหว่างเวียดนามกับไทยมีมูลค่ารวม 3,616 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 21.3% ( y—on—y) โดยเวียดนามเป็นฝ่ายนำเข้า 2,755 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ส่งออกมายังไทย 861 ล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนามเสียเปรียบดุลการค้าไทย 1,894 ล้านเหรียญสหรัฐ
การส่งออกสินค้ามายังประเทศไทย
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
2549 2550 2551 2552
(มค.-สค.)
รวมทั้งสิ้น 895 1,112 1,450 861 1. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 280 284 354 134 2. น้ำมันดิบ 214 264 221 267 3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 9 13 120 12 4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 49 72 106 134 5. ด้ายและเส้นใย 37 48 65 34 6. เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ 21 47 60 27 7. สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง 27 35 47 35 8. เคมีภัณฑ์ 17 29 38 12 9. ถ่านหิน 32 26 32 38 10. สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 4 9 23 35 สินค้าอื่น ๆ 205 285 384 133 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สินค้าสำคัญที่เวียดนามส่งออกมาไทยได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใย เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบน้ำมันดิบ ถ่านหิน และสัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็ง
การนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
2549 2550 2551 2552
(มค.-สค.)
รวมทั้งสิ้น 3,075 3,804 5,018 2,755 1. น้ำมันสำเร็จรูป 365 398 877 213 2. เม็ดพลาสติก 294 342 404 222 3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 245 320 324 196 4. เคมีภัณฑ์ 81 119 163 132 5. เครื่องยนต์เบนซิน 121 129 157 93 6. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 68 129 156 76 7. กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 85 109 146 94 8. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 48 91 143 126 9. ผลิตภัณฑ์ยาง 65 98 141 99 10. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ 63 84 133 91 สินค้าอื่น ๆ 1,640 1,985 2,374 1,413 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สินค้าสำคัญที่เวียดนามนำเข้าจากไทย คือ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องยนต์เบนซิน และ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
ทั้งนี้ เวียดนามเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับสิบของไทย และเป็นอันดับที่สี่ของตลาดในอาเซียน (รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย)
6.1 อาเซียน เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อเดือน กรกฎาคม 2538 และได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff : CEPT) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2539 ซึ่งเป็นการประกาศเริ่มต้นการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ( AFTA) โดยครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมขณะนี้อัตราภาษีนำเข้าของเวียดนามภายใต้ CEPT อยู่ที่ 0-5 % และได้ลงนามยอมรับความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) เมื่อเดือนธันวาคม 2538 โดยมีเป้าหมายเปิดเสรีธุรกิจบริการให้สมาชิกภายในปี 2558
2) WTO เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ( WTO ) เมื่อเดือนมกราคม 2550 เป็นสมาชิกลำดับที่ 150 โดยมีข้อผูกพันเปิดเสรีสินค้ามากกว่า 10,689 รายการ ซึ่งจะต้องลดภาษีภาษีนำเข้าลงโดยเฉลี่ย 4% ภายในปี 2556 ภาษีผลิตภัณฑ์เกษตรจะลดลงจาก 25.2% เหลือ 21 % โดยเฉลี่ย และสินค้าอื่น ๆ ลดลงจาก 16.1 % เป็น 12.6 % โดยเฉลี่ย
3) APEC เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เอเชีย-แปซิฟิก ( APEC ) และความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป ( ASEM)
ใบอนุญาตเบื้องต้นที่ผู้ประกอบธุรกิจทุกประเภทกิจการในเวียดนามจำเป็นจะต้องมี ได้แก่
1. ใบรับรองการลงทุนและรับรองการจัดตั้งบริษัทจากหน่วยงานการวางแผนและการลงทุนประจำจังหวัด
2. ตรายางประจำบริษัท
3. เอกสารรับรองหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท
ผู้ที่จะลงทุนในประเทศเวียดนามจะต้องขอใบอนุญาตการลงทุน โดยซึ่งอาจติดต่อบริษัทกฎหมายในเวียดนามให้ดำเนินการขอใบอนุญาตแทนได้ โดยจะใช้เวลาในการดำเนินการขอใบอนุญาตทั้งสิ้นเป็นเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของธุรกิจ ซึ่งประเภทของใบอนุญาตและเอกสารอื่นๆที่เจ้าของธุรกิจจะต้องขอก็ขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการเช่นกัน ข้อมูลประเภทของใบอนุญาตที่จำเป็นจะต้องมีในแต่ละกิจการสามารถดูได้จากเวบไซต์ของหน่วยงานเวียดนาม ดังนี้ http://www.business.gov.vn/index.aspx
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามยังคงมาตรการควบคุมการนำเข้าสินค้าโดยผ่านการออกใบอนุญาตการนำเข้า ( automatic import licensing) ที่เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 สำหรับสินค้าบางรายการ อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ขนาดเบา ( scooter ) โทรศัพท์มือถือ น้ำหอมและเครื่องสำอาง สินค้า พลาสติก สินค้ายาง เสื้อผ้า และเครื่องกระเบื้องเคลือบ เนื่องจากคาดว่าการขาดดุลการค้าของเวียดนามจะยังคงสูงอยู่
ผู้นำเข้าสามารถขอใบอนุญาตนำเข้าได้โดยการยื่นเอกสาร 6 รายการให้กรมการส่งออกและนำเข้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม ได้แก่
1) แบบขอใบอนุญาตการนำเข้าสินค้า
2) ใบจดทะเบียนธุรกิจ
3) สัญญาการนำเข้าสินค้า
4) หนังสือรับรองการชำระเงิน ( letter of credit — L / C) หรือเอกสารการชำระเงิน หรือใบรับรองการชำระเงินของธนาคาร
5) เอกสารการขนถ่ายสินค้า
6) รายงานการนำเข้าสินค้าครั้งก่อนที่อนุญาตโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและการชำระภาษีศุลกากร
หากผู้ขอยื่นเอกสารที่ถูกต้องตามเกณฑ์ก็จะได้รับอนุญาตภายใน 5 วันทำการ และหลังจากผู้นำเข้าได้ผ่านกระบวนการอนุมัติใบอนุญาตการนำเข้าสินค้าแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นขออนุมัติสำหรับการนำเข้าสินค้าครั้งต่อไปอีก
เวียดนามเพิ่งเปิดเป็นตลาดเสรีมากว่า 10 ปีเท่านั้น นักธุรกิจเวียดนามยังไม่มีความชำนาญกับการที่จะออกไปหาสินค้าในต่างประเทศ ประกอบกับยังมีทุนน้อย ดังนั้น ส่วนมากจะอยู่ที่ บริษัทคอยให้นักธุรกิจต่างชาติมาติดต่อมากกว่า นักธุรกิจต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ รู้จุดอ่อนเหล่านี้ดี จึงพยายามจะเข้ามาหาตลาดเวียดนามมากกว่าที่จะรอให้นักธุรกิจเวียดนามไปติดต่อโดยตรง
การจัดตั้งสำนักงานตัวแทนจะเป็นวิธีการที่ดี สามารถเข้าถึงตัวผู้นำเข้าอย่างได้ผล แต่มีข้อเสียคือ กฏหมายยังไม่อนุญาตให้สำนักงานตัวแทนทำการซื้อขายสินค้าโดยตรงกับผู้บริโภคได้ แต่กิจกรรมอย่างอื่นสามารถจะดำเนินการได้ เช่น การศึกษาตลาด การเดินทางไปพบผู้นำเข้า การส่งเสริมสินค้าของบริษัทในลักษณะต่างๆ และข้อเสียอีกประการหนึ่ง คือ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ส่วนมากจะเป็นค่าเช่าสถานที่ทำงาน ค่าพนักงาน เงินเดือนเจ้าหน้าที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในประเทศเวียดนามยังสูงอยู่ ดังนั้น ควรพิจารณาเปรียบเทียบการเปิดสำนักงานฯ หรือเดินทางเข้ามาพบผู้นำเข้าเป็นครั้งๆไปว่า วิธีใดจะคุ้มและให้ผลมากกว่ากัน
สินค้าที่ขายได้ดีในเวียดนาม มักจะถูกปลอมแปลง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับเจ้าของสินค้าอย่างมาก การปลอมแปลงจะทำเหมือนสินค้าตัวจริงมากจนดูไม่ออก แต่ราคาและคุณภาพจะต่ำกว่า หากไม่มีการจดทะเบียนสินค้าไว้จะไม่สามารฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฏหมายได้ ดังนั้นเมื่อสินค้าเข้ามาในตลาดเวียดนามแล้วจะต้องจดทะเบียนสินค้าทันที ทั้งนี้ อาจจะให้ผู้นำเข้าเป็นผู้ดำเนินการให้ หรือให้บริษัทที่ปรึกษาซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเวียดนามเป็นผู้ดำเนินการ หรือสามารถจดทะเบียนสินค้าโดยใช้บริษัทที่ปรึกษาที่มีสาขาอยู่ในเมืองไทยก็ได้
การเปิด L/C จากผู้นำเข้าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดธนาคารที่ผู้นำเข้าเปิด L/C ควรจะเป็นธนาคารของต่างประเทศที่มีสาขาอยู่ในเวียดนาม หรือธนาคารไทยที่มีสาขาอยู่ในเวียดนาม ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารวีนาสยาม ( Vinasiam : เป็นธนาคารร่วมทุนระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ ซีพีและธนาคารของเวียดนาม ) หรือธนาคารของรัฐบาลเวียดนามหลายแห่งที่เชื่อถือได้ เช่น The Bank for Foreign Trade of Vietnam (VIETCOM BANK) , The Export-Import Bank (EXIMBANK), The Industrial and Commercial Bank of Vietnam.
เนื่องจากเวียดนามเป็นประเทศสังคมนิยม และเพิ่งเปิดประเทศมาได้ไม่นาน ลักษณะของตลาดตลอดจนอุปนิสัยของประชากรจึงค่อนข้างแตกต่างกับประเทศเสรีอื่นๆ ประกอบกับเวียดนามเป็นประเทศค่อนข้างยาว ทำให้ลักษณะของตลาดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอย่างชัดเจน ได้แก่ ตลาดทางตอนเหนือ ตอนกลาง และตลาดทางตอนใต้ นครโฮจิมินห์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าของประเทศ อยู่ทางตอนใต้ความคิดด้านการค้าการตลาดจะเปิดมากกว่าตลาดทางตอนเหนือซึ่งมีลักษณะตลาดแบบอนุรักษ์นิยมมากกว่า ส่วนคนที่อยู่ตลาดตอนกลางจะมีความตระหนี่มากกว่าและชอบใช้สินค้าที่มีความคงทน
การเดินทางเข้ามาติดต่อกับผู้นำเข้าเวียดนามเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ว่าจะเข้ามาในลักษณะเข้าร่วมงานแสดงสินค้าโดยกรมฯเป็นผู้จัดทุกปี (Thailand Exhibition) หรือการนัดหมายผู้นำเข้าเพื่อเจรจาการค้า สำหรับการติดต่อทางโทรศัพท์หรือโทรสารจะไม่ได้ผล หากมีความประสงค์จะมาพบผู้นำเข้า สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ สามารถดำเนินการนัดหมายให้ได้
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อสินค้าเข้ามาในตลาดเวียดนามแล้วผู้ส่งออกไทยควรจะร่วมมือกับผู้นำเข้าในการขยายตลาด โดยเฉพาะควรเข้าร่วมงาน Thailand Outlet ซึ่งเป็นงานส่งเสริมการขายสินค้าไทยที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศเป็นผู้จัด ทั้งในกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ เนื่องจากเวียดนามเพิ่งเปิดประเทศ ผู้ประกอบการยังขาดความชำนาญในด้านการกระจายสินค้า สินค้าไทยที่ประสบผลสำเร็จในเวียดนามและสามารถขายได้ทั่วประเทศนั้นเกิดจากผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจะร่วมมือกันดำเนินการขยายตลาดทั้งสิ้น
1) งานแสดงสินค้า Made in Thailand Exhibition จัดในช่วงเดือนสิงหาคมของทุก ๆ ปี ณ กรุงฮานอย และนครโฮจิมินห์ เพื่อช่วยผู้ส่งออกไทยสามารถเจรจาหาผู้จัดจำหน่ายหรือผู้นำเข้าสินค้าตนเข้ามาในเวียดนาม และช่วยผู้นำเข้าสินค้าไทยที่เข้าร่วมงาน ฯ ได้เพิ่มยอดขายและขยายตลาดมากขึ้น
2) งาน Made in Thailand Outlets จัดในช่วงเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี เพื่อช่วยนักธุรกิจไทยที่ผลิตสินค้าในเวียดนาม และผู้นำเข้าสินค้าจากไทยมาส่งเสริมการขาย และการเผยแพร่สินค้าไทยในตลาดเวียดนาม
3) จัดคณะผู้แทนการค้าเวียดนามไปเยี่ยมชมและเจรจาการค้ากับผู้ส่งออกไทยในงานแสดงสินค้า ซึ่งกรมส่งเสริมการส่งออกจัดที่ประเทศไทย
4) ให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวกแก่คณะผู้แทนไทยที่มาเข้าร่วมงานแสดงสินค้า ซึ่งจัดโดย ผู้จัดงานเวียดนาม หรือชาวต่างชาติ เพื่อหาตัวแทนจำหน่ายหรือผู้นำเข้าในเวียดนาม โดยจัดในลักษณะเป็นพาวิเลียนของประเทศไทย
1) นักธุรกิจต่างชาติยังไม่ได้รับสิทธิในการทำธุรกิจนำเข้าและค้าขาย ยกเว้นผู้ที่ลงทุนตั้งโรงงาน แต่สามารถตั้งสำนักงานตัวแทนโดยไม่มีรายได้
2) กฏหมาย กฏระเบียบต่างๆ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ต้องติดตามและแก้ไขปัญหา ส่วนระบบการคิดคำนวณอัตราอากรศุลกากรนำเข้ายังคงเป็นปัญหา
3) การกำหนดราคากลางสำหรับสินค้านำเข้า เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณจัดเก็บอากรศุลกากรขาเข้ากำหนดไว้สูงมาก และไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน
4) มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสินค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
จุดแข็ง
การเมืองมีเสถียรภาพ
จากการที่ประเทศเวียดนามปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว คือ พรรค คอมมิวนิสต์ แห่งเวียดนาม ทำให้กำหนดนโยบายและการกำกับดูแลเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่องผู้ลงทุนสามารถวางแผนการประกอบธุรกิจและการลงทุนในระยะยาวได้อย่างมีความมั่นใจ
ค่าจ้างแรงงานต่ำ
แม้ว่าต้นทุนแรงงานในประเทศเวียดนามจะเพิ่มขึ้นมากแต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วยังนับว่ามีต้นทุนต่ำกว่าโดยอัตราค่าจ้างแรงงานทั่วไป วิศวกร และผู้จัดการระดับกลางของเวียดนามมีสัดส่วนเพียง 17—32% และ 29—42% ของอัตราเฉลี่ยของประเทศในเอเชียและอาเซียน ตามลำดับ แรงงานในวัยหนุ่มสาวของเวียดนามมีเป็นจำนวนมาก จำนวนประชากรประมาณ 60 % มีอายุต่ำกว่า 30 ปี นอกจากจำนวนแรงงานที่มีปริมาณมากแล้ว แรงงานแหล่านี้ยังมีการศึกษาดีทำให้เวียดนามยังคงเป็นเป้าหมายของนักลงทุนต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งยังมองว่าลู่ทางการลงทุนในเวียดนามยังมีแนวโน้มแจ่มใส และบริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนแล้วในเวียดนามมีแผนการที่จะขยายการผลิตภายใน 1- 2 ปีข้างหน้าอีกด้วยนอกจากนั้นแล้ว ผลของการสำรวจของ JETRO ยังพบอีกว่าในอีก 5 — 10 ข้างหน้าเวียดนามจะเป็นอันดับหนึ่งแห่งเอเซียในการเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการตั้งโรงงานผลิตสินค้าแม้จะมีการคาดการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจของเวียดนามในแง่ลบก็ตาม
หน่วย : เหรียญสหรัฐ ต่อเดือน
ประเทศเวียดนาม
เอเซียเฉลี่ย อาเซียนเฉลี่ย ฮานอย โฮจิมินห์ ดานัง แรงงาน 565.76 301.73 97.48 97.48 97.48 วิศวกร 841.02 475.82 141.88 141.88 141.88 ผู้จัดการระดับกลาง 1,584.97 1,209.14 512.25 512.25 512.25 มีวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่หลากหลายของเวียดนาม ทำให้เวียดนามเป็นประเทศหนึ่งที่ยังมีทรัพย์ในดิน-สินในน้ำที่อุดมสมบูรณ์ นับตั้งแต่สินแร่ที่สำคัญ ๆ เช่น ถ่านหิน หล็ก ทองแดง ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน เวียดนามยังมีพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมอีกเป็นจำนวนมาก เวจึงสามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นจำนวนมากในอันดับต้นๆ ของโลก เช่น ข้าว ( เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากไทย ) กาแฟ (เป็นอันดับ 2รองจากบราซิล ) ยางพารา ( อันดับ 4 ) พริกไทยดำ ( อันดับ 1 ) ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติยังให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนผลิตสินค้าในเวียดนาม
จุดอ่อน
ประสิทธิภาพของแรงงาน
เวียดนามยังขาดแคลนผู้บริหารระดับกลาง ปัจจุบันแรงงานดังกล่าวสามารถสนองความต้องการของโครงการลงทุนจากต่างชาติได้เพียง 1 ใน 4 ส่วนแรงงานที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ก็ยังขาดทักษะและไม่มีการฝึกอบรม ( training )
ต้นทุนการลงทุนสูง
จากรายงานของผู้ศึกษาบางแห่ง ได้ชี้ให้เห็นว่า ต้นทุนการลงทุนในประเทศเวียดนามสูงกว่าในประเทศอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ อัตราค่าเช่าสำนักงานในกรุงฮานอยสูงเป็นลำดับ 5 ในเอเซียรองจาก มุมไบ นิวเดลี ฮ่องกง และสิงคโปร์ ต้นทุนการขนส่งทางทะเลไป — กลับ ท่าเรือเมืองดานังมีอัตราสูงที่สุดในเอเซีย สูงกว่าต้นทุนโดยเฉลี่ยของประเทศในอาเซียนอื่น ๆ ประมาณ 1.5 เท่า ส่วนค่าเช่าที่พักอาศัยในเวียดนามมีอัตราใกล้เคียงกับค่าเช่าที่พักในสิงคโปร์และเป็น 2 เท่าของอัตราค่าเช่าในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสนับสนุนยังล้าหลังและไม่เพียงพอ
นักลงทุนจากบางประเทศผิดหวังกับบรรยากาศการลงทุนในเวียดนามโดยพิจารณาจากอัตราความพอใจลดลงจากเดิม 75.4 % เหลือ 41.7% โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 2 ปัจจัยคือ โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังล้าหลัง และขาดอุตสาหกรรมสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งผู้จัดหา(service supplier) ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพหากจะเปรียบเทียบแล้วถ้าเงินทุนเพื่อการพัฒนามีเท่ากับ 100 การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีประมาณ 10 และเกือบจะไม่มีการลงทุนพัฒนาใน อุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์เลย
อุตสาหกรรมสนับสนุนในเวียดนามเป็นปัญหาอย่างมาก เพราะสัดส่วนของการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์จากในประเทศของบริษัทญี่ปุ่นในเวียดนามมีอัตราต่ำที่สุดในภูมิภาคคือมีเพียง 26.5% เมื่อเทียบกับอัตราโดยเฉลี่ยในภูมิภาค คือ 40.1% ในขณะที่อัตราดังกล่าวในไทยซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคมีมากกว่าเวียดนามถึง 2 เท่า
การที่วัสดุอุปกรณ์ในประเทศเวียดนามมีน้อยทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เพราะนักลงทุนต้องสั่งซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นจากต่างประเทศ ดังนั้น แม้ว่าในระยะยาว เวียดนามยังคงเป็นแหล่งการลงทุนที่น่าสนใจของนักลงทุน แต่หลายบริษัทที่มีแผนจะเพิ่มปริมาณการจัดซื้อวัตถุดิบในประเทศ จึงต้องให้มีการปรับปรุงทั้ง service supplier ในท้องถิ่นและคุณภาพของวัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์
นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากพบว่ายากที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวียดนามแม้ว่าเมื่อเร็วๆ นี้สภาแห่งชาติจะผ่านกฏหมายยินยอมให้ต่างชาติมีที่อยู่อาศัยได้ก็ตาม แต่ยังไม่ชัดเจนว่ากฏหมายดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด คุณภาพของการให้บริการอื่นๆ ซึ่งมีจำนวนน้อยก็น่าผิดหวังมากกว่า เนื่องจากขั้นตอนยุ่งยากและมีอุปสรรคด้านภาษี การขาดแคลนล่ามที่มีคุณภาพ ทำให้เป็นปัญหาสำหรับนักลงทุนในการเจรจากับบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในจังหวัดทางภาคกลางของเวียดนาม
(1) สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงฮานอย
63 — 65 Hoan Dieu Street , Hanoi
Tel. ( 84 — 8 ) 3823 — 5092 - 94
Fax. (84 — 8) 3823 - 5008
E-mail : thaihan@mfa.go.th
WebSite : http : // www.thaibizvietnam.com/
(2) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์
77 Tran Quoc Thao Street , District 3 , Ho Chi Minh City
Tel. (84 — 8) 3932 — 7637 -8
Fax (84 — 8) 3932 - 6002
E — mail : thaihom@mfa.go.th
WebSite : http : // www.thaiconsulatehochiminh.com/
(3) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย
Suit 801 , 8 th Floor , HCO Building ,
44 B Ly Thuong Kiet Street , Hanoi
Tel. : (84 — 4) 3936 - 5226-7
Fax. : (84 — 4 ) 3936 - 5228
E — mail : thaichanoi@depthai.go.th
(4) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์
8 th Floor , Unit 4 , Saigon Centre Building
65 Le Loi Boulevard , District 1 Ho Chi Minh
Tel.: (84 — 8) 3914 - 1838
Fax. : (84 — 8 ) 3914 - 1864
E — mail : thaitradecenter@hcm.fpt.vn
(5) สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ณ นครโฮจิมินห์
Floor 5, The Empire Tower, 26-28 Ham Nghi Street,
District 1, Hochiminh City
Tel. : ( 84 - 8) 62913 885-6
Fax : ( 84 — 8 ) 62913 887
Email : info@tourismthailand.org.vn
สคต. นครโฮจิมินห์
ที่มา: http://www.depthai.go.th