ข้อมูลสาธารณรัฐโปแลนด์

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 30, 2009 16:31 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สาธารณรัฐโปแลนด์ (Republic of Poland) เป็นประเทศในตอนกลางของยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกจรดเยอรมนี ทางใต้จรดสาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย ทางตะวันออกจรดยูเครนและเบลารุส ส่วนทางเหนือจรดทะเลบอลติก ลิทัวเนีย และแคว้นคาลีนินกราดของรัสเซียโปแลนด์เคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย

รัฐโปแลนด์ก่อตั้งเมื่อมากกว่า 1,000 ปีก่อนภายใต้ราชวงศ์เปียสต์ (Piast dynasty) และถึงยุคทอง ตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้ราชวงศ์ยาเกียลลอน (Jagiellonian dynasty) เป็นยุคที่โปแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยและมีอำนาจมากที่สุดในยุโรป ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2334 สภาล่าง (Sejm เซย์ม) ของ เครือรัฐโปแลนด์-ลิทัวเนีย ได้รับรัฐธรรมนูญพฤษภาคมของโปแลนด์ (May Constitution of Poland) รัฐธรรมนูญร่างฉบับแรกของยุโรป และฉบับที่ 2 ของโลก ตามหลังรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา

หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศโปแลนด์ได้ถูกแบ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซีย และได้รับเอกราชใหม่ในปี พ.ศ. 2461 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 (Second Polish Republic) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โปแลนด์กลายเป็นรัฐบริวารที่เป็นคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตภายใต้ชื่อสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ (People's Republic of Poland) ในพ.ศ. 2532 การเลือกตั้งกึ่งเสรีครั้งแรกในโปแลนด์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดการดิ้นรนเพื่อเสรีภาพของขบวนการโซลิดาริตี (Solidarity movement) และเป็นการพ่ายแพ้ของผู้นำคอมมิวนิสต์ของโปแลนด์ มีการก่อตั้งสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 3 (Third Polish Republic) ในปัจจุบัน ตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในปี พ.ศ. 2540 ในปี พ.ศ. 2542 โปแลนด์ได้เข้าร่วมองค์การนาโต และในปี พ.ศ. 2547 ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป

ภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป มีพรมแดนติด 7 ประเทศ ได้แก่ ทิศเหนือจรดรัสเซีย (ตำบล Kaliningrad) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกจรดลิธัวเนีย เบลารุสและยูเครน ทิศใต้จรดสาธารณรัฐเช็กและสโลวัก ทิศตะวันตกจรดเยอรมนี และทิศเหนือจรดทะเลบอลติก

ประชากร ประชากร 38.5 ล้านคน เป็นชาวโปลร้อยละ 98 อีกร้อยละ 2 มีเชื้อสายเยอรมัน เบลารุส ยูเครน ลิทัวเนียและอื่นๆ อัตราผู้รู้หนังสือ ร้อยละ 98

ศาสนา ร้อยละ 98 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคทอลิก นอกนั้นเป็นโปลิซออร์ธอด๊อกซ์ โปรเตสแตนท์ ลัทธิยูดา และมีมุสลิมเพียงเล็กน้อย

ภาษาราชการ ภาษาโปลิช

เมืองหลวง กรุงวอร์ซอ (ประชากร 1.6 ล้านคน)

เมืองสำคัญ วู๊ด (Lodz) ประชากร 825,600 คน (เมืองอุตสาหกรรมทอผ้า) คราคูฟ (Krakow) ประชากร 746,000 คน (เมืองหลวงเก่า) กดั๊งซ์ (Gdansk) ประชากร 463,000 คน (เมืองท่าสำคัญและอู่ต่อเรือ)

ประวัติศาสตร์

  • โปแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซียหรือโซเวียต โปแลนด์ต้องสู้กับรัสเซียในการรบ การรบวอร์ซอว์ ทหารรัสเซียมีมากกว่าทหารโปแลนด์ถึง 5เท่า แต่ทหารโปแลนด์ที่รักชาติก็สามารถขับไล่รัสเซียออกไปได้ ต่อมาโปแลนด์มีปัญหาภายในจนทหารรัสเซียโจมตีโปแลนด์แตก ในปี ค.ศ. 1939

การเมือง

  • ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง วาระ 5 ปี ดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ ประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งคือ นาย Lech Walesa (ระหว่าง 2533-2538) คนที่ 2 คือนาย Aleksander Kwasniewski จากกลุ่มการเมือง Democratic Left Alliance (SLD) และได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 เมื่อ 8 ต.ค. 2543 และโปแลนด์ได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดรอบแรกเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2548 และรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2548 ผลปรากฏว่า นาย Lech Kaczynski จากพรรค Law and Justice (PiS) ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 3 โดยสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2548

นายกรัฐมนตรี นาย Donald Tusk (ได้รับการแต่งตั้งจากนาย Lech Kaczynski ประธานาธิบดีโปแลนด์ เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2550 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ สืบแทนนาย Jaroslaw Kaczynski)

นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในการบริหารสูงสุด นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี และได้รับการรับรองจากสภาล่าง ส่วนคณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีโดยการเสนอชื่อจากนายก รัฐมนตรี และได้รับการรับรองจากสภาล่าง โปแลนด์จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2550 โดยนาย Donald Tusk หัวหน้าพรรค Civic Platform (PO) อดีตพรรคฝ่ายค้าน สามารถกำชัยชนะเหนือพรรค Law and Justice (PiS) ของนาย Jaroslaw Kaczynski ซึ่งเป็นแฝดผู้พี่ของประธานาธิบดี Lech Kaczynski

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสองสภา (Bicameral Parliament) คือ สภาสูง (Senate) มี 100 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรงในระดับจังหวัด มีวาระ 4 ปี และสภาล่าง (Sejm) จำนวน 460 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งระบบผู้แทนแบบสัดส่วน (proportional representation) ซึ่งรวม 2 ที่นั่งจากการเลือกสรรตัวแทนของชนกลุ่มน้อยด้วย มีวาระ 4 ปีเช่นกัน ทั้งนี้ ประธานสภา Sejm คนปัจจุบัน คือ นาย Marek Jurek จากพรรค Law and Justice (PiS) ประธาน Senate คือ นาย Bogdan Borusewicz ไม่สังกัดพรรคการเมือง

การปกครอง

  • การจัดการเลือกตั้ง จะจัดการเลือกตั้ง 2 สภาพร้อมกัน ทั้งนี้ ผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2550 พรรค Civic Platform (PO) อดีตพรรคฝ่ายค้านสามารถตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรค Polish Peasant Party (PSL) กุมเสียงข้างมาก 240 เสียง จาก 460 เสียง โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ไปใช้สิทธิมากเป็นประวัติการณ์ซึ่งสะท้อนถึง ความไม่พอใจในการดำเนินนโยบายของอดีตนายกรัฐมนตรี Jaroslaw Kaczynski โดยนาย Donald Tusk ผู้นำพรรคฝ่ายค้านซึ่งมีนโยบายเป็นกลาง-ซ้าย ได้รับการแต่งตั้งเป็น นรม. คนใหม่ โปแลนด์จึงหันมาปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัสเซียให้ดีขึ้น

ระบบศาล ศาลฎีกา (Supreme Court) เป็นศาลสูงสุด นอกจากนั้นมีศาลจังหวัด ศาลท้องถิ่น และศาลรัฐธรรมนูญ

การเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ NATO, OECD, WTO, Council of Europe และ EU

ทรัพยากรธรรมชาติ

  • ถ่านหิน (มีแหล่งสำรองถ่านหินใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก) กำมะถัน ทองแดง ก๊าซธรรมชาติ เงิน ตะกั่ว ดีบุก อำพัน

ผลผลิตทางเกษตร

  • ธัญพืช สุกร นม มันฝรั่ง น้ำตาล น้ำมันพืช พืชสวน (ผัก ผลไม้)

อุตสาหกรรม

  • เครื่องจักรกลในการก่อสร้าง แร่เหล็กและเหล็กแปรรูป เหมืองแร่ เคมีภัณฑ์ การต่อเรือ อาหารสำเร็จรูป เครื่องแก้ว เครื่องดื่ม รถยนต์ อาวุธ
ข้อมูลเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนประเทศโปแลนด์
โดย สคต วอร์ซอ
1. ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่                 :   312 700 sq km — 6th in European Union
ประชากร             :   38,12 million —    6th in European Union
อัตราเงินแลกเปลี่ยน     :   Polish Zloty (1 EUR ~ 4.2 PLN)
GDP รวม             :   EUR 515 billion (2008)
GDP per capita      :   EUR 14,000 (PPP, 2008)
GDP growth          :   4.9% (2008)  0.2 % (2009) ,  0.5 — 1.4 % (f 2010 - 2012)
สมาชิก               :   EU, NATO, OECD, WTO, Schengen Zone


2. ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
โปแลนด์เป็นประเทศที่เศรษฐกิจดีและมีเสถียรภาพมาก เนื่องจากปัจจัยสำคัญดังนี้

การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

  • ได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป 67 billion ยูโร ระหว่างปี 2007-2013
  • พัฒนาประเทศในทุกด้านตามหลักเกณฑ์ของสหภายุโรป อาทิ สาธารณูปโปค ระบบการคลัง การพัฒนาบุคคลากร
  • เป็นจุดดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก ใช้โปแลนด์เป็นฐานการผลิตและกระจายไปทั่วสหภาพยุโรป เนื่องจากค่าแรงต่ำกว่ายุโรป และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปจึงไม่มีภาษีนำเข้า/ส่งออก

ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพภูมิศาสตร์

  • โปแลนด์เป็นแหล่งผลิตอาหารและเฟอร์นิเจอร์ของยุโรป
  • โปแลนด์ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออกและตะวันตก มีท่าเรือตอนบน เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปยุโรปตะวันออกและตะวันตก

ลักษณะนิสัย

  • ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่นอกเมืองหลักยังไม่นิยมการกู้เงิน ประชาชนเคร่งครัดกฎหมาย/กฎระเบียบ

โปแลนด์ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

  • รัฐบาลโปแลนด์มีโนยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด การปล่อยสินเชื่อ การใช้จ่ายภาครัฐ การดำเนินการของสถาบันการเงิน การต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบอย่างเข้มงวด
  • ธุรกิจในโปแลนด์ดำเนินกิจการแบบอนุรักษ์นิยม บริษัทขนาดเล็กและกลาง SME เป็นธุรกิจครอบครัว พึ่งพาเงินทุนภายนอกน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของบริษัทในการทำการค้า ไม่นิยมกู้สินเชื่อ ทั้งนี้ ร้อยละ 90 ของบริษัทในโปแลนด์ เป็นบริษัท SME
  • ชาวโปแลนด์มีพื้นฐานของความมัถยัธส์สูง โดยเฉพาะประชากรกลุ่มอายุ 50 ขึ้นไป มีเพียงกลุ่มคนรุ่นใหม่ นักธุรกิจ ที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  • โปแลนด์พึ่งพาเศรษฐกิจต่างชาติไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

โปแลนด์เป็นประเทศเดียวในยุโรปที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2009 (GDP growth 0.2%)

3. การค้าของโปแลนด์

การส่งออกของโปแลนด์

  • ปี 2008 ส่งออก 168.7พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 2009 ลดลงร้อยละ 6 ปี 2010 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6

สินค้าส่งออกของโปแลนด์

  • เครื่องจักกล 37.8%, ผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมหนัก 23.7%, สินค้าอุปโภคจากอุตสาหกรรม 17.1%, อาหารและสัตว์7.6%

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ

  • เยอรมัน 25.9%, อิตาลี 6.6%, ฝรั่งเศส 6.1%, อังกฤษ 5.9%, เช็ครีพับลิก 5.5%, รัสเซีย 4.6%

การนำเข้าของโปแลนด์

  • ปี 2008 นำเข้า 204.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 2009 ลดลง ร้อยละ 7.4 ปี 2010 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5

สินค้านำเข้าที่สำคัญ

  • เครื่องจักและยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่ 38%, สินค้าที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม 21%, สารเคมี 14.8%, พลังงาน แร่ธาตุ น้ำมัน น้ำมันหล่อลื่น 9.1%

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ

  • เยอรมัน 29%, รัสเซีย 8.7%, อิตาลี 6.6%, เนเธอร์แลนด์ 5.7%, ฝรั่งเศส 5.1%, จีน 4.2%
4. การค้ากับไทย

ไทยส่งออกไปยังโปแลนด์

  • เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.31 ในปี 2008 มีมูลค่าประมาณ 494.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ เครื่องจักร ยางพารา เครื่องไฟฟ้า ยานพาหนะ อาหาร เครื่องประดับ โลหะ พลาสติก ของเล่น

ไทยนำเข้าจากโปแลนด์

  • เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.15 ในปี 2008 มีมูลค่า 92.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าจากโปแลนด์ ได้แก่ เครื่องไฟฟ้า เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์จากนม เคมีภัณฑ์ แป้งในโรงงานอุตสาหกรรม ยานยนต์ เหล็ก
5. โอกาสทางการค้าของไทย : สินค้าและบริการของไทยที่มีลู่ทางดีในโปแลนด์

กลุ่มที่ทำรายได้หลัก : สินค้าอุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า —คอมพิวเตอร์-อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์

  • สินค้ากลุ่มนี้โปแลนด์นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป จึงขึ้นอยู่กับความต้องการและสภาพเศรษฐกิจของประเทศยุโรปเป็นหลัก

กลุ่มที่มีโอกาสขยายตลาดสูง : สินค้าที่ใช้ทรัพยากรจากไทยเป็นส่วนใหญ่

  • กลุ่มอาหาร : ผักผลไม้กระป๋อง รวมทั้งน้ำผลไม้ อาหารทะเลแช่แข็งและเยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องปรุงรส
  • กลุ่มสปา สุขภาพและความงาม : สินค้าสมุนไพร สินค้าเพื่อสุขภาพ
  • กลุ่มแฟชั่น : อัญมณีและเครื่องประดับ ชุดชั้นใน และเสื้อผ้ามีดีไซน์
  • กลุ่มของใช้ในบ้าน เครื่องประดับตกแต่งบ้าน : ของแต่งบ้านและของใช้แนวดีไซน์

ธุรกิจบริการ : ร้านอาหารไทย สปา ธุรกิจก่อสร้าง

6. การลงทุนของไทยในโปแลนด์
กลุ่มสินค้าอาหาร :
  • Lucky Union Foods-Euro ผลิตสินค้าปูเทียมอัดแท่ง และสินค้าอื่นๆที่ผลิตจากซูริมิ ณ เมืองเชชชิน ประเทศโปแลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อจัดส่งสินค้าเข้าไปขายให้แก่ลูกค้าเก่าในภูมิภาคยุโรปตะวันตก บริษัทได้รับการสนับสนุนจาก E.U. Fund กว่าร้อยละ 40 ของค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งโรงงาน
  • ส ขอนแก่น — ดำเนินกิจการมาประมาณ 2 ปี ณ เมืองวรอซลอฟ
  • เจริญโภคภัณฑ์ - เคยมาสำรวจลู่ทาง
กลุ่มอุตสาหกรรม :
  • SCT จะจัดตั้งสำนักงานในกรุงวอร์ซอ ภายในปี 2552 นี้
กลุ่มสปา สุขภาพและความงาม
  • Hahn &Than ผลิตภัณฑ์สปา มีตัวแทนจำหน่ายชาวโปลิช เปิดร้านในห้าง Zlota Tarasy
  • Sukhita ผลิตภัณฑ์สปา เปิดตัวแทนจำหน่ายในโปแลนด์ เดือนตค 2552
ธุรกิจบริการ
  • ร้านอาหารไทย สปา/นวดแผนไทย
7. ปัญหาและอุปสรรคการค้าไทย — โปแลนด์
  • ความไม่รู้จักประเทศไทยและสินค้าไทยจึงทำให้ชาวโปแลนด์ยังไม่กล้าทดลองสินค้าไทย และนักธุรกิจโปแลนด์ก็ยังเดินทางมาประเทศไทยไม่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนนักธุรกิจโปแลนด์ที่เดินทางไปจีน และเวียดนาม
  • นักธุรกิจโปแลนด์ไม่ติดต่อกับคนที่ไม่รู้จัก นักธุรกิจไทยที่ส่งอีเมล์แนะนำสินค้า/บริษัท จะไม่ได้รับคำตอบ จะต้องรู้จักพบตัวกันก่อน จึงจะเริ่มการติดต่อค้าขายกัน
  • ความไม่สะดวกในการการเดินทางระหว่างไทย-โปแลนด์ เนื่องจากไม่มี direct flight ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจึงสูงและไม่สะดวกเท่าที่ควร นักธุรกิจขนาดกลางและเล็กไม่อยากลงทุนเดินทางโดยไม่มั่นใจความคุ้มค่า ทั้งนี้ การไม่มี direct flight เป็นปัญหาในการส่งสินค้าผักผลไม้สดด้วย
  • ราคาสินค้าของคู่แข่งจากจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม
  • โปแลนด์เป็นฐานการผลิตของยุโรป โปแลนด์มีทรัพยากรป่าไม้ และเป็นผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ โปแลนด์มีอุตสาหกรรมพลาสติกที่เข้มแข็ง กระจายสินค้าทั่วยุโรป ในราคาที่ไม่สูง
8. แนวทางขยายโอกาสทางการค้า/การลงทุน
แนวทางของภาครัฐ
  • การเผยแพร่ข้อมูลให้นักธุรกิจและประชาชนของทั้งสองประเทศ รู้จักกันมากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมานักธุรกิจไทยยังไม่รู้จักโปแลนด์ ลังเลที่จะค้าขายกับชาวโปแลนด์ เช่นเดียวกับนักธุรกิจโปแลนด์จำนวนไม่มากที่รู้จักประเทศไทย จากจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาด เช่น จัดงานส่งเสริมอาหารไทย ปีละ 3 ครั้ง Thailand Exhibition ปี 2551 และ 2552 และนำคณะสื่อมวลชนโปแลนด์ไปประเทศไทย รวมถึงการเผยแพร่ประเทศไทยผ่านรายการโทรทัศน์ในโปแลนด์ ส่งผลให้ ชาวโปแลนด์เริ่มรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และการสัมมนา /export clinic ในประเทศไทย กระตุ้นให้นักธุรกิจไทยเข้าใจและสนใจตลาดโปแลนด์มากขึ้นด้วย
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า เช่น Thailand Exhibition เปิดเวทีให้นักธุรกิจไทยเข้าถึงนักธุรกิจโปแลนด์
  • ผู้บริหาระดับสูงทั้งสองประเทศเดินทางเยือนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ฝ่ายโปแลนด์เดินทางเยือนประเทศจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม และรัฐบาลเวียดนาม อินโดนีเซียและจีนเดินทางเยือนโปแลนด์ อย่างต่อเนื่อง เป็นการผนึกความสัมพันธ์ทางการค้า คาดว่าโปแลนด์นำเข้าจากจีนถึง 5.4 billion Euro ในปี 2009 นี้
แนวทางของภาคเอกชน

สำหรับนักธุรกิจไทยที่ต้องการจะขยายตลาด เนื่องจากชาวโปแลนด์ไม่ติดต่อกับบุคคลที่ไม่รู้จักมากก่อน ดังนั้น การพบปะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ มีแนวทางหลายประการดังนี้

  • พบนักธุรกิจโปแลนด์ที่เดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศไทย
  • พบนักธุรกิจโปแลนด์ในงานแสดงสินค้านานาชาติทั่วโลก เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส จีน
  • เดินทางมาพบนักธุรกิจโปแลนด์ในประเทศโปแลนด์ สคต. ช่วยนัดหมายเจรจาการค้า
  • ร่วมงานแสดงสินค้าในโปแลนด์ แต่ระยะหลักผลตอบรับไม่ดี
  • ร่วมงาน Made in Thailand Exhibition ที่กรมฯ จัด ในโปแลนด์
9. การดำเนินงานของ สคต วอร์ซอ ในการขยายตลาดปี 2010
          Made in Thailand Exhibition  27 — 30 พฤษภาคม 2553 ณ Palace of Culture & Science, Warsaw Instore Promotion ร่วมกับผู้          นำเข้าสินค้าอาหาร — เดือนกุมภาพันธ์ 2553

เทศกาลอาหารไทย 3 — 5 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2010

เชิญสื่อมวลชนโปแลนด์เยือนประเทศไทย

กิจกรรมสร้างเครือข่ายกับผู้นำเข้า

10. จุดเด่นของตลาดโปแลนด์
  • โปแลนด์เป็นประเทศที่กำลังเติบโต เศรษฐกิจมั่นคง จำนวนผู้นำเข้าที่ครองตลาดยังมีไม่มาก และส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว
  • จากการที่เศรษฐกิจดี ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อสูง และต้องเลือกหาสินค้าคุณภาพดี มีรูปแบบที่หลากหลาย แตกต่างไปจากเดิมที่มีอยู่
  • เป็นตลาดใหญ่ ประชากรในโปแลนด์มี 38.2 ล้านคน และยังเป็นแหล่งกระจายสินค้าสู่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกด้วย
  • โปแลนด์กำลังเปิดประเทศรับสินค้าและอารยธรรมต่างชาติ อาหารไทยและสปาไทยจึงได้รับความนิยมมาก
  • ชาวโปแลนด์ชอบคนไทยมาก ชาวโปแลนด์ที่เคยรู้จักประเทศไทยและคนไทย โดยเฉพาะที่เคยเดินทางมาประเทศไทย ชอบที่จะติดต่อกับนักธุรกิจไทย เพราะชอบนิสัยความอ่อนน้อมและบริการของคนไทย
  • ชาวโปแลนด์ยังมีนิสัยคล้ายชาวตะวันออก ค้าขายด้วยความไว้วางใจ คบหาคู่ค้าอย่างมิตร และต้องการจะค้าขายระยะยาว
  • ความเสี่ยงน้อย เนื่องจากโปแลนด์มีกฎระเบียบและกฎหมายที่เข้มแข็ง และชาวโปแลนด์มีนิสัยอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ มีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย การค้าจึงเป็นไปบนพื้นฐานกฎหมาย
  • ขณะนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยควรจะเข้ามายึดส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด แย่งตลาดจากจีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งกำลังพยายามยึดตลาดโปแลนด์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ