รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคอาเซียน (สิงคโปร์)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 3, 2009 17:12 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2552

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. การผลิตลดลงในเดือนกันยายน 2552 เนื่องจากการส่งออกชะลอตัวลง อัตรา PMI : Purchasing Managers’ Index ในเดือนกันยายน 2552 ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2552 ร้อยละ 3.8 โดยสรุป ดังนี้ (1) Electronics sector ลดลงร้อยละ 2.8 (2) New orders ลดลงร้อยละ 5.2 (3) New export orders ลดลงร้อยละ 3.6 (4) Production ลดลงร้อยละ 6.8 (5) Inventory เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (6) Input prices เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และ (7) Employment ลดลงร้อยละ 0.5

2. เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 นักเศรษฐศาสตร์ในสิงคโปร์ ได้คาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ ปี 2552 ดังนี้ (1) Citigroup —ลดลงร้อยละ 0.5 ถึง 1 (2) Action Economics ลดลงร้อยละ 2 (3) Credit Suisse ลดลงร้อยละ 3 (4) UOB ลดลงร้อยละ 3.3 (5) Barclays ลดลงร้อยละ 2.5 (6) OCBC ลดลงร้อยละ 2.8 และ (7) Standard Chartered ลดลงร้อยละ 3.7

3. การประชุม SME Ministerial Meeting ณ โรงแรม Shangri-la สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 3-9 ตุลาคม 2552 เป็นการประชุมครั้งที่ 29 ของ Small & Medium Enterprise Working Group (SMEWG) และครั้งที่ 16 ของ Small & Medium Enterprise Ministerial Meeting ภายใต้ Theme “Helping SMEs Access Global Markets & Overcoming Trade Barriers” ซึ่งได้สรุปให้ 11 ประเทศเศรษฐกิจดำเนินการด้านต่างๆและจัดตั้งโครงการและพัฒนาตัวชี้วัดที่เหมาะสม โดยแบ่งให้มีประเทศผู้นำในการดำเนินการสาขาต่างๆได้แก่ สิงคโปร์และจีน-Market Access and Internationalization, มาเลเซียและเม็กซิโก-Business Environment, เกาหลีใต้ เปรูและสหรัฐฯ-Innovation, ไต้หวันและไทย- Management Capability และ อินโดนีเซียและญี่ปุ่น-Financing

4. สิงคโปร์กำหนดจัดการประชุม Asia-Pacific Economic Cooperation (Apec) ระหว่างวันที่ 8-15 พฤศจิกายน 2552 โดยกำหนดจัดการประชุม ดังนี้

(1) Apec Finance Ministers Meeting ณ Suntec Convention Centre ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2552 จะปรึกษาหารือในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก การเงินเพื่อการค้า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาโครงการพื้นฐานเศรษฐกิจและการพัฒนา Capital Market

(2) Apec SME Summit ณ Raffles City Convention Centre วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 สำหรับผู้บริหารระดับสูงและเจ้าของกิจการขนาดกลางที่กำลังเจริญเติบโต

(3) Apec CEO Summit ณ Suntec Convention Centre ระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2552 จะมีผู้นำธุรกิจจากประเทศต่างๆทั่วโลกมากกว่า 800 คน ร่วมกับผู้นำของประเทศสำคัญๆในแปซิฟิค

(4) Apec Economic Leaders’ Meeting ณ Suntec Convention Centre ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งผู้นำที่เข้าร่วมประชุมจะปรึกษาหารือเกี่ยวกับนโยบาย เศรษฐกิจ และเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการค้า รวมถึงข้อมูลจากการประชุมที่ผ่านมาได้แก่ regional economic integration, the Doha Round of trade talks, climate change and terrorism

(5) Voice of the Future (VOF) ระหว่างวันที่ 9-15 พฤศจิกายน 2552 โดยเป็นการประชุมระหว่างผู้นำเยาวชน Apec จำนวน 120 คน จากประเทศสมาชิก Apec 21 ประเทศ (40 คนจากสิงคโปร์และ 80 คนจากประเทศสมาชิกอื่นๆ) ภายใต้ Theme: Sustaining Growth, Connecting the Region ประเทศสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่: Australia, Brunei, Canada, Chile, People’s Republic of China, Hong Kong, Indonesia, Japan, Republic of Korea, Malaysia, Mexico, New Zealand, Papua New Guinea, Peru, Philippines, Russia, Singapore, Chinese Taipei, Thailand, The United States and Viet Nam.

5. หน่วยงานสิงคโปร์ Inland Revenue Authority of Singapore (Iras) ได้ประกาศให้ความช่วยเหลือบริษัท SMEs ในการหักค่าใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษี ได้แก่ (1) บริษัทที่มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมสร้างบริษัทที่ทำระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 150,000 เหรียญสิงคโปร์ โดยในแต่ละปีไม่เกิน 50,000 เหรียญสิงคโปร์ (2) บริษัทที่จัดซื้อยานพาหนะพาณิชย์ ไม่เกิน 3,000 กิโลกรัม เพื่อใช้ในกิจการ สามารถ claim capital allowance ภายใน 3 ปี (3) บริษัทที่ทำการค้าขาดทุน จำนวนเงินสูงสุด 200,000 เหรียญสิงคโปร์ สามารถใช้โปรแกรม loss carry-back relief scheme (4) เงินค่าใช้จ่ายสำหรับการส่งพนักงานไปฝึกอบรม บริษัทสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ (5) เงินค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการปลดพนักงาน เพื่อให้บริษัทอยู่รอดได้ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

6. ภาคอุตสาหกรรม Printing and Imaging ของสิงคโปร์ในปี 2551 มีมูลค่าประมาณ 5 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ มีการจ้างงานกว่า 5,340 อัตรา ให้บริการในประเทศและในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค มีบริษัท MNCs ชั้นนำได้แก่ HP, Epson, Oce’, Eastman Kodak และ Fuji Xerox ตั้งสำนักงานใหญ่สำหรับภูมิภาคในสิงคโปร์ มุ่งเน้นกิจการด้านการออกแบบสินค้า การค้นคว้าวิจัย และการผลิตที่ซับซ้อนของเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ บริษัทอื่นๆที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมนี้ อาทิ (1) บริษัทในประเทศ ได้แก่ Venture และ Flextronics (2) บริษัทจัดหาอุปกรณ์เพื่อการผลิต ได้แก่ Mitsubishi Chemical Infonics

7. สิงคโปร์ได้ทำให้ประเทศเป็นศูนย์กลาง Logistics ที่มีศักยภาพเหนือกว่าเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี จีน และญี่ปุ่น เนื่องจากสิงคโปร์ขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในด้านสถานที่ตั้ง เครือข่ายธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ และเป็นฐานให้บริการดีเยี่ยมแก่ผู้นำในด้านอุตสาหกรรมต่างๆและลูกค้าทั่วโลก ปัจจัยที่สนับสนุนการเป็นศูนย์กลาง Logistics ของสิงคโปร์ ได้แก่ (1) ศูนย์ Coolport@Changi จัดการสินค้าเน่าเสียแห่งแรก ณ Airport Terminal Services Limited (SATS) (2) ศูนย์ภูมิภาคของบริษัท TNT สำหรับตลาดเอเชีย ตั้งอยู่ที่ Changi Airfreight Centre (ศูนย์แห่งแรกที่ให้บริการทั้งทางบกและทางอากาศ) (3) บริษัท Kotoen Natie ขยายพื้นที่ดำเนินกิจการกระจายสินค้าเคมีภัณฑ์ไปยังเครือข่ายทั่วโลก (4) บริษัท Zuellig Pharma ตั้งสำนักงานใหญ่และศูนย์กระจายสินค้าเภสัชภัณฑ์เพื่อตลาดในภูมิภาค นอกจากนี้ สิงคโปร์มีแผนการให้ประเทศเป็น Hub ในด้านต่างๆ เช่น Solar Energy Hub, Biomedical Hub และ Clean Technology and Urban Solution Hub

8. ผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรมในสิงคโปร์ให้คำแนะนำแก่ SMEs ให้หาโอกาสตลาดในอาเซียน อัฟริกา และตะวันออกกลาง ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจาก การเจริญเติบโตเศรษฐกิจที่จะอยู่ในระดับขยายตัวเพิ่มขึ้นั้น คาดว่าจะเป็นปี 2554-2555 ดังนั้น บริษัทสิงคโปร์คงจะต้องทำให้ตนเองอยู่รอดช่วงเศรษฐกิจถดถอยและกลับฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อเศรษฐกิจเริ่มสู่สภาพที่ดี นอกจากนี้ Association of Small and Medium Enterprises : ASME เน้นคำแนะนำถึง การมองโลกในแง่ดี พร้อมมีพลังในการทำงาน และเผชิญปัญหาด้วยปัญญา เพื่อความสำเร็จในอนาคต

ข. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์กับมาเลเซีย มาเลเซียมุ่งที่จะเปิดด้านการเงินและการบริการเพิ่มขึ้น และทั้งสองประเทศได้ประสานความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นส่งเสริมโอกาสการค้าให้เพิ่มขึ้นสำหรับนักธุรกิจสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียได้เสนอ Green Lane Pilot Project ให้สิงคโปร์ช่วยสนับสนุน ทั้งนี้มาเลเซียได้แนะนำให้นักธุรกิจสิงคโปร์เข้าไปลงทุนธุรกิจในมาเลเซียอีกด้วย

2. สิงคโปร์กับสาธารณรัฐอิมิเรทส์ ได้มีการลงนาม MOU ระหว่าง Singapore Business Federation (SBF) และ Ajman Chamber of Commerce and Industries (AJCCI) ของ United arab Emirates (UAE) ซึ่งข้อตกลงความร่วมมือ SBF-AJCCI ลงนามโดย Dato’ Mohd Zain Abdullah, SBF Vice Chairman และ Vice Chairman of Middle East Business Group (MEBG) ด้วยข้อตกลงนี้ คาดว่าการค้าระหว่างสิงคโปร์กับ Ajman จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ภายในปี 2555 ทั้งนี้มูลค่าการค้าระหว่างกันในปี 2551 มีมูลค่า 9.5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 มูลค่า 7.2 ล้านเหรียญสิงคโปร์

3. สิงคโปร์กับญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ Mr. Lee Hsien Loong เยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และได้เข้าพบ Mr. Katsuya Okada, Foreign Minister นายกฯ Lee กล่าวว่า บริษัทญี่ปุ่นประสงค์จะลงทุนในสิงคโปร์ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่ทำการค้าเป็นสำคัญและมีสภาวะแวดล้อมที่ดี และสิงคโปร์เริ่มขยายสาขาธุรกิจไปยัง Biotechnology และ digital media นอกจากนี้นายกฯ Lee ได้พบ Mr. Fujio Mitarai, Chaiman of Nippon Keidanren บริษัทผู้ผลิต blue-chip ของญี่ปุ่นด้วย

ค. การลงทุนในสิงคโปร์

1. บริษัท Equinix เปิดศูนย์พัฒนา IT “SG2 International Business ExchangeTM (IBXTM) มูลค่า 65 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในสิงคโปร์ เพื่อให้บริการธุรกิจ Global Data Service Provider ในย่านอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเซีย-แปซิฟิค ซึ่งมุ่งเน้นให้ส่งเสริมและพัฒนาข้อมูลธุรกิจทั่วโลก การจัดการข้อมูล และการบริการด้านเทคนิคจัดเก็บข้อมูล ทั้งนี้ การลงทุนของบริษัทฯช่วยเพิ่มขีดความสามารถของสิงคโปร์ทั้งการเป็นศูนย์ IT ของโลก การมีผู้ชำนาญการพอเพียง และมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อธุรกิจที่ดี

2. บริษัทผู้นำธุรกิจด้านศิลปะ Cristie’s International ได้ประกาศว่า Christie’s Fine Art Storage Services (CFASS) จะเปิดตัวสถานที่เป็นคลังสินค้า ณ Singapore FreePort สนามบิน Changi บนพื้นที่ประมาณ 22,500 ตารางเมตร ในเดือนมกราคม 2553 นับเป็นสถานที่แห่งแรกสำหรับเก็บศิลปะในสิงคโปร์ ให้บริการแก่นักเล่นของเก่า/ศิลปะนานาชาติและสถาบันต่างๆ ส่งผลให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับความเชื่อมั่นสำหรับธุรกิจศิลปะในเอเชีย

3. บริษัทอินเดีย K S Oils ซึ่งเป็นผู้นำด้าน Edible Oil ได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่นานาชาติ K S Natural Resources (KSNR)ในสิงคโปร์เพื่อเป็นหัวหอกในการขยายตลาดสินค้าฯไปยังทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีความร่วมมือกับ ศูนย์ Minerals, Metals & Materials Technology ของ National University of Singapore ทำการค้นคว้าวิจัยในการขยายการปลูกพืชเพื่อน้ำมัน การศึกษาอบรมพนักงาน และเทคโนโลยีใหม่ๆสำหรับโรงงานผลิตสินค้าฯด้วย อนึ่ง ในปัจจุบันสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้า-ขาย commodities มีบริษัทผู้ค้าชั้นนำดำเนินกิจการในสิงคโปร์ การจัดตั้งสำนักงานใหญ่ดังกล่าว ทำให้บริษัทนานาชาติตัดสินใจง่ายขึ้นที่จะเข้าไปลงทุนในสิงคโปร์

4. Duke University และ National University of Singapore (NUS) ได้มีความร่วมมือกันและได้เปิด Duke-NUS Graduate Medical School ณ Singapore General Hospital (SGH) ภายใต้ Singapore Health Services (SingHealth) สำหรับการฝึกอบรมและค้นคว้าวิจัย ซึ่งใช้วิธีการฝึก “bench-to-bedside” ทำให้สิงคโปร์เป็นแนวหน้าสำหรับการศึกษาด้านการแพทย์

5. บริษัทเกาหลีใต้ Woori Investment & Securities Asia (Wisa) ซึ่งเป็นนักลงทุนด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ด้วยเงินทุน 375 พันล้านเหรียญสิงคโปร์(ธค.51) ลูกค้าทั่วโลกมากกว่า 20 ล้านคน และเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 ได้เปิดสำนักงานสาขาในสิงคโปร์สำหรับเป็นฐานในการขยายตลาดสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อพัฒนาโอกาสในการลงทุน เนื่องด้วยสิงคโปร์มีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่มั่นคง และระบบการเงินมีความก้าวหน้ามากกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค ทั้งนี้ ความสนใจเฉพาะทางของบริษัทคือ ที่ดินและอุตสาหกรรมการสื่อสารทางไกลโดยโทรศัพท์ในประเทศเวียดนาม (เปิดสำนักงานเมื่อ พย. 51) และอุตสากรรมทรัพยากรตามธรรมชาติในประเทศอินโดนีเซีย (เปิดสำนักงานเมื่อ พย. 50) นอกจากนี้ ยังสนใจที่จะขยายตลาดต่อไปยังอินเดีย และประเทศในตะวันออกกลางในอนาคต อนึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นด้านความปลอดภัยร้อยละ 60 ของบริษัท Clemont Securities ในอินโดนีเซีย และร้อยละ 49 ของบริษัท Bien Viet Securities ในเวียดนาม

6. บริษัทสวิตเซอร์แลนด์ สินค้าเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม “Huntsman” เห็นว่าสิงคโปร์มีโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนธุรกิจ และเป็นตลาดสำคัญในการขยายตลาดสู่ภูมิภาคเอเชีย บริษัทฯได้วางแผนย้ายฐานการวิจัยและพัฒนาจากยุโรปไปยังเอเชีย โดยวางแผนจัดตั้งและสร้างศูนย์ R&D ในสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นหลังจากที่กลุ่มด้านสินค้าสิ่งทอ สีย้อมผ้า และชุดเคมีภัณฑ์ ของบริษัทฯ ได้ย้ายสำนักงานจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาอยู่ที่สิงคโปร์เมื่อเดือนมีนาคม 2552 (ยกเว้นอุตสาหกรรมการผลิตหลัก/เทคโนโลยีและการให้บริการลูกค้าในยุโรปยังอยู่ในเมือง Basel สวิตเซอร์แลนด์) อนึ่ง มูลค่าตลาดสีย้อมผ้าและเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมของโลกประมาณปีละ 10พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งบริษัทฯจัดส่งสินค้าสู่ตลาดโลกประมาณปีละ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และรายได้ส่วนใหญ่มาจากเอเซียประมาณร้อยละ 55 ถึงแม้ว่าในปีนี้ความต้องการจะลดลง แต่บริษัทฯมีการขยายตัวร้อยละ 22 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 นอกจากนี้ บริษัทได้ตั้งทีมการวิจัยและพัฒนาในเมือง Mumbai-อินเดีย และเมือง Panyu ในมลฑลกวางโจวของประเทศจีน

7. บริษัท Medtronic ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯด้านเทคโนโลยีการรักษาโรค ได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่ ณ เขต Changi ในสิงคโปร์เพื่อกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับตลาดสหรัฐฯ และจะลงทุน 80 ล้านเหรียญสิงคโปร์สร้างโรงงานผลิตสินค้า cardiac devices สำหรับตลาดนานาชาติ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2554 และมีการจ้างงานประมาณ 100 อัตรา ปัจจุบันสินค้าของบริษัทฯ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 45-55 ของตลาดโลก อนึ่ง บริษัทฯเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากกว่า 120 ประเทศ และมีรายได้ประมาณปีละ 20.5 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

8. มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในสิงคโปร์ SIM University (UniSIM) จะลงทุนมูลค่า 300 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ขยายพื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่ Clementi Campus เพิ่มขึ้นอีก 28,000 ตารางเมตร ภายในปี 2557 ทั้งนี้ ในปี 2550 มีนักศึกษา จำนวน 8,000 คน ในปี 2552 จำนวน 10,000 คน (เมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้ให้เงินช่วยเหลือร้อยละ 40 เป็นค่าเล่าเรียนสำหรับนักศึกษาที่ทำงานไปด้วยและเรียนระดับปริญญาตรี) คาดว่า ภายในปี 2563 จะมีนักศึกษาถึง 14,000 คน

ง. อื่นๆ

1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ให้คำยกย่องสิงคโปร์ ที่มีระเบียบและดำเนินการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยใช้นโยบายการเงินอย่างโปร่งใสและการประกันเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งทำให้พื้นฐานเศรษฐกิจยังคงแข็งแรงและระบบการเงินอยู่ในขีดที่สามารถแข่งขันได้ต่อไปในระยะยาว และภาครัฐได้คาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ -2.5 ถึง -2.0 ทั้งนี้ IMF ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวและเจริญเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อยในปีหน้า เนื่องจากระบบเครติดไม่คล่องตัว อีกทั้งการผลิตและจำหน่ายสินค้าจะหันไปสู่ตลาดใหม่เท่านั้น ภายใต้ข้อตกลง IMF ประเทศสมาชิก จะต้องปฏิบัติตามระเบียบฉบับที่ 4 ควบคุมนโยบายเศรษฐกิจให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างถูกต้องและยุติธรรม และหลีกเลี่ยงการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์เพียงประเทศเดียว อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินเหรียญสิงคโปร์อ่อนตัวลง จะช่วยส่งเสริมการนำเข้า แต่หากค่าเงินเหรียญสิงคโปร์แข็งขึ้น จะช่วยให้ภาวะเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำ

2. World Economic Forum (WEF) ได้จัดให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการเงิน/การคลัง อันดับที่ 4 ของโลก (จากเดิมอันดับที่ 10) อันดับที่ 1 คือ บริเทน รองลงมาได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ สิงคโปร์ ฮ่องกง แคนาดา สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และ เดนมาร์ค ทั้งนี้ การจัดอันดับดังกล่าวใช้ปัจจัยกว่า 120 ประการ ซึ่งรวมถึงสภาวะแวดล้อมของธุรกิจและสถาบัน ความมั่นคงของการเงิน/การคลัง และข้อมูลเชิงลึกด้าน capital markets 2.เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 United Nations Data ได้ประกาศอันดับของประเทศที่น่าพำนักอาศัยที่สุดในโลก ซึ่งสิงคโปร์ติดอันดับที่ 23 สำหรับอันดับที่ 1 คือ นอร์เวย์ รองลงมาได้แก่ ออสเตรเลีย ไอซแลนด์ แคนาดา ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ ได้จัดอันดับประเทศที่ไม่น่าพำนักอาศัย อันดับที่ 173-182 ได้แก่ Guinea Bissau(173), Burundi, Chad, Democratic Republic of the Congo, Burkina Faso, Mali, Central African Republic, Sierra Leone, Afghanistan และ Niger(182)

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2552

1. ประสานงานสื่อมวลชนสิงคโปร์เยือนงาน BIG & BIH 2009 (October)

2. เจ้าหน้าที่ฯ นำคณะนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าชมงาน BIG & BIH 2009 (October) ระหว่างวันที่ 13-16 ตุลาคม 2552

3. ประสานงานเชิญนักธุรกิจสิงคโปร์เยือนงาน Thailand Entertainment Expo 2009 ระหว่างวันที่ 16-20 ตุลาคม 2552

4. ประสานงานและติดต่อหน่วยงานในสิงคโปร์ สำหรับโครงการส่งเสริมการขายงานแสดงสินค้า TAPA 2010 (Road Show-ASEAN) ในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม — 2 พฤศจิกายน 2552

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ