สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.—ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 4, 2009 13:06 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง         :  Washington , DC
พื้นที่              :  9,161,923  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ       :  English
ประชากร          :  301.6 ล้านคน (1 ก.ค. 2550)
อัตราแลกเปลี่ยน     :  US$ : 33.1890 บาท (30/10/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                               1.2        -2.0
Consumer price inflation (av; %)                  3.8        -0.6
Budget balance (% of GDP)                        -3.2       -11.5
Current-account balance (% of GDP)               -4.8        -3.5
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        2.2         0.3
Exchange rate ฅ:US$ (av)                        103.4        93.0

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  11,910.31         100.00         -24.24
สินค้าเกษตรกรรม                     1,070.70           8.99         -25.08
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร             1,467.00          12.32           0.19
สินค้าอุตสาหกรรม                     9,031.40          75.83         -27.06
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    341.21           2.86         -23.47
สินค้าอื่นๆ                               0.01            0.0

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              6,059.97         100.00         -29.35
สินค้าเชื้อเพลิง                              122.22           2.02         -43.16
สินค้าทุน                                 2,230.49          36.81         -24.10
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                  2,837.46          46.82         -35.52
สินค้าบริโภค                                760.37          12.55         -18.18
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  74.55           1.23          -0.67
สินค้าอื่นๆ                                   34.88           0.58          80.34

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐอเมริกา
                           2551            2552          %

(ม.ค.-ก.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            24,299.33       17,970.29     -26.05
การส่งออก                15,721.40       11,910.31     -24.24
การนำเข้า                 8,577.93        6,059.97     -29.35
ดุลการค้า                  7,143.47        5,850.34     -18.10

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 6,059.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.35
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                         6,059.97          100.00         -29.35
1.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                  770.73           12.72          -5.42
2.แผงวงจรไฟฟ้า                             677.67           11.18         -26.61
3.เคมีภัณฑ์                                  567.52            9.37         -34.48
4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                440.47            7.27           1.93
5.เครื่องคอมพิวเตอร์                          414.00            6.83         -40.19
       อื่น ๆ                               648.84           10.71         -34.86

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 11,910.31  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.24
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                    107.13            0.90         -40.69
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                 2,059.26           17.29         -23.69
2.อาหารทะเลกระป๋อง                  852.22            7.16           2.71
3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                     771.01            6.47         -29.41
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                        611.21            5.13         -15.43
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                570.19            4.79         -31.09
        อื่น ๆ                       113.86            0.96         -16.63

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (มค.- กย.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากจีนและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- กย.) พบว่าปี 2552 (มค.- กย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง 23.69 ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 44.83 17.40 และ 1.13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- กย.)พบว่า ปี 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.60 และ 22.37 ในขณะที่ปี 2549 และ 2552 (มค.- กย.)มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 1.80 และ 10.96 ตามลำดับ เมื่อเทียบ กับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- กย.) พบว่ามีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.26 5.81 8.09 และ 29.04 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ผลิตภัณฑ์ยาง : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- กย.) พบว่า ปี 2552 (มค.- กย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง 15.43 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 23.36 11.87 และ 11.22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549-2552 (มค.- กย.)พบว่าปี 2549 และ ปี 2552(มค.- กย.) ที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 1.84 และ 31.09 ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และ 4.78 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552( ม.ค.-ก.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มี
อัตราเพิ่มสูงโดยสูง มีรวม 3 รายการ คือ
        อันดับที่ / รายการ              มูลค่าล้าน        อัตราการ       หมายเหตุ

เหรียญสหรัฐ ขยายตัว %

 2. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป          852.22          2.71
12. ข้าว                              267.13          7.78
23. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ          118.10          5.32

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง
รวม 22 รายการ คือ

       อันดับที่ / รายการ                                  มูลค่า            อัตราการขยายตัว
                                                    ล้านเหรียญสหรัฐ             %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                   2,059.26             -23.69
3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                         771.01             -29.41
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                                            611.21             -15.43
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                                    570.19             -31.09
6.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                          541.57             -21.99
7.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                         479.31             -19.28
8.กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                                      450.73              -5.19
9.แผงวงจรไฟฟ้า                                          362.30             -35.72
10.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                                  333.74              -0.44
11.น้ำมันดิบ                                              318.61             -23.09
13.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล                 213.76             -14.97
14. เครื่องโทรศัพท์  เครื่องตอบรับโทรศัพท์                      178.55             -19.49
15.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                        172.00             -34.50
16.ยางพารา                                             171.70             -64.24
17.ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน                      170.20             -27.58
18.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                               159.21             -64.09
19.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                                   158.36             -15.38
20.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน                    157.26             -18.01
21.เลนซ์                                                152.59             -14.22
22.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                             150.51             -43.46
24.เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ                       113.86             -16.63
25.รองเท้าและชิ้นส่วน                                      107.13             -40.69


4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

Fashion Snoops (www.fashionsnoop.com) ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจ Online ให้คำปรึกษาการพยากรณ์แนวโน้มรูปแบบสินค้าได้คาดการณ์แนวโน้มสีสันของตลาดสินค้าของตกแต่งบ้านในสหรัฐฯ ปี 2553-2554 แยกเป็น 3 แนวทาง คือ

1. กลับไปสู่ความหลัง (Reclaim Trend) แนวโน้มการตกแต่งและสินค้า : ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของผู้บริโภค เป็นผลให้เกิดการประหยัดในการใช้จ่าย ดังนั้น จึงก่อให้เกิดแนวโน้มการนำของที่ใช้แล้วหรือหมดสภาพแล้วมาปรับสภาพใหม่

2. สู่ความเรียบง่าย ( Humility Trend) แนวโน้มการตกแต่งและสินค้า: ภายใต้ความกดดันของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปัจจุบันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนสภาพการดำรงชีวิตของผู้บริโภคของสหรัฐฯจำนวนมาก จากที่เคยใช้จ่ายฟุ่มเฟือยใช้ชีวิตแบบหรูหรา มาเป็นการใช้ชีวิตแบบดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น แนวโน้มจึงออกมาเป็นในรูปการละทิ้งความหรูหราและหันไปสู่ความเรียบง่าย ซึ่งเป็นการผสมผสานและโดยการดึงเอาธรรมชาติเข้าประกอบ เช่น ต้นไม้ เข้ามาเพื่อสร้างบรรยากาศและปลอบใจผู้บริโภค

3. ไขว่คว้าหาจุดหมาย (Explore Trend) แนวโน้มการตกแต่งและสินค้า : การนำ Modern Living ในช่วงปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกอยู่ในภาวะตกต่ำ เข้ามาเป็นตัวนำและจุดประกาย โดยเน้นการใช้วัตถุดิบและด้านรูปแบบตามสไตล์ของสินค้า เช่น Fiber Glass, Resin, Wire Mesh เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ คือตัวชี้นำให้เห็นการหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในยุคนั้น ซึ่งหมายถึงการนำเอาความสำเร็จของอดีตกาลมาเป็นปลุกปั้น และสร้างบรรยากาศให้ปัจจุบัน

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นตัวโดยรวดเร็วในขณะนี้ อาจจะใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป อีก 2-3 ปี ถึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้บริโภคยังคงต้องเผชิญกับปัญหาด้านการเงิน การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำรงชีวิต ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการสินค้าและบริการ

แนวโน้มทั้ง 3 แนวทาง เป็นเพียงเครื่องชี้ถึงแนวทางการตกแต่งบ้านและสินค้าของตกแต่งบ้าน ซึ่งออกมาในรูปการปลอบใจผู้บริโภค ให้ความพอเพียง และสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน สีสันที่นำมาใช้จะไม่ฉูดฉาด สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่ต้องการจำหน่ายสินค้าในตลาดสหรัฐฯ ควรพิจารณานำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการนำเสนอสินค้าต่อผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯ

ในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ที่มีแนวโน้มว่ารูปแบบรถยนต์ที่ผลิตในสหรัฐฯจะเป็นรถที่มีเทคโนโลยี่ก้าวหน้ากว่าปัจจุบันและอาจจะเป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให้กับการตกแต่งเพื่อให้สอดคล้องกับความชอบของแต่ละบุคคล สินค้าที่มีโอกาสขายในกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของรถยนต์ การตกแต่งที่กำลังได้รับความนิยมอาจจะเป็นการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติม จากการสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคประจำปี 2009 ของ Aftermarket Business พบว่า

1. แม้ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำ ผู้บริโภคไม่ซื้อรถใหม่ แต่ผู้บริโภคยังคงทำการบำรุงรักษารถอย่างสม่ำเสมอ

2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เป็น aftermarket ก็คือ คำแนะนำของช่างซ่อมรถที่เป็นมืออาชีพ ยี่ห้อสินค้า สรรพคุณของปฎิบัติการ และราคา

3. ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจำเป็นต้องเปลี่ยนเบรคเมื่อรถเกิน 120,000 ไมล์ และจะซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์เบรคจากร้านค้าอาไหล่รถยนต์ที่เป็น chain stores

4. เงื่อนไขในการตัดสินใจซื้อโครงรถ (chassis) ก็คือสรรพคุณของปฏิบัติการที่โฆษณาและคำแนะนำจากช่างมืออาชีพ ส่วนใหญ่ของผู้ซื้อจะทำการสำรวจราคาก่อนตัดสินใจซื้อ

5. เงื่อนไขในการตัดสินใจซื้อท่อไอเสีย (exhaust) คือ คำแนะนำของช่างมืออาชีพ

6. ส่วนใหญ่ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนรังผึ้งกรองอากาศ และ น้ำมัน ทุกๆสองถึงห้าปีเงื่อนไขในการตัดสินใจซื้อก็คือคำแนะนำของช่างมืออาชีพ

7. ส่วนใหญ่ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนระบบดุมล้อ (hub systems) รถที่อายุเกิน 9 ปีขึ้นไปเงื่อนไขในการตัดสินใจซื้อคือสรรพคุณของปฏิบัติการที่โฆษณาและคำแนะนำของช่างมืออาชีพ

8. shocks และ struts ส่วนใหญ่ของรถที่เกิน 120,000 ไมล์ และผู้บริโภคจะเปลี่ยนชิ้นส่วนนี้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังพร้อมๆกัน

9. ส่วนใหญ่ของผู้บริโภคจะเปลี่ยน spark plugs ทุกๆสองหรือสามปี เงื่อนไขสำคัญในการตัดสินใจซื้อคือยี่ห้อของสินค้า และจะซื้อสินค้าที่มีอายุใช้งานเกิน 30,000 ไมล์

10. ผู้บริโภคจะเปลี่ยน starters และ alternators ก็ต่อเมื่อช่างมืออาชีพแนะนำ และจะซื้อสินค้าตามสรรพคุณของปฏิบัติการที่โฆษณา

การส่งออกเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกปี 2552 ยังมีแนวโน้มดี แม้ว่าประเทศผู้นำเข้าจะมีปัญหาเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พลาสติกกลายมาเป็นสินค้าจำเป็นต่อการบริโภคแล้ว ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกปีหน้าว่า ปีนี้ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เรียกได้ว่าไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจเลย เพราะผู้ผลิตมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดี ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะจีน ดังนั้นการส่งออกไตรมาส 4 ปีนี้คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากต้นปี โดยทั้งปีคาดว่า มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกอยู่ที่ 9.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท ขณะที่การส่งออกเม็ดพลาสติกปีนี้ จะมีมูลค่าถึง 1.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท โดยปี 2553 คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่อง หรือปีละ 3-4 % ผู้ส่งออกพลาสติกไทยจะหาตลาดใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความสามารถในการผลิตที่มี เช่น ขยายตลาดพลาสติกในสหรัฐ เพิ่มขึ้น โดยหาลูกค้าใหม่ๆ ปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์และเม็ดพลาสติกของไทย อยู่ในตลาดเอเชียแปซิฟิกถึง 50% ได้แก่ จีน อาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ขณะที่ตลาดสหภาพยุโรป (อียู) อยู่ที่ 20 % ที่เหลือเป็นตลาดสหรัฐ ที่ยังมีสัดส่วนไม่มากทำให้ผู้ส่งออกต้องการขยายตลาดสหรัฐมากขึ้น เพื่อให้ตลาดสหรัฐเป็นฐานส่งออกไปในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เพราะในอนาคตสหรัฐอาจเป็นตลาดสำคัญของผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ