ภาวะการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 (ม.ค-ก.ย.)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 5, 2009 12:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาวะเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์นับว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้งในกลุ่มของชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น เครื่องปรับอากาศ แนวโน้มดังกล่าวเป็นผลมาจากตลาดโลกที่เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวแม้อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นภาคที่อ่อนไหวและผันตัวตามภาวะตลาดโลก เมื่อสถานการณ์ตลาดโลกเริ่มดีขึ้น จึงทำให้มียอดคำสั่งซื้อกลับเข้ามาเพิ่มมากขึ้น คาดว่าปลายปีนี้จะมีอัตราการขยายตัวลดลง 10% จากปี 2551 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ไว้เมื่อต้นปีนี้ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์จะมีอัตราการขยายตัวลดลง 30%

สำหรับตลาดหลักของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ได้แก่ อาเซียน ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักอันดับ 1 ในขณะนี้หลังจากตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เกิดภาวะหดตัวของคำสั่งซื้อ เนื่องจากมีการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศในเอเชียที่มีประชากรหลากหลาย และมีจำนวนมากทำให้ใน 9 เดือนแรก ตลาดอาเซียนมีสัดส่วนเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ จีน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำให้มีมูลค่าส่งออกไปยังตลาดจีนค่อนข้างมาก ได้แก่ ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสัดส่วนของมูลค่าส่งออกของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีสัดส่วนไม่ถึง 10%

ทั้งนี้ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ปี 2553 มีความเป็นไปได้สูงที่จะกลับเป็นบวกเนื่องจากปี 2552 การส่งออกติดลบมากทำให้ฐานะการส่งออกปี 2552 ต่ำลง และคาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์จะไม่สูงเท่ากับฐานปี 2551 ที่ 1.65 ล้านล้านบาท และต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี จึงจะกลับมามีมูลค่าเท่ากับปี 2551 ได้

ขณะที่คำสั่งซื้อมีแนวโน้มดีขึ้นทำให้การใช้กำลังผลิตสูงขึ้นโดยครึ่งปีแรกใช้กำลังผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ 50-60% คาดในไตรมาส 3 ปีนี้ การใช้กำลังผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% และลดลงในไตรมาส 4 เล็กน้อยตามฤดูกาล

ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมต้องมีความพร้อมในด้านของการเพิ่มทักษะและพัฒนาฝีมือแรงงานการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับกระแสการดูแลสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน หรือให้มีกลไกอัจฉริยะ ตลอดจนการซ่อมบำรุงรักษาสายการผลิตให้อยู่ในสภาพดีเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต

สำหรับทิศทางการทำตลาดผลิตภัณฑ์ในอนาคต จะเป็นการผลิตสินค้าตามเทรนด์ของตลาดโลก ที่มุ่งเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองกระแสของการดูแลสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Green Product ซึ่งปัจจุบันมีเอกชนได้ผลิตสินค้าดังกล่าวแล้วในประเภทคอมเพรสเซอร์และเครื่องปรับอากาศโดยแนวโน้มดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับเทรนด์ของตลาดโลก

ไทยร่วมการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานความตกลงการค้าเสรีอาเซียนเกาหลีใต้ (AKFTA-IC) ครั้งที่ 1 ณกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 11-14 ต.ค.2552 ที่ผ่านมาเพื่อติดตามสถานะล่าสุดของการบังคับใช้ความตกลงต่างๆ ระหว่างอาเซียน และเกาหลีใต้ ซึ่งพบว่าในส่วนของความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเกาหลีใต้จะยกเลิกภาษีกลุ่มสินค้าปกติมากกว่า 90% ของรายการสินค้า และมูลค่าการนำเข้าจากอาเซียน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 ทำให้สามารถส่งออกไปยังเกาหลีใต้ได้โดยไม่ต้องเสียภาษีอีกต่อไปทั้งนี้ ในส่วนของไทยมีสินค้าสำคัญที่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีในครั้งนี้ ได้แก่คอมเพรสเซอร์ แผ่นชิ้นไม้อัดมอเตอร์ไฟฟ้า กากน้ำตาล เส้นด้ายยางรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ และปลาแช่แข็ง เป็นต้น

ปี 2552 ในไตรมาสที่ 3 (ม.ค.-ก.ย.) ประเทศไทยส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ มูลค่า 19,134.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 21.28

ตลาดหลักในการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ 5 อันดับแรกของ ปี 2552 (ม.ค.- ก.ย.) ได้แก่ จีน สหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ โดยมีอัตราขยายตัวลดลงทุกตลาด

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศ        2551 (ม.ค.- ก.ย.)    2552 (ม.ค.- ก.ย.)    % ขยายตัว      % สัดส่วน
จีน                4,952.44             4,136.27          -16.48        21.62
สหรัฐฯ             3,818.84             2,811.26          -26.38        14.69
ฮ่องกง             3,031.48             2,234.97          -26.27        11.68
ญี่ปุ่น               2,360.08             1,805.19          -23.51         9.43
สิงคโปร์            1,871.29             1,560.56          -16.61         8.16
ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ทั้งนี้หากพิจารณาการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดโลก (60 ประเทศ) จะพบว่าตลาดส่งออกที่มีมูลค่าการส่งออกไม่ต่ำกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 30

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ

      ประเทศ                 2551 (ม.ค.- ก.ย.)    2552 (ม.ค.-ก.ย.)   % ขยายตัว     % สัดส่วน
11.อิหร่าน                           16.91               275.84        1,530.97        1.44
18.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์               129.19               170.71           32.14        0.89
32.พม่า                             13.94                26.84           92.49        0.14
34.กัมพูชา                           10.92                21.42           96.13        0.11
36.นิวซีแลนด์                         14.21                20.40           43.52        0.11
47.กานา                             5.43                 7.23           33.12        0.04
50.คอสตาริกา                         2.90                 4.98           72.07        0.03
52.ซีเรีย                             0.61                 2.96          387.20        0.02
56.ปานามา                           0.01                 2.45       17,946.19        0.01
59.ตูนีเซีย                            1.58                 2.37           49.80        0.01
ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

กลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออก

การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ ปี 2552 (ม.ค.- ก.ย.) แม้ว่าสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มมีทิศทางที่ชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เห็นได้จากการส่งออกของหลายๆ อุตสาหกรรมที่กลับมาปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก เพราะมีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มมากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ แต่อย่างไรก็ตามยังคงอยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องร่วมมือกันในการกระตุ้นการขับเคลื่อน โดยเฉพาะการสร้างยุทธศาสตร์เชิงรุกและการสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทย อาทิ

  • พัฒนาคุณภาพและรูปแบบสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและเพิ่มมูลค่าสินค้า
  • หาตลาดใหม่ทดแทนตลาดสหรัฐอเมริกา เช่น ตลาดอินเดีย ตะวันออกกลาง อาเซียน เป็นต้น
  • ส่งเสริมการสร้าง Brand สินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวสินค้าและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ
  • ลงทุนในส่วน Research Development มากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพสินค้าไทยให้ทันสมัยและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
  • จัดตั้ง Outlet เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าในประเทศ
  • บริหารงานด้านโลจิสติกส์ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ประสานงานกับ BOI เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าในประเทศ
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าแยกตามประเภทสินค้า ปี 2552 ในไตรมาสที่ 3 (ม.ค.- ก.ย.)

การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ในช่วงไตรมาสที่ 3 (มค.-กย.) ของปี 2552 มีมูลค่าทั้งสิ้น 11,098.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 21.84

เป้าหมายการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2552 จะมีมูลค่าเท่ากับการส่งออกปี 2551 คือ 18,029 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.1 ของเป้าหมายการส่งออกรวมทั้งประเทศ

การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปีนี้คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะมีอัตราขยายตัวในช่วงไตรมาส 3 และจะเริ่มลดลงโดยจะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2553 และสูงสุดในไตรมาส 3 ปีหน้า เนื่องจากเป็นสินค้าราคาไม่สูงทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่าย รวมทั้งผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ เช่น ไอที อุปกรณ์สื่อสาร พยายามสร้างเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาจูงใจผู้บริโภคต่อเนื่อง

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ

                                                         2551          2552             การเปลี่ยนแปลง (%)
       สินค้า                      2550         2551     ม.ค.-ก.ย.    ม.ค.-ก.ย.    2550      2551       2552

ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย.

เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ฯ            3,070.84    3,150.33     2,485.94     2,180.50    -11.18     2.59      -12.29
เครื่องปรับอากาศ                 3,189.10    3,274.32     2,759.37     1,871.03     39.41     2.67      -32.19
ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ       1,152.73    1,376.13     1,069.01       897.71     22.14    19.38      -16.02

เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ

การส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก พบว่าตลาดสาธารณรัฐเช็ก (2) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบของไทยมีมูลค่าการส่งออก 235.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมีการส่งออกเพียง 10.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตราการขยายตัวสูงมากถึง 2,251.30 ทั้งนี้ การส่งออกใน 50 ประเทศแรก มีตลาดส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวสูงเกินร้อยละ 100 อาทิ สาธารณรัฐเช็ก(2) อาร์เจนติน่า (20) อิตาลี(34) อียิปต์(38) และลิเบีย (40) มีอัตราการขยายตัว 2,251.30 187.21 470.56 607.83 และ 356.56 ตามลำดับ

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

การส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ ตลาดออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซียและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของไทยมีอัตราการขยายตัวลดลงทุกตลาด ทั้งนี้การส่งออกใน 50 รายการแรกมีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่า ร้อยละ 50 คือ จีน (22) รัสเซีย (29) ไนจีเรีย (33) และนอร์เวย์ (37) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.21 1,027.1 199.53 และ 74.87 ตามลำดับ

นอกจากการประกาศปรับลดภาษีสรรพสามิตแอร์ 0% ในช่วงก่อนหน้านี้ สิ่งที่คาดว่าจะเข้ามาช่วยกระตุ้นและสร้างความสดใส ให้กับตลาดมากขึ้น คือ อานิสงส์ของการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า ที่จะมีการลดภาษีนำเข้าแอร์ลง 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2553 นี้ ปัจจัยดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเอื้อต่อการนำเข้าและส่งออกสินค้าในกลุ่มอาฟต้าเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเข้ามาลงทุนผลิตและประกอบสินค้าในเขตการค้านี้เพิ่มขึ้น

การส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก พบว่ามีเพียงตลาดเวียดนาม(2) และฟิลิปปินส์(4) ที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.17 และ 3.38 ทั้งนี้ ตลาดส่งออกสินค้าตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบใน 50 ประเทศแรก มีตลาดส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวสูงเกินร้อยละ 50 อาทิ พม่า(22) มอร็อคโค (40) มีอัตราการขยายตัว 51.67 และ 119.13 ตามลำดับ

แม้ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นของไทยยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งธุรกิจร้านอาหาร นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจค้าปลีกทุกระดับ ทั้งมินิมาร์ท ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เกต และไฮเปอร์มาร์เกต ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ส่วนในต่างประเทศการส่งออกขยายตัวมากในตลาดหลัก ทั้งยุโรป และอเมริกาเพราะในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้บริโภคบริโภคอาหารแช่แข็งแทนอาหารนอกบ้าน

การส่งออกสินค้าอิเลคทรอนิคส์แยกตามประเภทสินค้า ปี 2552 (ม.ค.- ก.ย.)

การส่งออกสินค้าอิเลคทรอนิคส์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2552 (มค.-สค.) ของปีมีมูลค่าทั้งสิ้น 19,134.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 21.28

เป้าหมายการส่งออกอิเลคทรอนิคส์ในปี 2552 จะมีมูลค่าเท่ากับการส่งออกปี 2551 คือ 13,102 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.5 ของเป้าหมายการส่งออกรวมทั้งประเทศ

ความเคลื่อนไหวในตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่คึกคักที่สุดในปีนี้ เห็นจะได้แก่การแข่งขันกันของผู้ผลิต เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Readers ที่ได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเทศกาลคริสต์มาสของสหรัฐอเมริกาประจำปี 2552

ฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช บริษัทวิจัยตลาดและเทคโนโลยี คาดการณ์ว่า ในปีนี้ ยอดขายอี-รีดเดอร์ส ในสหรัฐฯ จะมากถึง 3 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว (2551) ประมาณ 3 เท่าตัว และในปี 2553 คาดว่ายอดขายจะพุ่งขึ้นถึงระดับ 6 ล้านเครื่อง สอดคล้องกับความคาดหมายของดิสเพลย์เสิร์ช บริษัทวิเคราะห์การตลาดที่ประมาณการว่าในปี 2561 หรือในอีก 9 ปีข้างหน้าจะมีผู้ใช้งานเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ถึง 77 ล้านเครื่องทั่วโลก

แรงผลักดันหลักที่ทำให้ อี-รีดเดอร์ส กลายมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยม ก็คือ เว็บไซต์ขายหนังสือและสินค้า อเมซอน ดอท คอม (Amazon.com) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและเป็นเจ้าของอี-รีดเดอร์สภายใต้ชื่อ คินเดิล (Kindle) ที่ออกวางจำหน่ายในสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกปลายปี 2550 จนถึงเวลานี้ คินเดิลเป็นผู้ครองแชมป์ตลาดอี-รีดเดอร์สในสหรัฐฯ อเมซอนขายคินเดิลทั้ง 3 รุ่นไปแล้วประมาณ 1.7 ล้านเครื่อง และเมื่อต้นเดือนตุลาคมศกนี้ อเมซอนออกมาประกาศว่า จะวางขายคินเดิลในประเทศต่างๆ อีกกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

หัวใจความสำเร็จของอเมซอนอยู่ที่บริการด้านการส่งข้อมูล (เนื้อหา) ที่สะดวกสบาย โดยอเมซอนได้จับมือกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ สปรินต์ (Sprint) ให้ผู้ใช้คินเดิลสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สู่คินเดิลได้โดยตรงโดยผ่านเครือข่ายไร้สาย ไม่จำเป็นต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์อีกต่อไป

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ

                                                         2551          2552             การเปลี่ยนแปลง (%)
       สินค้า                      2550         2551     ม.ค.-ก.ย.    ม.ค.-ก.ย.    2550      2551       2552

ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย. เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และ

  ส่วนประกอบ                   17,331.58    18,384.60   14,275.37   11,337.47     16.56     6.07      -20.58
แผงวงจรไฟฟ้า                    8,418.14     7,241.26    5,903.07    4,565.33     19.75   -13.98      -22.66
ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

การส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ ตลาดจีน สหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯของไทยมีอัตราการขยายตัวลดลงทุกตลาด ทั้งนี้การส่งออกใน 50 รายการแรก มีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่า ร้อยละ 100 คือ อิหร่าน(9) พม่า(31) ลาว(38) เดนมาร์ก(45) และ ปานามา(49) มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,707.6 110.35 100.11 216.10 และ 34,838.80 ตามลำดับ

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผลประกอบการปีงบประมาณ 2552 (สิ้นสุดเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา) บริษัทมีรายได้เติบโตเพิ่มจาก 21% เมื่อปีที่ผ่านมาเป็น 22% คิดเป็นอัตราขยายตัว 2 เท่าของตลาดซอฟต์แวร์ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 3 นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็น 1 ใน 5 ตลาดที่โตเร็วที่สุดของไมโครซอฟท์ ร่วมกับบังคลาเทศ อียิปต์ อาร์เจนติน่า และเวียดนาม ซึ่งเป็นผลจากการทำงานร่วมกับพันธมิตร โดยในไทยบริษัทยังคงเน้นการขายผ่านช่องทางพันธมิตรราว 98%

การส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ ตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน และ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าแผงวงจรไฟฟ้าของไทยมีอัตราการขยายตัวลดลงทุกตลาด ทั้งนี้การส่งออกใน 50 รายการแรก มีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่า ร้อยละ 100 คือ แคนาดา(14) แอฟริกาใต้(27) โรมาเนีย(30) นิวซีแลนด์(37) ตูนีเซีย(41) มาเก๊า(44) ไนจีเรีย(46) และสโลวัก (47) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 420.57 201.65 295.39 203.60 2,086.2 489.04 256.60 และ 124.90 ตามลำดับ

สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังกลุ่มแผงวงจรไฟฟ้าอาจขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 5-10 ตลาดที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ก่อน ได้แก่ จีน กลุ่มประเทศแถบเอเชีย และตะวันออกกลาง ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีกว่าในภูมิภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของการส่งออกโดยภาพรวมยังต้องอาศัยการฟื้นตัวของตลาดหลักในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นด้วย ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้อาจยังมีความไม่แน่นอนหากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อยๆ หมดลง ในขณะที่ปัญหาการว่างงานยังคงเป็นปัจจัยกดดันการใช้จ่ายของผู้บริโภค

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ