สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - จีน ปี 2552 (ม.ค.—ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 6, 2009 16:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง           :  Beijing
พื้นที่                :  9,561,000 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ         :  Putonghua, or Standard Chinese
ประชากร            :  1.31 พันล้านคน (end-2006)
อัตราแลกเปลี่ยน       :  CNY :  Baht  4.8597 (3/11/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                               9.0         6.0
Consumer price inflation (av; %)                  5.9        -0.2
Budget balance (% of GDP)                        -0.1        -3.6
Current-account balance (% of GDP)               10.2         6.1
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        5.6         5.4
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         6.95        6.84


โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยกับจีน
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  11,109.27         100.00        -14.02
สินค้าเกษตรกรรม                     1,769.37          15.93        -19.83
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               169.45           1.53         -7.78
สินค้าอุตสาหกรรม                     8,355.59          75.21         -6.90
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    814.86           7.33        -47.58
สินค้าอื่นๆ                                0.0            0.0       -100.00

โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยกับจีน
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              11,847.75         100.00         -25.25
สินค้าเชื้อเพลิง                                79.75           0.67         -64.70
สินค้าทุน                                  5,157.94          43.54         -14.43
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   3,779.64          31.90         -40.73
สินค้าบริโภค                               2,596.08          21.91         -12.86
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์                      182.84           1.54         -22.59
สินค้าอื่นๆ                                    51.50           0.43       1,150.57

ข้อสังเกต : (สำหรับสินค้าอื่น ๆ ในปี 2552 (มค.- กย.) มีมูลค่าการนำเข้า 51.5 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการนำเข้าเพียง 4.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มีอัตราการ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 1,150.57)

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - จีน
                           2551            2552          %

(ม.ค.—ก.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            28,770.16        22,957.02     -20.21
การส่งออก                12,920.74        11,109.27     -14.02
การนำเข้า                15,849.42        11,847.75     -25.25
ดุลการค้า                 -2,928.68          -738.48     -74.78

2. การนำเข้า
จีนเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 2 ของไทย มูลค่า 7,218.17 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 28.03
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                       11,847.75        100.00         -25.25
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ                2,001.95          16.90         -6.98
2.เครื่องจักรไฟฟ้าฯ                        1,564.65          13.21        -13.64
3.เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                     1,199.65          10.13        -17.64
4.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                 985.41           8.32        -19.80
5.เคมีภัณฑ์                                 821.62           6.93        -29.54
              อื่น ๆ                     1,349.26          11.39        -23.00

3. การส่งออก
จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 3 ของไทย มูลค่า 6,863.19 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 18.25
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม              11,109.27         100.00         -4.97
1.เครื่องคอมพิวเตอร์              3,073.67          27.67        -18.85
2.ยางพารา                       958.47           8.63        -40.52
3..เคมีภัณฑ์                       927.10           8.35         50.77
4.เม็ดพลาสติก                     799.81           7.20        -11.53
5.แผงวงจรไฟฟ้า                   550.29           4.95        -12.92
          อื่น ๆ                1,284.44          11.56        -12.46

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีน ปี 2552 ไตรมาสที่ 3 (มค.- กย.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- กย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 0.79 59.89 และ 21.91 ตามลำดับ ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 3 อัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 18.85 ซึ่งน้อยกว่าไตรมาสที่ 2 ซึ่งมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 23.16

ยางพารา : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- กย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 66.11 17.51 และ 21.74 ตามลำดับ ในขณะที่ ปี 2552 (มค.- กย.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 40.52 เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- กย.) พบว่า ปี 2551 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 36.83 ในขณะที่ปี 2549 2550 มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 126.08 9.49 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 3 มีอัตราขยายตัวร้อยละ 50.77 มากกว่าในไตรมาสที่ 2 ซึ่งมีอัตราขยายตัวเพียงร้อยละ 38.58

เม็ดพลาสติก : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- กย.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 18.95 9.33 และ 8.08 ตามลำดับ ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 3 มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 11.53 ซึ่งน้อยกว่าไตรมาสที่ 2 ที่มี อัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 17.21

แผงวงจรไฟฟ้า : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย รองจาก ญี่ปุ่นและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- กย.)พบว่า ปี 2551 และ 2552 (มค.- กย.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 10.26 และ 12.92ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.64 และ 33.11 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีนปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตรา

เพิ่มสูง มีรวม 12 รายการ คือ

     อันดับที่ / รายการ                          2551      2552    อัตราการขยายตัว    หมายเหตุ
                                                (ม.ค.- กย.)          %

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

3.เคมีภัณฑ์                                   614.90    927.10        50.77
7.ผลิตภัณฑ์ยาง                                403.96    532.00        31.70
8.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                          269.29    462.50        71.75
9.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                            222.46    274.16        23.24
10.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ             207.24    231.52        11.72
12.ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                 121.28    161.50        33.16
14.มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า                 142.54    143.30         0.53
17.เครื่องโทรศัพท์/ตอบรับ                        36.67     86.63       136.24
19.เครื่องตัดต่อและป้องกัน                        77.41     80.98         4.61
21.ทองแดงและของทำด้วยทองแดง                  76.42     80.07         4.78
22.เลนซ์                                     64.80     73.14        12.87
23.เครื่องคอมฯของเครื่องทำความเย็น               61.77     69.95        13.25

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีนปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) 25 รายการแรก  สินค้าที่มีอัตรา
ลดลง รวม 13 รายการ คือ
          อันดับที่ / รายการ                 มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                     ล้านเหรียญสหรัฐ             %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์                3,073.67             -18.85
2.ยางพารา                               958.47             -40.52
4.เม็ดพลาสติก                             799.81             -11.53
5.แผงวงจรไฟฟ้า                           550.29             -12.92
7.น้ำมันสำเร็จรูป                           517.67             -43.79
11.น้ำมันดิบ                               171.95             -68.06
13.วงจรพิมพ์                              155.90              -1.19
15.ข้าว                                   96.12              -0.29
16.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                 91.97             -23.97
18.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                85.86             -17.71
20.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                          80.80             -16.13
24.เครื่องทำสำเนา                          64.26             -47.57
25.เครื่องพักกระแสไฟฟ้า                      55.22             -10.62


4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

แม้วิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรปอย่างรุนแรง เห็นได้จากผลประกอบการภาคธุรกิจและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ติดลบ การว่างงานในสหรัฐล่าสุดเดือนก.ย.สูงขึ้นอยู่ที่ 9.8% แต่ทว่าประเทศจีนสามารถฝ่าวิกฤตปัญหา และนำพาเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจเกิน 8% เพราะเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน โดยเฉพาะการอุปโภคบริโภคในประเทศไม่ได้ติดลบตามไปด้วย โดยตลาดจีนยังขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงใกล้เคียงกับระดับเดิม จากนี้ไปโลกจะได้เห็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีจีนก้าวขึ้นมาเป็นตัวละครสำคัญอย่างมีวิวัฒนาการที่เห็นได้ชัด มีบทบาทอย่างมีนัยสำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกสูง สร้างความสมดุลใหม่ในลักษณะความร่วมมือประชาคมในภูมิภาคอาเซียนกับจีน ขณะที่การค้าระหว่างไทย-จีนมีการโตแบบก้าวกระโดดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดในปี 2008 จีนมีมูลค่าการส่งออกมาไทย 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปจีน 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวทางการค้าที่เพิ่มขึ้น 16.98% เฉลี่ย 3 ปี ขยายตัว 80% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่มีประเทศคู่ค้าประเทศไหนทำได้สูงเท่านี้

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายเฉิน เตอ หมิง (H.E. Mr. Chen De Ming) รัฐมนตรีพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิคและการตรวจสอบและรับรองระหว่างอาเซียนและจีน ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2552 ณ จังหวัดเพชรบุรี การเสริมสร้างความร่วมมือดังกล่าวกับจีน จะทำให้ไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์ในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานกฏระเบียบทางเทคนิค และพัฒนาทักษะและความ สามารถของบุคคลากรที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าของไทย เพื่อปรับกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานและการตรวจสอบตามที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้สินค้าไทยสามารถเข้าสู่ตลาดจีนได้ราบรื่นยิ่งขึ้น

วันที่ 12 ธันวาคม นี้ นครคุนหมิงจะเปิดศูนย์กระจายสินค้าส่ง-ปลีกแห่งใหม่ชื่อ "หลัว ซือ วัน" เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการชาวจีน และชาวต่างชาติเข้ามาเช่าพื้นที่ทำการค้า โดยมีพื้นที่ให้ผู้ประกอบการไทย 20,000 ตารางเมตร(ตร.ม.) และมอบสิทธิพิเศษให้ด้วย โดยให้เช่าพื้นที่ฟรีใน 1 ปีแรก ส่วนปีต่อไปเสียค่าเช่าเพียงเดือนละ 150 บาทต่อ ตร.ม. โดยศูนย์กระจายสินค้าดังกล่าวจะเป็นประตูกระจายสินค้าไทยเข้าไปสู่ตลาดจีน และประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนได้อีกด้วย ศูนย์กระจายสินค้าดังกล่าวถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย ในการเข้ามาเจาะตลาดแถบพื้นที่ตะวันตกของจีน โดยจีนเตรียมสร้างรถไฟฟ้าผ่านโครงการดังกล่าว คาดว่าจะเสร็จภายใน 1-2 ปี ซึ่งจะช่วยให้พื้นที่ย่านนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในหลายส่วนยังมองภาพไม่ชัดเจน ซึ่งประธานหอการค้าแต่ละภาคต้องนำโครงการดังกล่าวไปเสนอกับสมาชิก เพื่อสอบถามความสนใจในการเข้ามาร่วมเช่าพื้นที่ โดยต้องคัดสินค้าที่เหมาะสมกับแต่ละมณฑลมาจำหน่าย เพื่อให้เจาะตลาดได้มากขึ้น

บริษัทแพรนด้า จิวเวลรี่ได้เริ่มเข้ามาตั้งโรงงานในจีนเมื่อปี 2547 ในรูปแบบของทุนต่างชาติ 100% ซึ่งในระยะแรก เน้นการใช้จีนเป็นฐานผลิตเพื่อการส่งออก แต่ต่อมาประมาณปี 2550 ได้ตัดสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์เป็น "ผลิตในจีน ขายในจีน" (Made in China, Sold in China) เพราะตระหนักถึงศักยภาพ และกำลังซื้อที่มหาศาลของตลาดจีน บริษัทจึงเริ่มหันมาพัฒนาสร้างตราสินค้าของตัวเองในจีน และจนถึงวันนี้ มีเคาน์เตอร์จำหน่ายปลีก 8 แห่ง และมีร้านแฟรนไชส์อีก 2 แห่ง โดยเน้นในกลุ่มสินค้าเครื่องประดับเงิน และวางตำแหน่งในตลาดระดับกลาง-บน ภายใต้ตราสินค้า ESSE เน้นจุดแข็งในเรื่องคุณภาพโดยการฝังพลอยด้วยมือ ซึ่งใช้ฝีมือในการเชื่อมทุกจุด ในขณะที่สินค้าคู่แข่งในจีนส่วนใหญ่เป็นงานติดกาว ถ้าลงไปเล่นตลาดล่าง ก็คงจะสู้คู่แข่งจีนได้ยาก ขณะที่ต้นทุนของแพรนด้าสูงกว่า อาทิเช่น เราจ่ายค่าแรงแพงกว่า เพราะต้องทำตามกฎหมายจีนทุกประการ จึงต้องเน้นสร้างความโดดเด่นในเรื่องคุณภาพการผลิตและการออกแบบ ด้วยประสบการณ์ร่วม 5 ปี ทำให้แพรนด้ามีความเข้าใจในตลาดจีนมากขึ้น ทั้งในเรื่องของรูปแบบ และราคา และเน้นการออกแบบที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งการออกแบบถือเป็นหัวใจของงาน บริษัทจะใช้วิธีการออกแบบจากประเทศไทย เพราะยังไม่มั่นใจในเรื่องความซื่อสัตย์ หากทำการออกแบบในจีน อาจมีการลอกเลียนแบบ แต่แม้ว่าจะออกแบบที่เมืองไทย ก็ต้องเน้นรูปแบบดีไซน์ที่สนองตลาดจีนเนื่องจากตลาดอัญมณีในจีนมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาทำให้บริษัทต้องปรับตัวตามเทรนด์ของตลาดตลอดเวลาเช่นกัน ในแง่ของการตัดสินใจซื้ออัญมณี/เครื่องประดับแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ อาทิเช่น ทองและเพชร จะซื้อกันมากในช่วงเทศกาลสำคัญ อาทิเช่น วันตรุษจีน วันเกิด วันแต่งงาน หรือวันครบรอบต่างๆ ในขณะที่อัญมณีจากเงินหรือพลอยสี เป็นการซื้อหาตามความชอบเช่นเดียวกับการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่น ถ้าชอบรูปแบบ ชอบดีไซน์ สาวจีนรุ่นใหม่ก็จะตัดสินใจซื้อได้โดยง่าย นอกจากนี้ ผู้บริโภคในมณฑลต่างๆ ของจีนก็มีรสนิยมความชอบที่แตกต่างกันไป อาทิ เช่น คนจีนที่มีฐานะดีในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งรับอิทธิพลจากฝรั่งและเป็นเมืองที่เป็นแฟชั่นมากที่สุดของจีน ชอบสินค้าหรูมีราคาและเปลี่ยนแปลงตามแฟชั่น ที่สำคัญ คือ มีการแข่งขันสูงมาก การทำตลาดอัญมณีในเซี่ยงไฮ้ ถ้าสินค้าไม่ได้มีความเป็นพิเศษหรือนำแฟชั่น จะขายได้ลำบาก ลูกค้าพร้อมที่จะเปลี่ยนความนิยมตลอดเวลา

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ