อิหร่านเป็นประเทศที่มีสภาพตลาดเฉพาะตัวที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ กล่าวคือ ประการแรก อิหร่านเป็นประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม (Islamic Republic) ส่งผลให้วิธีการทำธุรกิจ การทำการตลาด ตลอดจนวัฒนธรรมการบริโภคของประชาชนชาวอิหร่านต้องเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด ประการที่สอง อิหร่านไม่ได้เป็นประเทศสมาชิก WTO ประกอบกับมีนโยบายส่งเสริมและปกป้องอุตสาหกรรมและการค้าขายภายในประเทศ ทำให้อิหร่านมีกฎระเบียบการค้าต่างๆ ที่แตกต่างจากสากล และมีมาตรการกีดกันทางภาษีและมิใช่ภาษีมากมาย และประการสุดท้าย ประเทศอิหร่านถูกการคว่ำบาตรทางการเงินจากสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้การดำเนินธุรกรรมการเงินระหว่างไทยและอิหร่านไม่สามารถกระทำได้ ผู้นำเข้าอิหร่านจึงจำเป็นต้องชำระค่าสินค้าและบริการแก่ผู้ส่งออกไทยผ่านประเทศที่สาม แทนการชำระเงินโดยตรงจากธนาคารของอิหร่านไปยังธนาคารในประเทศไทย
อุปสรรคทางการค้าของอิหร่านมักทำให้ผู้ส่งออกไทยมองข้ามตลาดอิหร่านไป หรือเมื่อต้องเผชิญอุปสรรคต่างๆ ก็มักจะถอดใจเสียตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งๆ ที่อิหร่านเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง คู่แข่งน้อย ประชาชนมีความต้องการบริโภคสินค้าและมีกำลังซื้อ หากผู้ส่งออกไทยสามารถบุกตลาดอิหร่านได้ก่อน ก็จะสามารถยึดหัวหาดและครองส่วนแบ่งการตลาดได้ก่อนประเทศคู่แข่งอื่นๆ
เคล็ดลับทางการค้าที่สำคัญในการส่งออกไปอิหร่านคือ ผู้ส่งออกไทยจะต้องมีความเข้าอกเข้าใจผู้นำเข้าอิหร่าน และมีความรู้เรื่องขั้นตอนการนำเข้าสินค้าของอิหร่าน เพื่อที่จะสามารถเจรจาและสนับสนุนให้ผู้นำเข้าอิหร่านฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ในการนำเข้าสินค้าของตน และประสบความสำเร็จในการครองตลาดในอิหร่านได้
สำหรับสินค้าอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องสำอาง เป็นกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพทางการตลาดสูงในอิหร่าน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสินค้าไทยจะผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยาของไทยมาแล้วก็ตาม แต่เมื่อจะนำเข้าสู่ตลาดอิหร่าน ก็จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานต่างๆ ของอิหร่านอีกครั้ง ซึ่งกฎระเบียบและขั้นตอนต่างๆ ค่อนข้างวับซ้อน และบางครั้ง มีการเปลี่ยนแปลงหรือกฎบางข้อมีความคลุมเครือ ทำให้การนำเข้าสินค้าแต่ละชนิด ใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร
เอกสารฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ส่งออกไทยทราบขั้นตอนการนำเข้าสินค้าอาหาร เครื่องสำอาง และยา ของอิหร่าน โดยย่อและเข้าใจง่าย อย่างไรก็ดี เมื่อจะส่งออกจริง ควรศึกษากฎระเบียบการค้าและการนำเข้าสินค้าอาหาร เครื่องสำอางและยาของอิหร่านอีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลทันสมัยและชัดเจนที่สุด ขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อนำเข้าสินค้าอาหาร เครื่องสำอางและยา มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 จดทะเบียนรับรองการเป็นตัวแทนหรือผู้แทนจากผู้ส่งออกอย่างเป็นทางการ ในอิหร่าน
ขั้นที่ 2 ขอใบอนุญาตโรงงาน
ขั้นที่ 3 ขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้า
ขั้นที่ 4 นำเข้าสินค้าและดำเนินการด้านพิธีการตรวจปล่อยสินค้าเข้าอิหร่าน
ขั้นที่ 1 จดทะเบียนรับรองการเป็นตัวแทนหรือผู้แทนจากผู้ส่งออกอย่างเป็นทางการ ในอิหร่าน
กฎระเบียบการค้าและการนำเข้าสินค้าอาหาร เครื่องสำอางและยาของอิหร่านกำหนดให้ผู้นำเข้าจะต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศอิหร่านเท่านั้น และสินค้าที่นำเข้ามายังอิหร่านทุกชนิดจะต้องขอใบอนุญาตการนำเข้า โดยบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในอิหร่านจะเป็นผู้ดำเนินการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit) จากกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่าน
นอกจากนี้ ผู้นำเข้าอิหร่านจะต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทน Agent ในยี่ห้อสินค้ารุ่น หรือแบบสินค้าของโรงงานโดยผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตออกใบรับรองการเป็นตัวแทนหรือผู้แทนจากผู้ส่งออกอย่างเป็นทางการให้ผู้นำเข้าอิหร่าน และผู้นำเข้ามีหน้าที่ยื่นลงทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์อิหร่าน ทั้งต้นฉบับและสำเนาอย่างละ 1 ฉบับ พร้อมด้วยสำเนาใบอนุญาตการเป็นผู้นำเข้าของบริษัทอิหร่านออกโดยกระทรวงพาณิชย์อิหร่าน (ในกรณีนี้อาจหมายถึงการเป็นตัวแทนแต่ผู้เดียว Exclusive Agent ในยี่ห้อ หรือรุ่นหรือแบบสินค้าของผู้ส่งออกก็ได้แต่ตามกฎหมายไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็น Exclusive Agent หรือ Exclusive Importer ของผู้ส่งออกหรือโรงงานผู้ผลิตแต่อย่างใด)
ผู้นำเข้าจะยื่นเอกสารใบรับรองฯ และอื่นๆ แก่ กระทรวงพาณิชย์อิหร่านพิจารณา ซึ่งหากเอกสารครบถ้วนจะใช้เวลาประมาณ 3-4 วันในการออกหนังสือนำส่งโรงงานไทย ให้ผู้นำเข้านำไปยื่นต่อกระทรวงสาธารณสุขและแพทย์ศาสตร์ เพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตโรงงานไทยต่อไป หนังสือนำจากกระทรวงพาณิชย์ แสดงดังรูปที่ 1 หลักฐานที่ผู้นำเข้าอิหร่านต้องการจากผู้ส่งออกไทย ได้แก่
1. ใบรับรองการเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการอย่างน้อยหนึ่งปี จากโรงงานหรือบริษัทแม่ในไทย
2. ใบรับรองฯ จะต้องประทับตราจากสภาหอการค้าไทยและ สถานเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายขึ้นกับชนิดเอกสารและระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ
3. เอกสารอื่นๆ เช่น รายการสินค้า เอกสารประกอบกิจการโรงงาน เป็นต้น
ข้อสังเกต: ผู้นำเข้าจำเป็นต้องให้ผู้ส่งออกออกใบรับรองการเป็นตัวแทน ล่วงหน้า ก่อนมีการสั่งสินค้าจริง เนื่องจากผู้นำเข้ายังไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากทางการอิหร่านก่อน
เมื่อทางการอิหร่านออกหนังสือนำให้ผู้นำเข้าแล้ว ผู้นำเข้าจะนำหนังสือดังกล่าว ไปยื่นต่อกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่าน เพื่อขอใบอนุญาตให้แก่โรงงานไทยที่ผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดอิหร่าน โดยมีขั้นตอนและเอกสารดังต่อไปนี้
1. ยื่นหนังสือนำส่งตรวจโรงงานไทยตามที่ได้รับจากกระทรวงพาณิชย์อิหร่าน ตามขั้นตอนที่ 1
2. ชำระค่าขอตรวจโรงงาน 5,400 เหรียญสหรัฐฯ
3. ยื่นเอกสารประกอบการขอตรวจโรงงานต่อกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่านดังนี้
- เอกสารรับรอง GMP โดยใบรับรองสาธารณสุข ตามกฎระเบียบข้อที่ 16 ของกฎหมายสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และสินค้าสุขภาพของอิหร่าน Law of Foodstuff, Beverage, Cosmetics & Hygienic Products กำหนดว่าจะต้องมีเอกสารใบรับรองต้นฉบับจากกระทรวงสาธารณสุขของประเทศผู้ผลิต และรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตอิหร่านในประเทศที่ตั้งของผู้ผลิต
- ข้อมูล Product Master File และ Plant Master File ซึ่งเป็นข้อมูลรับรองการเป็นผู้ผลิตสินค้าจริง พร้อมทั้งบันทึกขั้นตอนการผลิตของโรงงานในแผ่น VCD หรือ DVD โดย Product Master File และ Plant Master File มีรายละเอียดแสดงดังตาราง 1
- รายการสินค้าที่ต้องการนำเข้าหรืออาจนำเข้า พร้อมตัวอย่างสินค้าของแต่ละชนิด
- เสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีจากมหาวิทยาลัย ที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการคุณภาพของผู้นำเข้า
รายละเอียด Plant Master File ประกอบด้วย
1. Name and address of the site
2. Type of products manufactured
3. Manpower details
4. Personnel
- Organization chart
- Personnel qualifications, experience, and responsibilities of key quality personnel
- Training program
- Health requirements for personnel engaged in production
- Personnel hygiene requirements
5. Building and facilities
- Administration
- Description of manufacturing areas
- Material storage and warehousing
- Utilities
- Laboratories
- Water system
- Description of ventilation system
- Cleaning and sanitation
- General site maintenance
6. Equipments
- Production areas
- Quality controls laboratories
- R& D areas
- Maintenance
- Qualification validation and calibration
- Cleaning and sanitation
7. Documentation
- Preparation, revision, and distribution of documents
8. Production
- Description of the production operation
- Handling of starting materials, packaging materials, finished products, quarantine, release and storage, in-process sampling procedures and controls.
- Final product sampling procedure and controls.
- Reprocessing
- Description of general policy for process validation
- Packaging
- Labeling
9. Quality control
- Description of the quality control system
- Product problem report and response
10. Distribution, complaints and product recall
- Distribution procedure
- Handling of complaints and product recall
11. Description of quality management system
12. Contract production and analysis
- Assessment of GMP compliance of the contract manufacturer
13. Self inspection
- Description of self inspection system
14. Approvals and certificates
1. Description of manufacturing process and it’s flow chart
2. Specification and standard analytical methods used for acceptance and release of
- Raw materials
- In process control
- Final product
3. Packaging material
4. labeling
5. Stability
- General test methodology
- Selection of batches and sample size
- Specification and test procedure
- Storage/test conditions
- Testing frequency
4. คณะกรรมการตรวจสอบฯ จะพิจารณาเอกสารและตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด โดยหากไม่มีข้อสงสัย คณะกรรมการฯ จะอนุมัติออกใบอนุญาตโรงงานแก่ผู้นำเข้า (ในกรณีนี้ เมื่อผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้าเดิมจากผู้ส่งออกหรือโรงงานเดิมที่ผ่านการอนุญาตแล้ว ก็สามารถกล่าวอ้างเลขที่ของใบอนุญาตได้ ซึ่งจะเป็นการดำเนินการเพียงครั้งเดียวเท่านั้น)
5. แต่หากคณะกรรมการฯ มีประเด็นความแคลงใจว่าข้อมูลที่ยื่นมิใช่เป็นโรงงานผู้ผลิตตามที่กล่าวอ้าง คณะกรรมการฯ อาจจะลงคะแนนเสียงให้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้ายการวิเคราะห์ทางเคมีเดินทางไปสำรวจโรงงานในประเทศผู้ผลิตฯ เพื่อตรวจสอบและยืนยันการผลิตตามมาตรฐาน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ผู้นำเข้าทำจดหมายเสนอชื่อเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญอิหร่านเพื่อเดินทางไปตรวจสอบโรงงานในประเทศไทย โดยกระบวนการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญอิหร่านและขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4 เดือน
- ระยะเวลาการตรวจโรงงาน ประกอบด้วยการเดินทางไปกลับ 1 วัน ตรวจโรงงาน 2 วันต่อหนึ่งโรงงาน
- ค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคน ซึ่งค่าใช่จ่ายที่เกิดขึ้นจากการนำเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ตรวจโรงงานในไทยจะเป็นความรับผิดชอบของผู้ยื่นขอหรือโรงงานไทย
- คำถามของเจ้าหน้าที่ฯ ตรวจโรงงาน มักจะถามในการตรวจโรงงานไทยแสดงดังตาราง 2
- ทั้งนี้ กระบวนการผลิดและห้องปฎิบัติทางเคมี (Laboratory) ทั้งหมด ควรอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่หากแยกจากกัน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนการเดินทาง
1. To which countries are your products being exported (please mention the name of the countries based on your export documents.)
2. From which companies and countries do you purchase the raw materials?
3. Does your company have P.M.S. system (Post market Surveillance)?
4. The factory map
5. Is there are any Machinery Condition Card on the machineries and instruments being used in the manufacturing section? (i.e. any kind of card or explanation on the machineries to show if they are in good condition and working properly or not)
6. Is the factory applying SOP (standard operating procedure) in using the machineries?
7. Is the factory applying the S-SOB (Sanitary standard operating procedure) in order to disinfect the production section and equipments?
8. Does your factory have any special schedule to caliber the equipments and instruments periodically?
9. Are the instruments and equipments in the lab being caliber on time and based on a special schedule?
10. How often do you caliber the packaging equipments like the scale, etc?
11. Do you apply any chemical or physical analysis-test on the production series?
12. Do you apply all the required tests and analysis on the raw materials?
13. Do you apply any bacterial test on the production series?
14. Is there any executive method available for working in the lab as well as the being used in the lab and do they endorse?
15. Do you have or keep any documentary method for the lab sampling being approved or rejected?
16. Do you have Batch Record for each raw material, mediocre and the final production? (Batch Record: the production series documentation in which all the procedures from the Lab Weighing, production and after production as well as special cases in the production are being recorded and kept in each batch)
17. Do you have the following information available on the analysis documents?
- Date of production
- Date of expiry
- Production series number
- Reference name
- Date of analysis
- Lab manager signature
- Approval stamp
18. A copy of the organizational chart
19. Do you have regular training programs for the personnel?
20. Do MOH or NGO inspectors visit your company? (NOG: None Governmental Organization — MOH: Ministry of Health)
21. The analysis of the consumable water
22. How often does your personnel and workers do the medical check up
6. เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเดินทางกลับจากการตรวจโรงงานในไทยแล้ว ก็จะนำเสนอผลการตรวจโรงงานเสนอแก่คณะกรรมการฯ เพื่อลงคะแนนเสียงว่าโรงงานผ่านการตรวจหรือไม่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือนหลังจากเดินทางกลับจากไทย และการลงคะแนนเสียงผ่าน จึงจะออกใบอนุญาตโรงงาน เพื่อให้ผู้นำเข้าไปดำเนินการขั้นขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าต่อไป
ภายหลังจากโรงงานไทยผ่านการตรวจสอบแล้ว ผู้นำเข้าจะต้องขออนุญาตตรวจสอบสินค้าที่ต้องการนำเข้าจากโรงงานนั้นๆ ไปยื่นต่อกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่านตรวจสอบ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (รายละเอียดแสดงดังแผนภูมิ 2)
1. ยื่นหนังสือนำส่งตรวจโรงงานไทยตามที่ได้รับจากกระทรวงพาณิชย์อิหร่าน ตามขั้นตอนที่ 1
2. ยื่นหนังสือใบอนุญาตโรงงาน ตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่าน ตามขั้นตอนที่ 2
3. ยื่นเอกสารประกอบการขอตรวจโรงงานต่อกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่านดังต่อไปนี้
- ใบอนุญาตการขายสินค้า Certificate of Free Sale ในประเทศผู้ผลิต (ในกรณีนี้ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขไทย) เป็นต้นฉบับ และในประเทศอื่นซึ่งมีรายละเอียดคุณสมบัติและเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกัน โดยการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตอิหร่านในประเทศที่ผู้ผลิตตั้งอยู่ และกระทรวงการต่างประเทศไทย ซึ่งค่าใช้จ่ายขึ้นกับแต่ละหน่วยงานกำหนด ตัวอย่างเอกสาร Certificate of Free Sale
- ใบรับรองการวิเคราะห์รายละเอียดของสินค้าที่จะนำเข้าแต่ละชนิด หรือ Certificate of Free Sale โดยเอกสารต้องออกเป็นหัวจดหมายผู้ส่งออกหรือ Company Letterhead และลงนามพร้อมประทับตราของบุคคลผู้มีอำนาจของบริษัทผู้ผลิต การวิเคราะห์จะต้องรวมถึงการตรวจสอบทางด้านจุลชีวภาพ microbiology ทางเคมี chemical คุณสมบัติทางกายภาพ physical characteristic ส่วนผสมและอัตราส่วนของสินค้า ingredients and percentage สินค้าส่งออกจะต้องระบุเลขที่การผลิต manufacturing serial number ระบุวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุของสินค้า manufacturing and expiration dates ตัวอย่างเอกสาร Certificate of Free Sale แสดงดังรูปที่ 3
- ใบ Farsi-written Plan ผู้นำเข้าจะต้องลงทะเบียนใบรายละเอียดสินค้าที่จะนำเข้าเป็นภาษาท้องถิ่น โดยระบุรายละเอียดเป็นภาษาท้องถิ่น (ฟาร์ซี) ที่เรียกว่า Farsi-written Plan ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
- ชื่อสินค้า (Product Name)
- ชื่อผู้ผลิต (Manufacturer Name)
- แหล่งผลิต (ประเทศ) (Manufacturing Country)
- วันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ และเลขที่สินค้า (Manufacturing and Expiration Dates, Manufacturing Serial Number)
- วิธีการใช้สินค้า (ถ้ามี) (Instruction to Use)
- ข้อระวัง (ถ้ามี) (Probable Risk)
- เลขที่ใบอนุญาตส่งออกจากกระทรวงสาธารณสุขฯ (Import Permission Number issued by Ministry of Heath)
- หากสินค้าได้ระบุวันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ และเลขที่สินค้าบนหีบห่อไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องระบุเป็นภาษาฟาร์ซีอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ ต้องมีประโยคเป็นภาษาฟาร์ซีเพิ่มเติมว่า “วันเดือนปีที่ผลิต และหมดอายุ และเลขที่สินค้าได้พิมพ์อยู่บนหีบห่อของสินค้าแล้ว” ทั้งนี่เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคท้องถิ่น และในกรณีที่สินค้าไม่สามารถจัดพิมพ์บนสินค้าเพราะไม่มีพื้นที่หรือพื้นนี่ขนาดเล็กเกินไป เช่น สินค้าลิปสติ๊ก มาสคารา ปากกา เป็นต้น ข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องถูกระบุอยู่บนหีบห่อในหน่วยเล็กที่สุดที่บรรจุสินค้า
- ผู้นำเข้าทำหนังสือรับรองความรับผิดชอบทั้งหมดในการนำเข้าสินค้า
4. ชำระค่าใช้จ่าย 900 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกลุ่มชนิดสินค้า
5. คณะกรรมการฯ ใช้เวลาอีกประมาณ 30-45 วัน หากผ่าน จะออกใบอนุญาตนำเข้าสินค้า เพื่อดำเนินด้านพิธีการศุลกากรกับศุลกากรอิหร่านได้
ผู้นำเข้าจะนำใบอนุญาตนำเข้าสินค้าไปยื่นต่อศุลกากรอิหร่านเพื่อตรวจปล่อยสินค้าจากท่าเรือ หรือสนามบิน โดยกระทรวงสาธารณสุขฯ อิหร่านจะกักสินค้าไว้ในโกดังสินค้านำเข้า และไม่อนุญาตให้จำหน่ายจนกว่าสินค้าที่นำเข้าจริงจะผ่านการตรวจสอบอีกครั้ง โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฯ จะสุ่มตรวจสินค้าไปตรวจในห้องปฏิบัติการทางเคมี วิเคราะห์ส่วนผสม เปรียบเทียบกับผลที่แจ้งตามขั้นที่ 3 ซึ่งใช้เวลาอีกประมาณ 2 เดือน หากผ่าน ก็จะออกหมายเลขอนุญาต และให้ผู้นำเข้านำสินค้าสินค้าไปจำหน่ายได้
ทั้งนี้ ผู้นำเข้าอิหร่านต้องการหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แต่ไม่จำเป็นต้องประทับตรารับรองจาก สถานทูตอิหร่านประจำประเทศไทย
การเจาะตลาดอิหร่านได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างโรงงานผลิตในไทย ผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าอิหร่านมากกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 9-12 เดือน และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 9,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งโรงงานและหนึ่งชนิดสินค้า ซึ่งหากผู้นำเข้าสามารถฝันฝ่านำสินค้าไทยผ่านการตรวจสอบของอิหร่าน และสามารถวางจำหน่ายในตลาดอิหร่านได้อย่างถูกกฎหมาย ก็จะสร้างโอกาสขนายตลาดอิหร่าน เนื่องจากตลาดอิหร่านมีคู่แข่งน้อยและมีความต้องการสินค้าสูง
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน
ที่มา: http://www.depthai.go.th