อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) ของสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 16, 2009 15:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

I. ภาพรวมอุตสาหกรรม

1. ความหมายของ Creative industries : ตามนิยามของกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬา (Department for Culture

Media and Sport) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักของสหราชอาณาจักรในการผลักดัน UK Creative

Economy programme นั้น Creative industriesหมายถึง อุตสาหกรรมที่เป็นผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และความ

สามารถพิเศษ ของบุคคล ซึ่งสามารถใช้หาประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่งคั่งและสร้างงาน ผ่านการสั่งสมและการใช้

ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญา (Those industries that have their origin in individual creativity, skill

and talent and which have a potential for wealth and job creation through the generation and

exploitation of intellectual property)

สหราชอาณาจักรจัดกลุ่ม Creative industries ออกเป็น 13 กลุ่มด้วยกัน ครอบคลุมสาขาธุรกิจดังต่อไปนี้

-Advertising

-Architecture

-Crafts and designer furniture

-Fashion clothing

-Film, video and other audiovisual production

-Graphic design

-Educational and leisure software

-Live and recorded music

-Performing arts and entertainments

-Television, radio and internet broadcasting

-Visual arts and antiques

-Writing and publishing

2. ความสำคัญของ creative industries ต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร

ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรมี creative sector ที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีจุดแข็งอื่นๆ ได้แก่ การมี ชื่อเสียงระดับโลกด้านความสร้างสรรค์และนวัตกรรม ความเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของกรุงลอนดอน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล ที่มีการใช้อย่างกว้างขวาง และจุดแข็งด้านการศึกษา ทำให้สหราชอาณาจักรมี strong position เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลก Department for Culture, Media and Sport ของสหราชอาณาจักรได้ทำการประเมินความสำคัญของ creative industries ในภาพรวมต่อระบบเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ตัวเลขล่าสุด ณ เดือนตุลาคม 2007 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

  • creative industries มีส่วนช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่มรวม (Gross Value added —GVA)
ต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร สูงถึง 57.3 พันล้านปอนด์ คิดเป็นร้อยละ 6.4 ของ GVA ของสหราชอาณาจักร ในปี 2006 และมีการ
จ้างงานเกือบ 2 ล้านคน
  • Creative Industries มีการขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปีระหว่างปี 1997 — 2006 เทียบกับการขยายตัว

ทางเศรษฐกิจโดยรวมในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ตาราง Gross Value Added (GVA) at current prices of the creative industries, UK ในปี 2006 (ไม่รวม crafts และ design) และ % of UK GVA

หน่วย : ล้านปอนด์

advertising    architecture    art & antiques      designer     video, film,     Music and visual     publishing    Software computer games &   Radio & TV      Total
                                                   fashion       photography     performing arts                     electronic publishing
   5300          4,700             490               450            3,800             3,400              9,500               24,500                5,100       57,300
  0.60%          0.50%            0.05%             0.05%           0.40%             0.40%              1.10%                2.70%                0.60%        6.40%
Source : Annual Business Inquiry, Office for National Statistics
  • อุตสาหกรรม Software computer games & electronic publishing มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมี GVA อยู่ที่ 24.5
พันล้านปอนด์ คิดเป็นร้อยละ 2.7 ของ UK GVA นอกจากนี้ ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุดในช่วงปี 1997-2006
ที่ร้อยละ 8 ต่อปี ในอันดับต่อมา คือ publishing
  • Creative industries ของสหราชอาณาจักรเป็นอุตสาหกรรมที่มีการกระจุกตัวสูง โดยมีสถานประกอบการประมาณ
157,400 แห่งในปี 2008 และประมาณ 2 ใน 3 ของสถานประกอบการอยู่ในกลุ่ม software, computer games and electronic
publishing และกลุ่ม music and visual & performing arts
  • บริษัทข้ามชาติมีบทบาทสำคัญใน creative industries ของสหราชอาณาจักรจำนวนสถานประกอบการที่ต่างชาติเป็น
เจ้าของมี 1,500 ราย โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68) อยู่ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เกมส์และซอฟท์แวร์ และร้อยละ 11 ในอุตสาหกรรม
โฆษณา บริษัทข้ามชาติมีการจ้างงานกว่า 140,000 คน มี turnover 28 พันล้านปอนด์ คิดเป็นร้อยละ 28 ของ turnover ของ
creative industries โดยรวม
  • การส่งออกบริการภาค creative industries มีมูลค่ารวม 16 พันล้านปอนด์ในปี 2006 โดยประมาณร้อยละ 30.6

ของ total creative industries exports มาจากสาขา software, computer games และ electronic publishing

ตาราง Exports of services for the creative industries, UK ในปี 2006 (ไม่รวม crafts และ designer fashion)

หน่วย : ล้านปอนด์

advertising    architecture    art & antiques    design    video,film,   Music and visual    publi-    Software compute games     Radio & TV    Total
                                                           photography      performing       shing     & electronic publishing
     1,400          740             3,100          830        1,100             270          2,100             4,900                1,400       16,000
Source : creative industries economic estimates, statistical bulletin, DCMS

อย่างไรก็ดี เนื่องจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากประเทศอื่นๆทั่วโลก ทำให้ รัฐบาลสหราชอาณาจักรเห็นความ จำเป็นของการจัดทำแผนงานยุทธศาสตร์ระดับชาติที่ครอบคลุม(Creative Britain / Creative Economy Programme ) โดย กำหนดเป้าหมายและการดำเนินงานในรายละเอียดทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ของ สหราชอาณาจักรให้คงความล้ำหน้าต่อไปได้ และปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของรัฐให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดโครงสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างหน่าวยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญของ Creative Britain ตามเอกสารแนบ

3. แนวทางการดำเนินงาน

3.1 หน่วยงานหลักภาครัฐ :

3.1.1 กระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬา (Department for Culture, Media and Sport -DCMS) : เป็น หน่วยงานหลักรับผิดชอบสาขา architecture, arts & antiques markets, crafts, designer fashion, film & VDO, music, performing arts และ TV & radio)

3.1.2 กระทรวงธุรกิจ นวัตกรรม และทักษะ (Department for Business, Innovation and Skills -BIS) เป็นกระทรวงใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 โดยการรวม 2 กระทรวงเดิม คือ BERR (Department for Business, Enterprise and Regulatory Reform) และ Department for Innovation, Universities and Skills (DIUS) เข้าด้วยกัน โดย BIS รับผิดชอบสาขา software และ ร่วมกับ DCMS ดูแลสาขา advertising, computer & VDO games, design และ publishing นอกจากนี้ UKTI ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด BIS รับผิดชอบด้านการส่งเสริมการส่งออกและการดึงดูดการ ลงทุนจากต่างประเทศ

สำหรับการดำเนินการตามแผนงาน Creative Economy Programme (CEP) ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่างๆอย่างกว้างขวาง จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ในการนี้ รัฐบาลได้กำหนดโครงสร้างการทำงานร่วมกัน ไว้ 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้

  • CEP Ministerial Steering Board ประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวง DCMS , BISและผู้ที่มี influential ใน
อุตสาหกรรมสร้างสรรอีก 11 คน ทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานสำหรับ CEP
  • CEP Programme Board ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก 2 กระทรวงดังกล่าวทำหน้าที่ดูแลภาพรวมของการดำเนิน
การตาม CEP
  • Delivery Partners Group ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จาก 2 กระทรวงดังกล่าว และ creative industries
sector skills councils ในสาขาต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่จัดทำรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการ
ตามพันธสัญญาต่างๆภายใต้ CEP และเป็นเวทีที่ DCMS ใช้ในการประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
  • CEP Implementation Group ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับดำเนินการจากทั้ง 2กระทรวง ทำหน้าที่บริหารการดำเนิน

งานตามพันธสัญญาในลักษณะ day-to-day

3.2 กลุ่ม clusters : เพื่อช่วยในการพัฒนายุทธศาตร์ การส่งเสริม/พัฒนาอุตสาหกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม การตลาด และการจัดลำดับความสำคัย รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้จัดแบ่งกลุ่ม creative industries เป็นกลุ่มย่อย หรือ clusters (ตาม model ของนาย John Bates, London Business School) ดังนี้

  • Creative Product : สินค้าที่มีการผลิตซ้ำ โดยได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ films, books,
fashion, music, design, textiles, ceramics
  • Creative Process : บริษัทที่ให้บริการจากความคิดสร้างสรรค์ของมืออาชีพ อาทิ architecture, design,
advertising
  • Creative Media : ธุรกิจที่ขายสินค้าที่สร้างสรรค์ผ่านการเผยแพร่ อาทิ newspaper, magazines, TV, radio

broadcasts, museums, galleries, cinema

5. ข้อสังเกต/ข้อคิดเห็น

5.1 สหราชอาณาจักรถือเป็นต้นแบบของการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การจัด ตั้งทีมงานเพื่อทำการศึกษาและจำแนกประเภทอุตสาหกร รม การจัดเก็บข้อมูลและสถิติ และการวางนโยบายและแผนงานในระดับต่างๆ คือ นโยบายระดับชาติ (National Policies) นโยบายรายอุตสาหกรรม (Sectorial Policies) และนโยบายเฉพาะเรื่อง (Emerging Policies) นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้ง/ปรับเปลี่ยนหน่วยงาน (Public Bodies) ต่างๆ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายทุกระดับ ไม่ ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาคน การสนับสนุนทางด้านการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนที่ให้กับธุรกิจขนาดย่อม และการสนับสนุนทางด้านการวิจัยและพัฒนาผ่านสิทธิทางภาษีและโครง การต่างๆ มากมาย นอกจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนและ ภาคการศึกษาก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจสร้าง สรรค์ของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการป้อนบุคลากรเข้าสู่ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี แผน Creative Britain สะท้อนแนวคิดของรัฐบาลอังกฤษในการ พัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรร ที่ครอบคลุม (comprehensive) การพัฒนาบุคลากรตั้งแต่ระดับชั้นประถม การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การสนับสนุนทางการเงินแก่ภาคธุรกิจ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนา regional/local clusters และการส่งเสริมให้สหราชอาณาจักรเป็น creative hub ของโลก

5.2 สหราชอาณาจักรเป็นตลาด computers games รายใหญ่ของโลก มี games developers และ publishers รายใหญ่จำนวนมาก จากการสำรวจของ Tiga (The Independent Games Developers Association) ร้อยละ 83 ของ UK developers มีการ outsource งานอย่างน้อย 1 ส่วนของกระบวนการจัดทำงานภาพรวมออกไปให้บริษัทภายนอกทำ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งตลาด outsource ของสหราชอาณาจักรในเอเชียในปัจจุบัน ได้แก่ อินเดีย สิงคโปร์ จีน ไทย เวียดนาม ไต้หวัน

5.3 ที่ผ่านมา Tiga ได้ร่วมกับ Games Investor Consulting Ltd. จัดทำ Games Outsourcer ที่ www.gamesoutsourcer.com ซึ่งเป็น online database ที่ช่วย games developers ในการค้นหา games outsourcing companies กว่า 200 แห่งจาก 30 ประเทศทั่วโลก โดยเป็น free database (ยกเว้นข้อมูลบางส่วนที่จำกัดเฉพาะสมาชิก Tiga) โดยข้อมูลประกอบ ด้วยรายชื่อ outsourcing companies, profile ของบริษัท และลูกค้าที่เคยใช้บริการ โดยจัดกลุ่มตาม specialization ใน creative industries ต่างๆตามภูมิภาคต่างๆของโลก ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อมูลเกี่ยวกับ games developers ในต่างประเทศ แต่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทตัวกลางในประเทศนั้นๆที่ให้บริการหาบริษัทในประเทศนั้นๆให้กับบริษัท UK ที่ต้องการ outsource งานบางส่วน ออกไป และเมื่อเข้าไปดูในส่วนของภูมิภาคเอเชีย ประเทศที่มีบริษัทให้บริการเป็น outsourcer ที่ปรากฏในฐานข้อมูล ได้แก่ อินเดีย จีน สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ไต้หวัน ในส่วนของไทย เพิ่งเริ่มปรากฏในปีนี้ ทำให้เห็นได้ว่า ตลาดไทยเริ่มเป็นที่รู้จัก โดยมี 3 บริษัทไทยที่มี รายชื่อปรากฏใน database ดังกล่าว คือ Sanuk Software (http://www.sanuk.biz ) ; Debuz Company Ltd (http:// www.debuz.com) และ Corecell Technology Co.;Ltd (http://www.corecell.co.th)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ