ตลาดเครื่องประดับเงินของสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 16, 2009 15:46 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมสภาพตลาด

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เครื่องประดับสีเงิน (white metal) มีแนวโน้มได้รับความนิยมมากกว่าเครื่องประดับทองอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดสหราชอาณาจักรและตลาดส่วนใหญ่ทั่วโลก ทั้งนี้ ตลาดสหราชอาณจักรซึ่งเป็นตลาดของผู้บริโภคที่มีฐานะนั้น platinum หรือ ทองคำขาว ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเครื่องประดับทองและplatinum มีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 90 ในขณะที่เครื่องประดับเงินมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 7

ตลาดเครื่องประดับเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ

1.1 ตลาดสำหรับ mass market ราคาค่อนข้างถูก กลุ่มผู้บริโภคในส่วนนี้ คือ กลุ่มวัยรุ่นอายุประมาณ 15-25 ปี

1.2 ตลาดสำหรับเครื่องประดับเงินพร้อมพลอย synthetic ราคาแพงขึ้นมานิด

1.3 ตลาดสำหรับเครื่องประดับเงินพร้อมพลอยแท้ ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคในส่วนนี้ จะเป็นผู้มีฐานะ และชมชอบเครื่องประดับเงินที่มีคุณภาพ (high quality finish) พร้อมพลอยแท้ที่มีคุณภาพด้วย

ปัจจุบัน เนื่องจากสหราชอาณาจักรอยู่ในภาวะเศรษฐกิจหดตัว (recession) มีคนตกงานจำนวนมาก ทำให้การบริโภคเครื่องประดับ ซึ่งจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมีแนวโน้มลดลง และราคากลายเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้า

2. การนำเข้า/คู่แข่ง
ตาราง 1 การนำเข้าเครื่องประดับโลหะมีค่า (jewelry with precious metal) จากทั่วโลก 8เดือนแรกของปี
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
        ประเภทย่อยของ 7113                              Jan-Aug 2008      Jan-Aug 2009     % change
1.เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า(jewelry of precious metal)
    รหัส 711319 (เครื่องประดับทองและplatinum)                 2325.94           1475.38        -36.57
2.เครื่องประดับเงิน (silver jewelry) รหัส 711311                153.45            153.48          0.02
3.เครื่องประดับทำด้วยโลหะสามัญ(metal jewelry) รหัส 711320         14.47              8.03        -44.53
        รวม                                               2493.87            1636.9        -34.36
แหล่งที่มา : World Trade Atlas

ปัจจุบัน การนำเข้าเครื่องประดับในภาพรวมลดลง โดยสหราชอาณาจักรมีการนำเข้าเครื่องประดับกับโลหะมีค่าจากทั่วโลกมูลค่า 1,636.90 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงร้อยละ 34.36 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และคาดการณ์ว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องต่อไปจนกว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น

ภายใต้ประเภท 7113 ประเภทย่อยที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ เครื่องประดับทองและ platinum คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90.13 ของการนำเข้าเครื่องประดับโลหะมีค่าทั้งหมด (jewelry with precious metal) ตามด้วยเครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับทำด้วยโลหะสามัญตามลำดับ การนำเข้าเครื่องประดับเงิน มีสัดส่วนร้อยละ 9.38 ของการนำเข้าเครื่องประดับโลหะมีค่าทั้งหมด

ตาราง 2 สัดส่วนการนำเข้าเครื่องประดับแยกรายประเภท ช่วง 8 เดือนแรกของปี
ประเภท                                 ปี 2006     ปี 2007     ปี 2008     ปี 2009
1.เครื่องประดับทองและ platinum             95.82      95.14      93.27      90.13
2.เครื่องประดับเงิน                          3.84       4.43       6.15       9.38

ตาราง 3 การนำเข้าเครื่องประดับเงินจากทั่วโลก แยกรายประเทศ  8 เดือนแรกของปี
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
         ประเทศ            ปี 2008     ปี 2009     % change          share

2008 2009

1.ไทย                       55.31      39.43      -28.71     36.05     25.69
2.เดนมาร์ค                    8.82      22.17      151.36      5.75     14.45
3.อิตาลี                      20.66      18.02      -12.78     13.47     11.74
4.จีน                        20.32      16.24      -20.05     13.24     10.59
5.สหรัฐฯ(Puerto Rico)          0.0      13.17                            8.59
6.ฮ่องกง                      5.20       8.44       62.37      3.39      5.50
7.อินเดีย                      9.85       7.32      -25.66      6.42      4.77
8.กรีซ                        0.31       4.47    1,332.08      0.20      2.91
9.ฟิลิปปินส์                     0.33       3.33      882.69      0.22      2.18
       Total               153.45     153.48        0.02

ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2009 สหราชอาณาจักรนำเข้าเครื่องประดับเงินจากทั่วโลก มูลค่า 153.48ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศไทยในอันดับ 1 มูลค่า 39.43 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 28.71 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดย ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.69 ลดลงจากเดิมร้อยละ 36.05 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

3. สภาพการแข่งขันในปัจจุบัน

ตลาดเครื่องประดับเงินของสหราชอาณาจักรเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง

คู่แข่งสำคัญของไทย คือ เดนมาร์ค อิตาลี จีน สหรัฐฯ(รวม Puerto Rico) ฮ่องกง อินเดีย กรีซ และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2009 การนำเข้าจากประเทศคู่แข่งลดลงทุกประเทศ ยกเว้นจากเดนมาร์ค สหรัฐฯ ฮ่องกง กรีซ และฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ คู่แข่งหน้าใหม่ คือ เดนมาร์ค กรีซ และฟิลิปปินส์ มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงมาก

ส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับเงินของไทยในสหราชอาณาจักรเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งจาก diagram ข้างต้น เห็นได้ว่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับเงินของไทยในตลาดสหราชอาณาจักร มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าไทยจะครองตลาดมาอันดับ 1 ตั้งแต่ปี 1997 ส่วนแบ่งตลาดของอิตาลี จีน ขึ้นๆลงๆ ส่วนแบ่งตลาดของอินเดียค่อนข้างคงที่ ส่วนแบ่งตลาดของสหรัฐฯและฮ่องกงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ

4. ข้อได้เปรียบ/เสียเปรียบของไทยกับประเทศคู่แข่ง

ข้อได้เปรียบของไทย คือ คุณภาพด้านการ polishing ความปราณีตของงานฝีมือ เทคนิคการหล่อเครื่องประดับ และราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ (value for money)

ข้อเสียเปรียบคือ ราคา นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาภาษีนำเข้า ไทยเสียเปรียบอิตาลี และเดนมาร์ค เนื่องจากไทยต้องเสียภาษีนำเข้า โดยเสียภาษีในอัตราทั่วไปที่ร้อยละ 2.5 ในขณะที่อิตาลีและเดนมาร์ค ในฐานะประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปไม่เสียภาษีนำเข้า สำหรับคู่แข่งสำคัญอื่นๆของไทย จีนและฮ่องกงเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 2.5 อินเดียและฟิลิปปินส์ในรับสิทธิ GSP เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 0

5. รูปแบบและรสนิยมต่อเครื่องประดับเงิน

ผู้บริโภคชาวอังกฤษชมชอบ design ที่ special, modern และ delicate นอกจากนี้ ยังชมชอบเครื่องประดับที่เข้าชุดกัน สร้อยคอ ตุ้มหู และสร้อยค่อมือ ทั้งนี้ สร้อยคอเป็นชิ้นส่วนที่ขายดีที่สุด

6. กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

6.1 The Hallmarking Act 1973 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีการทำ hallmarking ซึ่งหมายถึง การทดสอบและการประทับตราเครื่องประดับโลหะมีค่าว่า มีความสอดคล้องกับมาตรฐานความบริสุทธิ์ (purity) ตามที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ประกอบการที่ขายเครื่องประดับโลหะมีค่า ที่ไม่มีตราประทับดังกล่าว จะถือเป็นความผิด ทั้งนี้ การทดสอบจะกระทำในสหราชอาณาจักร โดยหน่วยงานอิสระ คือ Assay Offices ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ลอนดอน Birmingham; Sheffield และ Edinburgh ทั้งนี้ สหราชอาณาจักร ในฐานะสมาชิก Convention on the Control and Marking of Articles of Precious Metals (Hallmarking Convention) ให้การยอมรับ Convention Common Control Mark (CCM) ซึ่งหมายความว่า เครื่องประดับที่ได้รับตรา CCM สามารถนำเข้าและขายในสหราชอาณาจักรโดยไม่ต้องขอ UK hallmarking เพิ่มเติม

6.2 The Dangerous Substances and Preparations (nickel) (Safety) Regulations 2005 เป็นกฎระเบียบที่จำกัดปริมาณนิเกลที่ปลดปล่อยจากเครื่องประดับ (migration limit) โดยกำหนดให้เครื่องประดับที่มีการสวมใส่โดยสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงและเป็นเวลานานติดต่อกัน เช่น ต่างหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน สายนาฬิกา กระดุมประเภท rivet buttons ซิป ที่ใช้บนเสื้อผ้า จะต้องไม่มีการปลดปล่อย (migration) ของนิเกลเกินกว่า 0.5 micrograms / square centimetre / สัปดาห์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ของผิวหนังได้ ยกเว้นแต่ว่าเครื่องประดับนั้น มีการเครือบ (coat) เพียงพอที่จะทำให้ปริมาณนิเกลที่ปลดปล่อยออกมาไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ในการใช้งานปกติ นอกจากนี้ กฎระเบียบยังครอบคลุมถึงชิ้นส่วนเครื่องประดับประเภท post assemblies ทั้งหมดที่ใช้ในการ body piercing โดยในส่วนนี้ กำหนดต้องไม่มีการปลดปล่อย (migration) ของนิเกลเกินกว่า 0.2 micrograms / square centimetre / สัปดาห์ รายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบ วิธีการทดสอบ สามารถดูได้ที่ website www.teg.co.uk/nickel/index.html

สำหรับ การทดสอบนั้น ใช้มาตรฐานของ British Standards BS EN 12472 และ BS EN 1811:1999 โดย ในสหราชอาณาจักร ห้องทดลองที่ได้รับการรับรองจาก UKAS (United Kingdom Accreditation Service) ได้แก่ Birmingham Assay Office

7. ช่องทางการจัดจำหน่าย

7.1 ผู้ขายส่งและตัวแทนนำเข้ามีบทบาทสำคัญเนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีสินค้าภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้าเป็นจำนวนมาก แต่สำหรับสินค้าภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงมักจะมีการวางจำหน่ายตามร้านขายปลีกบางแห่งเท่านั้น ทำให้ตัวแทนนำเข้าหรือตัวแทนจัดจำหน่ายมีบทบาทค่อนข้างมาก website : www.jda.org.uk (Jewellery Distributors’ Association of the UK)

7.2 กลุ่มผู้ซื้อ(Buying Group) เป็นการรวมกลุ่มของผู้จัดจำหน่ายรายอิสระหรือกลุ่มเครือข่ายผู้ค้าปลีกขนาดเล็ก ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในช่วงระหว่างผู้ขายส่งไปถึงผู้ค้าปลีก เนื่องจากมีการรวมการสั่งซื้อในจำนวนมากและมีอำนาจต่อรองมากขึ้นกับผู้ขายส่งหรือผู้จัดจำหน่าย กลุ่มผู้ซื้อดังกล่าวที่สำคัญ เช่น Houlden Group ที่มีสมาชิกเป็นผู้ค้าปลีกมากกว่า 30 แห่ง และร้านขายปลีกในเครือข่ายอีกกว่า 70 แห่ง (website : www.houlden.biz

7.3 Suppliers รายใหญ่ ได้แก่

  • Signet Group PLC เป็นผู้ค้าปลีกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะรายใหญ่ มีการบริหารงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ US division (คิดเป็นประมาณร้อยละ 76 ของยอดขายรวม) และ UK division โดยสำหรับ UK division นั้น ในปีภาษี 2009 ยอดขายในสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 808.2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10 และมีร้านค้าปลีก 558 แห่ง ในสหราชอาณาจักร บริษัทมีสินค้าภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้าของตนเอง คือ H Samuel, Ernest Jones, Leslie Davis , Forever Diamond และPerfect Partner.
  • Abbeycrest PLC ซึ่งดำเนินธุรกิจออกแบบ ผลิต และจำหน่ายเครื่องประดับทองและ
เงิน โดยมีฐานการผลิตตั้งอยู่ที่ประเทศไทย ( Abbeycrest PLC ก่อตั้ง Abbeycrest Thailand limited ซึ่งมีโรงงานมูลค่ากว่า 100 ล้านบาทตั้งอยู่ที่ลำพูน เมื่อปี 2003 และซื้อกิจการของ Essex International plc ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ของไทย นอกจากนี้ ยังมียังมีฐานการผลิตและการตลาดที่ฮ่องกง โดย Abbeycrest Hong Kong ด้านการผลิต และ Abbeycrest International ด้านการตลาด) http://www.abbeycrest.co.uk/Contact.htm
  • Goldsmiths PLC เป็น jeweller รายใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีร้านค้าปลีก 170 แห่ง ทั่วสหราชอาณาจักร

7.4 ร้านดีพาร์ตเม้นสโตร์ เป็นแหล่งจำหน่ายปลีกขนาดใหญ่ที่มีสินค้าค่อนข้างหลากหลาย ได้แก่ Harrods; Marks & Spencer, Selfridges, Harvey Nichols, Liberty, House of Fraser, Debenhams นอกจากนี้ เครือซุเปอร์มาเกตขนาดใหญ่ เช่น Tesco; Sainsbury; ASDA เป็นต้น ซึ่งมี section สำหรับสินค้าประเภท non-food

7.5 การจำหน่ายปลีกตามแคตตาล็อกและทางอินเตอร์เน็ต ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีร้าน Argos เป็นผู้ค้าปลีกสินค้าทั่วไป รวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับ รายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ มีร้านค้ากว่า 700 แห่ง ขายสินค้าผ่าน catalogue (catalogue retailer) โดยไม่มีการโชว์สินค้าหน้าร้าน ลูกค้าสามารถสั่งซื้อทาง on-line หรือซื้อที่ร้านเองก็ได้ ปัจจุบัน Argos เป็นบริษัทในเครือของ Home Retail Group ยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีก

8. รายชื่อผู้นำเข้าเครื่องประดับเงินในสหราชอาณาจักร

สามารถค้นหารายชื่อผู้นำเข้าได้ที่

  • website ของ British Jewellers’ Association ที่ www.bja.org.uk โดย click ที่ b2b product search/trade จากนั้น click ที่ jewellery-sterling silver โดยมีรายชื่อสมาชิกกว่า 140 ราย
  • website ของ Jewellery Distributors Association of UK ที่ www.jda.org.uk
  • website British Jeweller Yearbook ที่ www.britishjewelleryearbook.co.uk ซึ่งมีรายชื่อผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่ายเครื่องประดับในสหราชอาณาจักร รวมทั้งรายละเอียดการติดต่อ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ