1.1 ทำเลที่ตั้งของประเทศ
ที่ตั้ง : ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของสิงคโปร์ คือ 136.8 กม. เหนือเส้นศูนย์สูตร โดยตั้งอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา 38 ลิปดาตะวันออก กับเส้นแวงที่ 104 องศา 06 ลิปดาตะวันออก ประเทศเพื่อนบ้าน ทิศเหนือคือ ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้และตะวันออกคือ ประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ประกอบด้วยเกาะใหญ่เกาะน้อยบริเวณรายรอบรวม 63 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะ Singapore
1.2 เมืองหลวง/เมืองท่า/เมืองเศรษฐกิจสำคัญ/สินค้าสำคัญในแต่ละเมือง
เมืองหลวง สินค้า/บริการสำคัญ เมืองท่า สินค้า/ เมืองเศรษฐกิจ สินค้า/
บริการสำคัญ อื่นๆ สำคัญ บริการสำคัญ
สิงคโปร์ น้ำมันปิโตรเลียม, แก๊ซธรรมชาติ, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์, - - - -
เภสัชภัณฑ์, เคมีภัณฑ์, Biomedical, IT, การให้บริการทางการเงิน,
Logistics และอู่ซ่อมเรือ
-
1.3 ขนาดพี้นที่ : 710.2 ตารางกิโลเมตร (ปี 2551) ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยในบริเวณรอบๆ 63 เกาะ เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร
1.4 ประชากร : จากการสำรวจในเดือนมิถุนายน 2551 สิงคโปร์มีประชากร 4.839 ล้านคน ซึ่งประชากรที่พำนักในสิงคโปร์ 3.642 ล้านคน แบ่งออกเป็นเพศชาย 1.803 ล้านคน และเพศหญิง 1.839 ล้านคน
1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ : -
1.6 เชี้อชาติ : ประกอบด้วยชาวจีน 74.7 % ชาวมาเลย์ 13.6 % ชาวอินเดีย 8.9 % และอื่นๆ 2.8 %
1.7 ศาสนา : พุทธ (ร้อยละ 42.5) คริสต์ (ร้อยละ 14.5) อิสลาม (ร้อยละ 14.9) ฮินดู (ร้อยละ 4.0) และอื่นๆ (ร้อยละ 24.1)
1.8 ภาษา : ภาษาประจำชาติคือ ภาษามาเลย์ ภาษาราชการมี 4 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษามาเลย์ สำหรับภาษาธุรกิจและการบริหารคือ ภาษาอังกฤษ และมีการพูดเข้าใจกันอย่างแพร่หลาย ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่พูดได้สองภาษา คือ ภาษาแม่ของตนและภาษาอังกฤษ
1.9 ระบอบการปกครอง : สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด (The Constitution) แบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ
(1) สภาบริหาร (The Executive) ประกอบด้วยประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่บริหารประเทศผ่านกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานในสังกัดราชการอื่นๆ ประธานาธิบดีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นายเซลลาปัน รามา นาทาน (Mr. Sellapan Rama Nathan) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสิงคโปร์ เข้าดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 ส่วนคณะรัฐมนตรีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี พรรคการเมืองสำคัญ 4 พรรค ได้แก่ (1) People’s Action Party (PAP) ของนายลี เซียน ลุง (Mr. Lee Hsien Loong) ก่อตั้งในปี 2497 จัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศด้วยความมั่นคงมาตลอด (2) Worker’s Party (WP) ก่อตั้งขึ้นในปี 2500 ปัจจุบันมีนาย Low Thia Kiang เป็นหัวหน้าพรรค (3) พรรค Singapore Democratic Party (SDP) ก่อตั้งในปี 2523 ภายใต้การนำของนาย Chee Soo Juan และ (4) พรรค Singapore Democratic Alliance (SDA) ก่อตั้งเมื่อปี 2544 จากการรวมพรรคเล็กหลายพรรค ปัจจุบันมีนาย Chiam See Tong เป็นหัวหน้าพรรค สำหรับตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรีปัจจุบัน ได้แก่
- นายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายโก๊ะ จ๊ก ตง (Goh Chok Tong) รัฐมนตรีอาวุโสและ Chairman of the Monetary Authority of Singapore
- นายลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) รัฐมนตรีที่ปรึกษา
- ศาสตราจารย์ เอส จายากูมาร์ (Jayakumar Shunmugam) รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกฎหมายและรัฐมนตรีกิจการด้านความมั่นคงแห่งชาติ
- นายจอร์จ โยว (George Yeo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายลิม ฮึง เคียง (Lim Hng Kiang) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม
(2) รัฐสภา (Parliament) มาจากการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งล่าสุดวันที่ 6 พฤษภาคม 2549 ได้สมาชิกสภาผู้แทนรวม 84 คน แบ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลรวม 82 คน มาจากพรรค People’s Action Party และฝ่ายค้านมี 2 คน มาจากพรรค Worker’s Party และพรรค Singapore Democrati Alliance สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไปกำหนดในต้นปี 2554
(3) สภาตุลาการ (The Judiciary) แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น (Subordinate Courts) และศาลฎีกา (Supreme Court)
1) ภาคกลาง (Central Region) มีพื้นที่ 130.5 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย Central Area ซึ่งเป็นศูนย์ กลางทางเศรษฐกิจและการเงินของสิงคโปร์และ 11 เขตรอบนอก โดยภายใน Central Area ยังแบ่งออก เป็น 11 เขตย่อย เขตที่สำคัญ ได้แก่ Downtown Core เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ สำคัญ Singapore River เป็นที่ตั้งสำนักงานห้างร้านขนาดใหญ่ และ Orchard เป็นแหล่งการค้าและศูนย์กลางของ ธุรกิจโรงแรม
2) ภาคตะวันตก (West Region) มีพื้นที่ 201 ตารางกิโลเมตร เป็นภาคที่ใหญ่ที่สุดใน 5 ภาค แบ่งเป็น 12 เขต และเขตสำคัญ ได้แก่ Western Water Catchment ซึ่งเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของภาค
3) ภาคเหนือ (North Region) พื้นที่ 97 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 8 เขต รวม Central Water Catchment (หรือ Central Catchment Nature Reserve : CCNR) ซึ่งเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค ในตอนกลางของเกาะสิงคโปร์
4) ภาคตะวันออก (East Region) แบ่งเป็น 6 เขต รวมเขต Changi ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ แห่งสิงคโปร์ (Changi International Airport)
5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (North-East Region) เป็นที่ตั้งทางทหารของสิงคโปร์และเกาะ Pulau-ubin เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
1.10 การคมนาคม ขนส่งภายในประเทศ : ระบบคมนาคม ขนส่งภายในประเทศ ประกอบด้วย การเดินทางโดยรถส่วนตัว รถประจำทาง รถใต้ดิน Mass Rapid Transit และรถแท๊กซี่ แบ่งเป็น
1) ทางหลวงเป็นเส้นทางคมนาคมหลักของสิงคโปร์ ส่วนมากเป็นถนน 6 ช่องจราจร ยกเว้นเขตในเมือง การขับขี่ยานพาหนะใช้ระบบชิดซ้ายเช่นเดียวกับไทย อนึ่ง ทางหลวงในสิงคโปร์แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) ทางด่วน (Expressway ได้แก่ East Coast Parkway : ECP, Pan Island Expressway : PIE เป็นต้น (2) ทางหลวงอื่นๆ ที่สำคัญได้รับการยกระดับเป็น Semi-expressway รวม 3 สาย คือ Outer Ring Road System : ORRS, West Coast Highway และ Nicoll Highway
2) ระบบราง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) รถไฟ มีความยาว 38.6 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับมาเลเซียไปยังกัวลาลัมเปอร์ และกรุงเทพฯ (2) Mass Rapid Transit (MRT) เป็นระบบขนส่งหลักของสิงคโปร์ ให้บริการครอบคลุมเขตธุรกิจ สถานที่ราชการ รวมถึงสนามบิน มีสถานีรวม 67 แห่ง ระยะทาง 109 กิโลเมตร
3) ท่าเรือสำคัญ ได้แก่ ท่าเรือ Jurong, Tanah Merah
4) ท่าอากาศยาน มีจำนวน 4 แห่ง คือ Changi Airport Terminal 1, 2, 3 และ Budget Terminal
ปี Gross Per Gross GDP ประชากร อัตรา อัตรา Prime อัตรา National Capita Domestic Growth ล้านคน ว่างงาน เงินเฟ้อ Lending แลกเปลี่ยน Income GNI Product % % % Rate ต่อเงินบาท (M.S$) (S$) (M.S$) %/ปี 2549 213,183.1 48,435 214,233.5 8.2 4.40 3.5 1.0 5.33 23.8635 2550 234,246.2 51,050 230,871.4 7.8 4.59 3.1 2.1 5.33 22.9342 2551 250,387.9 51,739 233,524.5 1.1 4.84 3.1 6.5 5.38 23.5743 2552(E) na na na -4.0 ถึง -6.0 5.08 3.7 6.0 na na ที่มา : กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ 2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ : 250,346 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ปี 2551) 2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศ หน่วย : ล้านเหรียญสิงคโปร์ การผลิต 2550 2551 Total Manufacturing 253,380.60 259,339.20 Food, Beverage & Tobacco 5,707.70 6,598.70 Printing & Reproduction of Recorded Media 2,985.90 2,942.50 Refined Petroleum Products 48,040.00 60,372.70 Chemicals & Chemical Products 35,247.10 36,980.90 Pharmaceutical Products 21,206.90 16,686.40 Rubber & Plastic Products 2,650.90 2,464.80 Non-metallic Mineral Products 1,905.80 1,953.90 Fabricated Metal Products except Machinery & Apparatus 8,892.50 9,128.90 Machinery & Equipment 18,965.10 18,758.40 Electrical Machinery & Apparatus 4,089.20 4,111.10 Electronic Products & Components 77,411.00 71,630.50 Medical, Precision & Optical Instruments, Watches & Clocks 5,915.90 5,752.10 Transport Equipment 15,275.60 16,469.30 ที่มา : กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ 2.4 โครงสร้างรายได้ภายในประเทศ หน่วย : ล้านเหรียญสิงคโปร์ รายได้ของรัฐบาล 2550 2551 TOTAL 39,515.90 41,376.70 Tax Revenue 36,061.30 37,518.60 Income Tax 16,410.20 18,559.00 Assets Taxes 2,432.00 2,891.30 Taxes on Motor Vehicles 2,101.30 2,003.30 Customs & Excise Duties 2,033.60 2,082.50 Betting Taxes 1,665.00 1,776.60 Stamp Duty 4,077.90 1,837.80 Goods & Services Tax 5,612.30 6,632.10 Others 1,729.10 1,736.00 Fees & Charges 3,231.80 3,726.20 Other Receipts 222.80 131.90 ที่มา : Singapore Department of Statistics 2.5 ข้อมูลด้านการลงทุน : - การลงทุนของชาวต่างชาติ ชาวต่างชาติลงทุนในสิงคโปร์ ปี 2545 และ 2549-2550 (หน่วย : ล้านเหรียญสิงคโปร์) 2545 2549 2550 รวมมูลค่า 230,149 375,023 437,286 Direct Equity Investment 211,791 352,133 416,515 Net Lending from Foreign Parent Companies 18,358 22,890 20,771 การลงทุนแบ่งตามภาคอุตสาหกรรม ปี 2545 และ 2549-2550 (หน่วย : ล้านเหรียญสิงคโปร์) 2545 2549 2550 รวมมูลค่า 230,149 375,023 437,286 การผลิต 84,146 110,080 114,677 การก่อสร้าง 1,943 748 1,062 ค้าส่ง/ค้าปลีกและโรงแรม/ภัตตาคาร 37,908 68,056 75,984 การขนส่งและคลังสินค้า 9,158 23,620 28,751 สารสนเทศและโทรคมนาคม 2,962 3,047 4,152 การเงิน/การคลัง และบริการประกันภัย 78,410 146,026 179,756 อสังหาริมทรัพย์ การเช่าและเช่าซื้อ 7,372 11,099 16,621 การบริการธุรกิจ 7,942 11,668 14,702 อื่นๆ 308 679 1,581 - การส่งเสริมการลงทุน
สิงคโปร์เป็นประเทศที่ให้ความเท่าเทียมกันระหว่างนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้กฎหมายการลงทุนของสิงคโปร์เอื้อประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเป็นอย่างมาก โดยไม่มีกำหนดขั้นต่ำของเงินลงทุน การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างในสิงคโปร์ รวมถึงอิสระในการโอนเงินตราต่างประเทศ และผลกำไรในการประกอบธุรกิจออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตุว่า การลงทุนในลักษณะตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มและต้องใช้การทำวิจัย (Research & Development) ร่วมด้วยมักจะได้รับ การทาบทามขอเป็นหุ้นส่วนจากองค์กรของรัฐบาล (Government Link) แต่มีธุรกิจบางประเภทที่จำกัดสัดส่วนการลงทุน อาทิ การกระจายเสียง และการจัดสรรคลื่นความถี่ (สูงสุดไม่เกินร้อยละ 49) กิจการด้านหนังสือพิมพ์ (ไม่เกินร้อยละ 5) และกิจการที่ห้ามนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ได้แก่ ธุรกิจด้านกฎหมาย และการประกอบอาชีพทนายความ รวมถึงบางสาขาที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิสาหกิจของรัฐ
นักลงทุนสามารถเข้าร่วม Global Investor Programme หรือ GIP ซึ่งสามารถเลือกการลงทุนได้ 3 แบบ ได้แก่
Option A: เงินลงทุนอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นการลงทุนในธุรกิจใหม่หรือเป็นการขยายธุรกิจที่มีอยู่แล้วก็ได้
Option B: เงินลงทุนอย่างน้อย 1.5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นการลงทุนในธุรกิจใหม่ เป็นการขยายธุรกิจที่มีอยู่แล้ว หรือลงทุนในกองทุนที่อนุมัติโดย GIP ก็ได้
Option C: เงินลงทุนอย่างน้อย 2 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นการลงทุนในธุรกิจใหม่ เป็นการขยายธุรกิจที่มีอยู่แล้วหรือลงทุนในกองทุนที่อนุมัติโดย GIP ก็ได้
- มีประวัติการทำธุรกิจในอดีตเป็นระยะเวลานาน
- มีพื้นฐานและความรู้ความชำนาญในการประกอบธุรกิจอิสระ
- มีแผนการเสนอทำธุรกิจ หรือแผนการลงทุนของตนเอง (Business Proposal or Investment Plan) (สำหรับ Option A)
- วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (การให้บริการสุขภาพ เทคโนโลยีด้านเภสัชภัณฑ์และเทคโนโลยีชีวิภาพ)
- พลังงานสะอาด
- บริการด้านการศึกษาและอาชีพ
- อิเล็คทรอนิกส์ (ส่วนประกอบและระบบอิเล็คทรอนิกส์ และ Semiconductors)
- พลังงาน บริการด้านเคมี และวิศวกรรม
- เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
- การสื่อสาร (คอมพิวเตอร์และธุรกรรมอิเล็คทรอนิกส์ สื่อและสิ่งบันเทิง ดิจิตัล การโทรคมนาคม)
- องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐบาล และองค์กรเพื่อมนุษยชน
- กีฬาและสิ่งพักผ่อนหย่อนใจ
- โลจิสติกส์
- นวัตกรรม
- วิศวกรรมสิ่งพิมพ์ และวิศวกรรมขนส่ง
(ที่มา : Contact Singapore, www.contactsingapore.sg/GIP)
- เป็นสนามเศรษฐกิจที่สำคัญหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ และจะมีการเจริญเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค
- เป็นประเทศที่เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมชั้นสูง มีการคิดค้น/วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
- สิงคโปร์ได้รับประโยชน์และโอกาสทางเศรษฐกิจจากการเจริญเติบโตของประเทศจีนและอินเดีย จึงเป็น Gateway ได้อย่างมีศักยภาพ
- เป็นทำเลที่มีความมั่นคง แน่นอน คาดการณ์ได้ และมีนโยบายที่ชัดเจน
- มีสมรรถนะทางอุตสาหกรรม ความน่าเชื่อถือ ความรู้/ความชำนาญและมีเครือข่ายการติดต่อธุรกิจที่ดี
- มีการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และมีกฎหมายอย่างชัดเจน
- มีความชำนาญด้านเทคนิค และมีแรงงานที่มีความรู้ความสามารถ
หน่วยงานสิงคโปร์ Economic Development Board (EDB) มีโครงการให้การสนับสนุนและพัฒนาการลงทุน เพื่อให้มีการขยายตัวทางธุรกิจอย่างกว้างขวาง สรุปได้ ดังนี้
- ความช่วยเหลือในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
- ความช่วยเหลือด้านการปรับปรุงทางเทคนิคและเครื่องมือ
- ความช่วยเหลือด้านการค้นคว้าและพัฒนา
- การสนับสนุนด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการพัฒนาอุตสาหกรรม
- เครื่องมือและเทคโนโลยี
- การพัฒนาธุรกิจ
- นวัตกรรม การค้นคว้าและพัฒนา และทรัพย์สินทางปัญญา
- การจัดการสำนักงานใหญ่
- การสนับสนุนจากรัฐบาลพื้นบ้าน
สิงคโปร์มองการลงทุนเป็นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างงาน ผู้ที่สนใจที่จะมาประกอบธุรกิจในประเทศสิงคโปร์สามารถขอเป็นผู้อาศัยถาวรของสิงคโปร์ได้ (Permanent Residence) ภายใต้โครงการนี้
- ภาษีนิติบุคคล
- ภาษีบุคคลธรรมดา
- ส่วนต่างระหว่างบุคคลที่อยู่ในสิงคโปร์และไม่อยู่
- ลดหย่อนภาษีคนโสด และสำหรับการดูแลบุตร
- ลดหย่อนภาษีแบบหักจ่ายสำหรับทรัพย์สินทางปัญญา
- การลดภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายทางการค้นคว้าและพัฒนา
1. Enterprise Investment Incentive (EII) Scheme เป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่มิได้จะทะเบียนในตลาดหุ้นในปีที่เริ่มกิจการและมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว (Paid-up Capital) ไม่ต่ำกว่า 10,000 เหรียญสิงคโปร์ รวมทั้งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือมีบริการรูปแบบใหม่ โดยบริษัทสามารถนำยอดขาดทุนสะสมมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 3 ล้านเหรียญสิงคโปร์
2. Tax Exemption for Start-Ups สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนในสิงคโปร์และมีผู้ถือหุ้นไม่เกิน 20 ราย โดยทุกรายเป็นบุคคลธรรมดา สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้ โดยเงินรายได้จำนวน 1 แสนเหรียญสิงคโปร์แรก ได้รับยกเว้นไม้ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีเป็นเวลา 3 ปี
3. Licensed Warehouse Scheme (LWS) หากธุรกิจนั้นมีคลังสินค้าของตนเอง เพื่อเก็บสินค้าที่ต้องเสียภาษ๊ Goods and Services Tax (GST) สามารถขอจดทะเบียนคลังสินค้าที่ Singapore Customs เป็น Licensed Warehouse ได้ ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์จากการยกเว้นภาษี GST สำหรับสินค้าที่ยังเก็บในคลังสินค้านี้ จนกว่าจะมีการจำหน่ายออกไป แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเสียค่าธรรมเนียมคลังสินค้ารายปี โดยหากเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เสียค่าธรรมเนียม 40,000 เหรียญสิงคโปร์/ปี หากเป็นสินค้าอื่นๆ ในปีแรก ค่าธรรมเนียมคำนวณ จากภาษีที่คาดว่าจะเก็บได้ (Projected Potential Duty) จากปริมาณสินค้าสูงสุดที่คลังสินค้านั้นสามารถรองรับได้ ส่วนปีต่อไปคำนวณจากภาษีเฉลี่ยที่จัดเก็บได้ในเดือนก่อนหน้า (Average Past Monthly Duty) โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมคลังสินค้าจดทะเบียนดังตาราง นี้
Projected Potential Duty/Average Past Monthly Duty ค่าธรรมเนียม (เหรียญสิงคโปร์) 1 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือน้อยกว่า 2,500 มากกว่า 1 ล้านเหรียญสิงคโปร์ แต่ไม่เกิน 10 ล้านเหรียญฯ 4,000 ตั้งแต่ 10 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ขึ้นไป 21,000 ที่มา : Government of Singapore, Licensed Warehouse Scheme (LWS)
อนึ่ง สำหรับสินค้าที่ไม่ต้องเสียภาษี GST สามารถขอจดทะเบียนเป็น Zero GST Warehouse ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องยุ่งยากในกระบวนการเสียภาษี GST
ประเทศที่เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์มากที่สุด (ปี 2550) ได้แก่ (1) สหราชอาณาจักร 62,846 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (2) เนเธอร์แลนด์ 50,861 ล้านฯ (3) สหรัฐฯ 49,319 ล้านฯ (4) ญี่ปุ่น 45,820 ล้านฯ (5) สวิสเซอร์แลนด์ 26,378 ล้านฯ (6) อินเดีย 12,237 ล้านฯ
สำหรับประเทศที่สิงคโปร์เข้าไปลงทุนมากที่สุด (ปี 2550) ได้แก่ (1) จีน 37,521 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (2) สหราชอาณาจักร 20,788 ล้านฯ (3) มาเลเซีย 19,561 ล้านฯ (4) ฮ่องกง 17,001 ล้านฯ (5) อินโดนีเซีย 16,981 ล้านฯ (6) ออสเตรเลีย 15,308 ล้านฯ
- กฎหมายการลงทุน
สิงคโปร์ไม่จำกัดในการลงทุนขั้นเริ่มแรก นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนกิจการ (Feasibility Study) อาทิ ประเภทของกิจการหรือธุรกิจที่สนใจ และเดินทางไปสำรวจลู่ทางการลงทุนด้วยตนเอง หรือรับคำแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษา โดยปกติการลงทุนในสิงคโปร์ ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจว่าจะลงทุนเองทั้งหมด หรือลงทุนร่วมกับผู้ประกอบการท้องถิ่น แล้วจึงจัดทำรายงานข้อเสนอโครงการ (Proposal เพื่อยื่นขอจดทะเบียนบริษัทต่อ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) ซึ่ง ACRA จะใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติจัดตั้งบริษัทประมาณ 14-60 วัน เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงสามารถจัดตั้งบริษัทพร้อมจัดหาแรงงาน หากเป็นแรงงานต่างชาติต้องขอใบอนุญาตทำงานจากกระทรวงแรงงาน (Ministry of Manpower) หากมีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ต้องขอใบอนุญาตจากหน่วยงาน International Enterprise Singapore (IE Singapore) ด้วย
การลงทุนโดยการจัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์ สามารถมีผู้ถือหุ้นต่างชาติได้ทั้งหมด โดยยื่นขอจดทะเบียนบริษัทต่อกรมทะเบียนการค้าและธุรกิจ (Accounting & Corporate Regulatory Authority : ACRA เพื่อจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัท/ธุรกิจภายใต้ Business Registration Act Cap 32 ซึ่งบุคคลที่จะจัดตั้งบริษัทต้องจดทะเบียนกับ ACRA ในธุรกิจทุกสาขา รวมถึง trade, commerce, craftsmanship, profession or any activity carried on for the purpose of gain รายละเอียดจากเว็บไซด์ www.acra.gov.sg (ที่ตั้งและหมายเลขติดต่อของ ACRA : 10 Anson Road #05-01/15, International Plaza, Singapore 079903 Tel: 65-6325 3731 Fax: 65-6225 1676)
1. สามารถมีผู้ถือหุ้นต่างชาติได้ทั้งหมด
2. ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 1 เหรียญสิงคโปร์
3. สามารถจดทะเบียนได้ภายใน 1 วัน หากไม่ต้องยื่นขอใบอนุญาตจากหน่วยงานอื่น
4. มีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 1 คน และกรรมการ 1 คน
5. ได้รับการยกเว้นภาษีรายได้ 100,000 เหรียญสิงคโปร์แรกต่อปี เป็นเวลา 3 ปีนับแต่วันจัดตั้งบริษัท
6. ภาษีร้อยละ 9 คิดจากเงินได้ 300,000 เหรียญสิงคโปร์ ต่อปี เริ่มตั้งแต่ ปี 2551
7. ภาษีบริษัทร้อยละ 18 สำหรับเงินได้ที่นอกเหนือจาก 300,000 เหรียญสิงคโปร์แรก
8. โดยทั่วไป ไม่มีภาษีบนกำไรที่ได้รับจากการขายคืนสินทรัพย์ (Capital Gain Tax) และเงินปันผล
9. สิงคโปร์จะออกวีซ่าสำหรับผู้ประกอบการ (Entrepreneur Pass) ให้แก่เจ้าของกิจการที่ประสงค์จะย้ายกิจการมาที่ประเทศสิงคโปร์ 10. ไม่มีข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนและการส่งเงินกำไรจากการประกอบการกลับประเทศ
1. การจดทะเบียนบริษัท/ธุรกิจ — Type of Business Organization ภายใต้ Foreign Companies เอกสารที่ต้องยื่น คือ
- application for approval of name
- application to register a business
ผู้ประสงค์จะจัดตั้งบริษัทสามารถมอบอำนาจให้สำนักงานทนายความในสิงคโปร์เป็นตัวแทนในการขอจดทะเบียนบริษัททาง Internet ได้ที่เว็บไซด์ www.bizfile.gov.sg
2. การขออนุญาต [license] เปิดร้านอาหาร/ภัตตาคาร นอกจากยื่นขอจดทะเบียนกับ ACRA แล้ว ยังต้องขออนุญาตจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมด้วย
3. การนำพ่อครัว/แม่ครัว/การขอ Employment Pass ก่อนนำพ่อครัว/แม่ครัวเข้ามาทำงานในสิงคโปร์ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอ S Pass หรือ Employment Pass จาก Employment Pass Department, Ministry of Manpower
-ได้รับการอนุมัติชื่อของบริษัทเพื่อจดทะเบียน
-เตรียมเอกสารในการจดทะเบียน และลงนามโดยผู้จัดตั้งบริษัท
-จดทะเบียน กับ ACRA (Registrar of Companies)
-เปิดบัญชีธนาคารในนามของบริษัท
-Memorandum and Articles of Association (หนังสือบริคณห์สนธิ และหนังสือรับรองของบริษัท)
-Statutory Declaration of Compliance
-รายละเอียดของผู้ถือหุ้น กรรมการ เลขานุการ และอื่นๆ
-Certificate of Identity (บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง)
-สถานที่และที่อยู่ที่จดทะเบียนของบริษัท วันและเวลาทำการตามที่จดทะเบียน
-หลักฐานการได้รับอนุมัติให้เป็นกรรมการของบริษัทและคำให้การว่าด้วยคุณสมบัติการเป็นกรรมการ
-หลักฐานการได้รับอนุมัติให้เป็นเลขานุการของบริษัท
1) ชื่อของบริษัทที่จะใช้จดทะเบียนได้รับการอนุมัติ ซึ่งโดยทั่วไปใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น ยกเว้นกรณีที่มีข้อขัดแย้ง เช่น คำในชื่อมีคำที่ห้ามใช้ หรือความคลุมเครือ เป็นต้น และ
2) ผู้ที่มีอำนาจในการลงนามของบริษัทอยู่ที่สิงคโปร์หรือต่างประเทศ หากอยู่ในต่างประเทศ การจดทะเบียนก็จะใช้เวลาเพิ่มขึ้น
หากทั้งสองประการเบื้องต้นเรียบร้อย ก็สามารถจดทะเบียนบริษัทได้ภายใน 1 วัน
หลังจากนั้น ผู้ประกอบสามารถนำเอกสารการจดทะเบียนบริษัทไปเปิดบัญชีกับธนาคาร ซึ่งเวลาที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมของเอกสาร และสถาบันการเงินที่เลือกใช้
บริษัทที่จดทะเบียนในสิงคโปร์สามารถมีผู้ถือหุ้นเพียงหนึ่งคนได้ ซึ่งเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และไม่มีข้อจำกัดว่าผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นสัญชาติสิงคโปร์
ไม่มีข้อกำหนดว่าด้วยทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วขั้นต่ำ ดังนั้น บริษัทสามารถจดทะเบียนอย่างต่ำและชำระ 1 เหรียญสิงคโปร์
ตามพระราชบัญญัติการจดทะเบียนบริษัท บริษัทสามารถมีกรรมการที่เป็นคนผู้พำนักในสิงคโปร์หรือต่างชาติก็ได้ แต่จะต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 คน อย่างไรก็ตาม กฎหมายการจัดตั้งบริษัทได้ระบุว่า อย่างน้อยกรรมการหนึ่งท่านจะต้องอาศัยอยู่ในสิงคโปร์ ซึ่งอาจจะเป็นคนสัญชาติสิงคโปร์/ผู้พำนักถาวร หรือเป็นผู้ที่ถือวีซ่าทำงาน ก็ได้ (Citizens, Permanent Residents, or Employment Pass Holders)
บริษัทจะต้องมีเลขานุการหนึ่งคน ที่เป็นผู้พำนักถาวรอยู่ในประเทศสิงคโปร์
- สถานที่จดทะเบียนของบริษัท จะต้องเป็นที่อยู่ในสิงคโปร์
ชื่อจะต้องไม่ซ้ำกับบริษัทที่จดทะเบียนอยู่แล้ว
จะต้องไม่ทำความเสียหายให้กับเครื่องหมายการค้า (trademarks or patents) ที่จดทะเบียนอยู่แล้ว
จะต้องไม่เป็นการส่อถึงความไม่สุภาพ
จะต้องไม่มีคำสามัญ อาทิ ธนาคาร ไฟแนนซ์ ประกัน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ตัวแทนท่องเที่ยว เป็นต้น และจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะจดทะเบียน
สำหรับผู้ประกอบการอิสระต่างชาติที่ต้องการย้ายถิ่นฐานมาสิงคโปร์ จะต้องขออนุญาตมี EntrePass for Entrepreneur foreigners
EntrePass Scheme มีไว้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ต้องการเข้ามาทำกิจการในสิงคโปร์แต่มีระดับการศึกษาไม่สูง ซึ่งต่างกับ Employment Pass ที่ออกให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติทางการศึกษาในขั้นปริญญา หากได้รับการอนุมัติให้มี EntrePass แล้ว จะต้องจัดตั้งบริษัทภายใน 30 วันหลังจากนั้น ระยะเวลาในการขอ EntrePass อยู่ระหว่าง 4-8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่แล้ว EntrePass จะมีอายุ 1-2 ปี และอนุญาตให้บุคคลนั้นๆนำครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศด้วยได้ โดยจะต้องขอ Dependent Pass ให้กับสมาชิกของครอบครัวในเวลาเดียวกัน เมื่อ EntrePass หมดอายุก็ขอต่ออายุได้ หากธุรกิจยังดำเนินอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม หากต้องการจัดตั้งบริษัทเร็วขึ้น ก็สามารถจดทะเบียนบริษัทก่อน แล้วค่อยขอ EntrePass หลังจากนั้นก็ได้ ทั้งนี้ EntrePass มีไว้เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถมาอยู่ดูแลกิจการในประเทศนี้ได้ แต่หากไม่ต้องการมาพำนักในสิงคโปร์ ก็ไม่จำเป็นต้องมี
การขอใบอนุญาต S Pass เงินเดือนขั้นต่ำ 1,800 เหรียญสิงคโปร์ และ Employment Pass เงินเดือนขั้นต่ำ 2,500 เหรียญสิงคโปร์ จากหน่วยงาน Singapore Employment Pass Department, Ministry of Manpower
เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการขอ ดังนี้
- แผนการดำเนินธุรกิจ (Business Plan) โดยประมาณ ควรจะมีเนื้อหาประมาณ 10 หน้า
- เงินลงทุนเพื่อจัดตั้งกิจการในระยะเริ่มต้น
- หลักฐานทางการศึกษา
- หลักฐานการทำงานในอดีต
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- รุปถ่ายขนาดทำหนังสือเดินทาง
- สำเนาข้อมูลส่วนตัวและประวัติการทำงาน (CV/ Resume)
- แบบฟอร์มคำร้องขอ (www.mom.gov.sg)
ค่าธรรมเนียมการยื่นขอจดทะเบียนชื่อบริษัท 15 เหรียญสิงคโปร์ และค่าธรรมเนียมการก่อตั้งบริษัท 300 เหรียญสิงคโปร์ โดยที่ ACRA จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการตรวจสอบเพื่ออนุญาตการจดทะเบียนชื่อบริษัท ซึ่งจะมีอายุใช้ได้ 2 เดือน ผู้ยื่นขอจะต้องขอจดทะเบียนบริษัทให้เรียบร้อยภายในเวลา 2 เดือน หากผู้ยื่นขอต้องการเวลาเพิ่มมากกว่า 2 เดือน จะต้องทำหนังสือขอต่อเวลา พร้อมค่าใช้จ่าย 10 เหรียญสิงคโปร์ ต่อชื่อบริษัท - ประเภทค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท 1) Locally incorporated companies with share capital คือ
เงินทุนจดทะเบียน ค่าจดทะเบียน (หน่วย:เหรียญสิงคโปร์/ปี) ก) ไม่เกิน 100,000 1,200 ข) 100,101-1,000,000 1,200 + 400/ทุกจำนวนเงิน 100,000 หรือส่วนของ 100,000 ค) 1,000,001 ขึ้นไป 4,800 + 300/ทุกจำนวนเงิน 1,000,000 หรือส่วนของ 1,000,000 2) Companies without share capital 600 3) Foreign Companies 1,200 4) ค่าธรรมเนียมขออนุญาต[License Fee] เปิดร้านอาหาร/ภัตตาคาร ปีละ 120 เหรียญสิงคโปร์ - คุณสมบัติของผู้ที่จะสามารถจดทะเบียนการค้า มีดังนี้
1) ต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีบริบูรณ์ (เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2552)
2) ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกฟ้องล้มละลาย หรือมิฉะนั้น ต้องได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการ หากต้องการจดทะเบียนการค้าในประเทศสิงคโปร์
3) หากมีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจในประเทศสิงคโปร์ จำเป็นต้องยื่นขอ Entre Pass จาก กระทรวงแรงงาน (Ministry of Manpower)
1. กระทรวงการสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environment — MOE) เพื่อขออนุญาตประกอบกิจการร้านอาหาร/ภัตตาคาร (ที่ตั้งและหมายเลขติดต่อของ MOE : Environment Health Department, Environment Building, #21-00, Scotts Road, S’pore 228231 Tel: 65-6731 9117 Fax: 65-6731 9749 )
2. กระทรวงแรงงาน [Ministry of Manpower —MOM] เพื่อขออนุญาตนำพ่อครัว/แม่ครัว เข้ามาทำงานในสิงคโปร์ (ที่ตั้งและหมายเลขติดต่อของ MOM : Employment Pass Division, SIR Building, 10 Kallang Road, S’pore 208718 Tel: 65-6297 5443 Fax: 65-6298 0837 )
3. สำหรับการดำเนินธุรกิจเฉพาะ จะต้องขอใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของธุรกิจสาขานั้นๆ เช่น
- โรงพยาบาล ต้องขอใบอนุญาตจาก Ministry of Health
- การก่อสร้าง ต้องขอใบอนุญาตจาก Building & Construction Authority
- การศึกษา ต้องขอใบอนุญาต Ministry of Education
- การบริการ ต้องขอใบอนุญาตจาก Singapore Police Force
- การบริการขนส่ง ต้องขอใบอนุญาตจาก Public Transport Council
- ธุรกิจ Software ต้องขอใบอนุญาตจาก Ministry of Information, Communications and the Arts
- การเงินและการคลัง ต้องขอใบอนุญาตจาก Ministry of Finance, Monetary Authority of Singapore
1. หน่วยงานที่กำกับดูแล คือ International Enterprise Singapore (IE Singapore) ซึ่งอนุญาตให้บริษัทต่างชาติยื่นขอจัดตั้ง RO เพื่อทดลองสภาวะธุรกิจในสิงคโปร์ โดยทำการส่งเสริม/ประชาสัมพันธ์และประสานงานเกี่ยวกับกิจการของบริษัทแม่ ก่อนที่จะพิจารณาตัดสินใจลงทุนจัดตั้งธุรกิจในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ จะอนุญาตให้เป็นเวลา 3 ปี และก่อนหรือหลังจากนั้น RO จะต้องเปลี่ยนการจัดตั้งเป็น Branch Office หรือ Subsidiary Company โดยทำการจดทะเบียนกับ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA)
2. ขอบข่ายและลักษณะการประกอบธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 Representative Office (RO)
การดำเนินกิจการ จำกัดเฉพาะในด้านการสำรวจตลาด การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจ และการติดต่อประสานงาน โดยเป็นตัวแทนของบริษัทแม่ ซึ่ง RO ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ดำเนินการค้าขาย (รวมถึงการนำเข้าและการส่งออก) หรือกิจกรรมใดเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ไม่ว่าจะกระทำโดยตรงหรือเป็นตัวแทนของบริษัทแม่
- เช่าซื้อสถานที่ใช้เป็นคลังสินค้า การขนส่ง/การถ่ายสินค้าหรือการเก็บสินค้าต้องกระทำโดยเอเย่นต์หรือตัวแทนท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทแม่
- ให้เช่าสถานที่ของสำนักงานแก่ผู้ประกอบการอื่นๆหรือทำสัญญาการค้า ออกใบ invoice/ใบเสร็จ รับเงิน เปิด/รับ letter of credit and contracts โดยเป็นตัวแทนของบริษัทแม่ หรือให้การบริการโดยได้รับค่าจ้าง
ทั้งนี้ RO จะต้องมีเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากบริษัทแม่ หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่ง IE Singapore จะเป็นผู้พิจารณาจำนวนของเจ้าหน้าที่ในจำนวนที่เหมาะสม หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ RO จะต้องแจ้งต่อ IE Singapore เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเวลา 1 เดือนก่อน และ RO จะต้องแสดงให้ชัดแจ้งว่าเป็น “Representative Office Registered in Singapore” ทั้งบนป้ายชื่อบริษัท หัวกระดาษ นามบัตรของเจ้าหน้าที่ และวัตถุ/วัสดุต่างๆที่ใช้ในการสื่อสาร ชื่อของ RO จะต้องตรงกัน/สอดคล้องกับบริษัทแม่ หากมีการเปลี่ยนแปลง จะต้องแจ้งให้ IE Singapore ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเวลา 1 เดือนก่อน อีกทั้ง RO หรือบริษัทแม่ จะต้องแจ้งให้ IE Singapore ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในเวลา 1 เดือน เมื่อ RO จะปิดหรือเปลี่ยนการดำเนินการ
2.2 Foreign Government Representative Office (FG -RO)
การดำเนินการ จำกัดเฉพาะในด้านดังต่อไปนี้
- จัดงานแสดงสินค้า และการแสดงนิทรรศการ
- จัดทำการวิจัย/สำรวจตลาด
- เผยแพร่ข้อมูลการค้าและการลงทุน และ
- การเตรียมการสำหรับคณะผู้แทนการค้าเยือนสิงคโปร์ และไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นการค้าส่ง ค้าปลีก หรือกิจกรรมการประสานงานใดๆ ที่จะนำมาซึ่งรายได้/ค่าธรรมเนียม หรือรายได้จากการให้บริการ สำนักงานฯจะต้องตั้งอยู่เป็นเอกเทศ ไม่รวมอยู่ในอาณาเขตของสถานทูต เจ้าหน้าที่ฯ ไม่ได้รับเอกสิทธิทางการทูต และจำนวนเจ้าหน้าที่ฯ จะต้องเป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตจาก IE Singapore
3. การยื่นขอ RO โดยยื่นขอต่อ IE Singapore ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 ต้องยื่นขอ(หรือต่ออายุ) ทาง On line ที่เว็บไซด์http://roms.iesingapore.gov.sg โดยแบ่งเป็น
3.1 Representative Office (RO) ยื่นขอพร้อมเอกสารประกอบดังนี้
- รายละเอียด ของบริษัทแม่ (Soft Copy : ภาษาอังกฤษ หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ)
- รายงานประจำปีและบัญชีการเงินปีล่าสุดของบริษัทแม่ (Soft Copy) หากไม่มี Soft Copy บริษัทสามารถนำส่ง Hard Copy ให้ IE Singapore หลังจากที่ได้ยื่นขอทาง On line เรียบร้อยแล้ว
3.2 Foreign Government Representative Office (RO) ยื่นขอพร้อมรายละเอียดของหน่วยงาน สถานที่ตั้ง และจำนวนเจ้าหน้าที่
4. ค่าใช้จ่าย : 200 เหรียญสิงคโปร์ โดยอาจจ่ายเป็น Cheque, Bank Draft (เงินสกุลเหรียญสิงคโปร์ และธนาคารในสิงคโปร์) หรือ Credit Card
5. แบบฟอร์มสามารถ down load ได้จากเว็บไซด์ https://www.roms.iesingapore.gov.sg ดังนี้
1) Application for Registration/Renewal of Representative Office in Singapore
2) Application for Registration/Renewal of Foreign Government Representative Office in Singapore
1. ค่าเช่าสำนักงานในเขต Central Business District เดือนละประมาณ 17.50-42.50เหรียญสิงคโปร์/ตารางฟุต ไม่รวมค่าใช้จ่ายครั้งแรกสำหรับ fitting-out cost ระหว่าง 120-250 เหรียญสิงคโปร์/ตารางฟุต
2. ค่าจ้างพนักงาน ในปัจจุบันค่าจ้างพนักงานโดยเฉลี่ยเดือนละ 1,800-2,700 เหรียญสิงคโปร์ และการขึ้นเงินเดือนอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 3.5 ต่อปี
3. เงินสะสมพนักงาน (CPF) บริษัทจะต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่พนักงานร้อยละ 5-14.5 ของเงินเดือน ขึ้นอยู่กับอายุของพนักงาน โดยหน่วยงานสิงคโปร์ Central Provident Fund Board (CPF Board) เป็นหน่วยงานที่เก็บเงินสะสมให้พนักงาน ทั้งนี้ ในส่วนของพนักงานเอง ต้องส่งเงินสะสมเข้าบัญชีตนเองที่ CPF Board ร้อยละ 5-20 ของเงินเดือนด้วย
4. ค่าข่าวสารทาง Internet ขึ้นอยู่กับระบบที่ใช้จะเป็น ISDN หรือ high-speed ADSL ค่าใช้จ่ายประมาณระหว่าง 68 - 2,400 เหรียญสิงคโปร์/เดือน
Companies Businesses
TOTAL 25,328 24,845 Manufacturing 1,521 1,295 Construction 1,331 1,739 Wholesale & Retail Trade 6,415 7,623 Transport & Storage 1,150 1,164 Hotels & Restaurants 1,316 1,628 Information & Communications 1,569 1,247 Financial & Insurance Activities 3,592 317 Real Estate, Rental & Leasing Activities 584 393 Professional, Scientific & Technical Activities 3,761 3,424 Administrative & Support Service Activities 1,215 1,511 Education, Health & Social Work 1,040 1,500 Arts, Entertainment, Recreation & Other Service Activities 1,546 2,774 Others 258 230 หมายเหตุ: 1) A company is a business entity incorporated under the Companies Act. It usually has the words 'Pte Ltd' or 'Ltd' as part of its name. 2) A business is an entity registered under the Business Registration Act. It includes every form of trade, commerce, craftsmanship, calling, profession & any activity carried on for the purposes of gain : Sole-Proprietorship (1 owner) Or Partnership (2 to 20 owners) 2.7 การจำแนกกลุ่มผู้บริโภค (Market Segmentation) : สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 กลุ่มอายุ* ร้อยละ เพศชาย เพศหญิง จำนวนรวม 100.0 1,803.0 1,839.7 0-14 ปี 18.43 344.4 326.8 15-64 ปี 72.90 1,319.0 1,336.7 65 ปีและสูงกว่า 8.67 139.6 176.2 * ประชากรที่พำนักในประเทศ ที่มา : Singapore Department of Statistics 3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ 3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของสิงคโปร์
สิงคโปร์ทำการค้ากับประเทศต่างๆทั่วโลก ประเทศคู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรก (การค้ารวม ปี 2551) ได้แก่ มาเลเซีย จีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย(อันดับ 9) และอินเดีย สำหรับการค้ารวมปี 2551 มีการเจริญเติบโตร้อยละ 9.6 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 โดยที่การส่งออกสินค้าทั่วไปที่ผลิตภายในประเทศลดลงร้อยละ 7.9 (การสั่งซื้อสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ลดลงมาก และการส่งออกไปยังมาเลเซีย สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปลดลง) ส่วนสินค้าทั่วไปที่ส่งออกต่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
ปัจจุบันสิงคโปร์มุ่งเน้นนโยบายขยายการค้าและการลงทุนไปยังประเทศในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ อิยิปต์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านการก่อสร้างสาธารณูปโภค อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ยังคงให้ความสำคัญกับการค้าและการลงทุนในตลาดจีนและอินเดียควบคู่กันไป โดยเฉพาะจีนซึ่งสิงคโปร์มีสัมพันธ์ทางการค้ามากขึ้น อันเป็นผลมาจากการที่ประเทศในตะวันตกและญี่ปุ่นที่ย้ายฐานการผลิตไปยังตลาดจีน ซึงสิงคโปร์ได้รับผล ประโยชน์โดยตรงในการส่งชิ้นส่วนประกอบการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆไปยังจีน นอกเหนือจากการเป็นพ่อค้าคนกลางส่งสินค้าประเภทอาหารไปยังจีน อินเดีย และตะวันออกกลางที่มีประชากรจำนวนมากและกำลังซื้อสูง
ปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่สิงคโปร์ยังประสบอยู่อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ลดลง โรคระบาดไข้หวัดนกและอื่นๆ ความไม่มั่นคงในเสถียรภาพทางการเมืองของบางประเทศราคาน้ำมันที่ไม่มั่นคง เป็นต้น
ประเทศ 2550 (%) 2551 (%) 1. มาเลเซีย 12.98 12.01 2. จีน 10.82 9.85 3. สหรัฐฯ 10.41 9.30 4. อินโดนีเซีย 7.84 8.10 5. ญี่ปุ่น 6.39 6.48 6. ฮ่องกง 6.26 5.87 7. เกาหลีใต้ 4.16 4.60 8. ไต้หวัน 4.38 3.95 9. ไทย 3.71 3.72 10. อินเดีย 2.82 3.10
ที่มา : International Enterprise Singapore
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ การขยายตัว (%) 2550 2551 2551 มค-มิย 2552 มค-มิย 2551 2552 มค-มิย การค้ารวม 561,746.02 669,883.56 340,066.88 230,125.42 19.25 -32.33 การส่งออก 299,003.20 344,282.33 175,447.36 119,884.42 15.14 -31.67 การนำเข้า 262,742.82 325,601.23 164,619.51 110,241.00 23.92 -33.03 ดุลการค้า 36,260.38 18,681.10 10,827.85 9,643.42 -48.48 -10.94 ที่มา : International Enterprise, Singapore
ปี 2551 การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่า 669,883.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.25 จากปีที่ผ่านมา โดยประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งคือ มาเลเซีย รองลงมา ได้แก่ จีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 9 โดยมีมูลค่าการค้ารวม 24,938.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.51 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.72 ของมูลค่าการค้ารวมของสิงคโปร์
ปี 2552 เดือนมกราคม-มิถุนายน การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่ารวม230,125.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -32.33 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 119,884.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(ลดลงร้อยละ -31.67) และมูลค่าการนำเข้า 110,241.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ -33.03) โดยประเทศ คู่ค้า(นำเข้า)อันดับหนึ่ง คือ สหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ -24.53) รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย (ร้อยละ -33.99) จีน (ร้อยละ -26.52) ญี่ปุ่น (ร้อยละ -34.52) อินโดนีเซีย (ร้อยละ -21.28) เกาหลีใต้ (ร้อยละ -37.51) ไต้หวัน (ร้อยละ -29.95) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 23.93) ซาอุดิอารเบีย (ร้อยละ -49.73) และไทย (ร้อยละ -36.45)
สินค้านำเข้าหลักของสิงคโปร์ ในปี 2551 มีมูลค่า 319 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยมีสินค้า เช่น เครื่องบิน น้ำมันดิบ สินค้าปิโตรเลียม ส่วนประกอบอิเล็คทรอนิค เครื่องวิทยุ/โทรทัศน์ เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหาร เครื่องดื่ม เหล็ก และเครื่องสร้างกระแสไฟฟ้า โดยนำเข้าจากประเทศสำคัญๆ ได้แก่ สหภาพยุโรป มาเลเซีย สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย เยอรมนี และฟิลิปปินส์
เนื่องจากประเทศสิงคโปร์ไม่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้สินค้าส่งออกหลักของสิงคโปร์ คือ การส่งออกต่อ (Re-export) ของสินค้าต่างๆ อาทิ สินค้าปิโตรเลียม อาหาร เครื่องดื่ม เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ สินค้าที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม เครื่องจักรยนต์ ซึ่งมีประเทศที่เป็นตลาดสำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง สหภาพยุโรป จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย และออสเตรเลีย
การนำเข้า 2550 2551 Food 7,764 8,633 Beverages & Tobacco 2,656 2,906 Crude Materials 2,838 3,365 Mineral Fuels 83,367 128,792 Animal & Vegetable Oils 673 1,014 Chemicals & Chemical Products 23,919 23,723 Manufactured Goods 30,715 35,020 Machinery & Equipment 208,407 210,232 Electronics 135,764 126,693 Non-electronics 72,642 83,540 Miscellaneous Manufactures 29,238 29,074 การส่งออก 2550 2551 Food 4,387 4,904 Beverages & Tobacco 2,725 2,923 Crude Materials 2,888 3,042 Mineral Fuels 79,724 115,479 Animal & Vegetable Oils 553 889 Chemicals & Chemical Products 55,615 48,514 Manufactured Goods 21,890 22,331 Machinery & Equipment 247,655 242,702 Electronics 185,675 174,487 Non-electronics 61,980 68,215 Miscellaneous Manufactures 29,159 29,885 ที่มา : International Enterprise, Singapore 3.4 สิทธิพิเศษทางการค้า :
สิทธิพิเศษที่สิงคโปร์ให้กับประเทศคู่ค้า ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบอาเซียนและ FTA โดยเป็นสินค้าและ การให้บริการ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และส่งผลให้สิงคโปร์มีบทบาทในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่ปรากฎอย่างชัดเจน ได้แก่ ความสัมพันธ์กับตะวันออกกลาง ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลดีในด้านมูลค่าทางการค้าเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจทางการเมืองและศาสนาระหว่างกัน ซึ่งสิงคโปร์เป็นประเทศ ที่มีประชากรรวมหลายชาติ/ศาสนา รวมทั้งประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามด้วย
สิงคโปร์มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งระดับทวิภาคีและพหุพาคี เป็นสมาชิก APEC, ASEAN, ASEM, WTO, UN, ASEF, FEALAL, G77, NAM, The Commonwealth, UNSC. OPCW รวมทั้ง มีการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTAs) กับนานาประเทศด้วย ซึ่งข้อตกลงการค้าเสรีที่มีทั้งการลงนามระหว่าง 2 ประเทศหรือมากกว่า จะช่วยลดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ลดอัตราภาษีการนำเข้า ผ่อนปรนกฎ/ระเบียบในการลงทุนและส่งเสริมให้การส่งสินค้าและการบริการระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความสะดวก นอกจาก นั้น ยังเป็นประโยชน์ต่อการสร้างตลาดใหม่ๆให้แก่นักลงทุนสิงคโปร์พร้อมเปิดโอกาสด้านการค้า-ขาย รวมถึงการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา และเพื่อให้สิงคโปร์รักษาระดับมาตรฐานของการเป็นศูนย์การกระจายสินค้าและการขนส่งอีกด้วย
นับตั้งแต่การลงนาม FTA ครั้งแรกเมื่อปี 2536 ภายใต้ ASEAN Free Treade Area (AFTA) เครือข่าย FTA ของสิงคโปร์ได้ขยายครอบคลุมไปยังประเทศคู่ค้าในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ซึ่งข้อตกลงการค้าเสรีที่สิงคโปร์ร่วมลงนามกับประเทศต่างๆเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้ คือ
1. ASEAN Free Trade Area (AFTA)
2. ASEAN-Australia-New Zealand FTA (AANZFTA)
3. ASEAN-China (ACFTA)
4. ASEAN-Japan (AJCEP)
5. ASEAN-Korea (ADFTA)
6. Australia (SAFTA)
7. China (CSFTA)
8. GCC (GSFTA)
9. Hashemite Kingdom of Jordan (SJFTA)
10. India (CECA)
11. Japan (JSEPA)
12. Korea (KSFTA)
13. New Zealand (ANZSCEP)
14. Panama (PSFTA)
15. Peru ( PeSFTA)
16. Switzerland, Liechtenstein, Norway and Iceland (ESFTA)
17. Trans-Pacific SEP (Brunei, New Zealand, Chile, Singapore)
18. United States (USSFTA)
1. ASEAN-India
2. Canada
3. Mexico
4. Pakistan
5. Ukraine
ซึ่งสิงคโปร์เห็นว่าตลาดข้างต้นนี้เป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้สิงคโปร์ได้รับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจการค้าแล้ว ยังส่งผลทางอ้อมคือ เป็นการสร้างสัมพันธไมตรีทางการทูตให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและช่วยสร้างความเข้าใจทางการเมืองและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยต่างศาสนาด้วย
จากการที่สิงคโปร์เป็นประเทศมีการค้าเสรี รัฐบาลมีกฎ/ระเบียบโปร่งใสและรักษากฎอย่างเคร่งครัดและภาครัฐได้สร้างบรรยากาศด้านการลงทุนให้เป็นที่น่าสนใจต่อชาวต่างชาติที่ประสงค์จะย้ายถิ่นเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ รวมทั้งมีมาตรการในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และมีสภาพบ้านเมืองที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจการค้า ดังนั้น เมื่อรวมระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่างๆ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสิงคโปร์เข้ากับการที่สิงคโปร์มีข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆทั่วโลก ก็สามารถทำให้กระบวนการค้าระหว่างประเทศเป็นไปได้โดยง่าย และส่งผลให้เศรษฐกิจสิงคโปร์สามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ สิงคโปร์มีกรอบขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสิงคโปร์ (Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship : STEER)
อนึ่ง ข้อมูลรายละเอียด FTA ของสิงคโปร์ ดูได้ในเว็บไซด์ http://www.fta.gov.sg
ที่มา : Ministry of Trade & Industry, Singapore
- สถานการณ์
สิงคโปร์และไทยเป็นประเทศคู่ค้าดั้งเดิม มีความสัมพันธ์ด้านการทูต การค้าและการลงทุน สิงคโปร์เป็นตลาดเล็ก สินค้าส่วนใหญ่ที่นำเข้าจากไทยนอกจากใช้บริโภคภายในประเทศแล้ว ส่วนใหญ่ส่งออกต่อไปยังประเทศที่สาม (Re-export) สำหรับสินค้าที่นำเข้าจากไทยเพื่อบริโภคในประเทศโดยตรงส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหาร ได้แก่ ข้าว ผัก/ผลไม้ อาหารกระป๋อง อาหารทะเล เป็นต้น
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ การขยายตัว (%) 2550 2551 2551 มค-มิย 2552 มค-มิย 2551 2552 มค-มิย การค้ารวม 20,867.89 24,938.70 12,237.47 7,998.36 27.30 -34.64 การส่งออก 12,376.66 13,440.47 6,734.79 4,501.29 8.60 -33.16 การนำเข้า 8,419.23 11,489.23 5,502.68 3,497.07 35.41 -36.45 ดุลการค้า 3,885.43 1,942.24 1,232.11 1,004.22 -50.01 -18.50 ที่มา : International Enterprise Singapore
การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย ปี 2551 สิงคโปร์ยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับไทยมูลค่า 1,942.24 ล้าน-เหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 50.01 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเป็นการส่งออก และนำเข้า ดังนี้
- การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกมาไทยคิดเป็นมูลค่า 13,440.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.60 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า(ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8) สินค้าหลัก ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง น้ำมันสำเร็จรูป ส่วนประกอบ/อุปกรณ์ของเครื่องจักรกล เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซีสเตอร์และไดโอด หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน และดีบุก เป็นต้น
- การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 11,498.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.41 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.53) โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สำหรับอันดับหนึ่ง คือ มาเลเซีย รองลงมา ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย และเยอรมนี สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องสูบลม/เครื่องอัดลมหรืออัดก๊าซอื่นๆและพัดลมรวมทั้งเครื่องระบายอากาศ เครื่องปรับอากาศ และไซคลิกไฮโดรคาร์บอน
การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย ในช่วง มค.-มิย. ของปี 2552 สิงคโปร์ยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับไทย มูลค่า 1,004.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -18.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยเป็นการส่งออก และนำเข้า ดังนี้
- การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกมาไทยคิดเป็นมูลค่า 4,501.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10) สินค้าหลัก ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ น้ำมันสำเร็จรูป ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วน ประกอบส่วนประกอบของเครื่องจักรประเภทที่ 84.25-84.30 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบของสินค้าประเภทที่ 88.01 หรือ 88.02 เป็นต้น
- การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 3,497.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 36.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.17) โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 10 สำหรับอันดับหนึ่ง คือ สหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส และเซาอุดิอาระเบีย สินค้านำเข้า 10 อันดับเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูปแผงวงจรไฟฟ้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วน ประกอบเครื่องปรับอากาศ รถยนต์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด ข้าว และมอเตอร์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น
ปี 2551 สินค้ารายการสำคัญที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทย ได้แก่
(1) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล (HS 8473)
(2) เครื่องสูบลม/เครื่องอัดลมหรืออัดก๊าซอื่นๆและพัดลง รวมทั้งเครื่องระบายอากาศ (HS 8414)
(3) สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง (HS 8523)
(4) เตาเผาและเตาอบใช้ในอุตสาหกรรม/เตาเผาขยะไม่ใช้ไฟฟ้า (HS 8417)
(5) เบียร์ที่ทำจากมอลต์ (HS 2203)
ส่วนในปี 2552 (มค.-มิย.) สินค้ารายการสำคัญนำเข้าจากไทย ได้แก่
(1) เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ
(2) มอเตอร์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(3) ดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 268.34
(4) ส่วนประกอบเครื่องจักรประเภทที่ 84.25-84.30 เพิ่มขึ้นร้อยละ 186.58
(5) หม้อแปลงไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.54
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 เป็นช่วงเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก สิงคโปร์นำเข้าสินค้าไทยลดลง รายการสินค้าสำคัญที่นำเข้าลดลง ได้แก่
(1) น้ำมันสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ -51.82
(2) แผงวงจรไฟฟ้า ลดลงร้อยละ -5.92
(3) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล ลดลงร้อยละ -44.89
(4) เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบลดลงร้อยละ -39.10
(5) เครื่องปรับอากาศ ลดลงร้อยละ -27.91
(6) รถยนต์ ลดลงร้อยละ -39.99
(7) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด ลดลงร้อยละ -39.62
(8) ข้าว ลดลงร้อยละ -26.65
สินค้า / บริการ ประเทศคู่แข่ง 1. อาหาร มาเลเซีย จีน อินโดนีเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น 2. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ อัฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น 4. เคมีภัณฑ์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ 5. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน มาเลเซีย 4.4 ข้อตกลง/ความร่วมมือทางการค้า กับประเทศไทย
รูปแบบความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคี ความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับสิงคโปร์ที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการไทยเริ่มเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น ความก้าวหน้าของบริษัทไทยที่กล้าลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งแต่เดิมนักลงทุนสิงคโปร์จะเข้าไปลงทุนในไทยมากกว่าที่นักลงทุนไทยจะเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ อย่างไรก็ดี นักลงทุนไทยมองเห็นช่องทางการลงทุนดำเนินธุรกิจการค้าในหลายสาขา เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ศูนย์กลางจำหน่ายวัตถุดิบประกอบอาหารไทย และธุรกิจสปา เป็นต้น
STEER : ไทยและสิงคโปร์มีกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) มีจุดมุ่งหมายเพื่อการส่งเสริมพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเกื้อกูลกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนใน 5 สาขา ได้แก่ สาขาเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประกอบยานยนต์ การท่องเที่ยว การคมนาคมและการขนส่ง และการบริการทางการเงิน ทั้งนี้ การประชุม STEER ที่จัดขึ้นแล้วหลายครั้ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในด้านการลงทุนในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการขนส่งทางทะเล ระบบโครงสร้างพื้นฐาน logistics ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ได้ตกลงกำหนดเป้าหมายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยจะเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกันเป็น 2 เท่าตัวจากตัวเลขในปัจจุบัน และการลงทุนในปริมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2553 รวมทั้งตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน จำนวน 1 ล้านคนมายังไทยและสิงคโปร์ภายใน 3 ปี โดยดำเนินการด้านการตลาดร่วมกัน นอกจากนี้ ยังได้
เห็นชอบจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน (Strategic Roadmaps for Enhanced Partnership) ใน 5 สาขา คือ 1) การท่องเที่ยว (การจัดทำการตลาดร่วมภายใต้แผนงาน two countries, one destination) 2) โลจิสติกส์และการขนส่ง (จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความร่วมมือด้านการขนส่งทางอากาศและทางน้ำ) 3) เกษตรและอาหาร (การจัดทำ compartmentalization เพื่อควบคุมโรคระบาดในสัตว์) 4) การศึกษา (การจัดทำแผนงานพัฒนาบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และ 5) SMEs (การสร้างหุ้นส่วนทางธุรกิจ ร่วมวิจัยเรื่องน้ำมันและก๊าซ และลงทุนในประเทศที่สาม)
CSEP : โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย - สิงคโปร์ (Thailand - Singapore Civil Service Exchange Programme: CSEP) ซึ่งได้จัดตั้งเมื่อปี 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้หน่วยราชการไทยและสิงคโปร์มีโอกาสพบปะอย่างใกล้ชิดและสร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน และนำไปสู่การขยายความร่วมมือที่ดีต่อกันต่อไป โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม โดยย้ำความสำคัญของความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการศึกษา แรงงาน ความร่วมมือทางวิชาการสาธารณสุข และความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ
ปัญหา/อุปสรรค/ประเด็นทางการค้าและการลงทุนกับไทย
1. เปิดตลาดเนื้อสุกรแปรรูป
(1) ระเบียบการนำเข้าสุกรมีชีวิต แปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ เช่น หมูกระป๋อง แฮม Ready-to-eat ที่มีส่วนประกอบของหมู หมูหยอง หมูแผ่น ไส้กรอกหมู รวมทั้งเนื้อสัตว์ทุกชนิดในสิงคโปร์อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) (Ministry of National Development) โดยกำหนดว่า สุกรมีชีวิต เนื้อสุกรแปรรูป และผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจะต้องผลิตมาจากฟาร์มเลี้ยงสุกร โรงฆ่า โรงชำแหละ และโรงงานแปรรูปที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่ายงาน AVA แล้วเท่านั้น
(2) ตั้งแต่ ปี 2534 สิงคโปร์ห้ามนำเข้าสุกรทุกชนิดจากไทย เพราะพบโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย ต่อมาในปี 2546 - AVA ได้ผ่อนผันให้มีการนำเข้าเนื้อสุกรแปรรูปโดยผ่านความร้อนสูง (Heat- processed pork products) จากประเทศไทย ซึ่งเนื้อสุกรจะต้องมาจากโรงฆ่าที่กรมปศุสัตว์รับรองและ AVA ตรวจสอบและอนุมัติแล้วเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมี 7 โรงงาน
2. เปิดตลาดผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป
(1) ระเบียบการนำเข้าสัตว์ปีก โดย AVA กำหนดให้นำเข้าจาก ประเทศผู้ผลิตที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น สำหรับประเทศไทย เดิม AVA ออกใบรับรองให้นำเข้าสินค้าสัตว์ปีกแช่แข็งและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกจากฟาร์มในไทย 24 แห่ง แต่เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกเมื่อต้นปี 2547 จึงทำให้ AVA ประกาศห้ามนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2547 และหลังจากนั้นได้ประกาศห้ามนำเข้าจาก จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้
(2) AVA ได้ผ่อนผันให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป (Processed poultry meat) จากประเทศไทย ซึ่งจะต้องมาจากโรงฆ่าและโรงงานที่กรมปศุสัตว์รับรองและ AVA ตรวจสอบและอนุมัติแล้วเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมี 21 โรงงาน
3. การจ้างแรงงานเกี่ยวกับธุรกิจบริการ
(1) กฎ ระเบียบของการจ้างแรงงานในธุรกิจร้านอาหาร และหมอนวดไทย คือ พ่อครัว/แม่ครัว และพนักงานนวดนั้น สิงคโปร์จัดแบ่งประเทศที่อนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติได้ (Approved Source Countries) คือ มาเลเซีย ฮ่องกง มาเก๊า เกาหลีใต้ และไต้หวัน โดยนายจ้างสามารถจ้างแรงงานต่างชาติได้ในสัดส่วนร้อยละ 40
(2) สำหรับไทย จัดอยู่ในประเภท (Non-Traditional Source : NTS) ซึ่งมีประเทศอื่น ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน โดยนายจ้างสามารถจ้างได้ในสัดส่วน 20 : 1 หมายถึง จ้างคนสิงคโปร์ 19 คน จ้างคนไทยได้ 1 คน (20 คน หมายถึงพนักงานทั้งหมด) ซึ่งทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในภาคธุรกิจบริการของไทยในสิงคโปร์
นอกจากนี้ การยื่นขอใบอนุญาตจ้างแรงงานไทยต่อ Ministry of Manpower (MOM) ประสบปัญหาเนื่องจากในบางกรณี สำนักงานแรงงานไทยได้มีหนังสือรับรองพร้อมเอกสารใบประกาศนียบัตรจากหน่วยงานของไทยเพื่อรับรองแล้ว แต่ไม่ได้รับอนุญาต โดยไม่มีการชี้แจงเหตุผล
(3) ล่าสุดหน่วยงาน Workforce Development Agency ได้ออกกฎระเบียบกำหนด Skill Standard ใหม่ ภายใต้ National Skills Recognition System (NSRS) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 โดยได้เพิ่มเงื่อนไขมากขึ้น หมอนวดจะต้องผ่านหลักสูตร ดังนี้
- Provide full-body massage with oil
- Provide full-body massage without oil
- Perform manicure-pedicure
- Perform face treatment
โดยในความเป็นจริง ธุรกิจสปาของไทยในสิงคโปร์ ดำเนินธุรกิจเฉพาะนวดตัว และนวดเท้าเท่านั้น ดังนั้น เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระ และต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ
1. เปิดตลาดเนื้อสุกรแปรรูป
(1) ขอให้ผ่อนคลายกฎระเบียบที่กำหนดให้เนื้อสุกรนำเข้าต้องผ่านความร้อน 70 องศา 30 นาที ในทุกขบวนการ ผลิต โดยเสนอให้ใช้หลักการเดียวกันกับญี่ปุ่น คือ การต้ม/นึ่งให้ผ่านความร้อน 70 องศา 1 นาที และขอให้รับรองสินค้าเป็นสายการผลิต เช่น ต้ม หรือนึ่ง แทนการให้การรับรองเป็นราย item ซึ่งเสียเวลามาก
(2) ขอให้รับรองฟาร์มที่ได้มาตรฐานตามที่กรมปศุสัตว์ได้รับรองแล้ว และไม่อยู่ในเขตโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย
2. เปิดตลาดผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป
(1) ขอให้ Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) จัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบฟาร์มไก่ในไทย และให้เร่งดำเนินการออกใบรับรองโดยเร็ว เนื่องจากปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการออกใบรับรองหลังจากที่ได้ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงไก่
3. การจ้างแรงงานเกี่ยวกับธุรกิจบริการ
(1) ขอให้สิงคโปร์พิจารณาให้ไทยอยู่ใน Approved Source Countries
(2) ขอให้รับรองหนังสือจากสำนักงานแรงงานไทย ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทยเพื่อรับรองคุณสมบัติของแรงงานไทย
(3) ขอให้พิจารณาปรับสัดส่วนการจ้างแรงงานต่างชาติ เนื่องจาก สัดส่วน 20 : 1 ค่อนข้างสูง และเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจบริการส่วนมาก มีการจ้างงานไม่มาก
(4) ขอให้พิจารณากฎระเบียบใหม่ที่กำหนดให้หมอนวดต้องผ่านหลักสูตรต่างๆ โดย เฉพาะเรื่อง manicure-pedicure และ Perform face treatment ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ
สิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะขยายการลงทุนในสาขาต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น การสื่อสาร โทรคมนาคม IT การให้บริการด้านการเงิน/การธนาคาร การศึกษา การสาธารณสุข การค้นคว้าและวิจัยเภสัชภัณฑ์ และธุรกิจบริการ
1.สิงคโปร์มีความเชี่ยวชาญในการจัดการทรัพยากรบุคคล บริหารจัดการธุรกิจ เป็นตลาดเทคโนโลยีของเอเซียแห่งหนึ่ง มีจุดเด่นเรื่องทำเลที่ตั้งทำให้เป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก มีเครือข่ายธุรกิจกับคนสัญชาติจีนในประเทศต่างๆ มีระบบ Logistics ในการจัดการด้าน Supply Chain ในระดับมาตรฐานโลก รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ทำให้สิงคโปร์เป็นฐานในการทำการค้ากับทั่วโลก เช่น
- ประตูเปิดสู่เอเซีย-แปซิฟิก
- ศูนย์กลางการค้า/บริการของภูมิภาค
- ศูนย์กลางการเดินเรือพาณิชย์
- ศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค
- ศูนย์กลางการบินพาณิชย์
2. สิงคโปร์เป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่เปิดให้มีการค้าอย่างเสรี โดยมีมาตรการควบคุมการส่งออก-นำเข้าสินค้าเพียงบางรายการ ทั้งยังเป็นประเทศที่ทำธุรกิจในลักษณะ Trading Hub ดังนั้น ประเทศไทยควรใช้สิงคโปร์เป็นแหล่งส่งออก (re-export) สินค้าไปสู่ประเทศที่สามเพื่อขยายการส่งออก โดยอาศัยจุดแข็งของสิงคโปร์ในด้านการจัดการ การเงิน/ธนาคาร การสื่อสารและการคมนาคมขนส่ง
3. สิงคโปร์มีนโยบาย Regionalization คือ จะทำการค้าและการลงทุนกับประเทศในเอเชียมากขึ้น ดังนั้นไทยควรพิจารณาร่วมลงทุนกับสิงคโปร์ทั้งในด้านการผลิตและการตลาดเพื่อเจาะตลาดในภูมิภาค
จุดอ่อนทางการค้าและการลงทุน คือ สิงคโปร์เป็นตลาดเล็ก ส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคอุปโภค สินค้านำเข้าจากไทยเพื่อบริโภคในประเทศโดยตรงมีเพียงไม่กี่รายการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอาหาร เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ อาหารทะเล อาหารกระป๋อง เป็นต้น นอกจากนั้นสินค้าที่นำเข้าจะส่งออกต่อไปยังประเทศที่สาม (Re-export) สำหรับการลงทุน ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในสินค้าที่มีมูลค่าสูง ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนมาก
1) Ministry of Trade and Industry (MTI) รับผิดชอบเกี่ยวกับการค้า การลงทุนและการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
2) International Enterprise Singapore (IE Singapore) ได้จัดโครงสร้างใหม่จากหน่วยงานเดิมคือ Trade Development Board (TDB) มีนโยบายช่วยเหลือและสนับสนุนบริษัทสิงคโปร์ให้มีความสามารถขยายตัวไปสู่ตลาดโลกได้ โดยให้บริการและอำนวยความสะดวกในการด้านต่างๆ เช่น การจัดหาข้อมูลการตลาด ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการค้า และการนัดหมาย/จัดหาคู่ค้าในต่างประเทศ รวมทั้งมีนโยบายส่งเสริมสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางของ SME ในภูมิภาค โดยมีมาตรการจูงใจให้ประเทศต่างๆมาเปิดบริษัท/สาขาในสิงคโปร์และร่วมกับบริษัทสิงคโปร์ในการขยายธุรกิจสู่ตลาดในภูมิภาคต่อไป
3) Economics Development Board (EDB) ส่งเสริมให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนใน ทั้งด้านการผลิตและการบริการระดับนานาชาติ
4) Standard Productivities & Innovation Board (SPRING Singapore) สนับสนุนให้ประเทศมีผลการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน 3 ด้านคือ 1) การเพิ่มผลผลิตและการสร้างสรรค์ 2) มาตรฐานและคุณภาพ และ 3) SMEs ภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพื่อให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่สามารถแข่งขันได้ และมีการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและชีวิตมีคุณภาพ
5) Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) รับผิดชอบในการตรวจสอบมาตรฐาน/คุณภาพอาหารนำเข้าสิงคโปร์ ออกระเบียบและดูแลสุขอนามัยภายในประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจว่า อาหารที่นำเข้าสิงคโปร์และผลิตในประเทศมีความสะอาดถูกสุขอนามัยปลอดภัยต่อการบริโภค
- จำนวนนักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์
จำนวน/ปี 2546 2550 2551 จำนวนรวม (‘000) 6,126.90 10,284.50 10,115.60 จำนวนเข้าพักโรงแรม(‘000) 9,570.90 10,511.70 10,567.70 อัตราเฉลี่ยการเข้าพักโรงแรม (%) 65.90 87.00 81.00
- นักท่องเที่ยวจากประเทศสำคัญๆ ปี 2551 ได้แก่
(1) อาเซียน จำนวน 3,571,203 คน ซึ่งประมาณการนักท่องเที่ยวจากไทย 310,000 คน
(2) จีน จำนวน 1,078,637 คน
(3) ออสเตรเลีย จำนวน 833,146 คน
(4) อินเดีย จำนวน 778,299 คน
(5) ญี่ปุ่น จำนวน 571,020 คน
(6) สหราชอาณาจักร จำนวน 492,928 คน
- การเดินทางท่องเที่ยวของชาวสิงคโปร์ไปยังต่างประเทศ
จำนวน/ปี 2546 2550 2551 จำนวนรวม (ราย) 4,221,464 6,024,130 6,828,362 ทางอากาศ 2,344,492 4,151,229 4,854,604 ทางเรือ 1,876,972 1,872,901 1,973,758 5. ภาคแรงงานของสิงคโปร์ (ที่มา : Singapore Department of Statistics) - จำนวนแรงงานในสิงคโปร์ (มิถุนายน) 2550 2551 จำนวนแรงงานรวม (‘000) 1,878.0 1,928.3 การจ้างงาน (‘000) 1,803.2 1,852.0 คนว่างงาน (‘000) 74.8 76.2 อัตราการจ้างงาน (%) 65.0 65.6 อัตราการว่างงาน (%) 3.1 3.1 - ตำแหน่งการจ้างงานแยกประเภท ของผู้ทำงานเริ่มต้นจากอายุ 15 ปีขึ้นไป 2550 2551 จำนวนการจ้างงานรวม (‘000) 1,803.20 1,852.00 Admin & Managerial 263.40 284.70 Professional & Technical 613.10 660.20 Clerical, Service & Sales 457.00 457.90 Production & Related 406.50 385.90 - จำนวนการจ้างงานแยกประเภทอุตสาหกรรมของผู้ทำงานเริ่มต้นจากจากอายุ 15 ปีขึ้นไป 2550 2551 จำนวนการจ้างงานรวม (‘000) 1,803.2 1,852.0 Manufacturing 304.5 311.9 Construction 100.8 105.5 Wholesale & Retail Trade 277.0 269.5 Transport & Storage 179.0 182.4 Hotels & Restaurant 123.1 120.0 Information & Communications 87.0 87.0 Financial Services 109.7 123.6 Business Services 223.9 237.5 Community, Social & Personal Services 375.8 391.9 - กฎ/ระเบียบในการจ้างแรงงานต่างชาติทำงานในสิงคโปร์
สิงคโปร์กำหนดนโยบายในการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศ แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
1. Employment Pass (EP)
2. Personalised Employment Pass (PEP)
3. S Pass
4. Work Permit (Foreign Worker : FW)
5. Work Permit (Foreign Domestic Worker : FDW)
6. อื่นๆ
(1) Employment Pass (EP) ใบอนุญาตทำงานประเภท EP สำหรับ คนต่างชาติระดับวิชาชีพ (Professional) และระดับบริหาร (Executive) ที่มีเงินเดือน ประจำตั้งแต่ 2,500 เหรียญสิงคโปร์ และมีคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับโดย Employment Pass แบ่งเป็นหลายระดับดังนี้
- ระดับ P1 ค่าจ้างมากกว่า 7,000 เหรียญสิงคโปร์ขึ้นไป
- ระดับ P2 ค่าจ้างอยู่มากกว่า 3,500 และไม่เกิน 7,000 เหรียญสิงคโปร์
- ระดับ Q1 สำหรับผู้ได้รับค่าจ้างมากกว่า 2,500 เหรียญสิงคโปร์ขึ้นไป
การออกใบอนุญาตทำงานประเภท Employment Pass นั้น หากนายจ้างใน สิงคโปร์ต้องการจ้างผู้ที่มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญด้านต่างๆจะสามารถจ้างได้โดย ไม่มีข้อจำกัดใน เรื่อง สัดส่วนการจ้างงาน
(2) Personalised Employment Pass (PEP) ใบอนุญาตทำงานประเภท PEP เป็นใบอนุญาต แบบใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มีความสามารถพิเศษ (Global Talent) ให้มาทำงานในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจะต้องมีเงินเดือนประจำในปีที่ผ่านมา อย่างน้อย 30,000 เหรียญสิงคโปร์ และมีคุณสมบัติขั้นต่ำดังนี้
- สำหรับผู้ถือใบอนุญาต P Pass ต้องมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 2 ปี
- สำหรับผู้ถือใบอนุญาต Q 1 Pass ต้องมี ประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี
- สำหรับคนต่างชาติที่จบการศึกษาจากสถาบันขั้นสูงในสิงคโปร์ และถือใบ อนุญาต P Pass หรือ Q1 Pass ต้องมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 2 ปี
ผู้มีใบอนุญาต PEP จะได้รับอนุญาตให้ทำงานในทุกภาคธุรกิจและเมื่อมีการ เปลี่ยนงานหรือรองานใหม่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศสิงคโปร์ต่อไปได้อีก 6 เดือน
(3) S Pass ใบอนุญาตทำงานประเภท S Pass สำหรับคนต่างชาติที่มีฝีมือ แรงงาน ในระดับกลาง (mid-level skilled worker) เช่น ช่างเทคนิคต่างๆ และต้อง มีคุณสมบัติดังนี้
-มีเงินเดือนประจำขั้นต่ำ 1,800 เหรียญสิงคโปร์
-มีการศึกษาระดับปริญญาหรืออนุปริญญา (Degree or Dploma) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหลักสูตรเต็มเวลาอย่างน้อย 1 ปี
-ประเภทของงานที่เกี่ยวกับวิชาชีพ ผู้ชำนาญการ หรือช่างเทคนิค โดยเฉพาะอาชีพที่เป็น ที่ต้องการในตลาดแรงงานสิงคโปร์ในระยะ 2 — 3 ปี ข้างหน้า
-ประสบการณ์ทำงาน
(4) Work Permit ( Foreign Worker ) ใบอนุญาตประเภท WP สำหรับแรงงานต่างชาติกึ่งฝีมือ (Semi-skilled worker) และแรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled worker) อายุระหว่าง 16 — 50 ปี ที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 1,800 เหรียญสิงคโปร์ ซึ่งจะมีการ ควบคุม โดยการเก็บค่าธรรมเนียม (Levy) จากนายจ้าง และมีการกำหนดสัดส่วนของแรงงานท้องถิ่นกับแรงงานต่างชาติ และการกำหนดประเทศ ที่อนุญาตให้ทำงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
(5) Worker Permit (Foreign Domestic Worker) ใบอนุญาตทำงานสำหรับ คนงานต่างชาติที่ทำงานรับใช้ในบ้าน มีอายุระหว่าง 23 — 50 ปี สำหรับผู้ไม่เคยทำงานใน สิงคโปร์มาก่อนและต้องมีการศึกษาอย่างน้อย 8 ปี
(6) อื่นๆ ได้แก่ ใบอนุญาตทำงานสำหรับผู้ประกอบการ ใบอนุญาต ฝึกงาน Work Holiday Programme และ Long- Term Social Visit ใบอนุญาตทำงานของนักศึกษาและใบ อนุญาตทำงานพี่เลี้ยงเด็ก เป็นต้น
กฎ/ระเบียบที่อนุญาตแรงงานต่งชาติเข้ามาทำงานในสิงคโปร์ โดยเฉพาะธุรกิจบริการด้านผู้ประกอบการร้านอาหารไทย พนักงานนวดแผนไทย และพนักงานดูแลผู้สูง อายุ/คนป่วย ดังนี้
1. ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย จะต้องขอจดทะเบียนธุรกิจกับหน่วยงานสิงคโปร์ คือ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) และขอ License จาก Ministry of Environment สำหรับสัดส่วนการร่วมลงทุนนั้น สิงคโปร์ไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการลงทุนของชาวต่าง ชาติในสิงคโปร์ หากผู้ขอฯชาวต่างชาติได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจแล้ว สามารถถือหุ้นได้ 100 % เงินลงทุนขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง ขนาดพื้นที การตกแต่งร้าน วัสดุอุปกรณ์ จำนวนคนงาน ฯลฯ และค่าเช่าร้าน/พื้นที่จะขึ้นอยู่กับที่ตั้งที่เป็นตัวกำหนดอัตราค่าเช่า
2. พนักงานนวดแผนไทย (ซึ่งรวมพนักงานในสปา) จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ Ministry of Manpower แจ้งว่า ในด้านนี้สิงคโปร์จะอนุญาตให้มาจากประเทศมาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง และมาเก๊า ส่วนแรงงานจากประเทศไทยนั้น จะต้องอยู่ในหมวดขออนุญาต Employment Pass ซึ่งต้องมี เงินเดือนสูงกว่า 2,500 เหรียญสิงคโปร์ และ S-Pass ซึ่งต้องมีเงินเดือนสูงกว่า 1,800 เหรียญสิงคโปร์ โดยที่หน่วยงานสิงคโปร์มีสิทธิ์โดยเด็ดขาดที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นรายๆไป
3. พนักงานดูแลผู้สูงอายุ/คนป่วย อยู่ในหมวด Domestic Worker ซึ่งผู้จ้าง ต้องจ่าย Security Bond ให้แก่รัฐบาลเป็นเงิน 5,000 เหรียญสิงคโปร์ก่อนที่จะจ้างได้ นอกจากนั้นผู้จ้างจะต้องจ่าย Levy แก่รัฐบาลเดือนละ 265 เหรียญสิงคโปร์ต่อลูกจ้าง 1 คน อีกทั้งผู้จ้างจะต้องเป็นผู้ดูแลทุกข์สุข ของลูกจ้างในระยะเวลาที่ว่าจ้าง และต้องรับผิดชอบต่อลูกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่กระทำผิดกฎหมาย ไม่สามารถแต่งงานกับประชาชนสิงคโปร์หรือผู้พำนักถาวรในสิงคโปร์และไม่ตั้งครรภ์
ประเทศที่ถือเป็นคู่แข่งของแรงงานไทย ได้แก่ ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา ปากีสถาน และพม่า รวมจำนวนประมาณ 145,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในภาคการก่อสร้างและอู่ต่อเรือเช่นเดียวกับแรงงานไทย โดยแรงงานไทยมีจำนวนเป็น 1 : 3 ของจำนวนแรงงานประเทศดังกล่าว
รวมกัน อย่างไรก็ดี จากการสอบถามนายจ้างและบริษัทจัดส่งคนงาน สรุปได้ว่าแรงงานไทยมีฝีมือดี เรียนรู้การทำงานได้เร็วและเชื่อฟังนายจ้าง จึงเป็นที่ต้องการของนายจ้างส่วนใหญ่ และได้รับค่าจ้างสูงกว่าแรงงานชาติอื่นๆ กล่าวคือ หากเป็นแรงงานไทยไร้ฝีมือ จะได้รับค่าจ้างวันละ 18 เหรียญสิงคโปร์ขึ้นไป ในขณะที่แรงงานชาติอื่นได้รับวันละ 16 เหรียญสิงคโปร์ และถ้าเป็นแรงงานไทยมีฝีมือจะได้รับค่าจ้างวันละ 23 เหรียญสิงคโปร์ขึ้นไป ในขณะที่แรงงานชาติอื่นได้รับค่าจ้างวันละ 18-20 เหรียญสิงคโปร์
ด้านการก่อสร้าง ยังคงเป็นตลาดแรงงานหลักสำหรับแรงงานไทย แม้ว่าในปี 2551 ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย แต่สิงคโปร์มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น การก่อสร้าง Integrated Resort (IRs) 2 แห่ง การก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 400 เตียงที่เขต Yishun การก่อสร้างทางเดินเชื่อมต่อใต้ดินระหว่างศูนย์การค้าใหญ่ๆ บริเวณถนน Orchard การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายวงกลม การก่อสร้าง College of the Arts ที่ถนน Rochor การก่อสร้าง National University of Singapore และ High School Clementi การก่อสร้างที่พักอาศัย 1,000 ยูนิต ของ CDL ที่ Marina Boulevard ฯลฯ ซึ่งทำให้มีความต้องการแรงงานก่อสร้างจำนวนมาก และจะมีความต้องการแรงงานไทยปีละกว่า 2,500 คนขึ้นไป
ด้านอู่ต่อเรือ ประเทศสิงคโปร์ได้วางนโยบายที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์ กลางการค้าและเดินเรือทะเลนานาชาติ (International Maritime Centre) ซึ่งปัจจุบันได้มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้รวมทุกระดับจำนวนประมาณ 116,800 คน และคาดว่าจะต้องการการจ้างงานในกิจการนี้อีก 83,200 อัตราภายใน 15 ปีข้างหน้า โดยขณะนี้ยังมีตำแหน่งงานทักษะ (Skilled Job) ว่างประมาณ 3,500 อัตรา และสิงคโปร์ได้จัดหลักสูตรการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองความต้องการเร่งด่วน ดังนั้น ประเทศไทยควรพัฒนาศักยภาพบุคคลากรด้านนี้เช่นกัน ซึ่งมิใช่เพียงเพื่อส่งแรงงานทักษะมาทำงานในสิงคโปร์เท่านั้น แต่เพื่อพัฒนากิจการพาณิชย์นาวีของประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยสรุป สิงคโปร์มีแนวโน้มความต้องการแรงงานด้านอู่ต่อเรือทั้งประเภทที่มีทักษะฝีมือและไม่มีทักษะฝีมือจำนวนมาก
ด้านงานรับใช้ในบ้าน สิงคโปร์มีความต้องการแรงงานต่างชาติในตำแหน่งแม่บ้านเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสตรีชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาทำงานบ้าน จึงมีความต้องการแรงงานด้านนี้สูงมาก ซึ่งปัจจุบันแรงงานชาวฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียทำงานในตำแหน่งนี้มากกว่า 1 แสนคน ในขณะที่แรงงานไทยที่ทำงานเป็นแม่บ้านมีจำนวนน้อยมาก อนึ่ง เนื่องจากนายจ้างต้องรับผิดชอบเงินประกันลูกจ้าง 5,000 เหรียญสิงคโปร์ ค่าธรรมเนียม (Levy) เดือนละ 265 เหรียญสิงคโปร์ และรับผิดชอบค่าที่พัก อาหาร ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันชีวิต และอื่นๆ ของลูกจ้างทั้งหมด ดังนั้น อัตราค่าจ้างจะอยู่ประมาณ 300-350 เหรียญสิงคโปร์เท่านั้น ซึ่งทำให้ไม่เป็นที่จูงใจแรงงานชาวไทย
ด้านพ่อครัว และพนักงานนวดสปา เป็นตำแหน่งงานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพระดับ Professional และ Skilled Workers ซึ่งต้องได้รับค่าจ้างเดือนละ 2,500 เหรียญสิงคโปร์ขึ้นไป และได้รับใบอนุญาตทำงานประเภท Employment Pass โดยยังคงมีความต้องการแรงงานด้านนี้ แต่ไม่สามารถระบุจำนวนได้ชัดเจนเนื่องจากมีการลงทุนสูง สถานประกอบการแต่ละแห่งสามารถจ้างได้ในจำนวนไม่มาก และต้องจ้างเป็นระยะยาวเพราะเป็นงานฝีมือ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ Ministry of Manpower แจ้งว่า สิงคโปร์จะออกใบอนุญาตให้แรงงานพนักงานนวดสปาที่มาจากประเทศมาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง และ มาเก๊า ส่วนแรงงานจากประเทศไทยนั้น จะต้องยื่นขอ โดยที่หน่วยงานสิงคโปร์มีสิทธิ์โดยเด็ดขาดที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เป็นรายๆไป ทั้งนี้อาจจัดอยู่ในประเภท Employment Pass ซึ่งต้องมีเงินเดือนสูงกว่า 2,500 เหรียญสิงคโปร์ หรือ S-Pass ซึ่งต้องมีเงินเดือนสูงกว่า 1,800 เหรียญสิงคโปร์และมีการกำหนดสัดส่วนการจ้างงาน 1 : 20 (แรงงานต่างชาติ 1 คน : แรงงานท้องถิ่น 20 คน)
1. แรงงานต่างชาติที่ยื่นขอ S-Pass หรือ E-Pass จะมีเงินเดือนขั้นต่ำมากกว่า 1,800-2,500 เหรียญสิงคโปร์ ตามลำดับ
2. แรงงานต่างชาติที่ยื่นขอ Work Permit จะมีระดับเงินเดือนจาก 300-1,800 เหรียญสิงคโปร์ และภาครัฐเรียกเก็บค่าธรรมเนียม (Levy) ในการจ้างแรงงานดังนี้
1. Entre Pass เป็นการขออนุญาตเข้าประเทศสิงคโปร์ให้กับผู้ประสงค์จะทำ การค้า การลงทุนในประเทศสิงคโปร์ (รวมทั้งครอบครัว) ซึ่งจะมีระยะเวลาการ ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี สามารถต่อใหม่ได้ตราบเท่าที่กิจการยังดำเนินอยู่ในประเทศสิงคโปร์
2. Multiple Journey Visa (MJV) วีซ่าประเภทนี้ ออกให้สำหรับนักธุรกิจที่มาจากประเทศที่ต้องได้รับการอนุญาตการเข้าประเทศสิงคโปร์ ผู้ถือวีซ่าจะได้รับอนุญาตให้เข้า-ออกสิงคโปร์โดยไม่จำกัดครั้ง จนกว่าจะหมดอายุวีซ่า ซึ่งมีอายุ 1, 2 หรือ 5 ปี อย่างไรก็ตาม ผู้ถือสามารถอยู่ในประเทศสิงคโปร์ได้ไม่เกิน 30 วันต่อครั้ง การต่ออายุจะต้องได้รับการพิจารณาจากกองตรวจคนเข้าเมือง (Immigration & Checkpoints Authority : ICA) ตามแต่ละกรณีไป
3. Social Visit Pass การขออนุญาตประเภทนี้ มีเพื่อให้ผู้ที่สนใจทำธุรกิจหรือลงทุนในประเทศสิงคโปร์ ได้มีโอกาสศึกษาความเป็นไปได้ หรือ ทำการติดต่อต่างๆโดยจะอนุญาตให้อยู่ในประเทศสิงคโปร์ได้ 6 เดือน และสามารถเข้า-ออกประเทศสิงคโปร์ได้อย่างไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องขอใหม่ทุกครั้งที่เข้า-ออก
ส่วนใหญ่จะเป็นด้านการสื่อสาร ซึ่งภาษาที่ใช้โดยทั่วไปคือ ภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาราชการในสิงคโปร์ มี 4 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์ และภาษาทมิฬ นอกจากนี้ ค่าครองชีพมีอัตราสูงถึง 3 เท่าของอัตราค่าครองชีพในประเทศไทย
- บริษัท 50 อันดับแรก (21 พฤศจิกายน 2550)
1 Franklin Offshore Holdings Pte Ltd
2 iFAST Corporation Pte Ltd
3 Tru-Marine Pte Ltd
4 Greenpac (S) Pte Ltd
5 Farlin Timbers Pte Ltd
6 Pinnacle International Pte Ltd
7 Wee Tiong (S) Pte Ltd
8 Super Steel Pte Ltd
9 Samwoh Corporation Pte Ltd
10 Goh Joo Hin Pte Ltd
11 P & N Holdings Pte Ltd (Propnex Holdings)
12 KHL Marketing Asia-Pacific Pte Ltd
13 Star Furniture Industries Pte Ltd
14 Binter & Co Pte Ltd
15 Koufu Pte Ltd
16 Dynaforce International Pte Ltd
17 Grandwork Interior Pte Ltd
18 Smartflex Technology Pte Ltd
19 Xin Ming Hua Pte Ltd
20 Kenyon Engineering Pte Ltd
21 IPS-Lintec Asia Pacific Pte Ltd
22 Orient Express Lines (Singapore) Pte Ltd
23 Mooreast Pte Ltd
24 Nam Leong Co Pte Ltd
25 Soonsteel International Pte Ltd
26 Besta Digitech Pte Ltd
27 Gracezone Marketing Pte Ltd
28 FotoHub Holdings Pte Ltd
29 Specvision Holdings Pte Ltd
30 Silicon Application Pte Ltd
31 Cables International Pte Ltd
32 Viking Airtech Pte Ltd
33 Taipei Industries Pte Ltd
34 Acumen Engineering Pte Ltd
35 Teambuild Construction Pte Ltd
36 OPUS IT Services Pte Ltd
37 LBG-NGT Corporation Pte Ltd
38 Aik Moh Paints & Chemicals Pte Ltd
39 SLP International Property Consultants Pte Ltd
40 Victor Engineering & Trading Pte Ltd
41 Star Controls Engineering Co Pte Ltd
42 S & W Engineering Pte Ltd
43 Gain City Best Electric Pte Ltd
44 Linkers (Far East) Pte Ltd
45 Atlas Vending Pte Ltd
46 Tengah Engineering and Hardware Pte Ltd
47 Eternal Financial Advisory Pte Ltd
48 Synergic Industrial Materials & Services Pte Ltd
49 HSR International Realtors Pte Ltd
50 Aver Asia (S) Pte Ltd
ภาวะเศรษฐกิจ - ในปี 2552 คาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ร้อยละ -6.0 ถึง -4.0 ภาครัฐสิงคโปร์ดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ความช่วยเหลือบริษัทเอกชนให้มีการจ้างงานมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ เสริมสร้างความหลากหลายให้กับภาคการผลิตต่างๆ และภาคบริการ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศเป็นที่ยอมรับในสายตานักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางด้านความรู้ (knowledge hub) และการเชื่อมโยงไปสู่ประชาคมโลก นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังคงให้ความสำคัญกับการเจรจาการค้าทั้งในระดับทวิภาคี อาเซียน และการจัดทำ FTA กับนานาประเทศ โดยเฉพาะปัจจุบันมุ่งเน้นนโยบายขยายการค้าและการลงทุนไปยังประเทศในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ อียิปต์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการค้าและการลงทุนในตลาดจีนและอินเดียควบคู่กันไปด้วย
ตลาด - เป็นตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสูง พึ่งการนำเข้าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็น Trading Firm นำเข้าสินค้าจากทั่วโลก สามารถเป็นฐานกระจายสินค้าไทยไปในภูมิภาคและทั่วโลก ตลาดมีการเจริญเติบโตขยายตัวได้ เนื่องจากมีการลงทุนในการสร้าง Integrated Resorts (IRs) ซึ่งสินค้าอุปกรณ์การก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และของใช้ตกแต่งสถานที่ รวมถึงสินค้าอาหาร/เครื่องดื่ม มีโอกาสที่จะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
สินค้า/การบริการ - สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดสิงคโปร์ ได้แก่ 1) อาหาร(สด/แช่เย็น/แช่แข็ง ผักและผลไม้ ข้าวหอมมะลิ) 2) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ 4) เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 5) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 6) แก้วและกระจกอื่นๆเพื่อการก่อสร้าง 7) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ 8) เคมีภัณฑ์ 9) ผลิตภัณฑ์สปา 10) อัญมณีและเครื่องประดับแฟชั่น ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของสิงคโปร์ ได้แก่ 1) อิเล็คทรอนิกส์ 2) เคมีภัณฑ์ 3) Biomedical 4) เภสัชภัณฑ์ 5) ธุรกิจบริการ โดยเฉพาะการโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร มีการเจริญเติบโตมาก
- การกระชับความสัมพันธ์ทางด้านการค้าของจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นสองยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจในเอเชีย จะส่งผลดีต่อสิงคโปร์ โดยเฉพาะในการแสดงบทบาทเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างนักธุรกิจสองฝ่าย ปัจจุบันบริษัทของอินเดียจำนวนหนึ่งจำเป็นต้องพึ่งสิงคโปร์เพื่อเป็นประตูไปสู่จีน เช่น บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ Tata Consultancy Services และ Satyam Computer Services
- สิ่งที่สิงคโปร์สามารถคาดหวังได้ก็คือ การใช้ภาคธุรกิจของสิงคโปร์ที่ได้เข้าไปประกอบการในจีนแล้ว ในการเป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าที่จีนมีกับอินเดีย เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรมีความรู้ในหลายภาษา ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมที่จะเป็นสะพานทางด้านการค้าให้แก่จีนและอินเดีย ทั้งนี้ แม้ว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและอินเดียจะเติบโตมากขึ้น แต่ในปัจจุบันมีประมาณ 100 บริษัทจากอินเดียที่เข้าไปประกอบการในจีน และมีบริษัทจากจีนเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เข้าไปลงทุนในอินเดีย
- อย่างไรก็ดี นักธุรกิจสิงคโปร์ได้แสดงความกังวลใจว่า บทบาทของสิงคโปร์ในการเป็นจุดเชื่อมต่ออาจจะไม่มีความยาวนาน (คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 5-10 ปี) เนื่องจากจีนและอินเดียสามารถค้นพบศักยภาพความร่วมมือทางการค้ากับประเทศต่างๆด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งประเทศสิงคโปร์ และบริษัทที่มีขนาดใหญ่ของอินเดียมักจะเลือกที่จะติดต่อโดยตรงกับจีนโดยไม่ผ่านสิงคโปร์ แต่ผ่านทางฮ่องกง ดังนั้น สิงคโปร์จำเป็นต้องคว้าโอกาสที่มีอยู่ในการเป็นประตูติดต่อระหว่างจีนและอินเดีย นอกจากนี้ ความสะดวกสบายด้านการคมนาคมและการไปมาหาสู่กันโดยตรงระหว่างจีนและอินเดียที่มีมากขึ้น ก็ยิ่งจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศทั้งสองติดต่อกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องพึ่งประเทศที่สาม
- สิงคโปร์มุ่งเน้นขยายตลาดไปสู่ประเทศในตะวันออกกลาง ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ อิยิปต์ เป็นต้น โดยสินค้าและบริการที่มีศักยภาพ ได้แก่ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการด้านการศึกษา การให้บริการ ด้านสาธารณสุข การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น
- ไทยจำเป็นต้องศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิเศรษฐศาสตร์นี้อย่างใกล้ชิด ความเคลื่อนไหวของสิงคโปร์จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับไทยในการเตรียมการและปรับนโยบายให้สามารถแข่งขันได้กับสิงคโปร์
- Strength
1. นโยบายการค้าตลาดเสรี ไม่มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้า (ยกเว้นสินค้า 4 รายการ คือ 1. เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ 2. บุหรี่และยาสูบ 3. น้ำมันปิโตรเลียม และ 4. รถยนต์/รถจักรยานยนต์) มีแต่การเก็บภาษีสินค้าและบริการ (Goods and Services Tax : GST) ร้อยละ 7
2. เป็นแหล่งกระจายสินค้าไทยไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
3. มีระบบ Logistics ที่มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมในด้าน IT
- Weakness
ตลาดผู้บริโภคมีเพียง 4.8 ล้านคน (ปี 2551) ทำให้ส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยต้องแข่งขันกับประเทศคู่ค้าสำคัญๆอื่นๆ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน
- Opportunity
โอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในการทดสอบตลาดก่อนที่จะขยายตลาดส่งออกไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นต้น
- Threat
การแข่งขันสูงมาก โดยเฉพาะสินค้าจากจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
สินค้าสำคัญๆที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทยได้แก่ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบและเครื่องใช้ในสำนักงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ ข้าวและอาหารทะเลสด/แช่แข็ง ผัก-ผลไม้ นอกจากสินค้าดังกล่าวจะใช้บริโภค-อุปโภคในสิงคโปร์แล้ว ยังจะนำไปส่งออกอีกต่อหนึ่ง (re-export) ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจสิงคโปร์เป็นอย่างยิ่ง ในส่วนของการเป็นคู่แข่งกับไทย สิงคโปร์ต้องการพัฒนาให้ขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านการศึกษา การสาธารณสุข อุตสาหกรรมสื่อ (mass media) การบิน การกลั่นน้ำมัน และการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ (meeting, incentive, convention and exhibition: MICE)
ลู่ทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนาคตระหว่างสองฝ่ายยังมีอีกมาก อาทิ การที่ผู้ส่งออกสินค้าของไทยติดต่อโดยตรงกับผู้นำเข้าสิงคโปร์ เพื่อส่งออกสินค้าสำหรับการบริโภคภายในประเทศ หรือใช้สิงคโปร์เป็น Gateway ในการส่งออกต่อสินค้าไทยไปยังประเทศที่ 3 ซึ่งพ่อค้าสิงคโปร์มีความเชี่ยวชาญอย่างมาก
การขยายตลาดธุรกิจบริการ ซึ่งด้านที่เด่นของไทย ได้แก่ อาหารไทย และนวดแผนไทย นอกจากจะส่งผลให้ไทยได้รับชื่อเสียงและมีภาพลักษณ์ที่ดี ยังทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในสินค้าประเภทวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารไทย น้ำมันนวด/ลูกประคบและผลิตภัณฑ์สปาของไทย ทั้งนี้ จากการที่กรมส่งเสริมการส่งออกได้มีโครงการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ร้านอาหารไทยที่ได้รับ Thai Select ในสิงคโปร์ ทำให้สามารถสร้างความมีมาตรฐานอาหารไทยและการยกระดับพ่อครัว/แม่ครัวไทย เพื่อให้ชาวสิงคโปร์นิยมบริโภคอาหารไทย รวมถึงได้เผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมการบริโภคของไทย และสร้างงานให้กับคนไทยในสิงคโปร์
ในด้านสินค้า OTOP ประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมในตลาดสิงคโปร์ ได้แก่ ของใช้ในครัวเรือนที่ทำด้วยไม้ ของประดับตกแต่งบ้าน ดอกไม้ประดิษฐ์เหมือนจริง และผลิตภัณฑ์สปาที่ทำจากสมุนไพร เป็นต้น นอกจากจะเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยในการติดต่อค้าขายกับสิงคโปร์แล้ว ยังสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้มากขึ้นด้วย
1. In-store Promotion
1.1 การส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต NTUC Fairprice (7-20 พฤษภาคม 2552)
1.2 การส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต Giant Hypermarket (15-28 พฤษภาคม 2552 )
1.3 การส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต Carrefour (20-26 กรกฎาคม 2552)
2. ห้างสรรพสินค้า
2.1 โครงการ Made in Thailand Fashion Showcase 2009 ณ Vivo City (11-15 มิถุนายน 2552)
3. การจัดคณะผู้แทนการค้า In-Coming Mission เยือนประเทศไทย
3.1 คณะผู้แทนการค้าสินค้าอาหารจากสิงคโปร์ NTUC Fairprice เยือนประเทศไทย
3.2 คณะผู้แทนการค้าข้าว เยือนงาน Thailand Rice Convention
3.3 คณะผู้แทนสมาคม Print & Media Association สิงคโปร์เยือนไทย
3.4 คณะผู้แทนการค้าจากสิงคโปร์เดินทางไปเจรจาสั่งซื้อผลไม้ ณ จังหวัดเชียงใหม่และสุราษฎร์ธานี
3.5 คณะผู้แทนการค้าจากสิงคโปร์เยือน ASEAN Fashion Plus
4. โครงการอื่นๆ
4.1 โครงการ Thailand Exhibition ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย (26-30 มีนาคม 2552)
4.2 โครงการส่งเสริมภัตตาคารไทยที่ได้รับ Thai Select ในสิงคโปร์ (เดือนสิงหาคม 2552)
4.3 Thai Festival 2009 —เงินงบประมาณของสถานเอกอัครราชทูตฯ (3-7 กันยายน 2552) โดย สคต. ณ สิงคโปร์รับผิดชอบในการจัดหาผู้ประกอบการไทยมาเข้าร่วมงาน
4.4 โครงการ Mini Exhibition กลุ่มสหพัฒนพิบูลย์ (29-30 กันยายน 2552)
4.5 คณะ Made in Thailand Product Showcase Premium Gift & Decoration ในงาน Singapore Gift & Stationery Show 2009 (19-21 สิงหาคม 2552)
4.6 โครงการศึกษาและจัดทำคู่มือประกอบธุรกิจในประเทศสิงคโปร์ (เดือนสิงหาคม 2552)
4.7 โครงการสร้างสถานทูต สำนักงาน และบ้านพัก ซึ่งคาดว่า บ้านพัก จะต้องย้ายประมาณเดือนธันวาคม 2552 และใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี
5. โครงการจากส่วนกลาง
5.1 โครงการคณะผู้ส่งออกไทยสินค้าผัก-ผลไม้สดเยือนสิงคโปร์ ตามคำเชิญของ AVA (12-14 พฤศจิกายน 2551)
5.2 โครงการนำนักธุรกิจสินค้าของขวัญของชำร่วยและของตกแต่งบ้านเดินทางไปเจรจาการค้าที่ประเทศสิงคโปร์ (22-25 กรกฏาคม 2552)
5.3 โครงการกิจกรรมเพื่อขยายตลาดและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยในประเทศสิงคโปร์ (23-26 กรกฎาคม 2552)
5.4 โครงการคณะผู้แทนการค้าสินค้าอาหารเยือนตลาดสิงคโปร์ (12-14 สิงหาคม 2552)
www.gov.sg : The Government of Singapore www.mti.gov.sg : Ministry of Trade and Industry (MTI) www.iesingapore.gov.sg : International Enterprise of Singapore (I E Singapore) www.acra.gov.sg : Accounting and Corporate Regulatory Authority (ACRA) www.ace.org.sg : Action Community for Entrepreneurship (ACE) www.asme.org.sg : Association for Small and Medium Enterprises (ASME) www.edb.gov.sg : Economic Development Board (EDB) www.iesingapore.gov.sg : Setting Up Representative Office in Singapore www.sbf.org.sg : Singapore Business Federation (SBF) www.customs.gov.sg : Singapore Customs (for Import/Export) www.gebiz.gov.sg : Singapore Government Procurement Website www.smafederation.org.sg : Singapore Manufacturers’ Federation (SMa) Utilities/Industrial/Standards www.bca.gov.sg : Building and Construction Authority www.jtc.gov.sg : Jurong Town Corporation www.singaporepower.com.sg : Singapore Power www.spring.gov.sg : Standards Productivity and Innovation Board (SPRING) Legal Matters www.ipos.gov.sg : Intellectual Property Office of Singapore www.newiplaws.org.sg : Intellectual Property Office of Singapore www.mol.gov.sg : Ministry of Law www.siac.org.sg : Singapore International Arbitration Centre www.mediation.com.sg : Singapore Mediation Centre www.smallclaims.gov.sg : Small Claims Tribunals Employment Matters www.cpf.gov.sg : Central Provident Fund Board www.ica.gov.sg : Immigration & Checkpoints Authority www.mom.gov.sg : Ministry of Manpower www.slf.gov.sg : Singapore Labour Foundation www.wda.gov.sg : Singapore Workforce Development Agency Organizing Exhibition in Singapore www.saceos.org.sg : Singapore Association of Convention and Exhibition Organizers and Suppliers (SACEOS) www.singapore-expo.com.sg : Singapore Expo www.stb.com.sg : Singapore Tourism Board www.sicec.com : Suntec Singapore International Convention Centre Business/Franchise Assistance
www.business.gov.sg/bizTop/bAsst.htm : Government Incentives and Financing Schemes
www.fla.org.sg : Franchise and Licensing Association www.svca.org.sg : Singapore Venture Capitalist Association Financial Authorities/Board www.iras.gov.sg : Inland Revenue Authority of Singapore www.mas.gov.sg : Monetary Authority of Singapore Motoring/Vehicle Matters www.spinet.gov.sg : Conversion of Foreign Driving License www.lta.gov.sg : Land Transport Authority www.vicom.com.sg : Vehicle Inspection Postage Matters www.singpost.com.sg : Singapore Post Market Research www.singstat.gov.sg : Department of Statistics Health Governing Agencies www.hsa.gov.sg : Health Sciences Authority www.hpb.gov.sg : Health Promotion Board www.moh.gov.sg : Ministry of Health www.sdc.gov.sg : Singapore Dental Council www.smc.gov.sg : Singapore Medical Council www.snb.gov.sg : Singapore Nursing Board Environment Governing Agencies www.ave.gov.sg : Agri-Food & Veterinary Authority of Singapore www.env.gov.sg : Ministry of The Environment www.nea.gov.sg : National Environment Agency www.nparks.gov.sg : National Parks Board Science & Technology www.a-star.gov.sg : Agency for Science, Technology and Research (A*Star) www.dsta.gov.sg : Defence Science & Technology Agency www.ida.gov.sg : Infocomm Development Authority of Singapore (IDA) Education Authorities/Tertiary Institutions www.cscollege.gov.sg : Civil Service College (CSC) www.iseas.edu.sg : Institute of Southeast Asian Studies www.ite.edu.sg : Institute of Technical Education www.moe.gov.sg : Ministry of Education www.nyp.edu.sg : Nanyang Polytechnic www.ntu.edu.sg : Nanyang Technological University www.nus.edu.sg : National University of Singapore www.np.edu.sg : Ngee Ann Polytechnic www.rp.edu.sg : Republic Polytechnic www.sp.edu.sg : Singapore Polytechnic www.tp.ecu.sg : Temasek Polytechnic Information and Arts www.mda.gov.sg : Media Development Authority www.mita.gov.sg : Ministry of Information and the Arts www.nac.gov.sg : National Arts Council www.nhb.gov.sg : National Heritage Board www.nlb.gov.sg : National Library Board Others www.stgc.gov.sg : Strategic Good Control www.ies.org.sg : The Institution of Engineer Singapore 10.2 รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศสิงคโปร์ หน่วยราชการไทยที่สำคัญ : Royal Thai Embassy 370 Orchard Road, Singapore 238870 Tel : (65) 6737 2644, 6737 2158 Fax : (65) 6732 0778 Email : thaisgp@singnety.com.sg
Office Hours : 09.00-12.30 hrs., and 14.00-17.00 hrs., Monday-Friday
Office of Commercial Affairs (Thai Trade Centre)
Address : 370 Orchard Road, Royal Thai Embassy, Singapore 238870
Tel : (65) 6737 3060, 6732 7769
Fax : (65) 6732 2458
Email : enquiry@thaitrade.sg
Office of Labour Affairs
Address : 180 Cecil Street, Bangkok Bank Building, #04-01A, Singapore 069546
Tel : (65) 6224 9940, 6224 1797
Fax : (65) 6225 9995
Email : minister_counsellor@thaitrade.org.sg
Tel : (65) 6346 6372 Fax : (65) 6346 6385 Email : thnasing@singnet.com.sg Tourism Authority of Thailand Address : 370 Orchard, C/O Royal Thai Embassy, Singapore 238870 Tel : (65) 6235 7901, 6235 7694 Fax : (65) 6733 5653 Email : tatsin@singnet.com.sg 10.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า/การลงทุนของสิงคโปร์
1. Ministry of Trade and Industry (MTI) รับผิดชอบเกี่ยวกับการค้า การลงทุน และอุตสาหกรรม
2. International Enterprise Singapore (I E Singapore) มีนโยบายช่วยเหลือและสนับสนุนบริษัทสิงคโปร์ให้มีความสามารถขยายตัวไปสู่ตลาดโลกได้ โดยให้บริการและอำนวยความสะดวกในการด้านต่างๆ เช่น การจัดหาข้อมูลการตลาด ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการค้า และการนัดหมาย/จัดหาคู่ค้าในต่างประเทศ รวมทั้งมีนโยบายส่งเสริมสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางของ SME ในภูมิภาค โดยมีมาตรการจูงใจให้ประเทศต่างๆมาเปิดบริษัท/สาขาในสิงคโปร์และร่วมกับบริษัทสิงคโปร์ในการขยายธุรกิจสู่ตลาดในภูมิภาคต่อไป
3. Economics Development Board (EDB) ส่งเสริมให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนในทั้งด้านการผลิตและการบริการระดับนานาชาติ
4. Standard Productivities & Innovation Board (SPRING Singapore) สนับสนุนให้ประเทศมีผลการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน 3 ด้านคือ 1. การเพิ่มผลผลิตและการสร้างสรร 2. มาตรฐานและคุณภาพ 3. SMEs และภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพื่อให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่สามารถแข่งขันได้ และมีการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและชีวิตมีคุณภาพ
5. Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพอาหารนำเข้าสิงคโปร์ ออกระเบียบและดูแลสุขอนามัยภายในประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจว่า อาหารที่นำเข้าสิงคโปร์และผลิตในประเทศมีความสะอาดถูกสุขอนามัยปลอดภัยต่อการบริโภค
No Association ปีก่อตั้ง แขนง/สาขา จำนวนสมาชิก 1 Association of Small & Medium Enterprises 1986 1 4000 2 Franchising and Licensing Association (Singapore) 1993 1 140 3 Gifts & Incentives Business' Association Singapore 1997 1 71 4 Motor Traders Association of Singapore 1984 1 35 5 Print & Media Association of Singapore 1936 1 133 6 Rubber Trade Association of Singapore 1918 1 45 7 Singapore Building Materials Suppliers' Association 1945 1 98 8 Singapore Clock & Watch Trade Association 1929 1 131 9 Singapore Cycle & Motor Traders' Association 1932 1 87 10 Singapore Electrical Trades Association (The) 1968 1 64 11 Singapore Fish Merchants' General Association 1969 1 90 12 Singapore Fruits & Vegetables Importers & Exporters Association 1948 1 109 13 Singapore Food Manufacturers Association 1967 1 276 14 Singapore Furniture Association 1926 1 78 15 Singapore Furniture Industries Council 1986 1 77 16 Singapore General Rice Importers Association 1955 1 17 17 Singapore Glass Association 1969 1 80 18 Singapore Hardware & Tools Association 1966 1 146 19 Singapore Housing Decoration Contractor's Association 1976 1 99 20 Singapore Jewellers Association 1939 1 300 21 Singapore Logistics Association 1973 1 360 22 Singapore Motor Tyre Dealers Association 1952 1 100 23 Singapore Sanitary Ware Importers & Exporters Association 1968 1 105 24 Singapore Seafood Industries Association 1988 1 77 25 Singapore Sugar Traders Association 1908 1 10 26 Singapore Textiles Traders Association 1908 1 121 27 Singapore Textile Dealers Friendly Association 1952 1 61 28 Singapore Timber Association 1954 1 36 29 Textile & Fashion Federation (S) 1981 1 172 30 The Restaurant Association of Singapore 1980 1 164 10.5 รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยงานส่งเสริมการค้าของประเทศสิงคโปร์ในประเทศไทย
International Enterprise Singapore c/o Embassy of The Republic of Singapore
183 South Sathorn Road, Bangkok 10120, Thailand
Tel: 662-287 0897 Fax: 662-287 0971
Officer: Ms Lena Ng, Centre Director and First Secretary (Commercial)
E-mail: Bangkok@iesingapore.gov.sg
ที่มา : International Enterprise Singapore
ผู้จัดทำ : สคต. ณ สิงคโปร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th