เบลเยี่ยมเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ ซึ่งอยู่ในเขตดูแลของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก รวมทั้งเป็น Gateway สำคัญแห่งหนึ่งที่นำเข้าและกระจายสินค้าไทยไปสู่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศใกล้เคียง
รายงานนี้เป็นการรายงานข้อมูลการค้าช่วง 9 เดือน (มกราคม—กันยายน) ปี 2552 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับการค้าไทย—เบลเยี่ยม และส่วนที่ 2 เป็นภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย 3 รายการแรกในตลาดเบลเยี่ยมช่วง 6 เดือน (มกราคม— มิถุนายน) ปี 2552
1.1 มูลค่าการค้ารวม 1,416.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -30.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า 2,046.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
1) การส่งออกของไทย - ในช่วงดังกล่าวมีมูลค่า 962.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -26.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า 1,317.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นับเป็นประเทศสมาชิกฯ ที่นำเข้าจากไทยสูง 1 ใน 6 ประเทศตามลำดับ ได้แก่ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และอิตาลี
2) การนำเข้าของไทย - ไทยนำเข้าสินค้าจากเบลเยี่ยมมูลค่า 453.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -37.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า729.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
3) ดุลการค้า — ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับเบลเยี่ยม มูลค่า 509.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยได้ดุลการค้าลดลงร้อยละ 13.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551 (มูลค่า 587.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
(มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
2511 2552 % (ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) เพิ่ม/ลด การค้ารวม 2,046.7 1,416.0 -30.81 ไทยส่งออก 1,317.1 962.5 -26.92 ไทยนำเข้า 729.6 453.5 -37.84 ดุลการค้า 587.5 509.0 -13.36
1.2 เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกไทย —สหภาพยุโรป การส่งออกไปเบลเยี่ยมมีส่วนแบ่งร้อยละ 7.41 ของการส่งออกรวมของไทยไปสหภาพยุโรป
ประเทศ มูลค่า(ล้าน USD) ส่วนแบ่ง (%) สหภาพยุโรป 12,973.40 100.00 อังกฤษ 2,340.10 18.03 เนเธอร์แลนด์ 2,257.30 17.39 เยอรมนี 1,851.60 14.27 ฝรั่งเศส 1,103.50 8.50 เบลเยี่ยม 962.50 7.41 อิตาลี 950.50 7.32 รายการสินค้า 10 อันดับแรก
1) ภาพรวมสินค้าที่ไทยส่งออกไปเบลเยี่ยม - ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง รองเท้าและชิ้นส่วน
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า อัตรา
(ม.ค.-ก.ย.2552) การขยายตัว
(ล้าน USD) (%) 1 อัญมณีและเครื่องประดับ 191.6 -18.22 2 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 83.2 -4.51 3 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 64.0 0.77 4 ผลิตภัณฑ์ยาง 52.7 -44.51 5 รองเท้าและชิ้นส่วน 43.4 -26.03 6 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 40.6 -31.33 7 ข้าว 39.7 -3.63 8 กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 35.1 -15.27 9 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 33.5 -65.94 10 ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ 24.3 -4.24 สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก
เพิ่มขึ้น 10 อันดับแรก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 0.77) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ 40.83) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง (ร้อยละ 6.09) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 52.01) เส้นใยประดิษฐ์ (ร้อยละ 67.69) เครื่องโทรสารโทรศัพท์ อุปกรณ์ฯ (ร้อยละ 151.62) เลนซ์ (ร้อยละ 35.11) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ (ร้อยละ 11.53) แก้วและกระจก (ร้อยละ 0.05) ของเบ็ดเตล็ดทำด้วยโลหะสามัญ (ร้อยละ 101.98)
ลดลง 10 อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (ร้อยละ —18.22) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —4.51) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ —44.51) รองเท้าและชิ้นส่วน(ร้อยละ -26.03) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —31.33) ข้าว (ร้อยละ —3.63) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (ร้อยละ —15.27) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (ร้อยละ —65.94) ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ (ร้อยละ —4.24) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ —25.55)
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า(ม.ค-ก.ย. 52) อัตราการ (ล้าน USD) ขยายตัว(%) 1 หมวดสินค้าแร่ธาตุและสินค้าเกษตร ข้าว 39.7 -3.63 กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 22.1 40.83 ยางพารา 12.5 -39.48 ใบยาสูบ 9.5 -30.43 ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 0.6 26.84 2 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ผลิตภัณฑ์ยาง 52.7 -44.51 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 14.4 52.01 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 6.1 -6.46 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 5.8 -23.35 ไก่แปรรูป 4.1 -23.0 3 หมวดสินค้าอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับ 191.6 -18.22 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 83.2 -4.51 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 64.0 0.77 รองเท้าและชิ้นส่วน 43.4 -26.03 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 33.5 -65.94 รายการสินค้าแร่ธาตุและเกษตรที่ส่งออก
เพิ่มขึ้น เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 40.83) ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 8.10) ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 26.84) สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ (ร้อยละ 9,331.82) สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย (ร้อยละ 87.02)
ลดลง เช่น ข้าว (ร้อยละ -3.63) ยางพารา (ร้อยละ —39.48) ใบยาสูบ (ร้อยละ —30.43) เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ —25.57) ปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ —54.48)
เพิ่มขึ้น เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 52.01) ผักกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 4.52) เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ (ร้อยละ 47.41) สิ่งปรุงรสอาหาร (ร้อยละ 18.03) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (ร้อยละ 1,196.36)
ลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ —44.51) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ —6.46) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้(ร้อยละ -23.35) ไก่แปรรูป (ร้อยละ —23.00) อาหารสัตว์เลี้ยง (ร้อยละ —14.74)
เพิ่มขึ้น เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 0.77) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (ร้อยละ 6.09) เส้นใยประดิษฐ์ (ร้อยละ 67.69) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และอุปกรณ์ (ร้อยละ 151.62) เลนซ์ (ร้อยละ 35.11)
ลดลง เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (ร้อยละ —18.22) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —4.51) รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ —26.03) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -31.33) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (ร้อยละ —15.27)
สินค้ารายการสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเบลเยี่ยม — ในช่วง 9 เดือน (มกราคม—กันยายน) ปี 2552 มูลค่ารวม 453.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -37.84 เมื่อเทียบกับการนำเข้าในช่วงเดียวกัน ปี 2551 (มูลค่า729.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า อัตรา
(ม.ค.-ก.ย.2552) การขยายตัว
(ล้าน USD) (%) 1 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 128.4 -46.58 2 เคมีภัณฑ์ 83.1 -54.71 3 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 37.4 25.83 4 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 34.7 -38.87 5 ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม 34.5 9.60 6 ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก 23.2 -20.68 7 พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 17.4 -57.00 8 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 16.5 42.83 9 ยุทธปัจจัย 9.2 12.38 10 สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 7.5 -12.79 2. ภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย 3 รายการแรกในตลาดเบลเยี่ยม ช่วง 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน) ปี 2552
2.1 Video Appr W/O Tape (รหัส 852190) มูลค่าการนำเข้ารวม 238.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.93) แหล่งที่นำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 27.32) ไทย (ร้อยละ 22.07) ไอร์แลนด์ (ร้อยละ 14.17) ฮังการี (ร้อยละ 13.72) เม็กซิโก (ร้อยละ 4.25)
2.2 Parts of Aircondition Machine (รหัส 841590) มูลค่าการนำเข้ารวม 216.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.84) แหล่งที่นำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ สาธารณรัฐเช็ค (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 28.36) ไทย (ร้อยละ 16.19) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 14.88) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 8.56) เยอรมนี (ร้อยละ 7.36)
2.3 Diamonds, non-industried, Work Diamonds (รหัส 710239) มูลค่าการนำเข้ารวม 1,955.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ -43.99) แหล่งที่นำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย (ส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 29.59) ฮ่องกง (ร้อยละ 14.82) จีน (ร้อยละ 14.4) สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ (ร้อยละ 10.16) สวิตเซอร์แลนด์ (ร้อยละ 5.23) ไทย (ร้อยละ 3.96 อันดับ 7)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก
ที่มา: http://www.depthai.go.th