- หน่วยงาน Central Bureau of Statistics (CBS) รายงานภาวะเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 3(9 เดือน) ปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สรุปได้ดังนี้
1) เปรียบเทียบการเติบโตทางเศรษฐกิจรายไตรมาส (quarter-on-quarter) ขยายตัวร้อยละ 0.4 โดยในไตรมาส 3 นับเป็นไตรมาสแรกที่อัตราการขยายตัวเป็นบวก เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจดัชท์ไม่อยู่ในช่วงถดถอยแล้ว (no longer in recession)
ทั้ง 3 ไตรมาสหดตัวร้อยละ 3.7 (เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันฯ) นับว่าน้อยกว่าในช่วง 2 ไตรมาส( 6 เดือนแรก)
2) การค้าระหว่างประเทศ
- ส่งออกลดลงน้อยกว่า 2 ไตรมาสแรก ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการร้อยละ 8.1 ในไตรมาส 3 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันฯ และน้อยกว่าในช่วง 2 ไตรมาสแรก (ลดลงประมาณร้อยละ 12) เนื่องจากการส่งออก และ re-export เพิ่ม
- การนำเข้าสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันฯ การนำเข้าสินค้าทนทาน(เช่น รถยนต์) และการลงทุนลดลง
3) พฤติกรรมผู้บริโภค ใช้จ่ายลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันฯ โดยมีอัตราลดลงใกล้เคียงกับ 2 ไตรมาสก่อนหน้าการซื้อหาสินค้าทนทานลดลงอย่างมาก ใช้จ่ายในเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าน้อยลง
จำนวนรถยนต์ใหม่ที่ขายได้ลดลง รวมทั้งลดการใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้าน โรงแรม การเดินทางโดยเครื่องบิน
4) การใช้จ่ายภาครัฐมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันฯ เช่น ด้านสุขภาพ การบริหาร (care & public administration)
5) การใช้จ่ายด้านลงทุน ลดลงร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน และลดลงน้อยกว่าไตรมาส 2 การลงทุนลดลงมากในเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง อาคารที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน แต่การลงทุนด้านสาธารณูปโภค (infrastructure) เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นของภาครัฐ
6) ภาคการผลิต โดยทั่วไปเป็นผลมาจากการส่งออกและลดลงน้อยกว่าช่วง 2 ไตรมาสแรก ซึ่งภาคการค้าและการขนส่งได้ผลประโยชน์การผลิตที่ฟื้นตัวดีขึ้นเช่น เคมีภัณฑ์ basic metals & machine construction การก่อสร้างและธุรกิจบริการยังคงลดลง การจัดทำสัญญาก่อสร้างใหม่น้อยลง(ผลผลิตในช่วง 6 เดือนแรก/2ไตรมาสแรกสูงกว่า)
7) การผลิตภาคเกษตร วันที่ 1 เมษายน 2552 มีผู้ประกอบการเกษตรและ horticulture 73000 ราย ลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันฯ ผลการสำรวจในปี 2552 แจ้งว่าบริเวณที่ทำการเกษตรยังอยู่ในเขตเดิมและมีพื้นที่รวมประมาณ 2 ล้านแฮคแตร์คิดเป็นประมาณร้อยละ 57 ของพื้นดินของประเทศ แม้ว่าเกษตรกรบางรายเลิกกิจการแต่ก็มีรายอื่นที่ขยายพื้นที่มาดำเนินการต่อ โดยเฉลี่ยฟาร์มมีขนาดใหญ่ขึ้น ในปี 2552 จะมีพื้นที่ 26 แฮคแตร์/ฟาร์ม เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.3 ส่วนใหญ่เป็น horticultural enterprises และการเลี้ยงปศุสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 9 และ 8.3 ตามลำดับ ทำให้มีพื้นที่ arable farmland 42.4 แฮคแตร์พื้นที่ฟาร์มทั้งหมด เป็น grassland 1 ล้านแฮคแตร์ คิดเป็นร้อยล 53 ปลูกธัญพืช ข้าวโพด (green maize) มันฝรั่ง glass horticulture ร้อยละ 12,13, 8 และ0.5(ซึ่งเป็นการผลิตที่ยั่งยืนของการเกษตรดัชท์เพราะผลผลิตต่อแฮคแตร์สูงกว่า)
เกษตรกรมีรายได้จาก non-agricultural activities เพิ่มขึ้นเช่น agro-tourism, nature conservation, care provision จำนวน care farm ปัจจุบัน 700 รายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันฯ เมื่อเทียบกับปี 2546 เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เป็นการดูแลผู้ติดสุรา ยาเสพติด ผู้พิการทางสมอง ผู้ป่วย ผู้ชราที่ต้องการคนดูแล ส่วนใหญ่เป็นกลางวันทำให้
เกษตรกรมีรายได้ประจำ agro-tourism ประมาณ 2,250 ฟาร์มที่มีสันทนาการและกิจกรรม มีอัตราขยายตัวร้อยละ 3 และทุก 3 ใน 100 ฟาร์มมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วมได้ และมีกิจกรรมเสริมเช่น ที่พักค้างคืน แค้มปิ้ง มีรถขนส่ง ม้าให้เช่า จักรยาน เรือแคนนู อาหาร เครื่องดื่ม จำหน่ายผลิตผลการเกษตรและที่แปรรูปเช่น แยม
- การค้ารวม มูลค่า 2,840.4 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -31.96
- การนำข้าจากไทย(ไทยส่งออก) มูลค่า 2,257.3 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -31.21
- ไทยนำเข้า มูลค่า 583.1 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -34.74
- ดุลการค้าไทยมูลค่า 1,674.2 ล้านเหรียญฯ ไทยได้เปรียบดุลฯ ลดลง 29.88
- สินค้าไทยตามหมวดที่ นธ.นำเข้า : เกษตรและเกษตรแปรรูป : ข้าว ร้อยละ -52.90, ผลไม้กระป๋องแปรรูป+19.94 อุตสาหกรรม : เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบร้อยละ -43.49, รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบร้อยละ +61.73 เสื้อผ้าสำเร็จรูป ร้อยละ -3.60
*** ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ที่มา: http://www.depthai.go.th