1. การผลิต อิตาลีไม่สามารถปลูกสับปะรดได้เอง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากภูมิอากาศไม่อำนวย
2. การบริโภคสับปะรดกระป๋อง
2.1 อิตาลีเป็นประเทศที่นิยมบริโภคสับปะรดกระป๋องน้อยที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรปด้วยกันเมื่อเทียบกับเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ โดยมีอัตราการบริโภคเพียงร้อยละ 25 ของปริมาณการบริโภคของเยอรมัน ช่วงเวลาที่มีการบริโภคมากจะอยู่ระหว่างเดือนเมษายน — กันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงสิ้นสุดฤดูร้อน และปริมาณการบริโภคจะลดลงเหลือปริมาณไม่มากนักตั้งแต่คริสมาสต์เป็นต้นไป
2.2 โดยปกติคนอิตาลีนิยมบริโภคผักผลไม้สดมากกว่าสินค้าบรรจุกระป๋อง อย่างไรก็ดีในปัจจุบันวิถีชีวิตของคนอิตาลีได้เปลี่ยนไป เช่น เกี่ยวกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปอื่นๆ โดยมีขนาดของครอบครัวที่เล็กลง คู่หนุ่มสาวจะแต่งงานในอายุที่มากขึ้น การที่ผู้ใหญ่ออกทำงานนอกบ้านมากขึ้น ทำให้แนวโน้มการบริโภคอาหารกระป๋องและอาหารพร้อมรับประทานของคนอิตาลีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
3. การนำเข้า อิตาลีจะนำเข้าสับปะรดกระป๋องเฉลี่ยประมาณ 25,000 ตัน มูลค่าเฉลี่ย 25 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2551 มีปริมาณนำเข้า 25,935 ตัน มูลค่า 31.41ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2552(ม.ค. — ก.ค.) นำเข้าปริมาณ 9,797 ตัน มูลค่า 11.77 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียนและสหภาพยุโรป
ไทยครองตลาดสูงสุด (สัดส่วนตลาด 30.69% มูลค่า 3.61 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามด้วยเคนยา (สัดส่วน 26.23% มูลค่า 3.09 ล้านเหรียญสหรัฐ) ฟิลิปปินส์ (สัดส่วน11.14% มูลค่า 1.31 ล้านเหรียญสหรัฐ) และอินโดนีเซีย (สัดส่วน 10.98% มูลค่า 1.29 ล้านเหรียญสหรัฐ)
4. การจำหน่ายสินค้า บริษัทผู้จำหน่ายสับปะรดกระป๋องรายใหญ่ในตลาดอิตาลี คือ Del Monte ซึ่งมีโรงงานผลิตตั้งอยู่ในเคนยาและฟิลิปปินส์ ส่วนยี่ห้ออื่น ๆ ในตลาดอิตาลี ได้แก่ Valgutta Thody
5. ราคาสับปะรดกระป๋อง
5.1 ราคานำเข้า (F.O.B)
- ระหว่าง 6-7 เหรียญสหรัฐ / 1 กล่อง (จำนวน 12 กระป๋อง ขนาดบรรจุ 580 กรัม)
- ระหว่าง 11-12 เหรียญสหรัฐ/ 1 กล่อง (จำนวน 12 กระป๋อง ขนาดบรรจุ 580 กรัม)
5.2 ราคาขายปลีกในร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต (ราคาต่อ 1 กระป๋อง ขนาดบรรจุ 580 กรัม)
- สับปะรดกระป๋องจากไทย = 1.69 ยูโร
- จากเคนยา = 2.09 ยูโร
- จากอินโดนีเซีย = 1.38 ยูโร
- แบรนด์ท้องถิ่น = 1.5 ยูโร
6. อัตราภาษีนำเข้า 19%
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th