สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - รัสเซีย ปี 2552 (ม.ค.—ต.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 25, 2009 16:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง            :    Moscow
พื้นที่                 :    17,075,200 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ          :    รัสเซีย
ประชากร             :    142.3 ล้านคน (2006) F
อัตราแลกเปลี่ยน        :    1US$  = 1.141 RUB (19/11/2009) F

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                               6.0         1.0
Consumer price inflation (av; %)                 14.1        12.6
Budget balance (% of GDP)                         5.5        -3.1
Current-account balance (% of GDP)                6.0        -4.0
Commercial banks' prime rate (year-end; %)       13.0        12.0
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         24.9        34.5

โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยกับรัสเซีย
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   336.02           100.00         -61.22
สินค้าเกษตรกรรม                      55.20            16.43         -53.37
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              62.43            18.58         -54.20
สินค้าอุตสาหกรรม                     218.01            64.88         -64.33
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    0.39             0.12         -42.69
สินค้าอื่นๆ                              0.0              0.0        -200.00

โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทยกับรัสเซีย
                                                มูลค่า:        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                                     1,255.79       100.00        -49.46
สินค้าเชื้อเพลิง                                     468.57        37.31        -54.83
สินค้าทุน                                            2.48         0.20         43.62
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                           780.75        62.17        -45.78
สินค้าบริโภค                                         3.81         0.30        -24.25
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                           0.0          0.0        -98.51
สินค้าอื่นๆ                                           0.18         0.01        -65.37

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - รัสเซีย
                           2551            2552           D/%

(ม.ค.- ต.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             3,351.36        1,591.81       -52.50
การส่งออก                   866.55          336.02       -61.22
การนำเข้า                 2,484.81        1,255.79       -49.46
ดุลการค้า                 -1,618.26         -919.77       -43.16

2. การนำเข้า
รัสเซียเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 23 ของไทย มูลค่า 1,255.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 49.46
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                         1,255.79          100.00          50.51
1. เหล็ก เหล็กกล้า                           590.95           47.06         -32.03
2. น้ำมันดิบ                                 307.68           24.50         -59.87
3. เชื้อเพลิงอื่นๆ                             160.88           12.81         -36.60
4. ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช                       79.87            6.36         -64.51
5. สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะ                    32.09            2.56         -84.27
          อื่น ๆ                              0.35            0.03         -98.04

3. การส่งออก
รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 46 ของไทย มูลค่า 336.02  ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 61.22
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                    มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออก                       336.02          100.00         -61.22
1. รถยนต์ และอุปกรณ์                   29.71            8.84         -89.11
2. ข้าว                              28.64            8.52         -56.92
3. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์                 23.61            7.03         -76.30
4. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                     18.31            5.45          29.88
5. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป               15.89            4.73         -61.16
        อื่น ๆ                        44.40           13.21         -41.64

4. ข้อสังเกต
4.1  สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปรัสเซีย  ปี 2552 (มค.- ตค.) ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 48 ของไทย เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 พบว่าปี 2552 (มค-ตค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 89.11 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.14 259.10 และ 96.23 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

ข้าว : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 30 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2552 พบว่าปี 2549 และ 2552 (มค.-ตค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 15.82 และ 56.92 ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 149.09 และ 125.28 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 25 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2552 พบว่าปี 2549 และ 2552 (มค.-ตค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 59.25 และ 76.30 ในขณะที่ปี 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.37 และ 309.07 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 16 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 30.05 47.32 58.53 และ 29.88 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

ผลไม้กระป๋องและแปรรูป : รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 11 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2552 พบว่าปี 2551 และ 2552 (มค-ตค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 5.86 และ 61.16 ในขณะที่ปี 2549-2550 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 259.10 และ 96.23 ตามลำดับเมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดรัสเซียปี 2552 (ม.ค.- ต.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มี
อัตราเพิ่มสูง มีรวม 5 รายการ คือ
      อันดับที่ / รายการ                มูลค่า         อัตราการขยายตัว    หมายเหตุ
                                ล้านเหรียญสหรัฐ           %
4. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                     18.31             29.88
9. เครื่องจักรกลและส่วนฯ                13.83            217.72
10.เครื่องปรับอากาศและส่วนฯ             13.08          1,027.12
14.อาหารสัตว์เลี้ยง                      9.80            150.45
19.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ           5.62            382.42
ข้อสังเกต : (สำหรับสินค้าเครื่องปรับอากาศ ในปี 2552 (มค.- ตค.) มีมูลค่าการนำเข้า  13.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมีการนำเข้าเพียง  1.16  ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 1,027.12

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดรัสเซียปี 2552 (ม.ค.- ต.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตรา
ลดลง รวม 20 รายการ อาทิ
              อันดับที่ / รายการ                     มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                             ล้านเหรียญสหรัฐ             %
1.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                        29.71             -89.11
2.ข้าว                                            28.64             -56.92
3.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                   23.61             -76.30
5.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                             15.89             -61.16
6.อัญมณีและเครื่องประดับ                              15.40             -55.40
7.เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า                    15.34             -64.73
8.เม็ดพลาสติก                                      14.61             -50.96
11.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                       13.00             -54.42
12.น้ำตาลทราย                                     10.62             -70.27
13.ผักกระป๋องและแปรรูป                              10.03             -43.35
15.ผลิตภัณฑ์ยาง                                      8.53             -26.71
16.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                          8.23             -50.66
17.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                   7.83             -41.92
18.กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                                7.16             -42.78
20.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ                        4.66             -36.39
21.เคมีภัณฑ์                                         4.60             -42.51
22.ยางพารา                                        4.52             -54.57
23.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                                3.43             -63.51
24.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                              2.76             -34.91
25.เลนซ์                                           2.40             -21.03

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

ปัจจุบันรัสเซียไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกมากนัก โดยรัสเซียมีปัจจัยหนุนด้านเศรษฐกิจ คือ การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมัน สินแร่ ป่าไม้ รวมทั้งเทคโนโลยีผลิตเครื่องจักรและอาวุธ จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รัสเซียมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเป็นอันดับที่ 3 ของโลก การจ้างงานสูง นำไปสู่ความต้องการสินค้าก่อนหน้านี้นำเข้าจากรัฐบริวาร หรือที่เรียกว่ากลุ่มซีไอเอส เช่น ยูเครน อุซเบกิสถาน แต่การแยกตัวของรัฐดังกล่าว ทำให้เกือบทุกประเทศต้องการผลิต ส่งออกและนำเข้าสินค้าเอง รัสเซียจึงต้องหาแหล่งนำเข้าใหม่ ซึ่งไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งเช่นกัน สินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เฟอร์นิเจอร์ อาหาร ซึ่งเอกชนเริ่มให้ความสำคัญตลาดรัสเซียและซีไอเอสมากขึ้น และมองว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นตลาดที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะกับสินค้าไทยที่มีจุดขาย คือ คุณภาพ เพราะเมื่อคนมีรายได้มากขึ้น ต้องการสินค้ามีคุณภาพมากกว่าสินค้าราคาถูกจากบางประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้รัสเซียจะเป็นตลาดเสรีมาเกือบ 18 ปีแล้ว แต่รูปแบบการเงิน ทั้งระบบธนาคาร สถาบันการเงินยังไม่เข้มแข็งพอ ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเข้าใจวิธีการค้า-ขาย ปัจจุบันนิยมการซื้อขาย โดยชำระเงินล่วงหน้าอัตรา 30 ต่อ 70% เมื่อส่งสินค้าเสร็จสิ้น ก็จะชำระเงินส่วนที่เหลือ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่พบการผิดนัดชำระเงิน แต่ยอมรับว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ รัสเซียไม่ใช้ระบบ L/C แต่ใช้วิธีชำระเงินสด หรือวางมัดจำตามแต่จะตกลงกัน วิธีนี้อาจมีความไม่แน่นอน ขณะที่วิธีการขอคำรับรองผู้ซื้อที่ติดต่ออยู่เชื่อถือได้หรือไม่นั้น อาจนำไปสู่ความไม่เชื่อใจกัน จนไม่อยากค้าขายและเสียโอกาสทางธุรกิจ ขณะนี้ผู้ส่งออกรายใหม่ยังไม่เข้าใจรูปแบบการค้านี้ จึงไม่กล้าที่เข้ามาทั้งที่ตลาดมีศักยภาพ ปัจจุบันสินค้าไทยมีโอกาสในตลาดกลุ่มซีไอเอสมาก แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้นำเข้าโดยตรง แต่ส่งผ่านจากยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ รัสเซียซึ่งการนำเข้าดังกล่าวมีต้นทุนสูงการเข้ามาเปิดการค้าโดยตรงจึงมีโอกาสประสบความสำเร็จมาก ตลาดมีความคุ้นเคยกับสินค้าจากจีน เกาหลีและไต้หวัน ที่เข้าไปทำตลาดก่อนหน้านี้ ซึ่งไทยอาจต้องเลียนแบบ การเข้าไปทำตลาดของประเทศเหล่านี้เช่นการทำวิจัยด้านการตลาดเชิงลึก สำหรับสินค้าที่มีศักยภาพได้แก่ อาหาร โดยเฉพาะสับปะรด ข้าวโพดหวาน ทูน่ากระป๋อง

กรมประมงได้เชิญเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงาน Federal Service for Veterinary and Phytosanitary Surveillance (FSVPS) ของประเทศรัสเซีย เข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านวิชาการไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 2 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก และหารือเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าสัตว์น้ำไทยที่ส่งออกไปยังรัสเซีย รวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลง (MOU) ด้านการตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำร่วมกัน เนื่องจากการที่รัสเซียประกาศใช้ระเบียบใหม่ในการควบคุมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยมีข้อกำหนดว่าสินค้าที่จะนำเข้าไปจำหน่ายยังรัสเซีย จะต้องผลิตจากโรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองจาก FSVPS และต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่ออกโดยหน่วยงานรับผิดชอบของประเทศผู้ส่งออกกำกับ ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเข้มงวด ตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2551 นั้น ผลปรากฏว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สินค้าสัตว์น้ำของไทยได้รับการตอบรับอย่างดีจากรัสเซีย ประกอบกับโดย FSVPS ได้อนุมัติให้กรมประมงเป็นผู้เสนอรายชื่อโรงงานที่ผ่านการรับรองสำหรับการส่งสินค้าสัตว์น้ำไปยังรัสเซียได้เลย โดยเจ้าหน้าที่ FSVPS ไม่ต้องเดินทางมาตรวจซ้ำอีก ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานที่ผ่านการรับรองจากกรมประมงที่สามารถส่งสินค้าประมงไปยังรัสเซีย 132 โรงงาน ขณะที่ในปี 2551 มีการส่งออกสัตว์น้ำไปยังรัสเซียกว่า 15,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,900 ล้านบาท จึงแสดงให้เห็นว่ารัสเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมากอีกแห่งหนึ่งที่มีอนาคตสดใส

แอคโกร-ออน (ไทยแลนด์) จำกัด หนึ่งในผู้ส่งออกที่ได้รับรอง "SR Mark" ของกระทรวงพาณิชย์ ประจำปี 2552 เปิดเผยว่า บริษัทวางเป้าหมายการส่งออกสินค้าอาหารปีนี้จะขยายตัว 100% จากปีก่อนซึ่งมีการส่งออกราว 2,000 ตู้ เนื่องจากหลังจากเกิดการระบาดของโรคไข้หวัด สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1) ส่งผลให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น หันมานิยมบริโภคพืชผักในสัดส่วนสูงขึ้นขณะนี้ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพหลายแห่งยังมีกำลังซื้อดีไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมากนัก ทั้งรัสเซีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เพื่อชดเชยตัวเลขการส่งออกไปยังตลาดหลักสหภาพยุโรปซึ่งมีสัดส่วนกว่า 50% แต่ตลาดนี้ชะลอตัวลงเพราะได้รับผลกระทบหลังจากสินค้าไทยถูกใช้มาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) จนทำให้ต้องหาตลาดใหม่ๆ ตลาดรัสเซีย มีอัตราการขยายตัวสูง และได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ดีเด่น แกรนด์ เอ็กซ์โปจากรัฐบาลรัสเซียต่อเนื่องกันมา 3 ปีแล้ว โดยที่ได้รับความนิยม คือ ข้าวโพดหวานบรรจุขวดแก้วซึ่งบรรจุขวดละ 1 ฝัก ได้รับการตอบรับดีว่า เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และที่ผ่านมาค่าเงินรูเบิล (สกุลเงินรัสเซีย) ปรับอ่อนค่าลงส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย แต่ระยะทางไกลต้นทุนโลจิสติกส์สูงมาก ทำให้สินค้าที่วางขายมีราคาสูงกว่าราคาส่งออกจากไทย 4-10 เท่า ตลาดรัสเซียมีอนาคตดี แต่มีการแข่งขันสูงโดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากจีน ได้เปรียบเรื่องค่าขนส่งและภาษีนำเข้าอัตราต่ำกว่าทำให้ได้เปรียบสินค้าจากไทย ซึ่งไทยควรนำโมเดลที่จีนใช้โดยการไป ตั้งศูนย์กระจายสินค้า (ดีซี) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการส่งออก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ