“ไทย” เตรียมหาลู่ทางเจาะตลาด “หมีขาว” หวังโกยเงินเข้าประเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 30, 2009 13:55 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การประชุมความร่วมมือทวิภาคีด้านการค้า การลงทุนระหว่างนักธุรกิจไทยและสหพันธรัฐรัสเซียสองประเทศร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงในการสร้างอากาสทางการค้า และยังเน้นย้ำให้เห็นถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านอุตสาหกรรมอาหาร ชิ้นส่วนยานยนตร์ รวมทั้งธุรกิจบริการด้านต่างๆ

เมื่อเร็วๆ นี้ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (คนกลาง) ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมความร่วมมือทวิภาคีด้านการค้า การลงทุน ระหว่างนักธุรกิจไทยและสหพันธรัฐรัสเซีย โดนมีนางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก (ขวาสุด) และ H.E. Mr. Yevgeny Vladimirovich Afanasiev เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย (ซ้ายสุด) เข้าร่วมในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษในงานฯ ดังกล่าว

นางศรีรัตน์ เผยว่า “การจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้นักธุรกิจไทยและสหพันธ์รัสเซีย ได้กระชับความสัมพันธ์และเป็นการสร้างพันธมิตรทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ โดยความร่วมมือของ สภาธุรกิจไทย-รัสเซีย และกรมส่งเสริมการส่งออก โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐ และเอกชนของทั้งสองประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงในการสร้างอากาสทางการค้า และการตลาดของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะช่วยเน้นย้ำให้เห็นถึงการเป็นพัธมิตรระหว่างสองประเทศ รวมถึงเป็นการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างนักธุรกิจทั้งสองประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านอุตสาหกรรมอาหาร ชิ้นส่วนยานยนตร์ รวมทั้งธุรกิจบริการด้านต่างๆ”

รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 46 ของไทย ปัจจุบันมีมูลค่าการส่งออกถึง 336.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค. 52) ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนตร์และอุปกรณ์ ข้าว เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ซึ่งปัจจุบันรัสเซียไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกมากนัก โดยรัสเซียมีปัจจัยหนุนด้านเศรษฐกิจ คือ การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมัน สินแร่ ป่าไม้ รวมทั้งเทคโนโลยีผลิตเครื่องจักรและอาวุธ จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รัสเซียมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเป็นอันดับที่ 3 ของโลก การจ้างงานสูง นำไปสู่ความต้องการสินค้าก่อนหน้านี้นำเข้าจากรัฐบริวาร หรือที่เรียกว่ากลุ่มซีไอเอส เช่น ยูเครน อุซเบกิสถาน แต่การแยกตัวของรัฐดังกล่าว ทำให้เกือบทุกประเทศต้องการผลิต ส่งออกและนำเข้าสินค้าเอง รัสเซียจึงต้องหาแหล่งนำเข้าใหม่ ซึ่งไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งเช่นกัน สินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เฟอร์นิเจอร์ อาหาร ซึ่งเอกชนเริ่มให้ความสำคัญตลาดรัสเซียและซีไอเอสมากขึ้น และมองว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นตลาดที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะกับสินค้าไทยที่มีจุดขาย คือ คุณภาพ เพราะเมื่อคนมีรายได้มากขึ้น ต้องการสินค้ามีคุณภาพมากกว่าสินค้าราคาถูกจากบางประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้รัสเซียจะเป็นตลาดเสรีมาเกือบ 18 ปีแล้ว แต่รูปแบบการเงิน ทั้งระบบธนาคาร สถาบันการเงินยังไม่เข้มแข็งพอ ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเข้าใจวิธีการค้า-ขาย ปัจจุบันนิยมการซื้อขาย โดยชำระเงินล่วงหน้าอัตรา 30 ต่อ 70% เมื่อส่งสินค้าเสร็จสิ้น ก็จะชำระเงินส่วนที่เหลือ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่พบการผิดนัดชำระเงิน แต่ยอมรับว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ รัสเซียไม่ใช้ระบบ L/C แต่ใช้วิธีชำระเงินสด หรือวางมัดจำตามแต่จะตกลงกัน วิธีนี้อาจมีความไม่แน่นอน ขณะที่วิธีการขอคำรับรองผู้ซื้อที่ติดต่ออยู่เชื่อถือได้หรือไม่นั้น อาจนำไปสู่ความไม่เชื่อใจกัน จนไม่อยากค้าขายและเสียโอกาสทางธุรกิจ ขณะนี้ผู้ส่งออกรายใหม่ยังไม่เข้าใจรูปแบบการค้านี้ จึงไม่กล้าที่เข้ามาทั้งที่ตลาดมีศักยภาพ ปัจจุบันสินค้าไทยมีโอกาสในตลาดกลุ่มซีไอเอสมาก แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้นำเข้าโดยตรง แต่ส่งผ่านจากยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และรัสเซียซึ่งการนำเข้าดังกล่าวมีต้นทุนสูงการเข้ามาเปิดการค้าโดยตรงจึงมีโอกาสประสบความสำเร็จมาก ตลาดมีความคุ้นเคยกับสินค้าจากจีน เกาหลีและไต้หวัน ที่เข้าไปทำตลาดก่อนหน้านี้ ซึ่งไทยอาจต้องเลียนแบบ การเข้าไปทำตลาดของประเทศเหล่านี้เช่นการทำวิจัยด้านการตลาดเชิงลึก สำหรับสินค้าที่มีศักยภาพได้แก่ อาหาร โดยเฉพาะสับปะรด ข้าวโพดหวาน ทูน่ากระป๋อง

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ