ภาวะการส่งออกสินค้าอาหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 27, 2009 16:18 —กรมส่งเสริมการส่งออก

แม้ว่าจะมีการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ 2009 เอช 1 เอ็น 1 แต่หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนคาดการณ์ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทย และคาดว่าทั้งปีนี้ยอดการส่งออกอาหารจะมีมูลค่า ไม่ต่ำกว่าปีก่อนที่ 20,000 ล้านเหรียญหรือ 7 แสนล้านบาท แม้การส่งออกช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 จะขยายตัวติดลบ 5% แต่ก็ยังคงน้อยกว่าภาพรวมการส่งออกที่ลบถึง 20% ประกอบกับขณะนี้มีสินค้าอาหารส่งออกบางกลุ่มที่มีการปรับตัวไปในทิศทางบวก เช่น กุ้ง เพิ่มขึ้น 1.1% จากเป้าหมายที่คาดว่าจะติดลบ 5% ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เป็นต้น

ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตระหนกและลดการบริโภคเนื้อสุกรแล้วหันมาซื้อโปรตีนชนิดอื่นแทน ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าอาหารไทย และมีแนวโน้มจะทำให้เป้าหมายที่คาดการณ์ว่าจะติดลบในปีนี้ ปรับดีขึ้น โดยขณะนี้ ผู้ผลิตไก่แปรรูป-ปรุงสุกต่างเพิ่มกำลังการผลิตเต็มที่ เพื่อรองรับความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป อาจส่งผลให้ไก่ภายในประเทศไม่เพียงพอและมีโอกาสที่ราคาจะปรับสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตามจากปัจจัยต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับลดลงต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง เช่น ไก่ กุ้ง ในขณะที่สินค้าอาหารที่ได้จากแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น สัตว์น้ำจากทะเล มีแนวโน้มที่จะปรับลดลง เนื่องจากปัญหาภัยธรรมชาติและภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมส่งเสริมการส่งออก ได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า และห้างค้าปลีก 3 แห่ง ได้แก่ กลุ่มอิออน ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าจัสโก้ของญี่ปุ่น ห้างค้าปลีกเทสโก้ โลตัส ของประเทศอังกฤษ และห้างค้าปลีกคาร์ฟูร์ในจีน จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทย โดยเน้นผัก ผลไม้ และสินค้าอาหารต่างๆ ในสาขาต่างๆของทั้ง 3 ห้าง ใน 3 ประเทศ ซึ่งจะเพิ่มช่องทางการส่งออกสินค้าไทยได้มากขึ้น และทำให้มูลค่าการส่งออกไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นอีกหลายหมื่นล้านบาท โดยในส่วนของกลุ่มอิออนนั้น ในปี 2551 นำเข้าจากไทยทั้งผัก ผลไม้ อาหารพร้อมรับประทาน เป็นต้น ประมาณ 17,000 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 21,000 ล้านบาท ส่วนห้างเทสโก้ โลตัสในอังกฤษ จะนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปีก่อนที่นำเข้ามูลค่าประมาณ 84 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาลชนิดต่างๆ ทั้งลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน เงาะ มังคุด รวมถึงสินค้าอาหารชนิด เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายหมุนเวียนไปตลอดทั้งปี ภายใต้ชื่อโครงการ “Health&Tasty from Thailand ”ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมิ.ย.2552 ในห้างเทสโก้ โลตัส 70 สาขาทั่วประเทศทั่วประเทศอังกฤษ ขณะที่ห้างคาร์ฟูร์ในจีน จะซื้อสินค้าจากไทยโดยตรงมากขึ้น

ปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) ประเทศไทยส่งออกสินค้าอาหาร(รวมข้าวและน้ำตาล)ในไตรมาสแรกมูลค่า 4,222.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 4.9 ตลาดหลักในการส่งออกสินค้าอาหาร 5 อันดับแรกของ ปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฮ่องกง และ แอฟริกาใต้ โดยญี่ปุ่น ฮ่องกง และ แอฟริกาใต้เป็นตลาดที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ

 ประเทศ             2551 (ม.ค.-มี.ค.)     2552 (ม.ค.-มี.ค.)     % ขยายตัว      % สัดส่วน
ญี่ปุ่น                     590.82               689.87            16.76        16.34
สหรัฐฯ                   623.62               608.98            -2.35        14.42
สหราชอาณาจักร            185.84               173.73            -6.52         4.11
ฮ่องกง                   125.94               130.28             3.44         3.09
แอฟริกาใต้                 84.99               114.24            34.42         2.71
ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ทั้งนี้หากพิจารณาการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดโลก (227 ประเทศ) จะพบว่า ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าการส่งออกไม่ต่ำกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 100 ได้แก่
       ประเทศ          2551 (ม.ค.-มี.ค.)     2552 (ม.ค.-มี.ค.)     % ขยายตัว      % สัดส่วน
12. ไนจีเรีย                  17.25                89.78            420.41         2.13
30. ศรีลังกา                  12.32                35.44            187.73         0.84
35. ปากีสถาน                  7.63                26.93            253.18       253.18
37. มอริเตเนีย                 0.24                23.50          9,760.00         0.56
49. เลบานอน                  5.23                11.31            116.25         0.27
52. คองโก                    4.54                 9.79            115.54         0.23
59. กินีบิสเซา                  0.02                 8.67         35,480.00         0.21
61. โซมาเลีย                  2.27                 8.37            269.09         0.20
67. ฟิจิ                       2.57                 6.78            163.64         0.16
76. บาห์เรน                   2.31                 5.30            129.34         0.13
81. เคนยา                    1.47                 4.52            207.49         0.11
84. ไลบีเรีย                   3.96                 3.96            740.07         0.09
87. จิบูตี                      0.82                 3.59            338.26         0.09
88. มายอต                    1.38                 3.42            148.04         0.08
95. มาลี                      0.05                 3.00          5,552.00         0.07
100.โมร็อกโก                  0.33                 2.46            644.42         0.06
104.เช็กและสโลวัก              0.07                 2.05          3,026.90         0.05
105.บราซิล                    0.83                 2.03            145.15         0.05
ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

กลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออก

การส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2552 ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ยังคงอยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะกลุ่มลูกค้าเริ่มชะลอการสั่งซื้อ ส่งผลให้การขับเคลื่อนของธุรกิจเริ่มชะลอตัวตาม ด้วยเหตุนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องร่วมมือกันในการกระตุ้นการขับเคลื่อน โดยเฉพาะการสร้างยุทธศาสตร์เชิงรุกและการสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทย อาทิ

  • ส่งเสริมความหลากหลายของสินค้าและขยายตลาดให้เพิ่มขึ้น (Product and Market Diversification)
  • สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบ เพื่อทดแทนการนำเข้าและลดต้นทุนการผลิต
  • การสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น การพัฒนาระบบการตรวจสอบสารปนเปื้อน และสารตกค้าง
  • การทำความตกลงกับรัฐบาลในประเทศเพื่อนบ้านให้จัดส่งแรงงานมาทำงานในไทย โดยภาครัฐต้องกำหนดแนวทางจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถควบคุมการหลบหนี และย้ายเปลี่ยนงานบ่อย
  • สนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการแปรรูปสินค้ากุ้งสำเร็จรูป เพราะไทยได้เปรียบคู่แข่งเรื่องเทคโนโลยี เงินทุน การตลาด และอุตสาหกรรมสนับสนุน
  • ส่งเสริมให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และเพิ่มความหลากหลายของสินค้า (Product Diversification)
  • ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายการส่งออกและกระจายผลิตภัณฑ์อาหารไทยสู่ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ

การส่งออกสินค้าอาหารแยกตามประเภทสินค้า ปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.)

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ

                                                   2551        2552               การเปลี่ยนแปลง (%)
    สินค้า                    2550        2551     ม.ค.-มี.ค.    ม.ค.-มี.ค.      2550      2551      2552

ม.ค.-มี.ค. ม.ค.-มี.ค.

กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง           1,232.56    1,293.40    224.60       220.60        9.24      4.94      -1.78
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป   3,165.46    3,905.55    834.61       776.14        6.43     23.38      -7.00
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป        1,111.84    1,362.12    334.15       281.80        9.28     22.51     -15.67
ผักกระป๋องและแปรรูป            289.26      294.31     68.08        58.33        6.20      1.75     -14.32
ไก่แปรรูป                     929.52    1,519.73    310.07       334.23       23.29     63.50       7.79

สินค้ากุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง

ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรกพบว่าตลาดญี่ปุ่น (2) และแคนาดา(3) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้ากุ้งสด แช่เย็นแช่แข็งของไทยยังคงมีอัตราการขยายตัว 33.20 และ 20.61 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าตลาดส่งออกสินค้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2552 ยังคงมีหลายตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงเกินร้อยละ 100 อาทิ เวียดนาม(8) แอฟริกาใต้ (20) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (25) มีอัตราการขยายตัว 661.91 617.26 และ 115.08 ตามลำดับ

ตลาดส่งออกกุ้งในปี 2552 โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ มีการปรับลดอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ทำให้สถานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์กุ้งไทยในตลาดสหรัฐฯมีแนวโน้มดีขึ้น ส่วนในตลาดสหภาพยุโรปนั้นไทยได้รับคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพี ทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรปมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น โดยสามารถดึงส่วนแบ่งตลาดกลับมาจากคู่แข่งสำคัญในตลาดนี้

สมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมประชุม "การพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้ง 2009" ณ เมืองจ้านเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับผู้แทนขององค์กรต่างๆ เช่น คณะกรรมการสินค้ากุ้งอินโดนีเซีย (ISBC) สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและผู้ค้าในอุตสาหกรรมกุ้งจีนเข้าร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกัน ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งให้เกิดความยั่งยืน โดยได้ลงนาม บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือ ทางด้านอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งระหว่างประเทศไทย-จีน-เวียดนาม-อินโดนีเซีย ความร่วมมือดังกล่าว จะมีการประสานงานระหว่างกัน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งการเพาะเลี้ยง การแปรรูป รวมถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้กุ้งที่มีคุณภาพ รวมทั้งการสื่อสารเพื่อให้แต่ละประเทศ ปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ราคากุ้งมีเสถียรภาพที่ดีขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือครั้งนี้จะไม่กำหนดหรือแบ่งโควตาการผลิต โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละประเทศ เพียงแลกเปลี่ยนข่าวสารกันอย่างรวดเร็วให้การตัดสินใจของแต่ละประเทศ วางแผนกำหนดทิศทางการผลิตได้ง่ายขึ้นเท่านั้น นับเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมกุ้งโลก ที่สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของผู้นำการผลิตกุ้งที่จะร่วมมือกันพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งฯให้มุ่งไปสู่ความยั่งยืน เชื่อว่า 4 ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่ปริมาณผลิตรวมกันกว่า 50%ของกุ้งทั้งโลกเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะมีผลต่อการผลิตกุ้งของโลกในอนาคต

อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก พบว่าตลาดญี่ปุ่น (2) แคนาดา(4) และแอฟริกาใต้ (5) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ของไทยยังคงมีอัตราการขยายตัว 5.98 70.99 และ 4.63 ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกใน 25 รายการแรก มีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 50 คือ แอลจีเรีย (12) สวิตเซอร์แลนด์ (14) นิวซีแลนด์ (15) อาร์เจนตินา (18) มีอัตราการขยายตัว 62.70 84.48 52.18 และ 66.80 ตามลำดับ

บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของไทย เผยถึงผลประกอบการไตรมาส 1 ประจำปี 2552 ว่า บริษัทสามารถสร้างอัตราการเติบโตของกำไร ยอดขายในรูปเงินบาท และยอดขายในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น นับเป็นผลการดำเนินงานที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี บริษัทยังสามารถทำกำไรสุทธิเท่ากับ 653 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิเท่ากับ 578 ล้านบาท และสามารถทำรายได้จากการขายในรูปเงินบาทเท่ากับ 17,666 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี ผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรกนี้ บริษัทยังคงมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงเวลานั้น ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องสำหรับสัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์ในไตรมาสแรกนี้ ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ามีสัดส่วนยอดขายมากที่สุดจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทคือ 48% รองลงมาได้แก่ กุ้งแช่แข็ง 17% ตามด้วยอาหารแมวบรรจุกระป๋อง 10% อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง 9% ปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรลบรรจุกระป๋อง 5% ขายในประเทศ 4% อาหารกุ้ง 4% และปลาหมึกแช่แข็ง 3% โดยมีตลาดส่งออกหลักอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา 51% รองลงมาคือ สหภาพยุโรป 15% ญี่ปุ่น 11% อัฟริกา 6% ออสเตรเลีย 3% เอเชีย 2% ตะวันออกกลาง 2% แคนาดา 1% และอเมริกาใต้ 1%

- อาหารทะเลกระป๋อง
- ทูน่ากระป๋อง       มูลค่า   340.46   มีอัตราขยายตัวลดลง     17.70
- ซาร์ดีนกระป๋อง     มูลค่า    20.55   มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น    13.61
- ปูกระป๋อง         มูลค่า    20.55   มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น    13.61
- กุ้งกระป๋อง        มูลค่า    20.55   มีอัตราขยายตัวลดลง     13.61
- หอยลายกระป๋อง    มูลค่า     4.16   มีอัตราขยายตัวลดลง     44.06
- ปลาหมึกกระป๋อง    มูลค่า     0.80   มีอัตราขยายตัวลดลง      8.92

เมื่อพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกอาหารทะเลกระป๋องรายการที่ 26 ขึ้นไป ตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด 5 ประเทศแรก ได้แก่
    ตลาดส่งออกอันดับที่       ประเทศ          % ขยายตัว     มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
          28             สเปน             157.63            2.73
          32             เช็กและสโลวัก       6,162            2.03
          75             ลัทเวีย            210.48            0.27
          91             เคนยา             1,089            0.14
          96             เรอูนียง           170.82            0.11
ที่มา : Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

- อาหารทะเลแปรรูป
- กุ้งแปรรูป          มูลค่า   217.26   มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น    4.25
- ปลาหมึกแปรรูป      มูลค่า     3.31   มีอัตราขยายตัวลดลง     0.49
- ปูแปรรูป           มูลค่า     4.28   มีอัตราขยายตัวลดลง    34.63
- ปลาแปรรูป         มูลค่า   134.33   มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น   12.73
- ปลาทูน่า           มูลค่า    31.73   มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น  763.59
- ปลาอื่นๆ (แปรรูป)   มูลค่า   102.60   มีอัตราขยายตัวลดลง    11.16

เมื่อพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกอาหารทะเลแปรรูปรายการที่ 26  ขึ้นไป ตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด 5 ประเทศแรก ได้แก่
    ตลาดส่งออกอันดับที่        ประเทศ      % ขยายตัว       มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
          27              กานา         171.37                1.50
          28              บราซิล        791.69                1.12
          32              ลิเบีย         399.47                0.65
          33              สวีเดน        122.35                0.63
          36              โครเอชีย    2,464.50                0.53

ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก พบว่าเนเธอร์แลนด์ (2) และ แคนาดา(4) ซึ่งเป็นตลาดส่งออก สินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทย ยังคงมีอัตราการขยายตัว 22.97 และ 3.80 ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกใน 25 รายการแรก มีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงมีเพียงไม่กี่ตลาด คือ ฝรั่งเศส(6) อิหร่าน (11) ซาอุดิ อารเบีย (14) เบลเยี่ยม(18) และฮ่องกง (24) มีอัตราขยายตัวไม่มากนัก 3.32 42.16 3.03 7.85 และ 26.04 ตามลำดับทั้งนี้ ส่วนใหญ่มีอัตราขยายตัวลดลง

          ผลไม้กระป๋อง        มูลค่า   138.22   มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น   25.70
          น้ำผลไม้            มูลค่า    72.50   มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น    8.83
          ผลไม้แปรรูป         มูลค่า    71.07   มีอัตราขยายตัวลดลง    12.77

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปี 2552 แนวโน้มการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 2551 ซึ่งเติบโตกว่าร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 10 โดยมีมูลค่าส่งออก 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ หากพิจารณาการส่งออกไปยังตลาดหลักทั้ง 3 ตลาด กล่าวคือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้ากลุ่มนี้ ดังนั้น ปัญหาการเกิดวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ก็ย่อมส่งผลให้การส่งออกสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยได้รับผลกระทบไปด้วย สำหรับสินค้ากลุ่มผลไม้กระป๋องที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ สับปะรดกระป๋อง เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนส่งออกสูงถึงร้อยละ 70 ของการส่งออกผลไม้กระป๋องทั้งหมดของไทย โดยมีสัดส่วนส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 21.0 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งโลก ซึ่งสหรัฐฯ เป็นตลาดอันดับที่ 2 รองจากสหภาพยุโรป และปี 2552 คาดว่า การส่งออกสับปะรดกระป๋องจะขยายตัวได้เพียงประมาณร้อยละ7-10 ชะลอตัวลงจากปี 2551 ที่คาดว่าจะขยายตัวกว่าร้อยละ 40 เนื่องจากผู้นำเข้าอาจชะลอการสั่งซื้อสินค้า จากความไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจทำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯ ลดลง ขณะที่สินค้าผลไม้กระป๋องอื่นๆ ยังมีสัดส่วนการส่งออกขยายตัว

ส่วนการส่งออกน้ำผลไม้ปี 2552 คาดว่าจะยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาจากที่ขยายตัวถึงร้อยละ 20 ในปี 2551 ก็จะขยายตัวเพียงร้อยละ 10 ในปี 2552 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ซึ่งมีทีท่าว่าจะลุกลามไปยังสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น สำหรับตลาดส่งออกหลักดังกล่าวมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกน้ำผลไม้ทั้งหมด ทั้งนี้ สินค้าน้ำผลไม้ที่ได้รับผลกระทบคือ น้ำสับปะรด เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 60 ของการส่งออกน้ำผลไม้ทั้งหมด โดยการส่งออกน้ำสับปะรดพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 18.3 ของมูลค่าส่งออกรวม ซึ่งเป็นอันดับที่ 2 รองลงมาจากสหภาพยุโรป

ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของ ปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก พบว่า ตลาดสหรัฐฯ (2) และออสเตรเลีย (4) ซึ่งเป็นตลาดส่งออก สินค้าผักกระป๋อง และแปรรูปของไทย ยังคงมีอัตราการขยายตัว 17.74 และ 157 ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกใน 25 รายการแรก มีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 40 คือ นอร์เวย์ (7) ฟิลิปปินส์ (10) เลบานอน (17) คูเวต (23) และอิสราเอล (24) มีอัตราการขยายตัว 75.48 45.51 46.73 48.19 และ 81.63 ตามลำดับ

          ข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง    มูลค่า   7.89    มีอัตราขยายตัวลดลง    14.33
          ข้าวโพดหวาน           มูลค่า   25.52   มีอัตราขยายตัวลดลง    22.64
          หน่อไม้กระป๋อง          มูลค่า   25.52   มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น    2.73

ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดหลัก 5 อันดับแรก พบว่าตลาดญี่ปุ่น (1) และไอร์แลนด์ (4) ซึ่งเป็นตลาดส่งออก สินค้าไก่แปรรูปของไทย ยังคงมีอัตราการขยายตัว 50.92 และ 16.34 ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกใน 25 รายการแรก มีตลาดส่งออกซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 40 คือ ญี่ปุ่น (1) เวียดนาม (13) ฟินแลนด์ (15) มอลตา (17) และสหรัฐฯ (23) มีอัตราการขยายตัว 50.92 155.94 46.56 142.61 และ 42.86 ตามลำดับ

ทั้งนี้ จากการที่ผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตระหนกและลดการบริโภคเนื้อสุกรแล้วหันมาซื้อโปรตีน ชนิดอื่นแทน ในส่วนของสินค้าไก่แปรรูปก็ได้รับอานิสงส์ในครั้งนี้เช่นกัน โดยล่าสุดเป็นที่น่าสังเกตว่า ขณะนี้คู่ค้าทั้งจากสหรัฐภาพยุโรป(อียู) และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้นำเข้าไก่รายใหญ่ ได้มาเร่งผู้ประกอบการของไทยให้ผลิตและส่งมอบสินค้าเร็วขึ้น รวมถึงมีคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศใหม่ๆ เพิ่มมากสำหรับช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ถือเป็นช่วงโลว์ซีซั่นของการส่งออกไก่ เพราะยังมีสต๊อกเยอะยังไม่สั่งสินค้า ทำให้ราคาส่งออกไม่ดีโดยเฉลี่ยลดลง 30-40% แต่ช่วงไตรมาสที่สอง ราคาเริ่มขยับดีขึ้นและช่วงครึ่งหลังของปีเป็นต้นไป ซึ่งโดยปกติจะเป็นช่วงไฮซีซั่นของการซื้อขาย การส่งออกน่าจะขยายตัวดีขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ