สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นประเทศหนึ่งในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ริมอ่าวเปอร์เซีย ประกอบด้วยรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirates) 7 รัฐ ได้แก่ อาบูดาบี อัจมาน ดูไบ ฟูไจราห์ ราสอัลไคมาห์ ชาร์จาห์ และอุมม์อัลไกไวน์
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE) เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 17 ของไทย ปี 2552 (ม.ค.-ต.ค.) ในช่วง 10 เดือนแรกไทยส่งออกสินค้ามูลค่า 2,004.15 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 14.98 คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.6 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมของไทย และเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทยในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาระเบียน (GCC) รองลงไปได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย โอมาน กาตาร์ คูเวต และบาห์เรน
จากสถิติการส่งออกของไทย — สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปี 2549 — 2552 (มค.-ตค.) พบว่า ปี 2522 (มค.-ตค.) เป็นปีแรกที่มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 14.98 ในขณะที่ ปี 2549 — 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มอย่างต่อเนื่องร้อยละ 25.62 49.68 และ 26.41 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
แม้ว่าไทยจะขาดดุลการค้ากับสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์มาตลอดแต่ไทยก็มีศักยภาพเป็นคู่ค้าสำคัญ โดยไทยส่งออกสินค้า อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เป็นต้น ในขณะที่ไทยนำเข้าน้ำมันดิบ สินแค่โลหะ เครื่องเพชรพลอย เงินแท่งและทองคำ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
ได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องประดับอัญมณี คอมพิวเตอร์ อะไหล่ ผลิตภัณฑ์เคมี และอาหาร
ดูไบ หนึ่งในรัฐทั้ง 7 ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates :UAE) แม้ไม่ใช่เมืองหลวง แต่ดูไบเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของประเทศและภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปีที่ผ่านมาดูไบมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 7.4 คิดเป็นมูลค่า 1.926 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการเมกกะโปรเจคต่างๆของดูไบ เงินทุนที่ใช้ในการก่อสร้างมากมายของประเทศ มาจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการที่ดูไบเป็นเมืองท่า เป็นศูนย์กลางระหว่างเอเชีย แอฟริกา และยุโรป คล้ายกับประเทศสิงคโปร์ ที่เหลือก็มาจากการส่งออกสินค้าประเภทอื่นๆ เช่น เศษโลหะ อัญมณี ทอง/ทองแท่ง และเคมีภัณฑ์ รวมทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวสำหรับรายได้จากน้ำมันและก๊าชธรรมชาตินั้นมีเพียง 3 % เท่านั้น โดยรายได้ส่วนมากจึงมาจากการกู้เงิน
ดูไบ นครรัฐที่มีชื่อเสียงมากที่สุดใน 7 นครรัฐของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) กำลังเผชิญความยากลำบากในการชำระหนี้สูงถึง 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 รัฐบาลดูไบออกแถลงการณ์เรียกร้องให้เจ้าหนี้ของบริษัทชั้นนำของรัฐบาล 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท ดูไบเวิลด์ ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิงเพื่อการลงทุนของรัฐบาลดูไบที่มีหนี้สินอยู่ 5.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และบริษัท นาคีล ซึ่งเป็นบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ เลื่อนการเรียกชำระหนี้ของ 2 บริษัทดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ขณะที่รัฐบาลทำการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท ดูไบเวิลด์
สำนักงานบริการด้านการลงทุนของมูดี้ส์ ซึ่งเป็นสำนักงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เปิดเผยว่า ธนาคารทั่วเอเชียได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากวิกฤติดูไบ และบริษัทดูไบ เวิลด์ ทั้งนี้ ธนาคารในเอเชียปล่อยกู้ให้หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่บริษัทในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งดูไบก็เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยของทรัพย์สินที่ธนาคารในเอเชียลงไป
ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้น ปัญหาการชำระหนี้ของบริษัท Dubai World นั้นคงจะมีไม่มากนัก เนื่องจากประเทศยูเออี ทั้ง 7 รัฐรวมกัน มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.6 ของการส่งออกรวมของไทย อีกทั้งกว่าร้อยละ 80 ของสินค้าที่ส่งออกจากไทยไปยังยูเออี เป็นการส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง ส่วนผลกระทบต่อภาคเอกชนไทยที่เข้าไปดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น ในหมวดก่อสร้างโรงแรม และโรงพยาบาล รวมถึงการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น จากการประเมินในเบื้องต้น คาดว่าคงจะมีผลกระทบไม่มากนักเช่นกัน โดยเฉพาะหากปัญหาเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์จำกัดวงอยู่ที่ดูไบ และไม่ลุกลามไปถึงรัฐอื่นๆ ในยูเออี เช่น อาบูดาบี และสำหรับในด้านการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวจากยูเออีที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยคิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 0.6 ของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามายังประเทศไทยทั้งหมด โดยรวมแล้วจึงอาจกล่าวได้ว่าไทยน่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก อาทิ
1. ในด้านการส่งออก จะส่งผลต่อธุรกิจไทยใน 5 สาขาที่ลงทุนในดูไบ ได้แก่ 1.การก่อสร้าง เนื่องจากมีผู้ประกอบการของไทยรับงานก่อสร้างในดูไบ2.ธุรกิจร้านอาหาร 3.ธุรกิจสุขภาพ 4.ธุรกิจค้าปลีกและสินค้าตกแต่งที่อยู่อาศัย และ5.ธุรกิจสุขภาพ เนื่องจากที่ผ่านมามีประชาชนจากดูไบเดินทางมารักษาพยาบาลในประเทศไทย อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ดังกล่าว ยังไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย แต่อาจมีผลกระทบทางอ้อมต่อตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น และยุโรป เนื่องจากตลาดดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการพักชำระหนี้ของดูไบ
- ส่งออกอาหารไทยไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)หลังจากการเลื่อนชำระหนี้ของกลุ่มดูไบเวิล์ด โดย 10 เดือนของปีนี้ ยูเออีนำเข้าอาหารไทย 5,618 ล้านบาท ลดลง 9.5% ซึ่งสินค้าที่ลดลงมากสุด ทูน่ากระป๋องลดลง 52.6% เบียร์ 31.7% ข้าวหอมมะลิ 15.4% สับปะรดกระป๋อง 12.1% โดยใน 5-6 ปีที่ผ่านมาการส่งออกอาหารของไทยไปยูเออีขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดในปี 2551 ประมาณ 7.2 พันล้านบาท
- การส่งออกข้าวจะได้รับผลกระทบที่สุด เพราะข้าวเป็นสินค้าหลักในตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) โดยมีสัดส่วนถึง 30% ของอาหารส่งออกทั้งหมดที่ส่งไปยูเออี รองลงมาคือ ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง เบียร์ โดยตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการส่งออกอาหารไปเอยูอีของไทยลดลงไปถึง 9.5%
- ธุรกิจร้านอาหารที่คนไทยเข้าลงทุน 42 แห่ง เริ่มได้รับผลกระทบจากยอดขายลดลง 30% เนื่องจากมีความกังวลว่าผู้บริโภคชาวเอเชียซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักอาจถูกเลิกจ้างและถูกส่งกลับประเทศ และยังส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (ยูเออี) ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ โดยมีมูลค่าเพียง 5,618 ล้านบาท จาก 6,205 ล้านบาท ลดลง 9.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
2. ในด้านแรงงาน ปัจจุบันมีคนไทยอยู่ในยูเออีประมาณ 12,000 คน (ข้อมูลปี 2551 ของกระทรวงต่างประเทศ) ส่วนมากทำงานในรัฐดูไบและรัฐอาบูดาบี (เมืองหลวงของยูเออีตั้งอยู่ในรัฐนี้ เป็นรัฐที่ร่ำรวยมีน้ำมันประมาณ 94% และก๊าซธรรมชาติประมาณ 93% ของประเทศ และเป็นรัฐที่สนับสนุนงบประมาณของยูเออีมากที่สุด) แรงงานไทยในดูไบอาจได้รับผลกระทบจากการปลดคนงานใน Dubai World และการชะลอตัวของเศรษฐกิจในรัฐดูไบ ดังนั้น ควรมีมาตรการรองรับผลกระทบต่อแรงงานไทยเหล่านี้ อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์แรงงานในประเทศที่ดีขึ้นในปัจจุบัน ดังเห็นได้จากตัวเลขการว่างงานในเดือนกันยายน 2552 ที่มีอยู่เพียงประมาณ 4.5 แสนคน (ร้อยละ 1.2 ของแรงงานทั้งหมด) ดังนั้น คาดว่าตลาดแรงงานไทยจะสามารถรองรับหากคนงานไทยในดูไบกลับมาทำงานในประเทศได้
3. การค้าการลงทุนระหว่างไทยกับดูไบที่ผ่านมามีสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งคิดว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างไทยกับดูไบ แต่ก็ยอมรับว่าอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมในการเข้าไปลงทุนในตลาดดูไบของไทยบ้าง ซึ่งไทยได้นำเข้าน้ำมันจากดูไบ แต่คงจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากราคาน้ำมันดิบจะอิงกับราคาของกลุ่มโอเปคเป็นหลัก ผลกระทบด้านการลงทุน การลงทุนของไทยในดูไบมีไม่มากนัก ขณะเดียวกันการลงทุนโดยตรงดูไบมาประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Dubai World โดยจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบว่า
- การลงทุนโดยตรงของไทยในดูไบส่วนใหญ่จะเป็นในสาขารับเหมาก่อสร้าง โดยมีบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ของไทยแห่งหนึ่งที่ได้เคยรับงานก่อสร้างจากบริษัท Dubai World อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันบริษัทนี้มิได้รับงานเพิ่มเติมจาก Dubai World แล้ว อีกทั้งยังได้ปิดความเสี่ยงจากการค้างชำระหนี้ของ Dubai World โดยได้ตั้งหนี้สูญ
- การลงทุนของดูไบในไทยส่วนใหญ่อยู่ธุรกิจโรงแรมหรูหรา จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นับเป็นนักลงทุนที่สำคัญระดับหนึ่งของไทย โดยระหว่างปี 2547 ถึงปัจจุบัน BOI ได้มีมูลค่าการลงทุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI แล้วประมาณ 12 พันล้านบาท ทั้งนี้ การลงทุนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 91 อยู่ในสาขาโรงแรม (ตารางที่ 6) และจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริษัทในเครือของ Dubai World ได้ร่วมลงทุนในโรงแรมหรูขนาด 5 ดาว 2 แห่งในใจกลางเมืองกรุงเทพมูลค่าการลงทุน 11,019 ล้านบาท
4. ภาคการท่องเที่ยวของไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากสัดส่วนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีน้อย โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ระหว่างเดือนมกราคม —ตุลาคม ในปี 2552 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 70,182 คน คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.63 ของจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยทั้งหมด ดังนั้น หากเศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ชะลอตัวลง ก็ไม่น่าจะกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมมากนัก อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นกลุ่มที่มีการจับจ่ายใช้สอยในประเทศไทยสูง จึงอาจมีผลกระทบต่อรายได้ของภาคการท่องเที่ยวได้
(1) ควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินโลกอย่างใกล้ชิดผ่าน Emergency Economic Resolution Committee ที่มีกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ร่วมเป็นคณะทำงานอยู่ด้วย
(2) ควรมีมาตรการรองรับผลกระทบต่อแรงงานไทยในดูไบที่อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ Dubai World ในระยะปานกลางถึงยาว (1) ควรประสานความร่วมมือกับประเทศสมาชิก ASEAN+3 ผ่านกลไกความร่วมมือการเงินเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ที่ประเทศสมาชิกสามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างกันหากประเทศสมาชิกมีปัญหาเงินทุนไหลออกหรือปัญหาดุลการชำระเงิน และ
(3) ควรมีมาตรการรองรับผลกระทบต่อแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากการปลดคนงานไทยในรัฐดูไบ
(4) ควรเร่งดำเนินนโยบายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากภายในประเทศ เพื่อทดแทนการพึ่งพาการส่งออก อันเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันจากความผันผวนของเศรษฐกิจต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี บทเรียนของดูไบเวิลด์ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่กลับเป็นภาพสะท้อนบทเรียนของชาติอาหรับ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาหรับ 6 ชาติ ที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นต่อกันอย่างมาก ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน กาตาร์ คูเวต และโอมาน ซึ่งรวมกลุ่มกันในชื่อกลุ่มความร่วมมือประเทศรอบอ่าวอาระเบียน (GCC)
Key indicators 2009 2010 2011 2012 2013 2014 Real GDP growth (%) -3.5 4.0 5.5 6.9 6.4 6.8 Consumer price inflation (av; %) 1.5 4.8 7.5 9.3 7.5 7.2 Budget balance (% of GDP) -0.1 2.7 1.9 3.4 2.8 2.5 Current-account balance (% of GDP) 0.6 4.1 4.4 7.4 7.5 8.9 Exchange rate Dh:US$ (av) 3.67 3.67 3.67 3.67 3.67 3.67 Exchange rate Dh:E (av) 5.13 5.22 5.13 5.22 5.29 5.33 Key indicators 2009 2010 2011 2012 2013 2014 Real GDP growth (%) -3.5 4.0 5.5 6.9 6.4 6.8 แหล่งที่มา : www.viewswire.com
ที่มา: http://www.depthai.go.th