มณฑลจี๋หลิน....ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 14, 2009 15:12 —กรมส่งเสริมการส่งออก

มณฑลจี๋หลิน . ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อกล่าวถึงมณฑลจี๋หลิน (Jilin Province) ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักมากนักหรืออาจยังไม่มีโอกาสเดินทางไปเยือนเมืองใดในมณฑลแห่งนี้กันหรอก ผู้ประกอบการไทยหลายคนที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยด้วย ยังทำหน้างง ๆ หรือถึงขนาดร้องถามรายละเอียดเกี่ยวกับมณฑลแห่งนี้เพิ่มเติมกันเป็นแถว ผมเองได้มีโอกาสรู้จักและไปเยือนมณฑลแห่งนี้เมื่อมาประจำการอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้และรับผิดชอบพื้นที่แถบนี้เช่นกัน วันนี้ผมจะขออาสาพาไปรู้จักมณฑลที่เต็มไปด้วยเสน่ห์และสำรวจลู่ทางและโอกาสทางธุรกิจแห่งนีกัน

มณฑลจี๋หลิน ... อยู่หนใด

มณฑลจี๋หลินตังอยู่บริเวณตอนกลางของอีสานจีน ซึ่งประกอบด้วย 3 มณฑล ตังแต่มณฑลเฮยหลงเจียง (Heilongjiang Province) ทางตอนบนสุดของจีน ซึ่งคนไทยคุ้นเคยกับชื่อเมืองเอกของมณฑลอย่างฮาร์บิน (Harbin) "มอสโกแห่งโลกตะวันออก" (Oriental Moscow) และ "เมือง

น้ำแข็ง" (Ice City) ในช่วงเทศกาลน้ำแข็ง ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ตามด้วยมณฑลจี๋หลินที่เรากำลังจะพูดถึงกัน และมณฑลเหลียวหนิง (Liaoning Province) ทางตอนล่าง ซึ่งมีเมืองเอกอย่างนครเสิ่นหยาง (Shenyang) และเมืองตากอากาศและศูนย์กลางด้านซอฟท์แวร์ชื่อดังของจีนอย่างเมืองต้าเหลียน (Dalian) ที่เราคุ้นหู หากมองว่าแผนที่ประเทศจีนมีลักษณะคล้ายรูปไก่ มณฑลจี๋หลินก็ตั้งอยู่บริเวณคอไก่ตอนบน

จี๋หลินเป็นมณฑลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับมณฑลอื่นและมหานครที่ติดชายฝั่งทะเลด้านซีกตะวันออกของจีน โดยมีพื้นที่ประมาณ 187,400 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นกว่า 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย และนอกจากจะมีชายแดนติดกับมณฑลเหลียวหนิงทางตอนเหนือและเฮยหลงเจียงทางตอนใต้แล้ว ด้านซีกตะวันตกก็ติดกับเขตปกครองอิสระมองโกลเลียใน (Inner Mongolia)

ขณะที่ด้านซีกตะวันออกของมณฑลมีสภาพเป็นเทือกเขาสูงและมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านเกือบ 1,500 กิโลเมตร โดยตอนบนมีชายแดนติดกับรัสเซีย (Russia) เป็นระยะทางประมาณ 230 กิโลเมตร และ ณ เมืองหุนชุน (Hunchun) ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกสุดของมณฑล ก็มีระยะทางห่างจากทะเลญี่ปุ่น (Japan Sea) เพียง 15 กิโลเมตร ใต้ลงมามีเส้นพรมแดนยาวกว่า 1,200 กิโลเมตรติดกับเกาหลีเหนือ (North Korea) ลงมาจนสุดแนวด้านซีกตะวันออกของมณฑล ด้วยเส้นพรมแดนที่ติดกับหลากหลายเชือชาติและสภาพภูมิประเทศ ทำให้มณฑลนีมีเสน่ห์จากความหลากหลายของวัฒนธรรมและวิวทิวทัศน์เป็นอันมาก

จี๋หลินกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

ในด้านเศรษฐกิจ มณฑลจี๋หลินมีประชากรรวมเกือบ 25 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของไทย ในปี 2551 ชาวจี๋หลินมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของชาวจีนทังประเทศ โดยคนในเมืองมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 12,800 หยวนต่อปี ประมาณ 64,000 บาทต่อปี ขยายตัวในอัตราร้อยละ 13 ขณะที่คนในชนบทมีรายได้เฉลี่ยเกือบ 5,000 หยวนต่อปี เพิ่มขึนร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับของปีก่อน

แม้ว่าเศรษฐกิจของมณฑลแห่งนีจะมิได้มีขนาดใหญ่ในอันดับต้น ๆ ของจีน แต่ก็นับว่ามีศักยภาพสูงมาก โดยขยายตัวในอัตราที่สูงและมีเสถียรภาพต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนมีผลิตภัณฑ์มวลรวมขึ้นไปแตะ 642,400 ล้านหยวนในปี 2551 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 16 เมื่อเทียบของปี 2550 หากเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของไทย มณฑลจี๋หลินมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่คิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของไทย ขณะที่ยอดการค้าปลีกมีมูลค่ากว่า 200,000 ล้านหยวนในปี 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับของปีก่อนหน้านี

พื้นที่เกษตรกรรมใหญ่ของจีน มณฑลจี๋หลินนับเป็นอู่ข้าวอู่นำที่สำคัญของจีน โดยอยู่ในเขต "พื้นที่ดินดำ" (Black Land Belt) ที่มีผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุทางธรรมชาติ กอรปกับสภาพอากาศและแหล่งนำที่ดี จึงทำให้มณฑลจี๋หลินเป็นแหล่งเพาะปลูกสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ โดยเฉพาะข้าวโพด ข้าว ถั่วเหลือง พืชนำมัน และธัญพืชต่าง ๆ

จากข้อมูลพบว่า มณฑลจี๋หลินเป็นแหล่งผลิตข้าวโพดที่ใหญ่ที่สุดของจีน จนชาวจีนเรียกพื้นที่ในแถบนี้ว่าเป็น "ย่านข้าวโพดสีทอง" (Golden Corn Belt) ถ้าท่านขับรถออกไป

ชานเมืองหรือต่างจังหวัด ท่านจะพบเห็นทุ่งข้าวโพดไปไกลสุดลูกหูลูกตา จากการสอบถามเกษตรกรในพื้นที่ว่าทำไมชาวไร่กล้าหาญเพาะปลูกข้าวโพดกันมากมายขนาดนี้ ผมก็ได้รับแจ้งว่าเป็นเพราะการมีมาตรการประกันราคาสินค้าของรัฐบาลรองรับอยู่ ขณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหตุผลว่า ที่ต้องมีมาตรการเช่นนี้ก็เพราะภาครัฐต้องการใช้ประโยชน์จากสภาพภูมิประเทศในย่านนีที่มีความเหมาะสม (แต่สภาพอากาศที่หนาวเย็นไม่เอืออำนวยให้ทำการเพาะปลูกได้มากกว่า 1 รอบต่อปี) ประกอบกับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงกำหนดเป็นนโยบายของรัฐเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการว่างงานไปในตัว

ยิ่งในช่วงปี 2552 นี รัฐบาลจีนได้ประกาศเดินหน้าหลายโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ การพยายามกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศผ่านเกษตรกรและผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ อาทิ โครงการ "สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสู่ชนบท" ที่รัฐบาลจีนให้เงินอุดหนุนการซื้อหาสินค้าดังกล่าวในราคาพิเศษจากผู้ผลิตในประเทศ พร้อมเงินช่วยเหลือพิเศษอีกถึง 9,700 ล้านหยวนให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเพื่อสำหรับจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งน่าจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรในแถบนี้จะดียิ่งขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน รัฐบาลไทยเองก็อาจศึกษาและต่อยอดโครงการเหล่านี้เพื่อใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและแรงงานให้ดีขึ้นควบคู่กันไปได้เช่นกัน

โสม เขากวาง และสมุนไพรอื่น ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปที่หลากหลายก็เป็นสินค้าส่งออกชื่อดังของมณฑลนี้เช่นเดียวกัน ว่ากันว่ามณฑลจี๋หลิน โดยเฉพาะแถบเทือกเขาฉางไป๋ซาน (Chang Bai Shan) เป็นแหล่งรวมของโสมและสมุนไพรชั้นดีของโลกไว้มากมาย ปัจจุบัน มณฑลจี๋หลินมีโรงงานผลิตยาจากสมุนไพรมากกว่า 300 แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนายาจากสมุนไพรชันนำ 5 แห่ง รวมทั้งยังเป็นแหล่งผลิตโสมที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดยสามารถผลิตโสมได้ถึงร้อยละ 85 ของปริมาณการผลิตทั้งประเทศ และร้อยละ 70 ของทั่วโลก

เมื่อครั้งที่ผมแวะไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตและส่งออกโสมเมื่อกลางปี 2551 ผมก็สังเกตเห็นคนงานจำนวนมากต่างกำลังง่วนอยู่กับการทำความสะอาด คัดสรร และจัดส่งผลผลิตส่วนใหญ่ของตนไปขายยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ จากคำบอกเล่าของเจ้าของกิจการ ได้รับแจ้งว่า ด้วยราคาโสมที่ดีและตลาดที่กว้างขวางมากขึ้น ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกโสมไปยังสองประเทศดังกล่าวปีละหลายสิบล้านหยวน สำหรับนักช๊อปปิ้งก็ไม่ต้องกลัวว่า เมื่อไปเยือนมณฑลนี้แล้วจะไม่มีของดีท้องถิ่นกลับมาฝากเพื่อนฝูงที่เมืองไทย เพราะตามท้องถนนในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะนครฉางชุน มีร้านจำหน่ายสินค้าเหล่านีทั่วทุกหัวระแหง หากกลัวถูกหลอก ก็ไปร้านขนาดใหญ่หน่อยและมองหาใบอนุญาตจำหน่ายโสมและสมุนไพรที่ออกโดยกรมการค้าของมณฑลจี๋หลิน

ในซีกตะวันออกของมณฑลยังเป็นแหล่งเลี้ยงกบและเพาะปลูกป่าไม้ ไข่กบที่ขึ้นชื่อในเรื่องการบำรุงเลือดลมของผู้หญิงนันนับเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรของมณฑลนี้ เวลาเดินทางไปต่างจังหวัด ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นบ่อนำขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป และตามริมสองฝั่งถนนก็จะมีตาข่ายสูงสักประมาณ 1 ฟุตเป็นแนวขนานไปตามถนนต่อเนื่องกันหลายสิบกิโลเมตร นัยว่าเพื่อกันมิให้กบที่กระโดดข้ามถนนไม่ดูตาม้าตาเรือโดนรถยนต์ที่วิ่งผ่านไปมาทับตาย

เกษตรแปรรูปแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ผลผลิตทางการเกษตรของมณฑลก็ขยายตัวถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน "พี่เบิ้ม" ในวงการเกษตรทังของจีนและเทศต่างเข้าไปตั้งโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรกันมากมาย อาทิ กลุ่มต้าเฉิงข้าวโพด (Dacheng Corn Group) กิจการผลิตและแปรรูปข้าวโพดที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย ซึ่งร่วมทุนกันระหว่างจีน ฮ่องกงและไต้หวัน และกลุ่มเฮ่าหยูเนือวัว (Haoyue Beef Group) รวมทังบริษัท จี๋หลินเต๋อต้า จำกัด (Jilin DeDa Co., Ltd.) กิจการแปรรูปสินค้าเกษตร ซึ่งครอบคลุมตังแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ โรงชำแหละเนือไก่ และโรงเหล้าที่กลุ่มธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ของไทยร่วมลงทุนอยู่ ณ เมืองเต๋อฮุ่ย (Dehui City) ซึ่งห่างออกไปจากนครฉางชุนราว 70 กิโลเมตรหรือประมาณ 1 ชั่วโมงขับรถ

กิจการของเต๋อต้าแห่งนี้มีมืออาชีพบริหารงาน ขณะที่โรงงานผลิตก็มีมาตรฐานสากลรับรอง ทังนี้ เมื่อหลายปีก่อน กระทรวงเกษตรของจีนได้จัดชั้นให้บริษัทฯ เป็น "กิจการแปรรูปสินค้าเกษตรชันนำของจีน" (National Key Industrialized Agricultural Leading Enterprise) และมณฑลจี๋หลินได้ยกย่องบริษัทฯ ว่าเป็น "กิจการแปรรูปสินค้าเกษตรต้นแบบของมณฑลจี๋หลิน" (Jilin Industrialized Agricultural Model Leading Enterprise) ด้วยยอดขายถึงปีละกว่า 3,500 ล้านหยวน และกระจายไปยังตลาดมากกว่า 30 มณฑลและ 20 ประเทศทั่วโลก อาทิ รัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี และแอฟริกาใต้ ทำให้สินค้าของบริษัทฯ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง จนได้รับรางวัล "ตราสินค้าชันนำของจีน" ผมมีโอกาสไปเยี่ยมชมกิจการโรงชำแหละไก่ของบริษัทเมื่อต้นปี 2551 ก็เห็นคนงานในโรงงานยังทำงานกันทุกวันไม่มีวันหยุด แถมต่อเนื่องถึงวันละ 3 กะ! เพื่อให้ทันกับคำสั่งซือไก่ชำแหละเนือ โดยเฉพาะของ KFC และ McDonald's ในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี จี๋หลินยังมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย อาทิ นำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ แร่เหล็ก และนิกเกิ้ล จนนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ อุตสาหกรรมหลักของมณฑลนี้ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และรถไฟ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม) ปิโตรเคมีและก๊าซธรรมชาติ (สัดส่วนร้อยละ 20) และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร (สัดส่วนร้อยละ 10) ในปี 2550 อุตสาหกรรมชันนำในมณฑลแห่งนี้ยังประสบความสำเร็จอย่างมากด้วยยอดขายรวมกว่า 600,0000 ล้านหยวนและอัตราการขยายตัวของยอดขายที่สูงมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศจีนโดยรวม อันส่งผลให้สามารถสร้างผลกำไรสุทธิในระดับสูงที่สุดในประวัติศาสตร์

ขณะเดียวกัน ธุรกิจไม้ซุงแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ไม้ รวมทังการผลิตกระดาษก็นับเป็นอุตสาหกรรมเก่าแก่ของมณฑลนี้ และนับว่ามีศักยภาพทางธุรกิจสูงเช่นกัน ครั้งหนึ่ง ผมไปกับคณะของกรมการค้ามณฑลจี๋หลินเพื่อสำรวจศักยภาพของเมืองแถบเทือกเขาฉางไป๋ซานในซีกตะวันออกของมณฑล ก็สังเกตเห็นขบวนรถบรรทุกขนาดใหญ่ขนไม้ซุงและไม้ท่อนขนาดใหญ่วิ่งสวนทางในย่านนันเป็นจำนวนหลายร้อยคันจนน่าหวาดเสียว

ในด้านการค้ากับต่างประเทศ แต่เดิมมณฑลจี๋หลินค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างรัสเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เป็นหลัก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรมการค้ามณฑลจี๋หลินได้พยายามเร่งขยายการค้ากับประเทศคู่ค้าในภูมิภาคอื่น ๆ อาทิ สหรัฐฯ แอฟริกาใต้ ประเทศในภูมิภาคยุโรปและอาเซียน รวมทังเกาหลีเหนือมากขึ้น จนสามารถเพิ่มมูลค่าการค้ากับประเทศอื่น ๆ เป็นกว่า 13,340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2551 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 29.5 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา โดยมีคู่ค้าหลักได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ ฮ่องกง และเกาหลีเหนือ

ในปี 2551 การส่งออกของมณฑลจี๋หลินมีมูลค่า 4,770 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราร้อยละ 23.7 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม ข้าวโพด โลหะ ยานยนต์และชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์ไม้ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่าถึง 8,570 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึนร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา โดยมีสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ชินส่วนยานยนต์ ชินส่วนเครื่องจักรกล แร่โลหะ ปุ๋ย เหล็ก และเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องมือและอุปกรณ์

พูดถึงการค้าระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ ในขณะที่ประเทศอื่นให้ความใส่ใจกับการค้าขายกับเกาหลีเหนือค่อนข้างน้อยในระยะหลัง แต่จีนใช้ประโยชน์ในความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ โดยได้ทยอยเพิ่ม

จุดเข้าออกเพื่อการเดินทางไปมาหาสู่กันของผู้คนและการขนส่งสินค้าระหว่างกันโดยลำดับ โดยล่าสุดได้เปิดด่านใหม่ที่เขตปกครองอิสระของชนเผ่าเกาหลีประจำฉางไป๋ (Changbai Korean Autonomous County) ด้านซีกตะวันออกเฉียงใต้

ของมณฑลจี๋หลิน ซึ่งเชื่อมโดยสะพานข้ามแม่นำยาลู่ (Yalu Jiang) ที่ยาวประมาณ 200 เมตรและกว้างประมาณ 4 ช่องทางจราจร ในบริเวณหน้าด่านของฝั่งจีน รัฐบาลมณฑลจี๋หลินได้ก่อสร้าง "China Commodity Town" ศูนย์จำหน่ายสินค้าจีนบนพืนที่ประมาณ 20 ไร่ เมื่อปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสแวะเข้าไปเยี่ยมชมและหารือกับผู้บริหารโครงการนี พบว่า ภายในโครงการมีร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครวมกว่า 500 ห้อง โดยก่อสร้างอาคารแบบง่าย ๆ ขึนคล้ายห้องแถว 2 ชันของบ้านเรา ด้านล่างตกแต่งเป็นร้านขายสินค้า ขณะที่ด้านบนเป็นที่พักอาศัย บางร้านยังจำหน่ายสินค้าที่ชาวเกาหลีเหนือนำมาขาย รวมทังมีมุมสันทนาการ เช่น เครื่องเด็กเล่น และจุดพักผ่อนหย่อนใจ

เมื่อสอบถามถึงวิธีการระดมผู้ประกอบการมาเข้าร่วมโครงการ ได้รับคำตอบจากผู้บริหารโครงการว่า นอกจากผู้ประกอบการในพืนที่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐแล้ว ยังได้ไปชักชวนผู้ประกอบการส่วนใหญ่มาจากเมืองอีอู (Yiwu) มณฑลเจ้อเจียง (Zhejiang Province) ซึ่งเป็นศูนย์ค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด่านนีเปิดให้บริการ 2-3 วันต่อสัปดาห์ในช่วงเวลาราชการ ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะช่วงกลางวันของวันศุกร์จะมีชาวเกาหลีเหนือมากมายหลั่งไหลเข้ามาซือหาสินค้าเป็นจำนวนมาก

ในการบริหารงานเขตปกครองอิสระฯ ดังกล่าว รัฐบาลมณฑลจี๋หลินยังได้แต่งตังทีมบริหารรุ่นใหม่ที่มีความสามารถหลายท่านไล่ตังแต่เลขาธิการพรรคและนายอำเภอให้ไปลุยงานด้านการพัฒนาเขตดังกล่าว ขณะที่ด้านพาณิชย์ ก็มีนายเถียน ฉางหลิน (Tian Changlin) อธิบดีกรมธัญพืชและการพาณิชย์ (Grain and Commerce Bureau) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มุ่งมั่นและจริงใจไปดูแลเขตอันกว้างใหญ่นี

เมื่อคราวไปพบกันเมื่อปีก่อน ท่านเถียนก็ได้กรุณาพาผมและคณะไปสำรวจบ้านเมืองและธุรกิจในพืนที่อย่างละเอียด หลังจากคุยกันอยู่นานหลายวันระหว่างที่ผมใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น ก็ได้ความว่า ท่านมีอายุประมาณ 50 ปี เป็นคนพืนเพดังเดิมแถบนัน นิสัยเรียบง่าย ดื่มเก่ง และสูบบุหรี่จัดมาก รวมทังยังทำให้ผมได้รับรู้นโยบายและมาตรการของรัฐบาลจีนในการบริหารเขตนี และเข้าใจในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่นั่นได้ดียิ่งขึน ในตอนหนึ่ง ท่านกล่าวว่า รัฐบาลจีนยุคปัจจุบันสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้คนเชือสายเกาหลีในพืนที่พยายามรักษาวัฒนธรรมและขนมธรรมเนียมประเพณีอันดีงามชนเผ่าเกาหลีเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย อาหารและภาษา นอกจากนี ยังรับทราบว่า ชาวจีนเชือสายเกาหลีเหล่านีเฉลิมฉลองหรือมีเทศกาลทางวัฒนธรรมใดเฉกเช่นเดียวกับผู้คนที่ประเทศเกาหลี แถมท่านอธิบดียังแย้มด้วยความภูมิใจอีกว่า แม้กระทั่งภรรยาของท่านก็เป็นชาวจีนเชือสายเกาหลีเช่นกัน

ส่วนไทยยังค้าขายกับมณฑลจี๋หลินน้อยมากในปัจจุบัน โดยได้เริ่มเข้าไปร่วมกิจกรรมงาน China Jilin Northeast Asia Investment and Trade Expo ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอีสานจีนในช่วง 2-3 ปีหลังมานีเอง แต่พาวิลเลียนของไทยมักได้รับความนิยมมากที่สุดจากผู้มาเยี่ยมชมงานเสมอมา กิจการของไทยหลายรายต่างเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจในมณฑลจี๋หลินและได้เข้าร่วมงานนีอย่างต่อเนื่อง อาทิ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ที่โด่งดังกับปลากระป๋อง "ปลายิม" (Smiling Fish) บริษัท เฮอร์ริเทจฟู๊ดแอนด์สแน็ค จำกัด เจ้าแห่งขนมขบเคียวชื่อดัง "นัทวอล์คเกอร์" (Nut Walker) ผลไม้กระป๋องและเครื่องดื่มอย่าง "กระทิงแดง" (Red Bull) และยูเอฟซี (UFC) รวมทังกิจการของขวัญของตกแต่งบ้าน ผมเชื่อมั่นว่างานปีนีและปีต่อ ๆ ไป จะมีผู้ประกอบการของไทยเข้าร่วมงานเพิ่มขึนอย่างแน่นอน

งานแสดงสินค้าดังกล่าวนีจัดในระหว่างวันที่ 2-6 กันยายนของทุกปี เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่อากาศดีที่สุดของมณฑลจี๋หลิน ยิ่งได้รับทราบข่าวว่าปี 2552 มณฑลจี๋หลินจะยกให้เป็นปีแห่ง

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับไทย โดยจะมีการจัดกิจกรรมพิเศษระหว่างกันในปีนี อาทิ การจัดคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนกว่า 100 คนนำโดยผู้บริหารระดับสูงของมณฑลเดินทางไปเยือนและจัดสัมมนาใหญ่ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันที่กรุงเทพฯ ขณะเดียวกันกรมส่งเสริมการส่งออกก็วางแผนจะจัดคณะผู้ประกอบการไทยจำนวนมากและกิจกรรมพิเศษเข้าไปร่วมจัดแสดงในระหว่างงานแสดงสินค้าดังกล่าวด้วยแล้ว ผมก็เริ่มมั่นใจว่าจะเห็นตัวเลขการค้าและการลงทุนระหว่างกันที่จะขยายตัวเพิ่มขึนอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน

ในด้านการลงทุน กิจการข้ามชาตินิยมเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร อาหารและอสังหาริมทรัพย์ในมณฑลแห่งนี โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เยอรมันเป็นชาติที่เข้าไปลงทุนในมณฑลจี๋หลินมากที่สุด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ตามมาด้วยฮ่องกง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยในปี 2551 มณฑลจี๋หลินรองรับการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติคิดเป็นมูลค่ารวมเกือบ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับของปีก่อน และสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่การลงทุนของไทยในมณฑลจี๋หลินยังมีอยู่ค่อนข้างน้อย นอกจากกิจการเกษตรแปรรูปที่ซีพีไปร่วมทุนอยู่ที่เมืองเต๋อฮุ่ยแล้ว ยังมีบริษัท สามมิตรมอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริง จำกัด (มหาชน) ที่ไปลงทุนในธุรกิจผลิตยานยนต์และชินส่วน รวมทังกิจการซือขายรถยนต์รวมหลายโครงการอยู่ที่นครฉางชุน ภายใต้ชื่อ "Changchun Sammitr Motors Co., Ltd. (CCSMM)" จนเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

แหล่งข่าวยังแจ้งอีกว่า ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจและสร้างประโยชน์อย่างมากมายแก่มณฑลจี๋หลิน รัฐบาลจี๋หลินจึงได้แต่งตังให้ ดร. เชาว์ โพธิศิริสุข ประธานกรรมการของบริษัทฯ เป็นพลเมืองกิตติมศักดิของมณฑลจี๋หลินไปเมื่อหลายปีก่อน นอกจากนี ก็มีกิจการร้านอาหารไทยขนาดกลางอยู่ 2 แห่งและร้านจำหน่ายของขวัญของตกแต่งบ้านอีก 1 แห่งในนครฉางชุนซึ่งทังหมดลงทุนโดยนักธุรกิจจีน รวมทังการร่วมมือทางธุรกิจด้านบริการท่องเที่ยวระหว่างกัน

ในด้านการท่องเที่ยว มณฑลจี๋หลินนับเป็นอีกแห่งหนึ่งที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกิจการท่องเที่ยวของไทยควรแสวงหาลู่ทางในการขยายความร่วมมือระหว่างกัน โดยแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเยือนมณฑลจี๋หลินประมาณ 37.6 ล้านคน-ครัง ในจำนวนนีเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 500,000 คน-ครัง และขยายตัวในอัตราร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับของปีก่อน

มณฑลจี๋หลินมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางธรรมชาติและทางประวัติศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะในนครฉางชุน อาทิ สวนสาธารณะทะเลสาบใต้ (South Lake Park) หรือหนานหูพาร์ค (Nanhu Park) จิงเยว่ถาน (Jingyuetan) ป่าปลูกที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียบริเวณชานเมือง และเหว่ยหวงกง (Wei Huang Gong) พระราชวังของกษัตริย์ผู่หยี (Puyi) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน ขณะที่ในเมืองอื่น ๆ ของมณฑลจี๋หลินก็มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามแปลกตามากมาย โดยเฉพาะเทือกเขาฉางไป๋ซาน ทะเลสาบเทียนฉือ (Tianchi Lake) สืออวู่เต้ากัว (Shiwudaogou) หรือที่คนพื้นเมืองเปรียบเปรยว่าเป็น "จิ่วไจ้โกว 2" ของจีน และต้นสนหิมะ (Snow Rimmed Pines) ริมแม่นำซงฮวา (Songhua) อันเลื่องชื่อ

ในด้านการคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวกมณฑลจี๋หลินมี Changchun Longjia International Airport เป็นสนามบินหลักไว้คอยให้บริการแก่นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวทังในและระหว่างประเทศ แม้ว่าสนามบินแห่งนีจะไม่ได้มีขนาดใหญ่โตดังเช่นที่กรุงปักกิ่งและนครเซี่ยงไฮ้ แต่ก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ดี

นอกจากนี้ ยังมีโครงข่ายถนนระดับคุณภาพที่เชื่อมต่อไปยังเมืองสำคัญอื่น ๆ หากไปท่องเที่ยวในช่วงใบไม้ผลิและฤดูร้อนก็จะเห็นทุ่งดอกไม้สีสวยสดใส ให้บรรยากาศที่คล้ายกับแถวสเปน ขณะที่ในฤดูหนาวก็จะเห็นหิมะขาวโพลนตลอดริมข้างทางไปไกลสุดสายตา

หากท่านผู้อ่านไม่ต้องการเดินทางทางถนน ในแต่ละวันก็ยังมีรถไฟผ่านนครฉางชุนเชื่อมต่อไปยังเมืองสำคัญน้อยใหญ่อื่น ๆ อีกกว่า 50 เที่ยว ในจำนวนนี ยังมีรถไฟเที่ยวพิเศษไว้คอยให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเป็นการเฉพาะ อาทิ

*เส้นทาง Changchun-Xianghai ไปชมฝูงนกนานาพันธุ์ *เส้นทาง Changchun-Changbai Mountain เพื่อไปเยือนเทือกเขาฉางไป๋ซานและทะเลสาบเทียนฉือ *เส้นทาง Changchun-Jilin ไปยลต้นสนหิมะ และพิพิธภัณฑ์อุกกาบาต *เส้นทาง Changchun-Hunchun สุดชายฝั่งตะวันออกของมณฑลจี๋หลิน เพื่อไปซึมซับบรรยากาศและวัฒนธรรมของรัสเซีย สำหรับท่านที่ไม่ชอบเที่ยวแบบลำบากนักก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะตามเมืองใหญ่ ๆ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญต่าง ๆ มีโรงแรมและสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมให้บริการอยู่มากมาย ในปี 2550 จี๋หลินมีโรงแรมระดับ 3 ดาวขึ้นไปอยู่ประมาณ 220 แห่ง ในจำนวนนี้ ผมประมาณว่ามีโรงแรมระดับ 3 ดาวขึนไปในใจกลางนครฉางชุนอย่างน้อย 30 แห่ง รวมทั้งสกีรีสอร์ท (Ski Resort) และสนามกอล์ฟชันดีที่กระจายอยู่ในหลายแห่ง

ทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาของมณฑลจี๋หลิน

ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ความมั่งคั่ง ผมได้อ่านการกำหนดทิศทางและเป้าหมายทางเศรษฐกิจของมณฑลจี๋หลินแล้ว ก็ทำให้อดนึกเปรียบเทียบกับของบ้านเราไม่ได้ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีของมณฑลจี๋หลินฉบับที่ 11 รัฐบาลมณฑลจี๋หลินกำหนดทิศทางการพัฒนาอย่างชัดเจนที่จะเร่งเพิ่ม

เงินรายได้จากภาษี ขยายผลิตภัณฑ์มวลรวมทางเศรษฐกิจ และยกระดับรายได้เฉลี่ยของประชาชนให้อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ ขณะเดียวกันก็กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของมณฑลจี๋หลินใน 5 ปีข้างหน้าไว้อย่างชัดเจน อาทิ การเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมเป็น 2 เท่า (เป็น 1 ล้านล้านหยวน) ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการจากที่ปัจจุบันอยู่ที่ราว 15:45:40 เป็นอัตรา 10:47:43 และเพิ่มการขยายตัวของชุมชนเมืองในอัตราร้อยละ 60 รวมทังยังมุ่งหวังให้คนในเมืองมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับค่าเฉลี่ยของประเทศและให้เกษตรกรแต่ละคนยังคงมีรายได้เฉลี่ยสูงในอันดับต้น ๆ ของประเทศต่อไป

สู่ทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน ประการสำคัญ ไม่ว่าใครจะได้รับแต่งตังให้เข้ามาบริหารงานก็ล้วนมุ่งสานต่อกิจกรรมและโครงการไปในทิศทางเดียวกันและมุ่งหวังให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ข้างต้น ผมมีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นกับข้าราชการและผู้บริหารขององค์กรเอกชนในพืนที่ในประเด็นนี สรุปความได้ว่า โดยระบบดังกล่าวช่วยให้หน่วยงานทังของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทำงานง่ายขึน เพราะกิจกรรมและโครงการสำคัญดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องการเวลาในการดำเนินงานและประเมินผล และมิใช่ว่าโครงการที่กำหนดไว้จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เลย เพราะผู้บริหารระดับสูงของมณฑลจะประชุมหารือกับหน่วยงานในสังกัดเป็นระยะเพื่อปรับปรุงแผนงานให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพปัจจัยแวดล้อมครังสำคัญอยู่เสมอ รวมทังพรรคคอมมิวนิสต์เองก็ได้ให้ความสำคัญกับการคัดสรรและแต่งตังผู้บริหารที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาของมณฑลอย่างมาก ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลจี๋หลินดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและถูกทิศถูกทาง อย่าแปลกใจหากการเข้าเยี่ยมคารวะผู้บริหารระดับสูงของมณฑลในคราวหน้า จะพบกับผู้บริหารที่มีอายุเพียง 40 ปีเศษ

ทั้งนี้ ตามแผนการฟื้นเศรษฐกิจของอีสานจีน (The Program of Northeast China's Revitalization) ก็มุ่งเป้าดึงดูดการลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง การผลิตปลายนำ การวิจัยและพัฒนา การประหยัดทรัพยากร และการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทังการจัดตังสำนักงานภูมิภาค ศูนย์จัดซือ ศูนย์ลอจิสติกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และซอฟท์แวร์ ตลอดจนภาคบริการ อาทิ การสื่อสาร การท่องเที่ยว บริการจัดงานแสดงสินค้าและการศึกษา การกีฬา วัฒนธรรม และสุขภาพ โดยมีอุตสาหกรรมสำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ ยา อาหารแปรรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์

ฉางชุน ... ศูนย์รวมแห่งอำนาจ

ศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจ แม้ว่านครฉางชุน (Changchun) จะมีประวัติศาสตร์มากกว่า 200 ปีแต่ถือได้ว่าเป็นเมืองใหม่มากเมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ ของจีน อย่างลั่วหยาง (Luoyang) ซีอาน (Xi'An) และหังโจว (Hangzhou) ที่มีประวัติศาสตร์นับพันปี นครฉางชุนนับเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจทังทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของมณฑลจี๋หลิน ซึ่งตังอยู่บริเวณตอนกลางของมณฑล ด้วยความที่ฉางชุนเป็นเมืองหลวงของมณฑลจี๋หลิน จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าฉางชุนเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมือง ขณะเดียวกันนครฉางชุนก็เป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับที่ 1 ของมณฑล โดยปัจจุบันมีประชากรประมาณ 8 ล้านคน และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวมากกว่า 25,000 หยวนหรือประมาณ 130,000 บาทต่อปีหรือกว่า 10,000 บาทต่อเดือน

ในประวัติศาสตร์จีนยุคใหม่ ฉางชุนนับว่ามีความสำคัญและผ่านพบประสบการณ์อันขมขื่นมาอย่างโชกโชน โดยในปี 2474 ญี่ปุ่นได้บุกยึดภูมิภาคอีสานจีนและด้วยการสนับสนุนของกองทัพญี่ปุ่น กษัตริย์ผู่หยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิงของแผ่นดินจีน ซึ่งหนีกองทัพประชาชนจีนจากกรุงปักกิ่งได้ประกาศก่อตังอาณาจักรแมนจูเรียขึนเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2475 โดยมีนครฉางชุนเป็นเมืองหลวง นับว่าชาวจี๋หลินตกอยู่ในช่วงเวลาที่ระทมทุกข์อยู่นานหลายปีกว่าจะสามารถหลุดพ้นจากการยึดครองของกองทัพญี่ปุ่นได้

เมืองหลากสมญานาม ฉางชุนเป็นเมืองที่มีความหลากหลายของทรัพยากรและคุณลักษณะเด่นหลายด้าน จนได้รับการขนานนามมากมาย เราลองไปไล่ดูสมญานามเหล่านันกัน

นครฉางชุนเป็นเมืองที่มีต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก โดยมีพืนที่ป่าปลูกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและพื้นที่สาธารณะสีเขียวเป็นจำนวนมากอันดับต้น ๆ ของจีน โดยประมาณร้อยละ 40 ของพืนที่

ฉางชุนเป็นพื้นที่สีเขียว ฉางชุนจึงเป็นเสมือนบาร์ออกซิเจน (Oxygen Bar) ธรรมชาติขนาดใหญ่ของอีสานจีน และทำให้ผู้คนต่างเรียกขานเมืองนี้ว่าเป็น "เมืองแห่งป่าไม้" (Forest City) ใครอยากไปฟอกปอด สูดอากาศบริสุทธิ ก็ให้นึกถึงการเดินทางไปพักผ่อนที่นครฉางชุนเป็นอันดับแรก ๆ ก็แล้วกัน รับรองไม่ผิดหวัง ขณะเดียวกันนครฉางชุนมีสภาพอากาศแตกต่างกันมากในแต่ละฤดู ในฤดูหนาว อากาศหนาวจัด แต่พอย่างเข้าฤดูร้อน ก็จะมีฝนและร้อนชืน ในฤดูใบไม้ผลิ นครฉางชุนก็จะมีสภาพอากาศที่เย็นสบาย แดดอ่อน ๆ และเต็มไปด้วยต้นไม้ที่เขียวชอุ่มทั่วเมือง ทำให้นครแห่งนีได้รับการขนานนามว่า "เมืองแห่งฤดูใบไม้ผลิของภาคเหนือ" (Spring City of Northland) ที่ทุกคนในย่านนันต้องการมาท่องเที่ยวและพักตากอากาศ

นอกจากนี้ ฉางชุนยังเป็นเมืองอันเป็นที่ตังของบริษัทรถยนต์แห่งแรกของจีน ซึ่งท่านประธานเหมา เจ๋อตุง อดีตผู้นำของจีนได้เดินทางมาเป็นประธานในการเริ่มลงเสาเข็มก่อสร้างโรงงานและยังเขียนถ้อยคำให้ไว้เป็นสัญลักษณ์เตือนใจคนรุ่นหลังไว้ด้วย โรงงานแห่งนี้สามารถผลิตรถบรรทุกขนาดกลางยี่ห้อ Jiefang ซึ่งเป็นรถยนต์คันแรกที่ทุกชินส่วนถูกผลิตขึนในจีนขึนเป็นครังแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2493 อันนับเป็นการเปิดโลกยุคใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ของจีน นอกจากนี นครฉางชุนยังจัดงานแสดงสินค้า Changchun China International Automobile Exposition และ Changchun China International Automobile Parts and Accessories Fair เพื่อโปรโมทความเป็นเจ้าพ่อแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์ของตนเองในจีนอีกด้วย

ด้านฝั่งตรงข้ามของโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกนีในปัจจุบัน ก็คือสำนักงานใหญ่ของกลุ่ม "First Automobile Work" (FAW Group) ซึ่งดูเหมือนจะเป็นบริษัทรถยนต์เดียวกระมังที่ร่วมมือทังกับโฟล์คสวาเก้น โตโยต้า และมาสด้าในเวลาเดียวกัน แค่เห็นด้านหน้าของประตูทางเข้าบริษัทก็ทำให้ผมตะลึงแล้ว ภายในยังมีโรงงานผลิตรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีและกำลังการผลิตชันแนวหน้าอยู่เป็นจำนวนมาก จากเดิมที่ผลิตรถยนต์ที่ตกรุ่นจากประเทศพัฒนาแล้ว กลับกลายเป็นว่าโรงงานแห่งนีกลับกลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ของโลกในปัจจุบัน เมื่อเร็ว ๆ นี กลุ่ม FAW ก็ยังได้ร่วมมือกับโตโยต้าในการผลิตรถยนต์ไฮบริดส์รุ่น "Prius" ทำให้นครฉางชุนได้รับชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งยานยนต์" (The City on the Wheels) และเป็น 1 ใน 6 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญของจีนในปัจจุบัน ทังนี รัฐบาลมณฑลจี๋หลินกำหนดเป้าหมายที่จะพัฒนาให้จี๋หลินเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่ใหญ่และก้าวหน้าที่สุดของจีนภายในปี 2553

นอกจาก FAW Group แล้ว ฉางชุนยังมี Changchun Railway Vehicle Co., Ltd. (CRH) กิจการผลิตรถไฟรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน ทังในเรื่องพืนที่และสินทรัพย์ โดยในปัจจุบัน บริษัทฯ มีพืนที่ถึง 1.4 ล้านตารางเมตร ในจำนวนนี เป็นพืนที่โรงงานผลิตถึง 211,000 ตารางเมตร ขณะเดียวกันก็มีสินทรัพย์รวมถึง 630 ล้านหยวน กิจการนีเริ่มก่อตังโดยการควบรวมกิจการรายย่อยที่เกี่ยวข้องตามนโยบายของรัฐบาลจีนเมื่อเดือนมีนาคม 2545 และได้ขยายความร่วมมือด้านการออกแบบและผลิตกับหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และเยอรมัน และมีตลาดผลิตรถใหม่และซ่อมบำรุงรถเก่า ทังภายในและต่างประเทศ อาทิ อียิปต์ อิหร่าน ปากีสถาน เกาหลีใต้ และเยอรมัน เมื่อคราวที่ผมไปดูงานเมื่อ 2 ปีก่อน ก็เห็นคนงานกำลังเร่งเก็บรายละเอียดรถไฟใต้ดินที่จะนำไปติดตังที่กรุงปักกิ่ง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะไปเยี่ยมชมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่เพิ่งจบลง

นครฉางชุนยังเป็นเมืองที่รัฐบาลจีนผลักดันให้ก่อสร้างโรงถ่ายทำภาพยนตร์ที่มีมาตรฐานภายใต้ชื่อว่า "Changchun Film Theme Park" ขึนเป็นแห่งแรกของจีน และมีการจัดงาน "เทศกาลภาพยนตร์ฉางชุน" (Changchun Film Festival) ซึ่งทำให้ชาวจีนจำนวนมากรู้จักนครฉางชุนผ่านอุตสาหกรรมภาพยนตร์นีเอง ทุกวันนี สถานีโทรทัศน์ของจีนต่างนำเอาละครที่ผลิตขึนจากมณฑลจี๋หลินไปฉายมากมาย โดยเฉพาะช่อง 1 ของ CCTV นำเสนอละครของจี๋หลินคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ซึ่งจัดว่ามีสัดส่วนสูงมากท่ามกลางกระแสความนิยมในละครเกาหลีของชาวจีน ในปัจจุบัน แม้ว่าหลายเมืองในจีนได้มีการก่อสร้างสตูดิโอภาพยนตร์ขนาดใหญ่เกิดขึนอีกหลายแห่งในเวลาต่อมา แต่ผู้คนก็ยังจดจำนครฉางชุนว่าเป็น "เมืองแห่งภาพยนตร์" (City of Films) ในฐานะเมืองแรกที่ก่อกำเนิดอุตสาหกรรมนีกันอยู่

นอกจากนี ฉางชุนยังเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญของจีน โดยเฉพาะในด้านเคมี เลนส์ รถยนต์ เครื่องไฟฟ้า การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ยาจีนและการเกษตรสมัยใหม่ โดยมีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีอยู่ถึง 65 แห่ง และระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า 17 แห่ง ให้บริการนักศึกษาถึง 470,000 คน และ 41,000 คน ตามลำดับ ในจำนวนนีมีสถาบันการศึกษาชันนำของประเทศอยู่หลายแห่ง อาทิ Jilin University และ Northeast Normal University นอกจากนี ยังมีสถาบันพัฒนาการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์อยู่อีกกว่า 300 แห่ง ที่ผ่านมา นครฉางชุนนับเป็นแห่งบุคลากรชันนำมากมายหลายสาขา ผู้คนจึงให้สมญานามเพิ่มเติมว่าเป็น "เมืองแห่งศูนย์กลางด้านการศึกษา"(Educational City) ปัจจุบัน มีนักเรียนนักศึกษาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เข้ามาศึกษาต่อในนครฉางชุนเป็นจำนวนมาก

นครฉางชุนยังมีชื่อเสียงด้านการกีฬา จึงศักยภาพในการพัฒนาเป็น "ศูนย์กลางด้านการกีฬา" ได้เช่นกัน นักกีฬาชันนำของจีนจำนวนมากมีพืนเพดังเดิมหรือผ่านสถาบันฝึกอบรมด้านการกีฬาจากนครฉางชุน อย่างเช่น "หวัง เฮ่า" (Wang Hao) นักปิงปองหนุ่มวัย 25 ปีที่คว้าเหรียญทองจากปิงปองประเภททีมและเหรียญเงินจากการแข่งขันประเภทชายเดี่ยว และได้ก้าวขึนเป็นมือหนึ่งของจีนหลังการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่ผ่านมา หวัง เฮ่าคนนีมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับ "เจฟฟรี่ย์" (Jeffrey) หนึ่งในทีมงานของเราที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้ราวกับเป็นพี่น้องกัน ท่านผู้อ่านที่อยากสัมผัสหวัง เฮ่าแต่ไม่มีโอกาส ก็อาจแวะมาเยี่ยมดูและทักทายกับแฝดผู้พี่ที่สำนักงานฯ เราแทนก็ได้

เมื่อปี 2550 ทีมฟุตบอลยาไถ (Yatai) ของมณฑลแห่งนีก็ยังสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลซุปเปอร์ลีกของจีนไว้ได้ นอกจากนีมณฑลจี๋หลินยังมีชื่อเสียงในด้านกีฬาฤดูหนาว โดยมีนักกีฬาชันนำและจัดการแข่งขันกีฬาในด้านนีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ "Vaasa Skeeing Festival"

อันที่จริง เมื่อต้นปี 2550 นครฉางชุนก็ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ฤดูหนาว ครังที่ 6 เพียงนักกีฬาของมณฑลนีแห่งเดียวก็สามารถคว้าได้ถึง 4 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 6 เหรียญทองแดงเข้าไปแล้ว

แม้ว่าไทยไม่ได้โกยเหรียญรางวัลเป็นกอบเป็นกำ แต่งานนีธงชาติของไทยได้รับเกียรติถูกเชิญขึนสู่เสาธงเป็นชาติแรกในพิธีเชิญธงขึนเสาที่จัดขึนเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 ณ Changchun International Conference and Exhibition Center ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ใช้จัดงานแสดงสินค้าสำคัญของเมืองนี

เมืองจี๋หลิน (Jilin City).....คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเคมีแห่งอีสานจีน

ชื่อพ้อง เป็นรองเพียงฉางชุน(Jilin City) เป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับ 2 ของมณฑลจี๋หลิน ผมไม่ได้เขียนชื่อเมืองผิดแต่ประการใด เพราะเมืองนีนับเป็นเมืองเดียวของจีนที่มีชื่อเหมือนกับชื่อมณฑล เมืองจี๋หลินแห่งนีเคยเป็นเมืองหลวงของมณฑลเป็นระยะเวลายาวนานถึง 500 ปี และย้ายไปอยู่ที่นครฉางชุนเมื่อปี 2496 นีเอง ปัจจุบัน เมืองนีมีประชากรอยู่ประมาณ 4.5 ล้านคนและมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 18,000 หยวนหรือมากกว่า 90,000 บาทต่อปี

เมืองจี๋หลินอยู่ห่างออกไปด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉางชุนประมาณ 100 กิโลเมตร เมืองนีนับเป็น "ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเคมีของภูมิภาคอีสานจีน" กิจการต่างชาตินิยมเข้ามาลงทุนในเมืองนีก็เพราะเมืองนีมีจุดเด่นในเรื่องการมีแหล่งนำที่ดีและกระแสไฟฟ้าที่สม่ำเสมอ ทำให้มีโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมเคมีขนาดใหญ่ผุดขึนเป็นจำนวนมาก อาทิ จี๋หลินเคมีคัลกรุ๊ป (Jilin Chemical Group) ลงทุนในโรงงานผลิตแอมโมเนียขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตถึง 1,000 ตันต่อวันหรือประมาณ 350,000 ตันต่อปี และบริษัท จี๋หลินเคมิคัลอินดัสเตรียล จำกัด (Jilin Chemical Industrial Company Limited') ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของจีน

เอกลักษณ์ประจำเมืองอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้คนกล่าวถึง ได้แก่แม่น้ำซงฮัว (Song Hua) ซึ่งไหลพาดผ่านกลางเมืองยาวไปลงทะเลที่มณฑลเหยหวงเจียง ตอนบนของแม่นำสายนี้มีทะเลสาบซงฮวา (Song Hua Lake) ที่เต็มไปด้วยเกาะแก่งและห้อมล้อมด้วยภูเขาสูง

เหมาะแก่การล่องเรือท่องเที่ยวอย่างมาก อีกทังยังมีเขื่อนขนาดใหญ่กันอยู่ถัดมา ทำให้แม่นำซงฮวามีระดับนำคงที่ตลอดปี และทำให้เมืองจี๋หลินมากด้วยวิวทิวทัศน์ที่เปี่ยมด้วยความสวยงามในทุกฤดูกาล บริเวณชานเมืองจี๋หลินยังมีโรงผลิตกระแสไฟฟ้าพลังนำขนาดใหญ่ตังอยู่ โรงไฟฟ้าแห่งนีถูกสร้างขึนโดยญี่ปุ่นเมื่อเกือบ 50 ปีก่อน ในช่วงฤดูหนาว อากาศที่นั่นหนาวจัด ด้านบนของนำในบริเวณหน้าเขื่อนนีจะเป็นแผ่นนำแข็งหนาชนิดลงไปเดินให้เสียวเล่นได้เลย ผมเห็นเรือท่องเที่ยวที่ไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในช่วงที่อากาศอบอุ่นหลายลำติดนำแข็งอยู่ในบริเวณนัน

ยิ่งตอนไปเดินเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เจ้าภาพที่ให้การต้อนรับก็กรุณาพูดให้เกียรติกับผมว่า ช่วงเวลาที่ไปนั่น จี๋หลินมีสภาพอากาศดีกว่าปกติ แต่ตอนนันอากาศติดลบอยู่ถึง 20 องศา! (ปกติอาจติดลบถึง 30) ยิ่งพอเจอลมกรรโชกตามช่องภูเขาที่มาเป็นระลอก ๆ ด้วยแล้ว ตอนนันบอกกับตัวเองว่า เกิดมาไม่เคยเจอสภาพอากาศที่หนาวขนาดนันมาก่อน ผู้อ่านท่านใดอยากไปทดสอบกำลังภายในของตัวเองก็ลองแวะไปเที่ยวดูนะครับ

นอกจากนี เมืองจี๋หลินยังมีพิพิธภัณฑ์อุกกาบาต (Jilin Meteorite Museum) ซึ่งก่อตังขึนเมื่อปี 2505 พิพิธภัณฑ์แห่งนีนับว่ามีชื่อเสียงที่สุดทางตอนเหนือของจีน ภายในมีการจัดแสดงนิทรรศการประวัติของเมืองและอุกกาบาต รวมทังมีอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่สุดในจีนให้ชมและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันด้วย อุกกาบาตลูกนีตกที่เมืองจี๋หลินเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2519 และมีนำหนักถึง 1,774 กิโลกรัม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเรียกอุกกาบาตนีในหนังสือ "เกล็ดหิมะในสายหมอก" เล่ม 3 ของพระองค์ท่านว่า "แขกที่มาจากสวรรค์" ในวันนันมี "ฝนดาวตก" (Meteorite Shower) กว่า 100 ลูกใน 6 ชุมชนของพืนที่ประมาณ 500 ตารางกิโลเมตรในแถบอีสานจีนที่มีผู้คนอาศัยอยู่รวมกว่า 100,000 คน แต่มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินรุนแรงแต่อย่างใด แต่มีเรื่องเล่ากันว่า ในปีนันถือเป็นปีโชคร้ายของจีน เพราะจีนประสบชะตากรรมสูญเสียบุคคลสำคัญหลายท่านในปีเดียวกัน ไล่ตังแต่การถึงแก่อสัญกรรมของท่านโจว เอินไหล นายกรัฐมนตรี (8 มกราคม) นายพลจู เต๋อ ผู้บัญชาทหารสูงสุด (6 กรกฎาคม) และประธานเหมา เจ๋อตุง (9 กันยายน)

แม่น้ำซงฮวา ... ก่อกำเนิดแห่งความมหัศจรรย์

นอกจากฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศดีแล้ว นักท่องเที่ยวทังจีนและต่างชาติยังต่างนิยมเดินทางไปเยือนเมืองจี๋หลินในฤดูหนาว เพื่อไปยล "ต้นสนหิมะ" (Snow Rimmed Pines) ที่ทอดยาวไปหลายกิโลเมตร ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสี่ธรรมชาติที่หาดูได้ยากของจีน

และด้วยนำร้อนที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าพลังนำเฟิงหม่าน (Feng Man) ที่ผมเกริ่นไปก่อนหน้านี ทำให้แม่นำซงฮวาท่อนที่อยู่หน้าโรงไฟฟ้าเป็นแม่นำเพียงสายเดียวในภูมิภาคอีสานจีนที่ไม่เป็นนำแข็งในช่วงฤดูหนาว เหล่าฝูงปลาก็จะไปรวมตัวแหวกว่ายกันในแถบนันอย่างสนุกสนาน พลอยทำให้ผู้คนที่นิยมการตกปลานิยมไปรวมตัวกันในย่านนัน ใครไปเยือนเมืองจี๋หลินในช่วงหน้าหนาวก็อย่าลืมพลาดโอกาสลิมชิมรสปลาที่นั่นดูก็แล้วกัน นัยว่านี่เป็นปลาที่รสชาติดีที่สุด (ในช่วงเวลานัน เพราะปลาที่อื่นไม่มีให้ตก)

นำร้อนที่ถูกปล่อยออกจากเขื่อนเมื่อกระทบกับความเย็นของสายนำก็เกิดเป็นไอนำลอยขึนคล้ายหมอกหนา และไปจับต้นไม้ใบหญ้าและทางเดินบริเวณริมแม่นำซงฮวา อันนำไปสู่ความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่สวยงามเป็นระยะทางยาวประมาณสัก 2-3 กิโลเมตร ไล่ตังแต่บริเวณหน้าเขื่อนของโรงผลิตกระแสไฟฟ้าไปจนถึงบริเวณเทศบาลเมืองในใจกลางเมือง ต้นสนหิมะนีมองดูเผิน ๆ เหมือนกับต้นไม้มีกิ่งและใบเป็นเกล็ดหิมะขาวโพลนไปทั่วท่านผู้อ่านสามารถชักชวนเพื่อนฝูงและคนที่รักเดินย่ำหิมะและชมวิวทิวทัศน์ที่ไม่ซำแบบในแถบนันได้ ผมรับรองว่าสวยงามสุดบรรยายจริง ๆ จนท่านผู้อ่านจะลืมสภาพอากาศไปชั่วขณะเลย

บางจุดที่มีมุมสวย ๆ คนพืนเมืองก็นำเอาสุนัขตัวเขื่องที่พ่นสีตกแต่งเป็นลายเสือโคร่งบ้าง เสือดาวบ้าง มาลากเลื่อนให้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้นั่งเล่นชมวิวอย่างสนุกสนาน บางจุดก็มีรูปปันหิมะไว้ให้นักท่องเที่ยวมาร่วมถ่ายรูปกัน แต่ท่านต้องยอมตื่นเช้าหน่อย และผมแนะนำว่าอย่าลืมใส่เครื่องป้องกันความหนาวแบบเต็มยศมาด้วยนะครับ เรียกว่ามีอะไรขอให้ขนมาให้หมดเลย ไม่ว่าจะเป็น

เสือกันหนาวตัวเก่ง หมวกไหมพรม ที่ปิดหู ผ้าพันคอ ถุงมือ และรองเท้าหัวยางชันดี ไม่อย่างนัน ท่านจะต้องทนถ่ายรูปแบบสั่นสนุก หลายท่านมาจากเมืองไทย เห็นแดดออกจัดแล้วคิดว่าอากาศจะอบอุ่น เห็นฟ้าใส ๆ ไม่มีเมฆมาปกคลุมอย่างนัน แต่อากาศก็หนาวเย็นสุดใจ

ฉางไป๋ซาน (Changbaishan) . เทือกเขาแห่งมนต์เสน่ห์

ยิ่งใหญ่สมชื่อ หากจะวางแผนไปเที่ยวมณฑลจี๋หลิน กระผมแนะนำว่าอย่าลืมเดินทางต่อไปเยือนเทือกเขา "ฉางไป๋ซาน" เป็นอันขาด มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยราชวงศ์ชิงแผ่อำนาจเข้าสู่ภาคกลางเมื่อราวกว่า 360 ปีก่อน ก็ได้สถาปนาภูเขานีให้เป็นเขาเทวดาที่เทิดทูนบูชา เพราะเป็นแหล่งกำเนิดชนชาติแมนจู

เทือกเขาฉางไป๋ซานตังอยู่ด้านซีก ตะวันออกของมณฑลจี๋หลินและมีอาณาเขตครอบคลุม พืนที่กว่า 2,000 ตารางกิโลเมตร ระยะทางเหนือจรดใต้ 78.5 กิโลเมตรและตะวันตกจรดตะวันออก 53.3 กิโลเมตร ด้วยความสูงใหญ่ของเทือกเขาฉางไป๋ซาน แห่งนีจึงทำให้มีสภาพภูมิประเทศ พืชพันธุ์ และวิว ทิวทัศน์ที่สวยงามพิเศษสุดและแตกต่างกันอย่าง มากมาย ความสวยงามในแต่ละจุดของภูเขาเกิดขึนจากสภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เหนือใต้ออกตกมีวิวทิวทัศน์ที่คงเอกลักษณ์ของตน ขณะที่ไต่ระดับขึนสู่ตอนบนของภูเขา ก็จะมีทัศนียภาพและต้นไม้ ทังไม้ดอกและไม้ประดับที่แตกต่างกันไปอีก ยิ่งในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายนของปี เทือกเขาแห่งนีจะเต็มไปด้วยดอกไม้นานาพันธุ์หลากสีที่ผลิบานทั่วไปหลายขุนเขา ท่านเติง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) อดีตผู้นำร่างเล็กของจีน ยังเคยกล่าวชื่นชมเทือกเขาแห่งนีไว้ว่า ท่านคงจะเสียใจไปตลอดชีวิต ถ้าหากว่ามิได้ปีนขึนเขาฉางไป๋ซาน

รัฐบาลมณฑลจี๋หลินได้เก็บรักษาและสร้างเสริมความเป็นธรรมชาติและระบบนิเวศน์ในบริเวณเทือกเขาฉางไป๋ซานไว้เป็นอย่างดีเยี่ยม ทำให้บริเวณแถบนีเต็มไปด้วยสมุนไพรและสัตว์ป่าที่หายากนานาพันธุ์ อาทิ เสืออีสาน (Northeast Tigers) และตัวเซเบิล (Sables) จึงกลายเป็นเขตสงวนที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ประกาศให้เป็น "มรดกโลก" (World Heritage) ไปแล้ว

จุดสูงสุดของเทือกเขานีมีเชื่อว่า "ไป๋โถวซาน" (Baitoushan) ที่แปลว่า "ภูเขาหัวขาว" สันนิษฐานว่าเป็นเพราะตอนบนของภูเขานีมีหิมะปกคลุมตลอด แต่จุดท่องเที่ยวสำคัญที่สุดของเทือกเขาฉางไป๋ซานได้แก่ "ทะเลสาบเทียนฉือ" (Tian Che) หรือ "ทะเลสาบสวรรค์" (Heavenly Lake) ซึ่งล้อมรอบไปด้วยภูเขาสูงถึง 16 ยอด และอยู่สูงถึง 2,155 เมตรเหนือระดับนำทะเล นอกจากนี ทะเลสาบแห่งนียังมีระดับนำลึกสูงสุดถึง 373 เมตรนำลึกเฉลี่ย 204 เมตร และครอบคลุมพืนที่กว่า 9.8 ตารางกิโลเมตร โดยพืนที่ประมาณ 1 ใน 3 ของทะเลสาบแห่งนีเป็นของจีนและอีก 2 ใน 3 เป็นของเกาหลีเหนือ

ทะเลสาบเทียนฉือจึงนับเป็นทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟที่สูง ใหญ่ และลึกที่สุดในโลก และยังเป็นแหล่งกำเนิดของแม่นำ 3 สายสำคัญในแถบอีสานจีน ได้แก่ ถูเหมินเจียง (Tumen Jiang) ยาลู่เจียง (Yalu Jiang) ที่กันระหว่างจีนและเกาหลีเหนือ และซงฮวาเจียง (Songhua Jiang) แม่นำทรงเสน่ห์ที่ผมเกริ่นไปก่อนหน้านี ความพิเศษอีกประการหนึ่งก็คือ นำในทะเลสาบแห่งนีไม่เคยแห้งเลยตลอดทังปี กอรปกับการมีจุดขึนลงและทิวทัศน์ที่แตกต่างกันในแต่ละฤดู ทำให้คนที่เคยไปเยือนมาแล้ว ก็ยังสามารถไปเที่ยวชมกันได้อีกหลายครัง

เวลามองจากตอนบนลงไปที่ทะเลสาบจะเห็นนำในทะเลสาบราบเรียบเป็นสีนำเงินสดใสเหมือนแผ่นกระจกสีฟ้าที่ตกแต่งด้วยเงาของยอดเขาที่รายรอบ ชาวจีนยกย่องทะเลสาบแห่งนีว่าเป็น 1 ใน 5 ทะเลสาบที่สวยงามที่สุดของจีน นอกจากนี ทะเลสาบแห่งนียังเป็นที่นับถือของชาวจีนในเรื่องของความศักดิสิทธิ จึงมีผู้คนนิยมไปอธิษฐานสวดมนต์ขอพรเบืองหน้าทะเลสาบแห่งนีกันมากมาย มีคนกล่าวกันว่า ใครบุญบารมีไม่ถึง ก็จะไม่มีโอกาสได้เห็นทะเลสาบ เพราะจะมีหมอกมาปกคลุม ท่านอดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน (Jiang Zhemin) ของจีนก็เพียรพยายามเดินทางไปถึง 3 ครังเพื่อจะได้ยลภาพแห่งความประทับใจของทะเลสาบที่สวยสดแห่งนี

ถึงแม้ว่านักท่องเที่ยวจะสามารถไปเยือนได้เกือบตลอดทังปี แต่ผมไม่แนะนำให้ท่านผู้อ่านเดินทางไปเยือนในช่วงหน้าหนาวเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเดินทางค่อนข้างลำบากแล้ว บริเวณตอนบนยังมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีลมกรรโชกแรงเป็นระลอก ถึงขนาดหน่วยงานที่ดูแลด้านการท่องเที่ยวในพืนที่ต้องมีเชือกร้อยเสาไว้ให้นักท่องเที่ยวช่วยพยุงตัวขณะเดินบนสันเขา ผมเจอด้วยตัวเองมาแล้ว เล่นเอาร่างท้วม ๆ ของผมยังเซเลย

นอกจากนี ก่อนขึนไปด้านบนของภูเขา เพื่อนร่วมคณะของผมว่า ก็เตือนไว้แล้วทีหนึ่งว่า เสือผ้าที่ผมใส่บางเกินไปและแนะนำว่าให้เดินอย่างระมัดระวัง ผมก็ได้แต่ยิมและทำใจดีสู้เสือ เพราะตอนอยู่ข้างล่างอุณหภูมิก็แค่เลขตัวเดียวเท่านันเอง แต่พอขึนไปถึงตอนบนจริง ๆ แล้ว ก็นึกถึงคำเตือนนันขึนมาทันที ยิ่งอากาศที่หนาวเย็นเจอเข้ากับแรงลม โอย ... มันหนาวเข้ากระดูกจริง ๆ

อีกจุดหนึ่งที่ผมแนะนำให้แวะไปเยือน โดยเฉพาะถ้าท่านไม่ได้เดินทางไปในช่วงฤดูหนาว ก็คือ น้ำตกฉางไป๋ซาน (The Waterfall of hangbaishan) ซึ่งเป็นน้ำตกที่ไหลมาจากทะเลสาบเทียนฉือทางด้านตอนเหนือและไหลผ่านหน้าผาที่ไกลออกไปถึง 1,250 เมตร และทอดยาวเป็นสายน้ำตกที่สูงเกือบ 70 เมตร สายน้ำใหญ่ที่แตกตัวเป็นหลายสายเมื่อตกกระทบเบื้องล่างสร้างเสียงคำรามสะท้านเทือกเขาจนน่าสะพรึงกลัว และส่งละอองน้ำย้อนขึ้นสูงจนเสมือนเป็นสายนำตกที่ไหลย้อนกลับสู่เบื้องบน

อาหาร....อร่อยถูกปากหลากหลาย

เรื่องอาหารการกินที่มณฑลจี๋หลินก็มีอย่างหลากหลายทั้งจีนและเทศ อาหารท้องถิ่นของจี๋หลินทานง่ายเพราะเน้นความเป็นอาหารสุขภาพ หลายจานมีพืชผักสดเคียงคู่มากมาย ที่สำคัญผมว่า คนจี๋หลินทำอาหารเก่งและถูกปากคนไทยอย่างน่าประหลาดใจ ไม่ว่าจะไปภูมิภาคไหนของมณฑลก็มีอาหารอร่อยให้ท่านผู้อ่านได้ลิ้มลองมากมาย ผมแนะนำให้ท่านลองรับประทานอาหารขึ้นชื่อของมณฑลจี๋หลิน อย่างเช่น “เสี่ยวจีตุ้นโหมกู” (ไก่ตุ๋นใส่เห็ด) “โกเปาโยว่” (หมูกรอบเปรี้ยวหวาน) และ “จูโย่วตุ้นเฝิ่นเถียว” (หมูผัดผักพื้นบ้าน) ที่พวกเราเรียกกันว่าเป็นหมูผัดกระเผาสไตล์จี๋หลิน ทุกวันนี้กลับมานครเซี่ยงไฮ้แล้ว ยังอดไม่ได้ที่จะแวะเวียนหรือโทรสั่งอาหารอีสานจีนมาทาน

ใครมีโอกาสไปเที่ยวแถวเขตฉางไป๋ ก็อย่าลืมพลาดโอกาสลิ้มลองกบป่าผัดจานร้อน กบที่นั่นมีช่วงขาค่อนข้างยาวและตัวป้อม ๆ เวลาตักทาน ก็ไม่ต้องเกรงใจใคร ขอให้คีบทั้งตัวเลย เพราะที่นั่นนิยมรับประทานหมดทุกส่วนของกบครับบางแห่งมีกบตากแห่งขายให้ท่านที่สนใจซื้อกลับไปผัดเผ็ดกินกันที่บ้านอีกด้วย

นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่ผมเดินทางไปด้านซีกตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑล ซึ่งมี “Korea Town” ตั้งอยู่ ผมและคณะเองก็ยังไปติดใจอาหารจี๋หลินสไตล์เกาหลี (หรือต้องเรียกว่าเป็นอาหารเกาหลีสไตล์จี๋หลินก็ไม่รู้ได้) เข้าร้านไหน ไม่ว่าร้านเล็ก ร้านใหญ่ เป็นติดใจทุกที่ แต่หากท่านผู้อ่านอยู่ต่อเนื่องหลายวันแล้วเริ่มเบื่อกับอาหารจีน ก็อาจเปลี่ยนบรรยากาศไปลิ้มลองอาหารชาติอื่นได้ โดยท่านสามารถแวะเข้าร้านอาหารเกาหลี ญี่ปุ่น และชาติตะวันตก หรือแม้กระทั่งอาหารจานด่วนที่มีอยู่ดาษดื่นในเมืองใหญ่ได้ตามสะดวก

รอยยิ้มและความจริงใจ

แต่สุดยอดแห่งความประทับใจของผมกับมณฑลจี๋หลินนี้ก็ได้แก่ ความมีมิตรไมตรีและน้ำใจ ตลอดจนรอยยิ้ม ของผู้คนที่นี่ ซึ่งคุณสมบัติพิเศษนี้ถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะด้านการลงทุนและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการด้านอื่น ๆ ของมณฑลแห่งนี

ก่อนหน้านี้ผู้หลักผู้ใหญ่ของไทยและเพื่อนชาวจีนมักกล่าวยกย่องว่า คนอีสานจีนเป็นคนที่จริงใจ ครั้นผมมีโอกาสไปเยือนจริง ๆ ก็รู้สึกได้ถึงคำกล่าวนั้น ผมขอเรียนว่า ผู้คนที่จี๋หลินนี้มีรอยยิ้มและการต้อนรับที่คล้ายกับคนไทยมาก ความใส่ใจและมีจิตใจพร้อมให้บริการทำให้ทุกครั้งที่ผมมีโอกาสไปเยือนมณฑลแห่งนี้เป็นอันต้องหลงใหลไปกับรอยยิ้ม และหวนนึกถึงบ้านเราเสียทุกครั้งไป เรื่องนี้ผมเชื่อว่า ข้าราชการและผู้ประกอบการไทยที่ไปลงทุนหรือไปร่วมงานแสดงสินค้ากับกรมส่งเสริมการส่งออกที่ผ่าน ๆ มาและคนไทยที่เคยไปท่องเที่ยวในย่านนี้สามารถช่วยยืนยันคำกล่าวของผมได้เป็นอย่างดี

โอกาสและลู่ทางธุรกิจของไทยในมณฑลจี๋หลิน

ในแง่ของการค้าระหว่างประเทศ ตลาดมณฑลจี๋หลินเหมาะสำหรับผู้ส่งออกของไทยในทุกขนาดธุรกิจ แม้กระทั่งวิสาหกิจขนาดเล็กที่มักบ่นประสบปัญหาในการทำตลาดสินค้าในตลาดจีนจากการสอบถามผู้บริโภคในพื้นที่ พบว่า ผู้บริโภคประเมินว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าคุณภาพดีและมีราคาไม่แพง ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญเนื่องจากสินค้าของคู่แข่งจากต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และรัสเซียมีราคาสูงกว่าในเชิงเปรียบเทียบ

ผมจึงกล้าฟันธงได้เลยว่า สินค้าไทยที่มีศักยภาพเจาะเข้าสู่ตลาดนี้ได้แก่ สินค้าอาหาร อาหารพร้อมรับประทานของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างง่ายดายโดยเฉพาะขนมขบเคี้ยว ปลากระป๋อง และน้ำผลไม้ ผมตั้งเป้าว่าจะให้มีการมีลงทุนเปิดร้านจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปของไทยเป็นร้านต้นแบบอย่างน้อย 1 ร้านภายในปีนี้ แต่หากเป็นจำพวกเครื่องปรุงรสแล้วล่ะก็ ผมแนะนำว่าควรเป็นเครื่องปรุงรสพร้อมปรุง ประเภทฉีกซอง เติมน้ำ ใส่เนื้อและผัก ชิมให้ถูกปากหน่อยขึ้นโต๊ะอาการได้เลยจะยิ่งดี หรือเครื่องปรุงรสที่เข้ากับอาหารจีน อาทิ ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มไก่ และน้ำจิ้มปอเปี้ยะ เพราะแม้ว่าคนในพื้นที่จะเริ่มรู้จักถึงชื่นชอบในอาหารไทยบางรายการ อาทิ ต้มยำ ส้มตำ แกงเขียวหวาน แต่ยังไม่รู้จักวิธีการปรุงอาหารไทย เราเพิ่งเริ่มจัดกิจกรรมสาธิตการปรุงอาหารเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรุงอาหารไทยมาเพียงแค่ 2 ปี พูดถึงการเอาสินค้าเครื่องปรุงรสแบบจีนของไทยไปขายในตลาดจีนนั้น ก็ไม่ต้องแปลกใจ ลองสอบถามผู้จัดการฝ่ายตลาดต่างประเทศของ “หยั่น หว่อ หยุ่น”และน้ำจิ้ม “กนกวรรณ” ดู

ผลไม้สดและแปรรูปยังคงเพิ่มการขายได้อีกมาก ทั้งในแง่ประเภทและระดับราคา รวมทั้งในแง่ปริมาณลูกค้า จากการช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และขยายฐานลูกค้าในพื้นที่ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ ที่มีอยู่ การทำงานร่วมกับตลาดค้าส่งผลไม้ประจำมณฑล ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชานเมืองของนครฉางชุนให้เป็นศูนย์กลางจัดจำหน่ายผลไม้ไทย ก็จะสามารถช่วยกระจายผลไม้ไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากช่องทางจัดจำหน่ายสมัยใหม่ อย่างวอลมาร์ท และคาร์ฟูร์ในพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้อีกด้วย

สินค้าของขวัญของตกแต่งบ้านก็ไปได้สวย ทุกครั้งที่กรมส่งเสริมการส่งออกจัดคณะผู้ประกอบการไทยไปร่วมงานแสดงสินค้าที่นั่น ผมสังเกตเห็นสินค้ากลุ่มนี้ได้รับความสนใจมากเป็นอันดับสอง รองจากสินค้าอาหารเท่านั้น ขณะที่อัญมณีและเครื่องประดับไทยยังอยู่ในระยะแรกของการพัฒนาตลาดที่มณฑลจี๋หลิน ในช่องทางจัดจำหน่ายสมัยใหม่โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า ยังแทบไม่มีสินค้าเครื่องประดับของไทยไปวางจำหน่ายเลย กอรปกับกำลังซื้อเฉลี่ยของคนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังต่ำกว่าของเมืองเอกของจีนอย่างกรุงปักกิ่งและนครเซี่ยงไฮ้

ดังนั้น การนำเสนอสินค้าเครื่องประดับในตลาดนี้จึงเหมาะสำหรับสินค้าที่มีคุณภาพระดับกลางและราคาต่อชิ้นต่ำลงมา ผมอยากแนะนำว่าควรขยายตลาดผ่านห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หรือร่วมมือกับร้านจำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่นและเสื้อผ้ากันหนาวคุณภาพดีที่ทำจากขนมิ้ง ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจ โดยในเชิงภูมิศาสตร์ผู้ประกอบการไทยอาจจะทำตลาดในนครเสิ่นหยาง ต้าเหลียน และฮาร์บินควบคู่กันไปกับเมืองใหญ่ในมณฑลจี๋หลินอย่างนครฉางชุนและเมืองจี๋หลินได้ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเน้นจับตลาดระดับบน ก็ใช่ว่าจะหมดโอกาส เพียงแต่ต้องขยันทำการตลาดเฉพาะกลุ่มมากหน่อย เพราะในมณฑลจี๋หลินมีนักธุรกิจรายใหญ่ที่มีฐานะดีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน

ขณะที่ธุรกิจบริการที่ยังสามารถขยายการลงทุนได้อีกมาก ได้แก่ ร้านอาหาร (ไม่จำเป็นต้องเป็นร้านอาหารไทยเท่านั้น) การศึกษา ธุรกิจออกแบบ (ก่อสร้าง) และอสังหาริมทรัพย์ ผู้คนในย่านนี้ล้วนต้องการบ้านหลังที่ 2 ไว้พักผ่อนยามเข้าสู่หน้าหนาว สำหรับท่านที่อยู่ในวงการสปานั้นผมขอเรียนว่า ในแถบนี้มีสปาเกาหลีที่ให้บริการดีและราคาถูกจำนวนมากเปิดบริการอยู่ ดังนั้น หากคิดเข้าไปเปิดกิจการนี้ที่นั่น และจับตลาดระดับกลาง ผมขอเสนอให้ไปเริ่มที่เมืองใหญ่ในแถบนครเซี่ยงไฮ้มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลเจียงซูที่ผู้คนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงกว่าของมณฑลจี๋หลินก่อน รอให้คนแถวนี้รู้จักและชื่นชอบใน “ความเป็นไทย” เพิ่มมากขึ้นอีกสักระยะ ก็ยังไม่น่าจะสายเกินไป หรือไม่อย่างนั้นแล้ว ผมก็ขอให้เน้นไปจับตลาดระดับบนเลย โดยอาจเปิดในโรงแรมระดับห้าดาว เพราะพรรคพวกในแวดวงธุรกิจการค้าของจี๋หลินมาเยือนเมืองไทยครั้งใด ก็มักบ่นถามว่า เมื่อไหร่จะมีสปาไทยดี ๆ เหมือนที่ใช้บริการในไทยไปเปิดให้บริการที่ฉางชุนกันเสียที

ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการของไทยไม่ควรลืมก็คือ ท่านควรมองการเชื่อมโยงเครือข่ายจำหน่ายสินค้าไปยังเมืองสำคัญในมณฑลข้างเคียง อาทิ ฮาร์บิน (มณฑลเฮยหลงเจียง) และต้าเหลียนและเสิ่นหยาง (มณฑลเหลียวหนิง) ในคราวเดียว เนื่องจากเศรษฐกิจของมณฑลทั้งสามในอีสานจีนมีลักษณะค่อนข้างกระจุกตัวในเมืองใหญ่เพียง 1 -2 เมืองในแต่ละมณฑล กอรปกับพื้นที่ในแถบนี้มีอาณาเขตค่อนข้างใหญ่และอากาศหนาวเย็นยาวนาน ผมแนะนำว่าผู้ประกอบการไทยพยายามแสวงหาผู้จัดหน่ายสินค้าท้องถิ่นที่มีศักยภาพสูงในเมืองดังกล่าวอย่างน้อยสัก 1-2 รายต่อมณฑลเพื่อช่วยทำตลาดสินค้าของท่าน ก็จะสามารถช่วยกระจายสินค้าของท่านได้อย่างทั่วถึง และเข้าร่วมงาน China Jilin Northeast Asia Investment and Trade Expo ที่จัดขึ้นทุกปีระหว่างวันที่ 2-6 กันยายน โดยพยายามใช้โอกาสนี้ในการวิจัยตลาดและมองหาผู้จัดจำหน่ายสินค้าของท่าน

ในทางกลับกัน มณฑลจี๋หลินยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีและหายากเป็นจำนวนมาก อาทิ โสม สมุนไพร และยาจากสมุนไพร รวมตลอดจนเครื่องมือแพทย์ที่น่าสนใจอย่างมากผมว่าในกระแสที่คนไทยต่างห่วงใยในสุขภาพเช่นนี้ สินค้าเหล่านี้มีศักยภาพทางธุรกิจอย่างมากหลังจากทำตลาดในไทยสักระยะ ท่านก็อาจขยายตลาดออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนได้ต่อไป

ในด้านการลงทุน ผมเล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาคลัสเตอร์แฝด (Double Clusters) ระหว่างไทยและจี๋หลินในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเอกชนไทยควรเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ในพื้นที่ นายวัลลภ เตียสิริผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ยังได้ให้ข้อคิดเห็นในเรื่องนี้ไว้เมื่อคราวประชุมหารือกันเมื่อต้นปี 2552 ที่ผ่านมาว่า ไทยยังสามารถเอาประโยชน์จากความแข็งแกร่งในการผลิตรถยนต์โดยสาร รถบรรทุก และรถประหยัดพลังงาน (Eco Car) เพื่อประกอบและกระจายต่อไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้ ในบางอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและทรัพยากรที่มีมากมายในพื้นที่ ผมก็ขอเสนอการร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารแปรรูป เฟอร์นิเจอร์ไม้กระดาษ และปิโตรเคมี

หากสนใจในศักยภาพทางธุรกิจของมณฑลจี๋หลิน ก็ขอให้ท่านผู้อ่านติดตามการดำเนินกิจกรรมของกรมส่งเสริมการส่งออก ที่เตรียมการจัดกิจกรรมสัมมนาใหญ่ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับมณฑลจี๋หลิน และการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและมณฑลจี๋หลินในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งห้ามพลาดการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า China Jilin Northeast Asia Investment and Trade Expo 2009 ในปีนี้อย่างเด็ดขาด ... ไว้พบกันนะครับ

ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ