สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - เวียดนาม ปี 2552 (ม.ค.-ต.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 14, 2009 16:27 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง           :  โฮจิมินห์ซิตี้
พื้นที่                :  330,363  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ         :  Vietnamese
ประชากร            :  84  ล้านคน (October 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน       :  VND : USD 0.0018 (4/12/09)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                                       6.2         3.0
Consumer price inflation (av; %)                         23.1         5.1
Budget balance (% of GDP)                                -5.1        -7.3
Current-account balance (% of GDP)                      -11.4        -8.7
Commercial banks' prime rate (year-end; %)               16.4        12.6
Exchange rate ฅ:US$ (av)                               16,358      17,461

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับเวียดนาม
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   3,660.15          100.0         -16.44
สินค้าเกษตรกรรม                       205.91           5.63          -0.07
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               233.08           6.37          -1.29
สินค้าอุตสาหกรรม                     2,854.79          78.00          -5.30
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    366.37          10.01         -60.33
สินค้าอื่นๆ                                0.0            0.0        -200.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับเวียดนาม
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              1,154.79           100.0         -10.42
สินค้าเชื้อเพลิง                              409.51           35.46          70.70
สินค้าทุน                                   325.28           28.17         -34.51
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    215.35           18.65         -41.13
สินค้าบริโภค                                166.89           14.45          17.48
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์                      37.76            3.27         -15.59
สินค้าอื่นๆ                                     0.0             0.0         -74.97

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - เวียดนาม
                           2551            2552          %

(ม.ค.-ตค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             5,669.56        4,814.94     -15.07
การส่งออก                 4,380.39        3,660.15     -16.44
การนำเข้า                 1,289.17        1,154.79     -10.42
ดุลการค้า                  3,091.22        2,505.37     -18.95

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดเวียดนาม เป็นอันดับที่ 25 มูลค่า 1,154.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.42
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                มูลค่า :          สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                1,154.79           100.0         -10.42
1.น้ำมันดิบ                         356.23           30.85          70.41
2.เครื่องคอมพิวเตอร์                 174.38           15.10         -43.19
3.เครื่องจักรไฟฟ้า                    88.39            7.65          -2.80
4.ถ่านหิน                           53.14            4.60          72.27
5.ด้ายและเส้นใย                     44.73            3.87         -22.42
          อื่น ๆ                   189.09           16.37         -23.26

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดเวียดนาม เป็นอันดับที่ 9 มูลค่า  3,660.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  16.44
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                         3,660.15          100.0         -16.40
1. น้ำมันสำเร็จรูป                            307.86           8.41         -61.82
2. เม็ดพลาสติก                              281.83           7.70         -21.61
3. เหล็ก เหล็กกล้า                           244.41           6.68          -6.44
4. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                182.96           5.00          41.29
5. เคมีภัณฑ์                                 172.29           4.71          24.67
               อื่น ๆ                       873.02          23.85         -17.76

4. ข้อสังเกต
4.1  สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเวียดนาม ปี 2552 (มค.-ตค.) ได้แก่

น้ำมันสำเร็จรูป : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค) พบว่าปี 2552 (มค.-ตค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 61.82 ในขณะที่ ปี 2549 — 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 25.32 9.11 และ 120.31 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เม็ดพลาสติก : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค) พบว่าปี 2552 (มค.-ตค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 21.61 ในขณะที่ ปี 2549 — 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15.11 16.11 และ 18.16 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค)พบว่าปี 2552 (มค.-ตค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 6.44 ในขณะที่ปี 2549 — 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 49.97 30.69 และ 1.14 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค)พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 16.43 90.88 56.08 และ 22.21 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-ตค) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 10.83 47.07 37.53 และ 24.67 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเวียดนาม ปี 2552 (มค.-ตค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มี
อัตราขยายตัวเพิ่มสูงโดยสูง มีรวม 13 รายการ คือ
    อันดับที่ / รายการ                        มูลค่า         อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                                      ล้านเหรียญสหรัฐ           %
4.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                182.96            41.29
5.เคมีภัณฑ์                                 172.29            24.67
6.ผลิตภัณฑ์ยาง                              133.35             8.42
9.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                120.61             7.17
11.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ             101.39            10.67
12.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                           97.20             0.45
14.เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์                84.89            27.80
15.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ                79.35            12.62
16.ผ้าผืน                                   77.12            13.86
19.เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง                 56.11             1.87
22.ข้าวโพด                                 48.72            74.69
23.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์                       43.71            49.27
24.ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์                          41.19             7.30
25.น้ำตาลทราย                              40.30            56.81

4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเวียดนาม ปี 2552 (ม.ค.- ตค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มี
อัตราขยายตัวลดลง รวม  10 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                          มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                                       ล้านเหรียญสหรัฐ            %
1.น้ำมันสำเร็จรูป                             307.86            -61.82
2.เม็ดพลาสติก                               281.83            -21.61
3.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                   244.41             -6.44
7.เครื่องยนต์สันดาปภายใน                      125.45             -9.51
8.กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                   121.91             -2.03
10.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                 101.95            -26.00
13.ปูนซิเมนต์                                 85.11            -18.92
17.ยางพารา                                 74.61            -30.83
18.เส้นใยประดิษฐ์                             62.17             -2.94
20.หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด              52.93            -35.16
21.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                           49.71            -16.86

4.4  สินค้าส่งออกสำคัญซึ่งเป็นคู่แข่งขันของไทยและเวียดนาม
  • สินค้าส่งออกสำคัญซึ่งเวียดนามเป็นคู่แข่งขัน เช่น ข้าว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น
  • คู่แข่งในตลาดโลก ได้แก่
  • ข้าว (เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากไทย)
  • ยางพารา (เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพาราเป็นอันดับที่ 8 และเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 4 ของไทย)
  • ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 6 ของเวียดนาม และเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทย)
  • ผลิตภัณฑ์พลาสติก (เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 13 ของเวียดนาม และเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 18 ของไทย)
4.5 ข้อมูลเพิ่มเติม

ธนาคารกลางเวียดนามประกาศลดค่าเงินด่องลงให้อ่อนค่าลง 5.2 % จาก 17,034 ด่องต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 17,961 ด่องต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีผลทันทีในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2552 เพื่อแก้ไขปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและปัญหาเงินเฟ้อระดับสูง และสกัดไม่ให้เงินทุนไหลออก และเพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 เวียดนามประสบภาวะวิกฤติเงินตราต่างประเทศอย่างรุนแรงปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) ที่หมุนเวียนในตลาดขาดแคลนอย่างหนักจนทำให้ราคา USD ในตลาดมืดแตกต่างจากราคาที่ธนาคารพาณิชย์กำหนดไว้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ธนาคารแห่งชาติของเวียดนามได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยกลาง ( prime rate ) จาก 7% เป็น 8% ซึ่งจะมีผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ได้สูงขึ้น 12% จากปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็น 9.5 — 10% และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยส่วนลด ( discount rate ) จาก 5% เป็น 6% โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552

ผลกระทบต่อการส่งออกของไทย

  • ผลกระทบด้านบวก
  • ผู้นำเข้าเวียดนามสามารถนำเข้าสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากก่อนลดค่าเงินด่อง ส่วนต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนทางการใหม่กับตลาดมืดแตกต่างกันมาก ผู้นำเข้าชะลอการแลกเงินด่อง และซื้อ USD จากธนาคารพาณิชย์ทำให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งการนำเข้าจากไทยลดลง เพราะต้องขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนสูง ทั้ง ๆ ที่อยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เป็นช่วง PEAK ของการสั่งซื้อสินค้าประเภทอุปโภคจากไทย
  • การประกาศปรับอัตราแลกเปลี่ยน มีผลให้ตลาดเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ ราคาสินค้านำเข้าแม้จะมีราคาสูงขึ้นข้าง แต่ก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น
  • ผลกระทบด้านลบ
  • อาจมีผลทางด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภคชาวเวียดนามว่าสินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้นและหัน ไปใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น
  • เป็นภาระต่อผู้นำเข้าสินค้าในประเทศเวียดนาม เพราะต้องจ่ายเงินดอลลาร์ในการชำระค่าสินค้ามากขึ้น เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนทางการปรับสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้เวียดนามลดค่าเงินลงมาก คงยังไม่ทำให้ผู้นำเข้าทุ่มคำสั่งซื้อไปที่เวียดนามทั้งหมดทันที เนื่องจากจะมีความเสี่ยงโดยถ้าผู้นำเข้าทุ่มคำสั่งซื้อไปที่เวียดนามทั้งหมดอาจมีปัญหาได้ เพราะผู้ผลิตในเวียดนามมีปัญหา เรื่องการปล่อยเครดิตที่เข้มงวด เพราะมีเงินทุนไม่มาก รวมทั้งกำลังการผลิตของเวียดนามคงไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ทันที และแรงงานในเวียดนามมีแนวโน้มไปทำงานในอุตสาหกรรมประเภทอื่นมากขึ้น อาทิเช่น อิเล็กทรอนิกส์ และราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มดี ก็ทำให้แรงงานยังคงอยู่ในภาคการเกษตร

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ