ข้อมูลสินค้าสับปะรดในสวิตเซอร์แลนด์

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 15, 2009 14:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลการตลาด

1. ความสำคัญของตลาด ตลาดผลไม้ของสวิตเซอร์แลนด์นับเป็นตลาดขนาดเล็กเมื่อเทียบกับประเทศยุโรปอื่น หากแต่เป็นตลาดพรีเมี่ยมที่มีอำนาจการซื้อสูง สินค้าผลไม้กว่าครึ่งหนึ่งเป็นสินค้านำเข้าเนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกตลอดทั้งปี ในระยะ 3-5 ปีที่ผ่านมาชาวสวิสนิยมบริโภคผลไม้มากยิ่งขึ้นเนื่องจากหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ตลาดสินค้าผลไม้ในสวิสขยายตัวมากขึ้นตามลำดับ

2. ประเภทสินค้า ผลไม้ในสวิสเซอร์แลนด์จำแนกได้ดังนี้

2.1 ผลไม้ที่ปลูกในประเทศ

2.2 ผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศยุโรปอื่น เช่น แพร์ เชอร์รี่ ลูกพรุน แอปริคอท

2.3 ผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถเพาะปลูกในสวิสได้ (exotic) เช่น สับปะรด กล้วย องุ่น ส้ม มะละกอ กีวี

3. ขนาดบริโภค ปัจจุบันสวิสมีประชากรประมาณ 3 ล้านครัวเรือน โดยมากเป็นครอบครัวขนาดเล็ก เฉลี่ย 2.2 คนต่อ 1 ครัวเรือน ส่งผลต่อวิถีการบริโภคซึ่งเน้นสินค้าคุณภาพสูงเป็นหลัก โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมจะเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพื่อสะดวกในการรับประทานและสินค้าแพ็คเล็กซึ่งมีขนาดเหมาะสมต่อการบริโภคต่อ 1 ครั้ง

1. สับปะรดกระป๋อง

1. ช่องทางการกระจายสินค้า จำแนกได้ดังนี้

1.1 ธุรกิจร้านอาหาร/โรงแรม คิดเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดทั้งหมด โดยนำสับปะรดไปใช้ในการปรุงอาหารและขนมหวาน

1.2 ร้านค้าปลีก คิดเป็นร้อยละ 40 ของมูลค่าตลาดทั้งหมดโดยมีผู้นำเข้าหลักเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของสวิส 2 ห้าง คือ Migros และ Coop ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดรวมกันทั้งสิ้นร้อยละ 80

2. สินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ สับปะรดกระป๋องชนิดแผ่นบรรจุในน้ำเชื่อม โดยได้รับความนิยมมากกว่าชนิดแผ่นบรรจุในน้ำหรือชนิดหั่นเป็นชิ้นละเอียด

3. ขนาดบรรจุ เรียงตามสินค้าที่ได้รับความนิยมที่สุด ดังนี้

3.1 ขนาด 567 ก./340 ก. ชนิดแผ่น บรรจุ 10 แผ่น/กระป๋อง

3.2 ขนาด 3063 ก./1750 ก. ชนิดแผ่น บรรจุ 50-60 แผ่น/กระป๋อง

3.3 ขนาด 234 ก./136 ก. ชนิดแผ่น บรรจุ 4 แผ่น/กระป๋อง

4. ราคาสินค้า (เรียงตามข้อ 6)

4.1 ราคาสั่งซื้อของผู้นำเข้า ได้แก่ 0.25-0.40 CHF, 1.1-1.5 CHF และ 0.16-0.18 CHF ตามลำดับ

4.2 ราคาขายปลีก ได้แก่ 0.70-1.20 CHF, 3.5-4.6 CHF และ 0.50-0.55 CHF ตามลำดับ

2. สับปะรดสด/แช่แข็ง

1. ความนิยมในการบริโภค สับปะรดสดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีรสชาติดีและมีราคาถูกลงกว่าเมื่อก่อน โดยมากนิยมบริโภคสับปะรดสดมากกว่าสับปะรดกระป๋อง คิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 2-3 เท่า

2. ช่องทางการกระจายสินค้า จำแนกได้ดังนี้

2.1 ธุรกิจร้านอาหาร/โรงแรม คิดเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดทั้งหมด

2.2 ร้านค้าปลีก คิดเป็นร้อยละ 40 ของมูลค่าตลาดทั้งหมดโดยมีผู้นำเข้าหลักเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของสวิส 2 ห้าง คือ Migros และ Coop ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดรวมกันทั้งสิ้นร้อยละ 80

3. ราคาสินค้า จำหน่ายเฉลี่ยประมาณกิโลกรัมละ 3.0-3.5 CHF ต่อหนึ่งกิโลกรัม หรือประมาณ 3.95-5.2 CHF ต่อหนึ่งลูกโดยมากเป็นสินค้าที่นำเข้าจากประเทศในแถบอเมริกาใต้ซึ่งตัดในขณะที่ยังไม่แก่และขนส่งมาทางเรือ ทำให้มีราคาถูกกว่าสับปะรดของไทยซึ่งจะตัดเมื่อแก่จัดและส่งมาทางเครื่องบิน

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1. อัตราภาษี

1.1 สินค้าผลไม้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าพื้นเมืองหรือนเข้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.4 %

1.2 ภาษีนำเข้า จำแนกเป็นตามประเภทของสินค้า ได้แก่

  • ผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศยุโรปอื่นต้องระวางภาษีตามฤดูกาลที่นำเข้าสินค้านั้นๆ มาในสวิส หากนำเข้าในช่วงฤดูกาลที่มีสินค้าท้องถิ่นชนิดเดียวกันวางจำหน่ายจะต้องเสียภาษีในปริมาณสูงมากกว่าในฤดูกาลที่ไม่มีสินค้าท้องถิ่นวางขายนอกจากนั้นอัตราภาษียังขึ้นอยู่กับปริมาณโควต้าของสินค้าในแต่ละช่วงของปีอีกด้วย
  • ผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศอื่นๆ เช่น สับปะรด ไม่มีภาษีนำเข้าและไม่มีการกำหนดปริมาณการนำเข้า
2. กฎระเบียบ สินค้าทุกประเทศต้องปฏิบัติตามกฎของรัฐ ที่สำคัญได้แก่

2.1 Global GAP สำหรับสินค้านำเข้าและ Swiss GAP สำหรับสินค้าท้องถิ่น

2.2 กฎหมายว่าด้วยสินค้าเพื่อการบริโภค (มาตรา 817.0)

2.3 กฎระเบียบว่าด้วยการปนเปื้อนของสารเคมีและสารตกค้างในสินค้า (มาตรา 817.021.23)

2.4 กฎระเบียบว่าด้วยสาร additive ต่างๆ ในผลไม้ (มาตรา 817.022.31)

2.5 กฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัยของผู้บริโภค (มาตรา 817.024.1)

ปัญหา/อุปสรรค

ปัจจุบันสับปะรดกระป๋องของไทยครองตลาดสวิส โดยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 53.04 ทิ้งห่างคู่แข่งสำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ค่อนข้างมากจากการสอบถามผู้นำเข้าชาวสวิส ตลาดสับปะรดกระป๋องนับเป็นตลาดที่เน้นการแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก สับปะรดกระป๋องของไทยจึงยังมีลู่ทางในตลาดมากเนื่องจากยังมีราคาดีกว่าสินค้าจากประเทศคู่แข่งอยู่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศในแถบอเมริกาใต้และประเทศจีนได้หันมาเพิ่มการเพาะปลูกสับปะรดมากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีตลาดรองรับสูงคาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้มากยิ่งขึ้นและจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ

1. สับปะรดสดที่จำหน่ายในท้องตลาดส่วนมากนำเข้าจากประเทศในแถบอเมริกาใต้ นิยมตัดผลเมื่อยังไม่สุกเต็มที่และขนส่งมาทางเรือก่อนบ่ม/จำหน่ายแก่ผู้บริโภคต่อไป สำหรับสับปะรดไทยส่วนมากตัดเมื่อแก่จัดและส่งมาทางเครื่องบิน ทำให้มีราคาต่อหน่วยสูงกว่าสับปะรดจากอเมริกาใต้เป็นอย่างมาก โดยเฉลี่ยราคาจะสูงกว่าถึงประมาณร้อยละ 100-250 ทำให้สับปะรดไทยมียอดจำหน่ายในปริมาณไม่มากนักและเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคระดับบนเท่านั้น

2. สับปะรดสดที่จำหน่ายในท้องตลาดยังประสบปัญหาสารเคมีตกค้างอยู่ในปริมาณมาก

คู่แข่งสับปะรดกระป๋อง

ไทย สัดส่วนตลาด 53.04%

1. ฟิลิปปินส์ 17.93%

2. อินโดนีเซีย 17.47%

3. มาเลเซีย 3.17%

4. เวียดนาม 2.64%

5. ฝรั่งเศส 1.7%

คู่แข่งสับปะรดสด/แช่แข็ง

1. คอสตาริก้า สัดส่วนตลาด 44.04%

2. กาน่า 20%

3. เนเธอร์แลนด์ 9.42%

4. ฝรั่งเศส 5.66%

5. เยอรมนี 5.63%

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ