สับปะรดกระป๋องเป็นหนึ่งในสินค้าหลักของไทยที่ส่งออกมายังแคนาดา (อันดับที่ 12 ตัวเลขสถิติฝั่งแคนาดา) มีมูลค่าตลาดโดยรวมในปี 2551 ประมาณ 22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (730 ล้านบาท) โดยในช่วง ม.ค. — ก.ย. 2552 แคนาดามีการนำเข้า 16.20 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 3.38% โดยไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 1 มูลค่า 11.45 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 23.98% มีส่วนแบ่งตลาด 68.36% โดยอันดับ 2 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (สัดส่วนตลาด 24.32%) สหรัฐฯ (3.00%) อินโดนิเซีย (1.79%) ตามลำดับ
(ช่องทางกระจายสินค้า/ราคาขายปลีก/ราคาสั่งซื้อของผู้นำเข้า)
- ช่องทางจัดจำหน่ายผ่าน Supermarket Chain Store และร้านค้าปลีก อาทิร้าน Grocery Store
- ประเภทของสับปะรดกระป๋องที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ชนิดที่เป็น Slice (ชิ้นที่ถูกตัดเป็นแว่นๆ) และ Chunk (ที่ถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ)
- ราคานำเข้าเฉลี่ย ขนาด 590ml 0.64-0.79 เหรียญสหรัฐฯ/กระป๋อง
- ราคาจำหน่ายปลีก
ขนาด 398 ml ราคาเฉลี่ย 0.99-1.29 เหรียญแคนาดา
ขนาด 590 ml ราคาเฉลี่ย 1.29-1.49 เหรียญแคนาดา
- กฏระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับการนำเข้าผลไม้สด กำกับโดยหน่วยงาน CFIA (www.inpection.gc.ca)
- ผู้นำเข้าจะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าสินค้าผลไม้สด (Produce License) หรือ/และต้องเป็นสมาชิกของหน่วยงาน DRC (Dispute Resolution Corporation)
- บรรจุภัณฑ์หีบห่อของสินค้าผลไม้ จะต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม
- บรรจุภัณฑ์ Prepackaged Product จะต้องมีฉลากระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
1. ชื่อสามัญ (Common Name) ของชนิดประเภทของผลไม้
2. ขนาดน้ำหนักสุทธิ (Net Quantity Declaration) โดยใช้หน่วยเมตริก อาทิ Net 12oz, 340g
3. ชื่อ/ที่อยู่ ผู้ผลิต (Name and Address) โดยระบุ ชื่อบริษัทเมือง รหัสไปรษณีย์
4. แหล่งประเทศผลิตสินค้า (Country of Origin) โดยระบุ“Product of (ชื่อประเทศ) โดยจะต้องสามารถเห็นได้โดยชัดเจน
5. สินค้าผลไม้ที่จำหน่ายในแคนาดา ไม่บังคับให้มีฉลากข้อมูลโภชนาการ ยกเว้นในกรณีที่มีการอ้างคุณสมบัติข้อมูลโภชนาการ
6. Bilingualism ข้อมูลฉลากสินค้าจะต้องระบุ ทั้งภาษาอังกฤษ และ ฝรั่งเศส ยกเว้นข้อมูล ชื่อ/ที่อยู่ ผู้ผลิตที่สามารถเลือกพิมพ์ ภาษา อังกฤษ หรือฝรั่งเศส อย่างใดอย่างหนึ่ง
- เนื่องจากไทยมีระยะทางไกลจากแคนาดาจึงเสียเปรียบ ด้านต้นทุนสินค้า ได้แก่ค่า ขนส่ง (ระหว่างทางอากาศ และทางบก) โดยประเทศคู่แข่งที่ผลิตจากประเทศอเมริกากลาง สามารถขนส่งทางบก ที่มีค่าขนส่งที่ถูกกว่า และระยะเวลาเดินทางสินค้าที่ใกล้กว่า
- สินค้าจากประเทศคู่แข่งได้มีการสร้าง Brand สินค้า อาทิ Dole หรือ Del Monte โดยมีการพิมพ์ฉลากสินค้า ผูกกับสินค้าซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้า
HS 0804300012
1. คอสตาริก้า (86.78%)
2. สหรัฐอเมริกา (7.96%)
3. เอควาดอร์ (2.00%)
4. ฮอนดูรัส (1.33%)
5. เม็กซิโก (1.04%)
*ไทยอันดับที่ 16 (ไม่มีการนำเข้าจากไทยในช่วง มค.-กย. 52)
ที่มา: http://www.depthai.go.th