ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส (Lazaro Cardenas) เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ตั้งอยู่ บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในรูปแบบ multi-modal ที่รับบริการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ในกลุ่มสินค้าของแห้งและของเหลว (dry bulk and liquid cargo) จากภูมิภาคเอเชีย ที่มีระยะเส้นทางเดินทางที่ใกล้ที่สุดกับกรุงเม็กซิโก โดยมีเส้นทางเดินรถไฟที่วิ่งออกจากจุดขนถ่ายในท่าเชื่อมโยงกับเมืองแคนซัสซิตี้ในภาคกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ได้รับพัฒนาเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ เพื่อรองรับการขนส่งบรรทุกสินค้าที่เกินกำลัง ทดแทนท่าเรือที่สำคัญที่สุดของเม็กซิโกซึ่งได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกมาร์ซาเนลโย่ Manzanillo รวมกระทั่งเพื่อทดแทนท่าเรือน้ำลึกอันสำคัญของสหรัฐฯ คือ ท่าเรือลองบีช Long Beach และท่าเรือลอสแอนจิลิส Los Angeles ในภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี 2548 ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส มีความสามารถขนถ่ายสินค้าได้ ในขนาด 130,000 TEU และหมุดเวียนการขนถ่ายปีละ 2.2 ล้าน TEU สินค้าที่ขนถ่ายออกจากท่าเรือสามารถทำการขนส่งต่อโดยทางรถไฟและทางรถบรรทุก โดยใช้การบริการเส้นทางรถไฟเป็นของบริษัท Kansas City Southern Railway ที่วิ่งผ่านภาคกลางของสหรัฐฯ ไปยังเมืองปลายทางฝั่งเหนือ ณ นครชิคาโก และฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ที่จุดขนถ่าย ณ นครฮุสตัน
การพิจารณาความมั่นคงของประเทศ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การกระจาย ความเสี่ยง การส่งเสริมการค้าระดับภูมิภาคอเมริกาเหนือ และข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ของท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญๆ เดิมของสหรัฐฯ ล้วนเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบโลจิสติกส์ (logistics) ในสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก หันมาให้ความสนใจกับท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส อย่างเร่งด่วน และต่อการพัฒนาศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า (trade hubs) ท่าขนส่งภายใน (inland ports) และเส้นทางขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศสายด่วน (trade corridors) ทั้งนี้ เส้นทางการขนถ่ายสินค้าทางรถไฟย่อมมีต้นทุนในการพัฒนาที่ได้เปรียบกว่าเส้นทางรถบรรทุก ฉะนั้นเส้นทางรถไฟที่เชื่อมการขนถ่ายจากเหนือลงใต้ หรือจากใต้ขึ้นทางเหนือ ที่มีระยะทางที่เป็นกลางระหว่างสองฝั่งทะเลแปซิฟิกและแอตแลนติก อย่างเส้นทางที่ได้รับการพัฒนาโดยผู้เดินระบบรถไฟสาย Kansas City จึงได้รับความสนใจอย่างเป็นพิเศษ และท่าเรือต้นทางของเส้นทางดังกล่าว ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกลาซาโร คาร์เด็นนัสการบริหารท่าของรัฐฯ ได้ถึงร้อยละ 49 จึงสามารถชักจูงการลงทุนได้หลายพันล้านเหรียญฯ โดยการลงทุนที่ใหญ่ที่สุด ได้รับการลงทุนจากบริษัท Hutchison Port Holding, Ltd. ของฮ่องกง ที่ได้วางแผนการพัฒนาท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส เป็นระยะเวลา 20 ปี ด้วยงบประมาณ 290 ล้านเหรียญฯ เพื่อขยายพื้นที่ในพื้นที่ท่าเทียบเรือให้มีความกว้าง 1,481 เมตร และขุดคลองความลึก18 เมตรเพื่อรองรับเรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ ขยายพื้นที่คลังสินค้าเป็น 102 เฮกเตอร์ ทj มีความสามารถ เก็บคอนเทนเนอร์นิ่ง (static capacity) ได้มากกว่า 70,000 TEU และความสามารถเวียนคอนเทนเนอร์ (dynamic capacity) ได้ 2 ล้าน TEU สร้างงานใหม่ในท่าเรือกว่า 2,900 คน
ต่อมาในปี 2540 รัฐบาลเม็กซิโกได้แปรสภาพสถานะขององค์การรถไฟ แห่งชาติเม็กซิโก เปิดทางให้บริษัทรถไฟของสหรัฐฯ เข้ามาร่วมลงทุนร่วมเพื่อการขนถ่ายสินค้าที่ขนส่งจากท่าเรือ ซึ่งเดิมขาดประสิทธิภาพ มีปัญหาการขนถ่ายล่าช้า โดยบริษัท Kansas City Southern เป็นผู้พัฒนาเส้นทางที่สำคัญ เกิดการเชื่อมโยงระหว่างภาคกลางของสหรัฐฯ กับริมฝั่งทะเลแปซิฟิก เป็นเส้นทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าจากคอขวดการขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือฝั่งตะวันตก
ในปี 2545 เม็กซิโกได้เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเอเปค Apec Summit เม็กซิโกได้ริเริ่มโครงการ Trans-Pacific Multimodal Security System หรือ TPMSS ซึ่งส่งเสริมความร่วมมือด้านศุลกากร ความมั่นคง และโครงสร้างการขนถ่ายสินค้า เพื่อเอื้ออำนวยให้ ระบบ supply chain สายลาซาโร คาร์เด็นนัส กับแคนซัสซิตี้ เชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบัน ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส มีเขตอุตสาหกรรมพิเศษปลอดภาษี มี โรงปั่นไฟฟ้าเฉพาะ โรงกลั่นน้ำเสีย อู่ซ่อมและศูนย์ทำลายซากเรือเก่า มีศูนย์กลางการตรวจสอบ fitosanitary inspection facility สำหรับสินค้าเกษตรปริมาณสูง มีบริการห้องเย็นขนาดใหญ่สำหรับสินค้าสด โดยบริษัทผู้บริการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกแช่เย็น ได้แก่ บริษัท UTTSA ที่มีรถบรรทุกจำนวน 200 คันรับส่งสินค้าข้ามชายแดนถึงสหรัฐฯ มีศูนย์กลางการบริการศุลกากรที่ทันสมัยที่สุด สามารถผ่านขบวนการออกสินค้าในเพียงสามวันเทียบกับหกวันในท่าอื่น ๆ มีการขนถ่ายสินค้าน้ำหนักสูงเช่น ถ่านหิน และเหล็ก โดยท่าเรือน้ำลึกลาซาโร คาร์เด็นนัส มีลูกค้าสำคัญ คือบริษัท Mittal Steel มีการขนถ่ายของเหลว โดยมีลูกค้าสำคัญ อันได้แก่บริษัทน้ำมันแห่งชาติเม็กซิโกพีเม็กซ์ Pemex นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นท่าเรือที่รับการขนถ่ายรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเม็กซิโก โดยในปีที่ผ่านมา มีบริษัทรถยนต์ Faw ของจีนที่เป็นลูกค้ารายใหม่ จากลูกค้าเดิมที่ใช้ท่าเรือได้แก่บริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์ Chrysler, Ford, GM, Toyota, Isuzu, Mazda, Pontiac, Hino และ Subaru
เส้นทางเดินเรือที่มีบริการที่ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส สายสำคัญสามสาย ได้แก่ CP Ships, APL, Maersk Sealand บริษัทเดินเรือสายอื่น ๆ ที่ให้บริการที่ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส รองลงมาได้แก่ APL, CCNI, Cosco, CSAV, Evergreen, Hapag Lloyd และ Hamburg Sud
สคต. ณ กรุงเม็กซิโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th