มูลเหตุ: เวียดนามประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและปัญหาเงินเฟ้อระดับสูง นับแต่ช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก จึงประกาศ ณ 25 พ.ย. 2552 ลดค่าเงินดองร้อยละ 5.4 และขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเวียดนามอีก 1%
1. การส่งเสริมด้านส่งออกของประเทศเวียดนาม: การลดค่าเงินดองนั้น จะส่งผลกระตุ้นด้านการส่งออกของเวียดนามโดยรวม โดยเหตุการดังกล่าว จะมีผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกไทยในรายสินค้าที่ผลิตในทั้ง 2 ประเทศ และในกรณีสินค้าส่งออกของเวียดนามที่ใช้วัตถุดิบ ที่หาได้จากในเวียดนามเองเท่านั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ผลิตเวียดนามใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ การลดค่าเงินดองจะเพิ่มต้นทุนการผลิตสินค้าดังกล่าวไปด้วย
2. ปัญหาการกักตุนทองคำและเงินสกุลต่างชาติ: การลดค่าเงินดองจะส่งผลให้นักลงทุนและประชาชนเวียดนามเปลี่ยนเงินดองเป็นสกุลเงินต่างชาติ (โดยเฉพาะเงินสกุลดอลล่าห์สหรัฐฯ) และทองคำเพื่อรักษามูลค่าของทรัพย์สิน โดยเหตุการดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราเงินดองลดต่ำลงอีก ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ในแคนาดาหลายรายคาดการณ์ว่า อัตราเงินดองจะปรับลดลงอีกในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม ในปัจุบันการตกลงสัญญาซื้อขายที่สำคัญๆ ในเวียดนามมักกระทำในอัตราเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น การปรับลดเงินดองจึงไม่มีผลกระทบต่อสัญญาซื้อ-ขายเหล่านั้น มากนัก
3. การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย: ธนาคารแห่งชาติประเทศเวียดนามประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 1 (ปรับเป็นร้อยละ 8) เพื่อลดผลกระทบในเชิงลบจากปัญหาเงินเฟ้อ ที่เกิดจากการลดค่าเงินดอง อย่างไรก็ตาม การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนจากการกู้ยืมเพื่อประกอบการ เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการในประเทศ ตลอดจบสินค้าส่งออกสูงขึ้นในที่สุด ทั้งนี้ ผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น ขึ้นอยู่กับว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเท่าใด ในการนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายรายคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของเวียดนามอาจปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11
สรุป: ในปัจจุบัน แคนาดานำเข้าจากเวียดนามเป็นอันดับที่ 36 (เทียบกับไทยอันดับที่ 19) การลดค่าเงินดองนั้น จะส่งผลกระตุ้นด้านการส่งออกของเวียดนามโดยรวม โดยเหตุการดะงกล่าวจัมีผลกรัทบในเชิงลบต่อการส่งออกไทยในรายสินค้าที่แคนาดานำเข้าจากทั้ง 2 ประเทศ อาทิ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับโทรศัพท์/โทรเลข (HS.8517)/ เครื่องส่งวิทยุโทรทะศน์ (HS.8525)/ เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ แล้วส่วนประกอบ (HS 9403)/ แล้วเครื่องพิมพ์แลัเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ (HS 8443) (เปรียบเทียบสถิติการค้า ระหว่างม.ค.-ก.ย. 2552 จากหน่วยงาน Statistic Canada)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th