สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.—ต.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 16, 2009 16:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง          :   Washington , DC
พื้นที่               :   9,161,923  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        :   English
ประชากร           :   301.6 ล้านคน (1 ก.ค. 2550)
อัตราแลกเปลี่ยน      :   US$ : 32.891 บาท (15/12/52)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2008 ปี 2009

Real GDP growth (%)                               1.2        -2.0
Consumer price inflation (av; %)                  3.8        -0.6
Budget balance (% of GDP)                        -3.2       -11.5
Current-account balance (% of GDP)               -4.8        -3.5
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        2.2         0.3
Exchange rate ฅ:US$ (av)                        103.4        93.0


โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  13,598.07          100.0         -22.09
สินค้าเกษตรกรรม                     1,228.85           9.04         -22.76
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร             1,679.10          12.35          -0.23
สินค้าอุตสาหกรรม                    10,283.16          75.62         -24.87
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    406.94           2.99         -17.25
สินค้าอื่นๆ                               0.01            0.0


โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐอเมริกา
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               6,788.37          100.0         -29.72
สินค้าเชื้อเพลิง                               153.09           2.26         -37.67
สินค้าทุน                                  2,447.09          36.05         -24.60
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   3,205.82          47.23         -35.96
สินค้าบริโภค                                 856.46          12.62         -18.87
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                   86.88           1.28           2.22
สินค้าอื่นๆ                                    39.03           0.57          77.11


1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐอเมริกา
                           2551             2552         %

(ม.ค.-ต.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            27,112.52        20,386.44     -24.81
การส่งออก                17,453.20        13,598.07     -22.09
การนำเข้า                 9,659.33         6,788.37     -29.72
ดุลการค้า                  7,793.87         6,809.70     -12.63


2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 6,788.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.72
สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                         6,788.37           100.0         -29.72
1.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                  825.60           12.16         -11.26
2.แผงวงจรไฟฟ้า                             781.97           11.52         -24.06
3.เคมีภัณฑ์                                  638.98            9.41         -36.51
4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                490.14            7.22           1.04
5.เครื่องคอมพิวเตอร์                          463.94            6.83         -39.03
      อื่น ๆ                                733.31           10.80         -34.14

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 13,598.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 22.09 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                 13,598.07           100.0         -22.09
1.เครื่องคอมพิวเตอร์                 2,342.65           17.23         -20.75
2.อาหารทะเลกระป๋อง                1,000.56            7.36           3.15
3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                     849.87            6.25         -29.18
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                        693.01            5.10         -14.14
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                677.87            4.99         -28.03
      อื่น ๆ                       2,596.09           19.09         -23.80


4. ข้อสังเกต
4.1  สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (มค.- ตค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย รองจากจีนและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ตค.) พบว่าปี 2552 (มค.- ตค.) มีอัตราการขยายตัวลดลง 20.75 ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ44.83 17.40 และ 1.13 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ตค.) พบว่า ปี 2549 2551 และ 2552 (มค.- ตค.)มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25 14.18 และ 3.15 ในขณะที่ปี 2550 มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 6.04 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ตค.) พบว่ามีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.26 5.81 8.09 และ 29.18 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

ผลิตภัณฑ์ยาง : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2552 (มค.- ตค.) พบว่า ปี 2552 (มค.- ตค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 14.14 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 23.36 11.87 และ 11.22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549-2552 (มค.-ค.)พบว่า ปี 2549 และปี 2552(มค.-ตค.) ที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 1.84 และ 28.03 ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และ 4.78 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อนขณะเดียวกันมีการยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สำหรับพลอยดิบนำเข้าซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว ขณะนี้อยู่ ระหว่างดำเนินการในพระราชกฤษฎีกา และแก้กฎกระทรวงการคลัง ที่นอกจากเป็นการลดต้นทุนวัตถุดิบแล้วยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้ผู้ค้าพลอยต่างชาติจากทั่วโลกโดยเฉพาะอินเดียและแอฟริกานำวัตถุดิบมาค้าในไทยเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยให้ไทยสามารถเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลกได้

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552(ม.ค.-ตค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มี
อัตราเพิ่มสูงโดยสูง มีรวม 3 รายการ คือ
       อันดับที่ / รายการ                   มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                   ล้านเหรียญสหรัฐ           %
 2. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป          1,000.56           3.15
12. ข้าว                                296.19           8.65
23. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ            124.43           4.46

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2552 (ม.ค.- ตค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตรา
ลดลง รวม 22 รายการ คือ
    อันดับที่ / รายการ                                   มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                                                ล้านเหรียญสหรัฐ            %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                2,342.65           -20.75
3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                      849.87           -29.18
4.ผลิตภัณฑ์ยาง                                         693.01           -14.14
5.อัญมณีและเครื่องประดับ                                 677.87           -28.03
6.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ                       621.99           -19.93
7.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ                      574.20           -10.30
8.กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                                   521.21            -3.74
9.แผงวงจรไฟฟ้า                                       405.21           -34.16
10.น้ำมันดิบ                                           367.18           -20.16
11.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                               365.58            -2.39
13.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล              249.34           -10.60
14.ยางพารา                                          211.84           -60.05
15.เครื่องโทรศัพท์  เครื่องตอบรับโทรศัพท์                    195.10           -20.68
16.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                                     192.39           -34.44
17.ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน                   186.25           -26.24
18.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                                181.91           -13.73
19.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                          177.45           -37.42
20.เลนซ์                                             177.42           -13.40
21.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน                 176.82           -19.79
22.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                            172.31           -65.43
23.เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ                    127.01           -17.67
25.รองเท้าและชิ้นส่วน                                   114.19           -42.15

4.4  การนำเข้าของสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับไทย

   Top 10 U.S.A Imports from the world                    Top 10 U.S.A Imports from Thailand
        Jan — Oct 09           Share       Valued              Jan — Oct 09          Share       Valued
                                 %      (Million USD)                                  %      (Million USD)
27  Mineral Fuel,oil           17.16     217,793.03    85 Electrical Machinery       23.44      3,612.78
85 Electrical Machinery        13.67     173,502.14    84 Machinery                  20.54      3,166.34
84 Machinery                   13.02     165,223.59    40 Rubber                      5.96        917.89
87 Vehicles,Nor Railway         8.03     101,895.47    16 Prepared Meat,Fish          5.67        874.01
30 Pharmaceutical Product       3.48      44,200.01    03 Fish And Seafood            4.61        710.23
90 Optic,Nt 8544,Med Ins        3.23      40,996.93    71 Precious Stones,Metal       4.49        691.78
29 Organic  Chemicals           3.02      38,273.15    61 Knit Apparel                4.15        639.63
98 Special Other                2.51      31,827.81    62 Woven Apparel               2.72        419.42
71 Precious Stones, Metal       2.43      30,870.06    27 Mineral Fuel,Oil Etc        2.65        408.49
61 Knit Apparel                 2.22      28,115.27    90 Optic,Nt 8544 Med Ins       2.18        336.18
ที่มา:  World Trade Atlas


4.5  ข้อมูลเพิ่มเติม

ผลสำรวจของหอการค้าอเมริกัน (AmCham) เผยแพร่ว่าบริษัทอเมริกันกว่า 90% จากบริษัททั้งหมด 369 แห่งที่ทำการสำรวจความเห็น มีมุมมองบวกต่อแนวโน้มธุรกิจในจีน เพิ่มขึ้นจาก 80.7% เมื่อปีที่แล้ว AmCham พบว่าบริษัทอเมริกันมากถึง 64.5% มีแผนจะเพิ่มการลงทุนในจีนปีหน้า ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับตัวเลขของปีนี้ที่ 58.6% โดยเห็นโอกาสทางธุรกิจที่รุ่งโรจน์ในตลาดจีนแม้เศรษฐกิจโลกในภาพรวมยังคงไม่ชัดเจนนัก ปีนี้มีบริษัทอเมริกันทำธุรกิจผลิตสินค้าและบริการป้อนตลาดจีนมากถึง 59% เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีที่แล้วที่ 39% แต่ยอดการส่งออกสินค้าของบริษัทเหล่านี้กลับไปยังตลาดสหรัฐลดลงจาก 21% ในปีที่แล้วมาอยู่ที่ 16% ในปีนี้ แม้จีนตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ไว้ที่ระดับปลอดภัยที่ 8% แต่บริษัทจำนวนมากที่รับการสำรวจของ AmCham คาดว่ารายได้ในปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 47% ลดลงจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นถึง 77% ขณะที่อีก 36% ประเมินว่ารายได้ของบริษัทในปีนี้อาจแทบไม่กระเตื้องหรือไม่ผลกำไรก็อาจลดลง

การส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปยังสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มค่อนข้างดีและตลาดกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐ ในช่วงแรก ๆ พบว่าสินค้าบางส่วนเกิดความเสียหายโดยเฉพาะผลไม้เปลือกบาง จึงได้ร่วมมือกับคณาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดำเนินโครงการศึกษาการลดความเสียหายของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และมังคุดที่ฉายรังสีแกมมาเพื่อการส่งออกไปตลาดสหรัฐ เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี ผลการศึกษาพบว่า มะม่วงและมังคุดที่ได้รับการดูแลขั้นตอนต่างๆ อย่างถูกต้อง ตั้งแต่เก็บเกี่ยวที่ความสุกตามมาตรฐาน และได้รับการฉายรังสีอย่างเหมาะสม คัดบรรจุและขนส่งอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอุณหภูมิการเก็บรักษาสินค้า ควรอยู่ ที่ 13-15 องศาเซลเซียส สินค้าจะยังมีคุณภาพดีเมื่อไปถึงปลายทาง ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในทั้งรูปลักษณ์และรสชาติ และมีอายุการวางจำหน่ายประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยให้ผลไม้เมืองร้อนของไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ที่สำคัญยังเป็นช่องทางช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งให้ผู้ประกอบการได้ จากเดิมที่ขนส่งสินค้าทางเครื่องบินทำให้มีต้นทุนสูง ในอนาคตผลการศึกษานี้จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนากระบวนการส่งออกทางเรือ ช่วยให้ต้นทุนค่าขนส่งต่ำลงได้ ซึ่งจะช่วยผลักดันการส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐได้เพิ่มมากขึ้น

ภายหลังเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ในวันที่ 1 ม.ค. 2553 โดยจะมีการลดภาษีสินค้ากุ้งเหลือ 0% ทำให้ผู้ส่งออกกังวลว่าจะมีกุ้งราคาด้อยคุณภาพและราคาต่ำ จากประเทศในอาเซียนเข้ามาตีตลาดไทยและอาจมีการปลอมปนกับกุ้งไทยเพื่อการส่งออกไปประเทศที่สาม ส่งผลกระทบภาพลักษณ์กุ้งไทยได้ โดยระบบการค้ากุ้งขณะนี้ ผู้นำเข้าให้ความสำคัญต่อการปนเปื้อนสารตกค้าง ระบบการเลี้ยงที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก มีการออกมาตรการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ที่ผ่านมากุ้งไทยได้รับการยอมรับจากตลาดโลกในด้านมาตรฐาน คุณภาพ ผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลวางมาตรการตรวจสอบการนำเข้าอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการนำกุ้งเข้ามาปลอมปนเพื่อการส่งออก ปีนี้แม้ตลาดหลักของไทย เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐจะนำเข้ากุ้งลดลง เนื่องจากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ยังสามารถส่งออกในตลาดเหล่านี้ได้มากขึ้น เพราะกุ้งไทยมีคุณภาพ ประกอบกับกุ้งของอินโดนีเซียเสียหายมากถึง 20% ทำให้ทุกตลาดหันมาซื้อจากไทย จึงดึงราคากุ้งในประเทศให้สูงขึ้น

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ