นักเศรษฐศาสตร์จากหน่วยงาน Financial Post มีความเห็น(30 พ.ย. 2552) ว่าแคนาดาผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ อันเป็นผลกระทบจากวิกฤต Subprime ในสหรัฐฯ และสภาพเศรษฐกิจโลก (Global Economy) ที่เกิดขึ้นในปี 2551 ปัจจุบัน เศรษฐกิจแคนาดากำลังปรับสภาพดีขึ้น โดยเห็นได้จากสถิติทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ มูลค่าการนำเข้า/ ส่งออก และสถิติ GDP ที่แสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป (ตามกระแสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศแคนาดามีระบบการค้า และเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงอย่างมาก (Deeply inter-related economies) กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ในปัจจุบัน สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากแคนาดากว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกรวม) นักเศรษฐศาสตร์จากหน่วยวิเคราะห์ข่าว Globe and Mail News มีความเห็น (ณ 1 ธ.ค. 2552) ว่าสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวช้ากว่ากระแสเศรษฐกิจโลก) อาจจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแคนาดาพลอยฟื้นตัวช้าตามไปด้วย
นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า แคนาดาสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้รวดเร็วกว่าสหรัฐฯ เนื่องจากแคนาดามีโครงสร้างธุรกิจด้านการเงินที่มั่นคงกว่ามาก ประชาชนโดยทั่วไป จะมีปัญหาด้านเครดิต น้อยกว่าประชากรในสหรัฐฯ ส่งผลให้กู้ยืมจากธนาคารได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพื่อประคับประคองธุรกิจผ่านวิกฤตดังกล่าวไปได้
1. Real GDP : 0.4% (ก.ย. 2552) - เทียบกับ -0.1% ในเดือน ส.ค. 2552
2. Unemployment Rate : 8.5% (พ.ย. 2552) เทียบกับ 8.6% ในเดือนต.ค. 2552
3. Export : +3.6% (ไตรมาส 3 ปี 2552)- เทียบกับ (-5.3)% ในไตรมาส 2 ปี 2552
4. Import : +8.0% (ไตรมาส 3 ปี 2552)- เทียบกับ (-1.8)% ในไตรมาส 2 ปี 2552
5. Inflation Rate : +0.1% (ต.ค. 2552) เทียบกับ (-0.9) % ในเดือนกย. 2552
Bankruptcy Rate ในแคนาดาในเดือน ต.ค. 2552 ลดลงร้อยละ 27.7 เมื่อเทียบกับ ก.ย. 2552 โดยมีจำนวนผู้ประกอบการที่ประกาศล้มละลายทั้งสิ้นเพียง 9,245 รายในเดือน ต.ค. 2552 เมื่อเทียบกับ 12,792 รายในเดือน ก.ย. 2552
ข้อมูลจากหน่วยงาน Canada Mortgage and Housing Corporation (CMHC) ประเทศแคนาดามีการก่อสร้างในเดือน พ.ย. 2552 ทั้งสิ้น 158,500 ยูนิต เมื่อเทียบกับ 157,400 ยูนิตในเดือน ต.ค. 2552 ทั้งนี้ สถิติดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนในแคนาดาที่ประบสภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- หน่วยงาน Greater Vancouver Real Estate Board รายงานยอดการซื้อ-ขาย (Sales Activity) อสังหาริมทรัพย์ในเขต Greater Vancouver (นครแวนคูเวอร์และเมืองใกล้เคียง) ในเดือน พ.ย. 2552 ขยายตัวสูงขึ้นถึง 3,083 ยูนิต ร้อยละ 252.7 เมื่อเทียบกับ 874 ยูนิต ในเดือน พ.ย. 2551 (ขยายตัวร้อยละ 252.7)
- ราคาเฉลี่ยอสังหาริมทรัพย์ (Average home sale price) ในนครแวนคูเวอร์ เดือนพ.ย. 2552 ราคาประมาณ 557,384 เหรียญแคนาดา (ประมาณ 17.8 ล้านบาท) ซึ่งยังคงขยายตัวร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 2551
- หน่วยงาน Toronto Real Estate Board รายงานยอดการซื้อ-ขาย (Sales Activity) อสังหาริมทรัพย์ในนครโตรอนโตเดือน พ.ย. 2552 ขยายตัวสูงขึ้นถึง 7,446 ยูนิต ร้อยละ 252.7 ซึ่งขายตัวประมาณ 2 เท่าเมื่อเทียบกับสถิติในเดือน พ.ย. 2551
- ราคาเฉลี่ยอสังหาริมทรัพย์ (Average home sale price) ในนครโตรอนโต เดือนต.ค. 2552 ประมาณ 423,559 เหรียญแคนาดา (ประมาณ 13.55 ล้านบาท) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตามในเดือนพ.ย. 2552 ราคาเฉลี่ยดังกล่าวปรับลดลงเป็นประมาณ 418,460 เหรียญแคนาดา (ประมาณ 13.4 ล้านบาท) ซึ่งยังคงขยายตัวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 2551
- บริษัท REMAX (ผู้ประกอบการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์รายสำคัญในแคนาดา) คาดการณ์ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในแคนาดาในปี 2553 ว่ายังคงขยายตัวประมาณร้อยละ 2 โดยราคาเฉลี่ยอสังหาริมทรัพย์ (Average home sale price) ในแคนาดาจะอยู่ที่ประมาณ 325,000 เหรียญแคนาดา (ประมาณ 10.4 ล้านบาท) หรือขยายตัวประมาณร้อยละ 2
หน่วยงานรัฐฯ Statistic Canada รายงานสถานการณ์ตลาดแรงงานล่าสุด ณ วันที่ 4 ธ.ค. 2552 สรุปภาพรวมดังนี้
- จำนวนการจ้างงานในเดือน พ.ย. 2552 เพิ่มขึ้นประมาณ 79,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้อัตราการว่างงานของประเทศแคนาดาลดลง เหลือร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับ ร้อลยะ 8.6 ในเดือนต.ค. 2552
- จำนวนการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในเดือน พ.ย. 2552 นั้น โดยมากเป็นการจ้างงานในธุรกิจบริการ (Service Sector) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบริการด้านการศึกษา (Educational services sector)
- จำนวนการจ้างงานในเดือน พ.ย. 2552 ที่เพิ่มขึ้นนั้น โดยมากเป็นการจ้างงานในมณฑล Ontario/ Quebec และ Alberta
มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) อัตราการขยายตัว(%) 2551(ม.ค.-ต.ค.) 2552(ม.ค.-ต.ค.) 51/52 (ม.ค.-ต.ค.) มูลค่าการค้า 2,015.40 1,580.83 -21.56 ไทยส่งออก 1,201.65 1,033.94 -13.96 ไทยนำเข้า 813.75 546.89 -32.79 ดุลการค้า 387.89 487.05
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีมูลค่าสำคัญ 10 อันดับแรก (ม.ค.-ต.ค. 2552) ได้แก่ (1) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป มูลค่า 170.5 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 2.41%) (2) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 159.2 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 23.44%) (3) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง มูลค่า 58.4 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 7.39%) (4) ข้าว มูลค่า 55.8 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 8.05%) (5) เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 42.3 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 4.44%) (6) แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่า 39.0 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 388.88%) (7) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป มูลค่า 35.8 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 1.11%) (7) (8) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ มูลค่า 34.3 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 5.37%) (9) อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า 29.9 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 16.87%) และ (10) ยางพารา มูลค่า 28.1 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 53.70%)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th