“Lotus Foods” ผู้ริเริ่มนำเข้ำข้ำวจำกผู้ผลิตรำกหญ้ำสู่ตลำดค้ำโลก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 4, 2010 14:24 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา บริษัทโลตัสฟู้ด “Lotus Foods” ผู้นาเข้าสินค้าข้าวออร์แกนิกรายสาคัญของสหรัฐอเมริกามีความภูมิใจที่จะนาเสนอข้าว “Volcano Rice” ซึ่งเป็นข้าวชนิดแรกที่ผ่านข้อพิจารณาที่เข้มงวดในเรื่องความเป็นธรรมทางการค้าและมาตรฐานของสังคมและสิ่งแวดล้อมของ IMO (The Institute for Marketecology) “Social & Fair Trade Certification Program”

ข้าว “Volcano Rice” ผลิตโดยสหกรณ์ Simpatik ซึ่งเป็นสหกรณ์ชาวนาที่ผลิตสินค้าออร์แกนิกในเมือง Tasikmalaya ประเทศอินโดนีเซีย และได้จัดจาหน่ายสินค้าดังกล่าวให้กับบริษัทผู้นาเข้า คือ โลตัสฟู้ด เท่านั้น

Lotus Food Inc.

921 Richmond Street, El Cerrito, CA 94530

Tel: 510-525-3137 Fax: 510-525-3137

www.lotusfoods.com

ข้าวดังกล่าวเป็นการผสมผสานของข้าวกล้องหอม (Fragrant Brown Rice) ข้าวแดง (Red rice) และข้าวแดงขัดสี (Red Polished Rice) ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก นอกจากอานวยประโยชน์ให้กับผู้บริโภคแล้ว ข้าวดังกล่าวยังช่วยให้ประชากรท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ข้าวชนิดดังกล่าวเติบโตในพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็กในบริเวณ West Java โดยอาศัยดินภูเขาไฟซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารมาเป็นวัตถุดิบสาคัญในการเพาะปลูก ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการ The System of Rice Intensification: SRI ซึ่งมีแนวคิดหลักในการช่วยเกษตรลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดปริมาณการใช้น้าลงประมาณร้อยละ 20-50 ลดปริมาณเมล็ดพันธ์เพาะปลูกลงร้อยละ 90 และปราศจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร อีกทั้งเพิ่มปริมาณผลผลิตให้สูงขึ้นอีกประมาณ 2-3 เท่า ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีส่วนช่วยเหลือให้เกษตรกร Simpatik สามารถผ่านขั้นตอนการพิจารณาของ The Social & Fair Trade Certification Program

ตามระบบของ Social & Fait Trade Certification Program IMO จะเข้ามาตรวจสอบรายละเอียดของสังคมและปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนขั้นตอนการผลิตทั้งหมดจนถึงการประมวลผลของบริษัทโดยขั้นตอนการประมวลผลต่างๆ จะเป็นไปอย่างระมัดระวังและรอบคอบ ทาให้เกษตรกรส่วนใหญ่มิได้คาดหวังการรับรองจาก IMOในปีแรก อย่างไรก็ดีในปีแรกเกษตรกรจาก Simpatik สามารถบรรลุเกณฑ์ตามที่ IMO กาหนดด้วยคะแนนที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในประเด็นสิ่งแวดล้อมซึ่งเกษตรกรจาก Simpatik ได้รับคะแนนมากเกือบ 2 เท่าจากเกณฑ์ที่กาหนดไว้ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการนาวิธี The System of Rice Intensification: SRI มาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาการใช้น้า การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิธีการหมักดิน ความปลอดโปล่งของที่ดินและผลกระทบที่อยู่อาศัยและระบบนิเวศน้าถูกคุกคามได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วสหกรณ์ Simpatik ยังได้รับคะแนนสูงในด้านความเป็นธรรมในการจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานชายและหญิง และการสร้างโอกาสให้แก่สมาชิกในชุมชนที่ด้อยโอกาสอีกด้วย ทั้งนี้ รายละเอียดคะแนนของ Simpatik สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ www.fairforlife.net รายละเอียดดังปรากฎในเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

Kerry Hughes ผู้แทนของ IMO ในสหรัฐอเมริกากล่าวเพิ่มเติมว่า "ในระยะแรกเริ่มของโปรแกรม เป้าหมายของโครงการ คือ การพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ผลิตที่ด้อยโอกาสในทั่วทุกทวีป แต่ชีวิตไม่ได้เป็นสิทธิพิเศษของมนุษย์เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น การคานึงถึงชีวิตของสัตว์และพืชต่างๆ รวมไปถึงแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของหลักเกณฑ์ของ Fair for Life ดังแสดงโดยใช้สัญญลักษณ์ใบไม้คู่ในโลโก้”

การค้าระหว่างโลตัสฟู้ดและเกษตรกรครอบครัวขนาดเล็กที่ปลูกข้าวจะเป็นไปด้วยความเอาใจใส่และโปร่งใสตลอดมา บริษัทโลตัสฟู้ดเริ่มทางานกับเกษตรกรในประเทศที่กาลังพัฒนาตั้งแต่ปี 1990 (2533) ก่อนที่ Fair Trade Rice Certification จะเกิดขึ้นและให้การรับรองอย่างเป็นทางการ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโลตัสฟู้ด Mr. Caryl Levine กล่าวว่าทางบริษัทยินดีที่จะซื้อสินค้าราคาพิเศษ โดยเป็นราคาที่เกินกว่ามาตรฐานปฎิบัติของ Fair Trade ในปัจจุบันนี้ก็ตาม ทั้งนี้ผู้ผลิตสินค้าของโลตัสฟู้ดไม่เคยมีประสบการณ์ส่งออกข้าวมาก่อน ซึ่งทางบริษัทยินดีให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ตรงกับมาตรฐาน USDA และ FDA กล่าวคือภารกิจของโลตัสฟู้ด คือ การสนับสนุนสิทธิและอาชีพของเกษตรกรเจ้าของที่ดินขนาดเล็กผ่านการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจในระดับโลกและการตลาดอย่างยั่งยืน

เมื่อไม่นานนี้โลตัสฟู้ดได้แนะนาข้าวอีก 2 ชนิดที่ใช้กระบวนการเพาะปลูกแบบ SRI สู่ตลาดสหรัฐอเมริกา คือ ข้าว Madagascar Pink Rice และข้าว Cambodia Mekong Flower โดยข้าว Madagascar Pink Rice สามารถหาซื้อได้ในร้านค้ากลุ่มของอาหารธรรมชาติ สหกรรณ์และร้าน Specialty ทั่วประเทศ

Fair for Life Social & Fair Trade Certificationโดย IMO กาลังฉลองครบรอบสามปีทั้งนี้โปรแกรมดังกล่าวมุ่งหวังจะสร้างโอกาสให้กับผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยได้รับสิทธิ์ในใบรับรองดังกล่าว เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่ได้ผ่านเกณฑ์ที่กาหนดไว้ Fair for Life ได้จัดทามาตรฐานใหม่สาหรับผู้ผลิต โดยใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวด ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง ศาสนาหรือปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ การพัฒนาคุณค่าการครองชีพของเกษตรและผู้ผลิตรายย่อยในแถบแอฟริกา เอเชีย ยุโรปและอเมริกาให้ดีขึ้นต่อไป

สาหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทโลตัสฟู้ดและวิธีการเพาะปลูกแบบ SRI สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ www.lotusfoods.com หรือติดต่อ Caryl Levine ที่ 510 525 3137 ต่อ 118 หรือ e-mail: info@lotusfoods.com

สาหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IMO และ Fair for Life Social & Fair Trade Certification สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ www.FairforLife.net หรือติดต่อ Kerry Hughes ที่ 707 644-2354, หรือ e-mail: Kerry@imo-control.org

จากการสารวจข้อมูลในเว็บไซต์ของ www.fairforlife.com พบว่าประเทศไทยยังไม่เคยมีเกษตรกรหรือสหกรณ์ใดเคยสมัครเข้าโปรแกรมดังกล่าว สานักงานฯ เห็นว่าการให้ความรู้เกษตรกรหรือสนับสนุนโอกาสทางการค้าให้กับเกษตรกรรายย่อยให้สามารถผลิตสินค้าและส่งออกมาจาหน่ายยังต่างประเทศ ตามนโยบาย Local to Global ได้ จะทาให้ภาคการส่งออกไทยกระเตื้องตัวมากขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ผู้นาเข้าส่วนใหญ่นอกจากจะนาเข้าโดยพิจารณาในเรื่องคุณภาพ ราคาสินค้าแล้ว ผู้นาเข้ายังเริ่มให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น หากไทยเร่งเอาประเด็นดังกล่าวมาช่วยพัฒนาสินค้าและส่งเสริมการจาหน่ายเชื่อว่าสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจะได้รับการพิจารณาจากผู้นาเข้ามากยิ่งขึ้น

สานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ