สหรัฐอเมริกาในปี 2553 - ยังไม่ใช่ปีที่น่าอภิรมย์สาหรับโอบามา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 4, 2010 15:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1) ปี 2552 - ปีที่วิกฤติเศรษฐกิจเข้าครอบงาอเมริกา

ปี2552 เป็นปีที่ยากลาบากสาหรับอเมริกา เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ในโลก ปัญหาวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ที่ทุกคนชี้นิ้วว่าเป็นต้นเหตุของเศรษฐกิจที่ย่าแย่ในอเมริกา และพลอยพาประเทศอื่นในโลกให้เดือดร้อนไปด้วย ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปอย่างชัดเจน ถึงแม้รัฐบาลแห่งการเปลี่ยนแปลง (ตามที่ปประกาศไว้) ของประธานาธิบดีโอบามาจะทุ่มงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมหาศาลถึง 787 พันล้านเหรียญฯแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิน 10%ไปแล้ว นักวิเคระห์เศรษฐกิจทั้งหลายคาดการณ์กันว่าตัวเลขอัตราการว่างงานจะยังคงไม่ต่ากว่า 10% อีกแน่นอนในปี 2553 ผลพวงที่จะตามมาและกลายเป็นลูกโซ่วงจรอุบาทย์ คือการที่หนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะจากบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้น จนทาให้คนอเมริกันไม่สามารถจับจ่ายใช้สอยอย่างฟุ่มเฟือยได้อีกต่อไป คนอเมริกันเป็นนักบริโภคนิยมแม้ว่าการบริโภคจะมาจากรายได้ในอนาคต (Future Income) ก็ตาม ประกอบกับการว่างงานที่ทาให้ไม่มีรายได้เข้าครัวเรือน จะทาให้การบริโภคภายในประเทศ (Domestic Consumption) ทรุดต่าลง ซึ่งแน่นอนจะกระทบตัวเลข GDP เพราะ Domestic Consumption ของอเมริกาเป็นสัดส่วนเกิน 70% ของ GDP ถึงแม้ตัวเลข GDP ที่รัฐบาลประกาศออกมาเร็วๆนี้จะเกิน 3% แต่นักวิเคราะห์บางคนยังมีความกังขาว่าตัวเลข GDP ดังกล่าวจะสูงเกินจริงไปหรือไม่

2) ปัญหาการว่างงาน : อัตราการว่างงานที่ยังสูง กลายเป็นประเด็นร้อนการเมืองของรัฐบาลอเมริกา

ตัวเลขอัตราการว่างงานที่ยังไม่ดีขึ้นในอเมริกา ขณะนี้เป็นประเด็นที่รัฐบาลประธานาธิบดีโอบามาโดนโจมตีอย่างหนัก และทีมงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลต้องดาเนินการเร่งด่วนเรื่องนี้ เห็นได้จากการที่ทีมงานฝ่ายรัฐบาลนาโดยประธานาธิบดีโอบามามีการประชุมกับผู้นาพรรคฝ่ายค้าน Republican ของสภาคองเกรส ที่ทาเนียบขาว มื่อวันที่ 9 ธันวาคม2552 เพื่อหารือหัวข้อสาคัญในการเพิ่มการจ้างงานของประเทศ

หนังสือพิมพ์พากันลงข่าวการหารืออย่างเผ็ดร้อนตลอดเวลา 90 นาที เนื่องจากมีประเด็นข้อขัดแย้งระหว่าง 2 พรรคในเรื่องที่ว่าจะยังคงยืดเวลาการใช้เงินในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจไปในด้านการเพิ่มการจ้างงานต่อไปอีกหรือไม่

ตัวเลขการว่างงาน 10.2%ในเดือนต.ค.2552 หมายถึงคนอเมริกันราว 16 ล้านคนไม่มีงานทา ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับแต่ปี 1983 และ 40%ของคนว่างงานไม่มีงานทามานานกว่า 1 ปี ถึงแม้เศรษฐกิจทาท่าจะดีขึ้นจากตัวเลข GDP ทีประกาศออกมา แต่หลายฝ่ายยังเชื่อว่าภาพการว่างงานจะยังไม่ดีขึ้นในเวลาอันใกล้อย่างแน่นอน โดยคาดกันว่าอัตราการว่างงานจะยังคงสูงกว่า 8% ในปี 2554

การดาเนินการขั้นแรกของรัฐบาลในการรับมือกับการว่างงานคือ ใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ (Fiscal Stimulus) รัฐบาลใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 787 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งส่วนหนึ่งใช้ไปในเรื่องการสร้างงาน และตามรายงานจากสานักงบประมาณของสภาคองเกรสเมื่อวันที่ 30 พย.2552 สามารถสร้างงาน (หรือรักษางานไว้) ได้ประมาณ 600,000- 1ล้าน6แสนงาน

วิธีการขั้นต่อไปในการสร้างงานใหม่ ที่นักเศรษฐศาสตร์(ฝ่ายซ้าย)เสนอคือ เอามาตรการที่ใช้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่าปี 1930 มาปรับใช้ โดยให้รัฐบาลจ้างงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น โครงการสร้างบ้านผู้มีรายได้ต่า หรือโครงการดูแลเด็ก (Childcare) เป็นต้น ข้อเสนอของสถาบันนโยบายเศรษฐกิจ (Economic Policy Institute — EPI) เสนอว่าโครงการนี้จะใช้เงิน 40 พันล้านเหรียญฯ/ปีเป็นเวลา 3 ปีและสร้างงานได้ 1 ล้านงาน

อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังคงให้ความสาคัญในการสร้างงานโดยสร้างแรงจูงใจกระตุ้นภาคเศรษฐกิจให้สร้างงานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ SMEs นักการเมืองฝ่ายค้านบางคนเสนอเรื่องให้หยุดเก็บภาษีชั่วคราวที่บริษัทจ่ายให้รัฐบาลสาหรับค่าจ้างลูกจ้าง (Payroll-Tax Holiday) เพื่อลดต้นทุนการจ้างงานลงชั่วคราว บางคนเสนอให้ Tax Credit แก่บริษัทที่สร้างงานใหม่ได้ ในโครงการที่ EPI เสนอ อ้างว่า ถ้าให้ Tax Credit 15% จะสามารถสร้างงานเพิ่มได้อีก 5.1 ล้านงานภายในเวลา 2 ปีข้างหน้าด้วยต้นทุน 27พันล้านเหรียญฯ แต่มีบางฝ่ายที่แย้งว่า เป็นการให้รางวัลไปเปล่าๆแก่บริษัทที่ถึงยังไงก็ต้องเพิ่มการจ้างงานอยู่แล้ว ดูเหมือนว่าโครงการนี้ไม่สู้เป็นที่สนใจของนักธุรกิจเท่าไร

ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอไหนก็ตาม ปัญหาของรัฐบาลตอนนี้ คือต้องเดินหน้าให้เร็วที่สุด และปัญหาใหญ่หลวงอีกเรื่องหนึ่งคือ จะเอาเงินที่ไหนมาทา งบประมาณรัฐบาลแบบติดลบดูจะเป็นเรื่องที่คนอเมริกันไม่ค่อยจะพึงใจสักเท่าไร ซึ่งหมายความว่าจะมีผลต่อการเลือกตั้งและอนาคตของนักการเมืองทั้งหลายด้วย

3) ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ต่อเศรษฐกิจอเมริกาในปี 2553

คราวนี้ลองมาฟังความเห็นของนักวิเคราะห์ข่าวสายเศรษฐกิจดังๆ ว่าพวกเขามีความคิดอย่างไรกันPeter David, Washington Bureau Chief, The Economist “อะไรไม่ดีจะโทษประธานาธิบดี” ปลายปี 2551 คนอเมริกันเปลี่ยนประวัติศาสตร์ชาติโดยเลือก คนผิวดาเป็นประธานาธิบดี ปีที่จะมาถึงจะเป็นปีที่ลาบากสาหรับโอบามา นิยายเรื่องประธานาธิบดีผิวสี (Black)และการเปลี่ยนแปลง(Change) ดูจะไม่อยู่ยืนนาน เพียงในปีแรก คะแนนนิยมก็ตกจาก 70%ตอนต้นปี2009 เหลือเพียง50%ในช่วงฤดูร้อน หลังจากดารงตาแหน่งแค่ 8 เดือนและไม่นานหลังจากรัฐบาลดาเนินนโยบายสู้กับภัยเศรษฐกิจ อาทิ โครงการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ดีทรอยต์

คนอเมริกันจะเริ่มหันไปโทษประธานาธิบดี สาหรับเศรษฐกิจถดถอย การว่างงาน ภาษีที่สูงขึ้น(ถึงแม้รัฐบาลสัญญาจะไม่ขึ้นภาษีชนชั้นกลาง) และการขาดดุลงบประมาณ ถึงแม้ตอนนี้คนส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับเรื่อง กฎหมายประกันสุขภาพ (Health Care Bill) และการแก้ไขปัญหาโลกร้อน (Global Warming) แต่ในปี 2553 คนจะเริ่มรู้สึกถึงต้นทุนในระยะสั้นของทั้งสองเรื่องมากกว่าจะเห็นประโยชน์ในระยะยาว และเรื่องนี้จะนาไปสู่การสั่นคลอนของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะสโลแกนของโอบามาว่า "การเปลี่ยนแปลง - Change" ซึ่งจะมีผลให้คนที่เคยออกมาลงคะแนนเลือกโอบามาครั้งที่แล้ว ซึ่งมีทั้งพวก "Change" และ พวกที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเป็นครั้งแรก(คนผิวดากับคนหนุ่มสาว) ซึ่งตัดสินใจเลือกเพราะตัวบุคคลมากกว่านโยบายพรรค เปลี่ยนใจได้ในการเลือกตั้งกลางเทอม (พฤศจิกายน 2553) นอกจากนี้ยังมีพวกหัวฝ่ายซ้ายที่ไม่พอใจนโยบายบริหารจากศูนย์กลาง คนอเมริกันอีกจานวนมากที่ไม่พอใจการเข้าช่วยอุ้มตลาดหุ้นของรัฐบาลในขณะที่ประชาชนธรรมดาต้องสูญเสียทั้งงาน บ้าน และ เงินบานาญ

ด้านเวทีโลก โอบามายังหาทางออกสาหรับปัญหาเรื่องอัฟกานิสถานและอิหร่านไม่ได้ การตัดสินใจระยะยาว ในการส่งทหารเข้าไปเพิ่มในสองประเทศและการสูญเสียชีวิตทหารเหล่านั้นสร้างความเจ็บปวดให้คนอเมริกัน และจะยิ่งชัดเจนมากขึ้นในสายตาคนอเมริกันว่า อเมริกาเริ่มสูญเสียความเป็นมหาอานาจ โดยฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการหดตัวของอานาจทางเศรษฐกิจของอเมริกา กับการขยายตัวของประเทศอานาจใหม่ในเอเซีย

ผลการเลือกตั้งกลางปีในเดือนพฤศจิกายน 2553 จะสะท้อนให้เห็นว่า ถึงแม้จะมีวิกฤติเศรษฐกิจแต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดที่ฝังแน่นของคนอเมริกันเรื่องระบบการค้าเสรีได้ และความเชื่อที่ว่าโอบามาค่อนไปทางซ้ายมาก จะทาให้พรรคเดโมแครตเสียที่นั่งในสภา ถึงแม้วุฒิสภาจะยังอยู่ในกามือพรรคเดโมแครต แต่พรรครีพับลิกันอาจจะได้คุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ (House of Representatives) ไม่น้อยกว่า 84 ที่นั่งของเดโมแครตในสภาผู้แทนฯ ที่ในอดีตเคยเสียให้ George Bush ในปี 2547 และ John McCain ในปี 2551 อาจจะกลับมาเป็นของรีพับลิกันอีกครั้ง

แต่ก็ใช่ว่าเหตุการณ์แย่ๆในปี 2553 จะทาให้โอบามาจะต้องแพ้การเลือกตั้งครั้งใหม่ในปี 2555 หรือจะทาให้ชื่อเสียงการเป็นประธานาธิบดีว่าล้มเหลว ประธานาธิบดีอื่นในอดีต อาทิ Ronald Reagan และ Bill Clinton ต่างก็สามารถกอบกู้สถานการณ์กลับมาได้ภายในปีที่สองและยังคงอยู่ในช่วงเลือกตั้งกลางเทอม แต่อย่างไรก็ตามปีที่จะมาถึงนี้จะเป็นปีทดสอบประธานาธิบดี (ซึ่งไม่สดใหม่แล้ว)คนใหม่ของเอมริกา

Greg Ip, United States economics editor, The Economist "อเมริกาจะฟื้นตัวแต่ยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร"

ปี 2553 เศรษฐกิจอเมริกาจะยังคงถูกทึ้งอยู่ระหว่างสองแรงคนละขั้ว ขั้วแรกคือภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างลึกซึ่งจะนาไปสู่การฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง และอีกขั้วหนึ่งคือ วิกฤติการเงินซึ่งจะทาให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างอ่อนแรง บทบาทการเล่นของสองขั้วนี้จะทาให้เกิดวงจรที่ไม่ใช่ V หรือ U หรือ W Shape แต่จะเป็นสิ่งที่เรียกว่า reverse-square-root symbol คือ การขยายตัวที่เริ่มอย่างตูมตามจนน่าประหลาดใจ และตามด้วยการเติบโตอย่างอ่อนแรงอีกเป็นระยะเวลานาน

จากประสบการณ์ในอดีต ยิ่งเศรษฐกิจตกลงมากเท่าใด ก็จะเกิดผลเด้งกลับในการฟื้นตัวมากยิ่งกว่า เมื่อเศรษฐกิจอเมริกาหดตัวลงประมาณ 4%ระหว่างเศรษฐกิจถดถอยในปี 2550-2552 ก็น่าจะดีดตัวกลับมาโตขึ้นถึง 8% ในปีแรกของการฟื้นตัว และอัตราการว่างงานประมาณ 10%ในปี 2552 ควรจะลดลงเหลือ 8% อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจควรจะเกิน 2.5%ในปี 2553 ตามที่คาดการณ์ และจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลทุ่มไป 787 พันล้านเหรียญฯ ถึงแม้จะมีเสียงวิจารณ์มากว่ามีเงินไหลเข้าระบบเศรษฐกิจช้ามาก แต่ก็น่าจะสามารถเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2553ได้อย่างดี แต่ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่มีตัวใดเลยที่จะทาให้การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านปี 2553 ไปได้ถ้าไม่มีปัจจัยสาคัญอีก 2 ตัวคือ การใช้จ่ายภาคเอกชน (Private Spending) และการเพิ่มขึ้นของรายได้ (Income Growth)

ตลอดปี 2552 ภาคครัวเรือนสูญเสีย 12 ล้านล้าน (Trillion) เหรียญฯ หรือ 19%ของความมั่งคั่ง อันเนื่องมาจากราคาบ้านและราคาหุ้นที่ตกต่า ซึ่งทาให้อานาจการซื้อของคนลดลงและหันไปออมมากขึ้นโดยเฉพาะคนวัยใกล้เกษียร ซึ่งหมายความว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นสัดส่วนประมาณ 70%ของGDP จะเติบโตน้อยกว่ารายได้ การว่างงานที่ยังสูงจะยับยั้งการเพิ่มของค่าจ้าง อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) ปัจจุบัน 1.5% จะลดลงเหลือ 0 และอาจจะกลายเป็นอัตราเงินฝืด (Deflation) ในปี 2553 สภาวะเงินฝืดจะเป็นตัวทาให้ภาระ หนี้เพิ่มขึ้นและการบริโภคลดลง

ในอดีต อัตราดอกเบี้ยสูงเป็นต้นเหตุเศรษฐกิจถดถอยและการลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ปัจจุบันไม่เป็นอย่างนั้น เมื่อเริ่มช่วงถดถอย อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของ Fed 5.25% ไม่ถือว่าสูง Fed ลดอัตราดอกเบี้ยจนเป็น0 และขยายเงินให้กู้และซื้อพันธบัตรระยะยาว ทั้งๆที่ทาถึงขนาดนี้ เงินที่ธนาคารให้ภาคธุรกิจและเอกชนกู้ก็ยังลดลง รวมทั้งเงินกู้ภาคธุรกิจที่มีหลักทรัพย์ค้าประกันด้วย มีเพียงแต่เงินที่รัฐบาลใช้พยุงตัวแทนอสังหาริมทรัพย์อย่าง Fannie Mae, Freddie Mac และ Ginnie Mae เท่านั้นที่ทาให้วงเงินขยายเครดิตเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นไม่เพียงแต่การขาดแคลนผู้กู้เท่านั้น แต่เพราะความเสียหายของโครงสร้างของสถาบันการเงินที่ทาหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน

การใช้นโยบายการเงินและการคลังที่ดุดันของอเมริกาในปี 2552 ช่วยพยุงสถานการณ์ไว้ได้ แต่ถ้ายกเลิกอันใดอันหนึ่งจะมีผลต่อการเติบโตในปี 2553 เงินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะสิ้นสุดลงจะเป็นตัวลด GDP ลง 2%ในปี 2553 รัฐบาลโอบามาเองก็ไม่อยากผลักดันงบนี้มากเนื่องจากประชาชนเริ่มกังวลเรื่องการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล และพรรครีพับลิกัน(ฝ่ายค้าน)จะใช้ความรู้สึกอ่อนไหวของประชาชนเป็นตัวดึงเสียงให้ได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นในการเลือกตั้งสภาคองเกรสปี 2553 ส่วน Fed ซึ่งถูกโจมตีมาอย่างหนักอาจถูกบีบให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในต้นปี 2553หากเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่ง Fed คงไม่ยอมทาเช่นนั้น

ถึงแม้ว่าดูเหมือนจะมีปัญหามากมายรุมล้อมอยู่ข้างหน้า แต่อเมริกาจะไม่ลื่นไถลลงไปยังสภาพเศรษฐกิจถดถอย เหมือนเช่นญี่ปุ่นในศตวรรษ 1990 ทั้งนี้เพราะอเมริกาไม่ได้เข้าสู่วิกฤติเพราะการลงทุนมหาศาลเกินตัว (Overinvestment) อย่างประเทศอื่น (โดยเฉพาะญี่ปุ่น) อเมริกาใช้เวลา 2 ปีในการแก้ปัญหาเรื่องธนาคาร (ในขณะที่ญี่ปุ่นใช้เวลา 7 ปี) ดังนั้นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองจะกลับมาอีกแน่นอน เพียงแต่ยังไม่ภายในเร็ววันนี้เท่านั้น

4) จักรเฟืองตัวสาคัญของเศรษฐกิจอเมริกาที่ถูกละเลย - R&D, Product Design และ Worker Training

มีคาถามว่า "ถ้านักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรตกงาน จะมีผลกระทบต่อ GDP หรือไม่?"

ในขณะที่หลายฝ่ายดูจะรู้สึกดีขึ้นจากตัวเลฃ GDP ที่มีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้น ยังมีนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ออกมาแสดงความกังวลว่าตัวเลข GDP ที่ออกมานั้นอาจจะถูกคาดการณ์ไว้สูงกว่าความเป็นจริง เพราะละเลย สิ่งที่เรียกว่า การลงทุนที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Investments) เช่น การใช้จ่ายภาคธุรกิจในด้านการพัฒนาและวิจัย (Research & Development) การออกแบบสินค้า (Product Design) และการฝึกอบรมคนงาน (Worker Training) ทั้งนี้มีเหตุการณ์หลายอย่างบ่งชี้ว่า บริษัทต่างๆลดค่าใช้จ่ายด้านนี้อันเป็นผลต่อนวัตกรรมของสินค้าและบริการ เพื่อหั่นต้นทุน ให้ได้กาไรระยะสั้น

อเมริกาไม่สามารถแข่งขันได้ในเศรษฐกิจแบบองค์ความรู้ของโลก (Knowledge-Based Global Economy) ถ้าไม่มีการลงทุนใน Intangible Investment ดังกล่าวข้างต้น

ในปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ซึ่งเป็นบุคลากรที่จะสร้างสรรสินค้าในอนาคต และทาให้อเมริกาสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในระยะยาว กลับมีอัตราการจ้างงานลดลงถึง 6.3% ในขณะที่การจ้างงานโดยรวมลดลง 4% สิ่งนี้จะเป็นปัญหาใหญ่ของเอมริกาในอนาคต เพราะผลผลิตจากบุคคลากรเหล่านี้ในอดีตมีส่วนสาคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกา

5) การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจโลก และอเมริกา ในปี 2553 (จาก Economist Intelligence Unit)

เศรษฐกิจประเทศกาตาร์จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 24.5% เนื่องจากโครงการแก๊ซธรรมชาติ

ปีหน้าเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากเศรษฐกิจถดถอย ผู้นาทางการเติบโตเศรษฐกิจจะเป็นตลาดเล็กๆที่เริ่มพลิกกลับมามีความสาคัญในตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศผู้รับความช่วยเหลือในแอฟริกา (Sub-Saharan Africa) ประเทศที่มีแหล่งพลังงานจะฟื้นตัวโดยการเพิ่มกาลังการผลิตน้ามัน และการผลิตไฮโดรคาร์บอนจะทาให้ประเทศเตอร์กเมนิสสถานขึ้นมาอยู่ใน 12 อันดับแรกด้วย

ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหญ่ๆของโลก จีนเป็นผู้นาการเจริญเติบโตเศรษฐกิจโดยเป็นอันดับ 2 และมีอินเดียมาเป็นอันดับที่ 9 ด้วยการเติบโตภาคบริการ อิรัคจะฟื้นตัวขึ้นมาเป็นอันดับที่ 10 และมาดากัสการ์เป็นอันดับที่ 11 จากการที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศ

          Rank         Country                GDP Growth %
           1           Qatar                     24.5
           2           China                      8.6
           3           Congo (Brazzaville)        8.0
           4           Turkmenistan               8.0
           5           Ethiopia                   7.0
           6           Uzbekistan                 7.0
           7           Djibouti                   6.5
           8           Sri Lanka                  6.3
           9           India                      6.3
          10           Iraq                       6.2
          11           Madagascar                 6.2
          12           Vietnam                    6.0
                       U.S.A.                     2.4

การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจของอเมริกา
GDP Growth               2.4%
GDP                      $14,840 bn (PPP : $14,840bn)
Inflation                1.0%
Population               309.6 m
GDP per head             $47,920 (PPP : $47,920)


6) นโยบายการค้าของไทยกับอเมริกา

6.1) นโยบายการค้าของสหรัฐฯภายใต้รัฐบาลโอบามา

นักวิเคราะห์สรุปว่า รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายการค้าหลัก 3 ประการด้วยกันคือ

  • สนับสนุนการค้าเสรี
  • ติดตามและบังคับใช้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ ติดตามการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศคู่ภาคี ในความตกลง FTA ของสหรัฐฯทุกฉบับที่มีผลบังคับใช้แล้ว
  • ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายแรงงานและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการดาเนินนโยบายการค้าฝ่ายเดียว โดยไม่เปิดการเจรจาความตกลง FTA ใหม่ๆ และให้การสนับสนุน ร่างกฎหมายต่างๆที่เป็นการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ

6.2) สรุปภาวะการค้าของไทยกับอเมริกาปี 2552 (มค.-พย.)

6.2.1) มูลค่าการนาเข้า ส่งออก และดุลการค้าไทย-สหรัฐอเมริกา

                            มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ                    อัตราการขยายตัว (%)
   ปี                 ส่งออก       นำเข้า      ดุลการค้า      ส่งออก      นำเข้า      ดุลการค้า
 2551               20,275      11,423       8,852        4.43      20.32       -10.78
2552 (ม.ค.-พ.ย.)    15,108       7,558       7,550      -20.05     -29.31        -7.98


6.2.2) สินค้านาเข้าสาคัญของไทยจากอเมริกา (5 อันดับแรก)
                                มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ                 อัตราขยายตัว (%)                สัดส่วน (%)
ที่    ชื่อสินค้า                2551       2551        2552     2551     2551       2552     2551     2551      2552
                                  (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)        (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)       (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)
1. เครื่องจักรกลและ
     ส่วนประกอบ          1,135.30    1,031.10     907.50   20.76    19.31       -11.99   9.94      9.64     12.01
2. แผงวงจรไฟฟ้า          1,170.00    1,106.70     891.80  -16.23   -15.36       -19.42  10.24     10.35     11.80
3. เคมีภัณฑ์               1,152.80    1,091.40     715.10   39.22    42.16       -34.48  10.09     10.21      9.46
4. เครื่องจักรไฟฟ้าและ
     ส่วนประกอบ            613.40      569.70     539.00    1.31     1.00        -5.38   5.37      5.33      7.13
5. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
     และส่วนประกอบ         863.30      815.10     521.50   -1.40    -1.10       -36.02   7.56      7.62      6.90

6.2.3) สินค้าออกสาคัญของไทยไปอเมริกา (5 อันดับแรก)

                                มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ                 อัตราขยายตัว (%)                   สัดส่วน (%)
ที่    ชื่อสินค้า                2551       2551       2552     2551      2551        2552      2551     2551       2552
                                  (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)        (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)       (ม.ค.-พ.ย.)  (ม.ค.-พ.ย.)
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
     และส่วนประกอบ      3,426.60    3,190.10    2,632.10   1.13      6.28       -17.49    16.90     16.88     17.42
2. อาหารทะเลกระป๋อง
     และแปรรูป          1,192.00    1,090.10    1,135.00  14.18     12.61         4.12     5.88      5.77      7.51
3. เสื้อผ้าสาเร็จรูป        1,408.70    1,299.20      926.10  -8.09     -8.15       -28.72     6.95      6.87      6.13
4. ผลิตภัณฑ์ยาง             955.90      884.40      774.80  11.22     12.30       -12.40     4.71      4.68      5.13
5. อัญมณีและเครื่องประดับ   1,076.00    1,021.10      772.60   4.79     10.25       -24.33     5.31      5.40      5.11

6.2.4) สินค้าออกของไทยที่มีอัตราเพิ่มขึ้น

ที่    ชื่อสินค้า                2551       2551       2552     2551      2551        2552      2551     2551       2552
                                  (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)        (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)       (ม.ค.-พ.ย.)  (ม.ค.-พ.ย.)
2. อาหารทะเลกระป๋อง
      และแปรรูป         1,192.00    1,090.10   1,135.00    14.18    12.61        4.12      5.88     5.77       7.51
12. ข้าว                  328.70      300.00     334.00    49.11    52.17       11.35      1.62     1.59       2.21
24. รถจักรยานยนต์และ
      ส่วนประกอบ          144.90      130.60     131.70    35.27    31.97        0.83      0.71     0.69       0.87

6.2.5) สินค้าออกของไทยที่มีอัตราลดลง

ที่    ชื่อสินค้า                2551       2551       2552     2551     2551        2552      2551     2551       2552
                                  (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)       (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)       (ม.ค.-พ.ย.)  (ม.ค.-พ.ย.)
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
     และส่วนประกอบ      3,426.60    3,190.10   2,632.10    1.13     6.28       -17.49    16.90    16.88       17.42
3. เสื้อผ้าสาเร็จรูป        1,408.70    1,299.20     926.10   -8.09    -8.15       -28.72     6.95     6.87        6.13
4. ผลิตภัณฑ์ยาง             955.90      884.40     774.80   11.22    12.30       -12.40     4.71     4.68        5.13
5. อัญมณีและเครื่องประดับ   1,076.00    1,021.10     772.60    4.79    10.25       -24.33     5.31     5.40        5.11
6. เครื่องใช้ไฟฟ้าและ
     ส่วนประกอบอื่นๆ        923.80      852.70     687.60   34.21    38.14       -19.36     4.56     4.51        4.55
7. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และ
     ส่วนประกอบ           699.60      672.30     629.30   -2.80     0.84        -6.39     3.45     3.56        4.17
8.  กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง      632.30      592.50     567.80    4.87     5.35        -4.16     3.21     3.14        3.76
9.  แผงวงจรไฟฟ้า          699.80      655.60     445.20  -10.73    -6.29       -32.09     3.45     3.47        2.95
10. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป   452.40      409.60     405.70    8.01     7.73        -0.95     2.23     2.17        2.69
11. น้ามันดิบ               507.40      477.20     405.30   69.22    59.14       -15.06     2.50     2.53        2.68

6.2.6) สินค้าไทยที่มีศักยภาพที่จะทาให้การส่งออกไทยเพิ่มขึ้น

สินค้าไทย 6 รายการหลักที่มีศักยภาพ และจะต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ตลอดจนส่งเสริมและหาทางลดอุปสรรคในการส่งออกให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทาได้ คือ

                      สินค้า                    สัดส่วนส่งออกไปอเมริกา มค.-พย.2552 (%)
          เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ                  17.42
          อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                             7.51
          เสื้อผ้าสาเร็จรูป                                        6.13
          ผลิตภัณฑ์ยาง                                           5.13
          อัญญมณีและเครื่องประดับ                                  5.11
          กุ้ง สด แช่เย็น แช่แข็ง                                   3.76

สินค้าที่คาดว่าการส่งออกจะเพิ่มสูงในปี 2553 คือกุ้งแช่แข็ง หากสามารถตกลงในเรื่องการคืน C Bondได้ สาหรับคอมพิวเตอร์และอัญญมณีนั้น หากเศรษฐกิจฟื้นตัว โอกาสที่ความต้องการเพิ่มขึ้นจะมีมาก

6.3 อเมริกา - ตลาดเก่าที่ยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง

นอกเหนือจากความเป็นจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า อเมริกายังเป็นตลาดที่มีความสาคัญและศักยภาพสูงสุด ด้วยตัวเลขการส่งออกของไทยไปอเมริกาที่มีสัดส่วนสูงสุดแล้ว เหตุผลสาคัญอื่นได้แก่

  • จานวนประชากรใหญ่ หมายถึงขนาดของการบริโภคที่มหาศาล (Great Consumption-Great Demand)
  • กำลังซื้อสูงกว่าประเทศกาลังพัฒนา (Buying Power)
  • คนที่ยังคงมีงานทา และมีรายได้สูงยังมีมาก
  • จานวนผู้อพยพและจานวนประชากรสูงขึ้น
  • มูลค่าการนาเข้าสินค้าจากไทยของอเมริกายังเป็นสัดส่วนต่ามาก (1.12%)
  • พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นประเภทซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า เป็นประเทศที่มีการบริโภคภายในประเทศ (Domestic Consumption) สูงถึง 70% ของGDP
7) กลยุทธิ์ในการเจาะตลาดอเมริกา "ตลาดใหม่ในตลาดเก่า (Niche Market in Tradition Market)"

7.1) สินค้าที่มีศักยภาพในกลุ่มเป้าหมายใหม่

  • กลุ่ม Institution ได้แก่ สถาบันการศึกษา โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร สวนสนุก เรือสาราญ สนามกีฬา เรือนจา บริษัทรับจัดอาหารนอกสถานที่ (Food Catering) ฯลฯ
  • กลุ่มคนเชื้อชาติต่างๆได้แก่ กลุ่มคนเอเซีย กลุ่มผู้อพยพ(ผู้ลี้ภัย) กลุ่มชาวมุสลิม กลุ่มชาวยิว และกลุ่มที่กาลังได้รับความสนใจอย่างสูง เพราะมีประชากรและกาลังซื้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็วคือ กลุ่มคนเชื้อสายลาติโน (Latino) ที่มีสไตล์การดารงชีวิตแบบฮิสแปนิก (Hispanic) เป็นที่คาดกันว่าในอนาคตกลุ่มนี้อาจจะกลาย เป็นชนส่วนใหญ่ (Majority) ของประเทศ
  • กลุ่มคนอ้วน อเมริกาเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ามีประชากรที่น้าหนักเกิน (อ้วนมากๆ)เป็นจานวนมาก ตามสถิติปี 2544-2547 มีประชากรมากกว่า 67 ล้านคนประสบปัญหาโรคอ้วน และมากกว่า 72 ล้านคนประสบปัญหาน้าหนักเกินมาตรฐาน ทาให้รูปแบบการบริโภคสินค้าเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นอาหาร สินค้าเกี่ยวกับสุขภาพและการออกกาลังกาย เสื้อผ้า ของใช้ ฯลฯ
  • กลุ่มคนสูงอายุ คาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า อเมริกาจะมีประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ประมาณ 214 ล้านคน
  • กลุ่ม Gay/Lesbian ในปี 2551 มีประชากรกลุ่มนี้จานวน 15 ล้านคน กาลังซื้อ 712 พันล้านเหรียญฯ และในปี 2554 จะเพิ่มเป็น 16 ล้านคน กาลังซื้อ 835 พันล้านเหรียญฯ โดยกาลังซื้อต่อคนเฉลี่ย 45,298 เหรียญฯต่อปี เป็นกลุ่มที่มีการศึกษาสูงและมีพฤติกรรมการบริโภคตามความพอใจ ให้ความสาคัญกับของใหม่ๆเสมอ

7.2) ตลาดเล็กในตลาดใหญ่

อเมริกาเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ไพศาล ทั้งภูมิอากาศและภูมิประเทศในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น แถบตะวันตกจะมีอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่แถบตะวันออกจะมีอากาศหนาว แถบใต้ลงไปจะมีลักษณะเหมือนประเทศแคริบเบียน และแถบกลางประเทศจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวเย็นหิมะตกมาก ดังนั้นประชากรที่อยู่ในแต่ละภูมิภาคของประเทศจะมีพฤติกรรมในการบริโภคที่แตกต่างกันไป ทั้งลักษณะของคนดั้งเดิม(ว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยมหรือสมัยใหม่) และลักษณะภูมิอากาศ

กลยุทธิ์การเจาะตลาดของสินค้าเดียวกันในแต่ละภูมิภาค ต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับภูมิภาคนั้นๆ เหมือนเป็นการเจาะตลาดที่แตกต่างถึงจะอยู่ในประเทศเดียวกันก็ตาม

8) โครงการ/กิจกรรมเด่นๆของสานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศในอเมริกา

กรมส่งเสริมการส่งออกมีสานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศในอเมริกา 4 แห่ง ได้แก่ นิวยอร์ก ลอสแองเจลิส ชิคาโก และไมอามี่ ที่ทาหน้าที่ในด้านกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก (Trade promotion) และมีสานักงานพาณิชย์ต่างประเทศที่ขึ้นกับสานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์อีก 1 แห่งที่กรุงวอชิงตันดีซี มีหน้าที่ดูแลเรื่องการเจรจา และกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าโดยรวม (Trade Regime)

8.1) การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในอเมริกา

กรมส่งเสริมการส่งออกนาผู้ส่งออกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในอเมริกาในปีงบประมาณ 2553 จานวน 7 งาน โดย 2 งานที่ผ่านไปจัดที่ลาสเวกัส คืองาน PACK Expo (ตค.2552) และ AAPEX (พย.2552) โดยมีสคต.ลอสแองเจลิสเป็นผู้ประสานงาน และในปี 2553 จะมีงานแสดงสินค้าที่กรมฯเข้าร่วมอีก 5 งานซึ่ง สคต.นิวยอร์กเป็นผู้ประสานงาน ได้แก่ งานสินค้าอาหาร 2 งานคือ International Boston Seafood (มีค.2553) และ Summer Fancy Food (มิย.2553) งานสินค้าเฟอร์นิเจอร์ 1 งานคือ ICFF (พค.2553) และงานสินค้าแฟชั่น 2 งานคือ D & A NY Fall (กพ.2553) และ D & A NY Spring (กย.2553)

8.2) กิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างฯ (Instore Promotion)

โครงการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการจาหน่ายสินค้าไทยในตลาดอเมริกา สคต.นิวยอร์กร่วมกับผู้นาเข้าที่มีห้างซูเปอร์มาเก็ตเครือข่าย จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าอาหารที่นาเข้าจากไทย โดยมีการสาธิตการทาอาหารไทยจากเครื่องปรุงและวัตถุดิบที่ห้างฯนาเข้าจากไทย ตลอดจนนาเสนอสินค้าใหม่ (Launch new products) ที่ผู้ส่งออก ต้องการทดสอบตลาดโดยตรงกับผู้บริโภค กิจกรรมในปี 2553 นี้ สคต.มีแผนที่จะทดลองตลาดโดยเสนอสินค้าอาหารไทยที่จะมีโอกาสในการเข้าสู่ตลาดสินค้าฮิสแปนิกสาหรับผู้บริโภคลุ่มลาติโนด้วย

8.3) การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาการค้าในประเทศไทย (Incoming Mission)

นอกเหนือจากการจัดคณะผู้แทนการค้าเดินทางมางานแสดงสินค้าในประเทศไทยแล้ว สินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic) และสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco Friendly) เป็นสินค้าที่กาลังเป็นที่นิยมในอเมริกา สคต.นิวยอร์กมีแผนที่จะจัดคณะผู้แทนการค้าเกษตรอินทรีย์เยือนประเทศไทย 1 คณะ และสคต.ชิคาโกมีแผนที่ จะจัดคณะผู้แทนการค้าเยือนไทย 2 คณะ คือสินค้าอาหารและไลฟ์สไตล์ 1 คณะ และสินค้าเกษตรอินทรีย์และ Eco-friendly 1 คณะ

8.4) การส่งเสริมการไปดาเนินธุรกิจในต่างประเทศ (Internationalization)

สคต.ทุกแห่งในอเมริกา มีหน้าที่ให้บริการและสนับสนุนผู้ส่งออกไทย ไปดาเนินธุรกิจในต่างประเทศโดยตรง ด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ หาตัวแทนจาหน่าย หาหุ้นส่วนร่วมลงทุนในการทาธุรกิจร่วมกันในต่างประเทศ เป็นต้น โดยเฉพาะในปี 2553 สคต.ไมอามี่มีโครงการส่งเสริมการขยายตลาดด้วยตัวแทนในต่างประเทศ

9) สรุป

แม้แนวโน้มเศรษฐกิจอเมริกาในปี 2553 จะเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากสถานะการเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของโลก จึงยังเป็นตลาดที่หอมหวลสาหรับประเทศส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหลาย

ประเทศไทยส่งออกไปอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนที่อเมริกานาเข้าเพียง 1.12 % ซึ่งนับว่ายังน้อย และมีช่องทางให้ขยายการส่งออกมาได้อีกมาก หากว่าสามารถผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการของตลาด ทั้งคุณภาพและราคา และเนื่องจากฐานมูลค่าและสัดส่วนการส่งออกไปอเมริกาที่สูงเกิน 10% ของการส่งออกรวม หากสามารถเพิ่มอัตราการส่งออกไปอเมริกาได้ จะสามารถพลิกผันให้การส่งออกโดยรวมมีอัตราเพิ่มเป็นบวก ในปี 2553ได้อย่างแน่นอน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ