สถานการณ์การค้าไทย-อิตาลี เดือนธันวาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 5, 2010 15:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1) สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลี

No.      Data                Period          % change        2009 forecast    Source of data
1    GDP III’09             (III/II)          +0.8%              -4.8%            ISTAT
2    Inflation rate        Nov.09/08          +0.7%              +0.8%            ISTAT
3    Consumption rate      Nov.09/08          +0.7%                               ISTAT
                           Nov./Oct.09        +0.1%                               ISTAT
4    Production rate       Jan-Oct.09/08      -5.2%              -5.3%            ISTAT
                           Nov.09/08          +0.1%
5    Import                Jan-Sep.09/08     -24.9%                               ISTAT
6    Export                Jan-Sep.09/08     -23.0%                               ISTAT
7    Unemployment Rate(%)  Oct.09/08    +13.4%(2,004,000 posts)    +9%            OCSE

2) การส่งออกของไทยไปยังอิตาลี

ปี 2552 (ม.ค.-พ.ย.) ไทยส่งสินค้าออกมายังตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 137,953.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2551 ช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 16.9 โดยมีมูลค่าการส่งออกมายังประเทศ อิตาลี 1,182.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงถึงร้อยละ 36.2

สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทยไปยังประเทศอิตาลีปี 2552

อันดับที่      ชื่อสินค้า                           มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ                    อัตราการขยายตัว%
                                        2551        2552     2552    2551/2550    2552/2551       2552

(ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-พ.ย.) (พ.ย.) (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-พ.ย.) (ต.ค./พ.ย.)

 1      อัญมณีและเครื่องประดับ              182.5       149.3      8.8      124.8        -13.1        +21.7
 2      ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง            104.4        87.8      5.1       10.7        -12.2        -44.7
 3      เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ      182.4        85.3      7.7      -16.4        -52.0         +9.0
 4      อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป         95.2        60.2     10.5       87.4        -32.1        +27.7
 5      รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ        100.8        49.5      5.1      -43.4        -46.9        -52.4
 6      อาหารสัตว์เลื้ยง                    45.9        46.6      3.1       18.4         +8.1        -36.7
 7      ยางพารา                        140.7        45.9      4.4        7.9        -65.7        -30.2
 8      ผลิตภัณฑ์ยาง                       61.4        44.1      2.9       14.3        -21.5        -36.7
 9      เคมีภัณฑ์                         103.4        42.7      3.1       59.9        -56.2        -27.4
10      เสื้อผ้าสำเร็จรูป                    65.9        41.9      2.3       12.2        -28.9        -46.5
          รวม 10 รายการ              1,082.6       653.4     53.0       11.7        -36.0        -20.5
          อื่นๆ                          896.8       529.3     58.4        0.2        -36.5         +7.9
             รวมทั้งสิ้น                 1,979.4     1,182.7    111.4        6.2        -36.2         -7.7
ที่มา http://www2.ops3.moc.go.th/

ช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 ไทยส่งออกไปยังอิตาลีลดลงเกือบทุกรายการ ยกเว้น อาหารสัตว์เลี้ยง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 สินค้าไทยที่ได้รับผลกระทบ จากตัวเลขการส่งออก ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่

1. หมวดสินค้าฟุ่มเฟือย ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยไปยังอิตาลี จะเห็นว่าชาวอิตาเลียนชะลอการบริโภคสินค้าในกลุ่มดังกล่าว เนื่องมาจากรายได้ที่ลดลง ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและยังถือเป็นสินค้าที่อยู่นอกเกนือความจาเป็น

2. หมวดสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกของไทยอันดับต้นๆ แม้ว่าอิตาลีจะเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในยุโรป ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2551 อิตาลีมีการนำเข้าข้าวจากไทย 29.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 218 ในขณะที่ปี 2552 ช่วงเวลาเดียวกัน มีการนาเข้าลดลงร้อยละ 37.7 คิดเป็นมูลค่านำเข้า 18.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในอิตาลีหันมาบริโภคข้าว อิตาเลียนแทนเพราะมีราคาถูกเทียบกับราคาข้าวไทย รวมทั้งมีการแข่งขันของ private brand และ Brand ท้องถิ่น ที่มีราคาเฉลี่ยต่ำกว่าข้าวที่นำเข้าจากไทยประมาณร้อยละ 30

3. หมวดสินค้าคงทนที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่

3.1 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

3.2 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ โดยอิตาลีหันมานำเข้าจากอินเดียและโรมาเนียเพิ่มขึ้น ในช่วงหลัง

3.3 เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน

สำเหตุหลักของการนำเข้าที่ลดลงของสินค้าคงทนสืบเนื่องมาจากปริมาณการบริโภครวมภาย ในประเทศค่อนข้างต่ำ จากรายได้ที่ลดลงและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในครอบครัว ผู้คนต้องลดการบริโภคลงคำนึงในสิ่งที่จำเป็นก่อนการจะเปลี่ยนสินค้าประเภทคงทน จึงต้องคานึงถึงเศรษฐกิจในครอบครัวเป็นสาคัญ

3) การนำเข้าของไทยจากอิตาลี

สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกของไทยจากประเทศอิตาลีปี 2552

อันดับที่      ชื่อสินค้า                           มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ                    อัตราการขยายตัว%
                                        2551       2552      2552    2551/2550    2552/2551       2552

(ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-พ.ย.) (พ.ย.) (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-พ.ย.) (ต.ค./พ.ย.)

 1  เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ             417.3       290.1     15.9      +36.4       -10.5         +5.7
 2  แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่                     7.2       120.4     0.75      +33.5    +1,645.5        +44.0
 3  เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ           115.3       115.8      5.6      +33.2       +40.1        -31.3
 4  ผลิตภัณฑ์โลหะ                         124.2       102.5      7.4      -23.1        -6.8        +11.2
 5  เคมีภัณฑ์                             107.3        75.6      8.4      +12.5       -24.1        +22.8
 6  ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม            64.0        61.9      6.7       +6.4        +6.0        +28.8
 7  สินค้าทุนอื่น ๆ                          62.7        53.3      3.72      +5.0       -11.9        -38.2
 8  เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์               49.7        52.7      5.9      +39.0        +9.2        -23.7
 9  เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด                      73.6        48.8      5.0      +15.6       -31.1        +22.6
10  สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์                  41.3        46.7      7.0       +7.5       +20.2         +3.3
          รวม 10 รายการ              1,062.6       967.7     66.7      +16.4        +7.5         -0.9
          อื่นๆ                          549.8       375.4     42.0      +23.6       -27.2         +8.8
         รวมทั้งสิ้น                     1,612.4     1,343.1    108.7      +18.8        -5.1         +2.6


4) แนวทางการปรับตัว

ประเทศไทยควรปรับโครงสร้างสินค้าส่งออกเพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป ดังนี้

4.1) ควรหันไปให้ความสนใจสินค้าที่มีแนวโน้มอยู่ในความต้องการของตลาดอิตาลี ณ เวลานี้ ได้แก่ กลุ่มยารักษาโรค คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์และแว่นตา ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงในอิตาลีในปีนี้ และมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะจากประเทศนอกเขตอียู

4.2) ควรสนับสนุนสินค้าไทยที่สามารถทำตลาดอิตาลีได้ดี ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นสินค้าส่งออกไปยังตลาดอิตาลีอันดับที่ 6 และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ด้วยสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 2 ต่อปี (เทียบกับอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 4 มีสัดส่วนร้อยละ 2-4) จึงเห็นควรให้พัฒนาคุณภาพสินค้าและสร้างรูปแบบให้หลากหลายตรงกับความต้องการของตลาดที่อาจเปลี่ยนแปลงต่อไป

4.3) สำหรับสินค้าที่อยู่ในภาวะซบเซา ได้แก่ Textile products/เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย/สินค้ากลุ่มเครื่องหนังและ accessories, รถยนต์, เหล็กและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเหล็ก และเครื่องจักร ทั้งนี้ การบริโภคสินค้าดังกล่าวลดลงอย่างมากและยังมีแนวโน้มไม่ดีนักในตลาดอิตาลี โดยอิตาลีลดการนาเข้าลงร้อยละ -22.8% , -11.1%, -37.6% และ -27.8% ตามลาดับ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก Inflation   อิตาลี   E 20   GDP   tat   NFL  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ