มาเลเซียมีพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรทั่วประเทศประมาณ 32.96 ล้านเฮกตาร์ (รวมพื้นที่บนคาบสมุทร รัฐซาบาห์และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว) ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา โกโก้ และมะพร้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญของประเทศ พื้นที่อีกประมาณร้อยละ 10 ใช้ในการเพาะปลูกข้าวและอีกร้อยละ 10 ที่เหลือใช้ในการทำการเกษตรอื่น เช่น สวนผัก สวนผลไม้ เป็นต้น
มาเลเซียตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ผลไม้ที่ผลิตได้จึงเป็นผลไม้เมืองร้อนทั้งที่ไม่เป็นฤดูกาลเช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด ฝรั่ง มะเฟือง แตงโม และมะม่วงบางชนิด และที่ตามฤดูกาลเช่น ทุเรียน เงาะ รางสาด ดูกู(ลองกอง) และมังคุด ซึ่งจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี และจะมีน้อยในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปี
ผลไม้หลักที่รัฐบาลมาเลเซียให้การส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกเพื่อการส่งออกและทดแทนการนำเข้าได้แก่ ทุเรียน มะม่วง เงาะ มังคุด สับปะรด
สับปะรดนิยมปลูกกันมากบนคาบสมุทรมลายู ทั้งนี้ สามารถแสดงตัวเลขพื้นที่เพาะปลูก ปริมาณการผลิต และราคาหน้าฟาร์ม ได้ดังนี้
Year Plantation Area
(Hectare)
2000 7,271 2001 6,321 2002 6,366 2003 6,434 2004 6,477 2005 7,943 2006 8,383 2007 11,923 2008 6,225 ปริมาณผลผลิตสับปะรดสด Year Production
(Metric ton)
2000 71,043 2001 65,048 2002 70,052 2003 72,997 2004 81,618 2005 86,740 2006 85,902 2007 69,607 2008 156,111 ปริมาณผลผลิตสับปะรดปี 2008 แยกตามรัฐต่างๆ State Production
(Metric ton)
JOHOR 143,963.00 NEGERI SEMBILAN 330.25 SELANGOR 504.05 PERAK 532.57 PULAU PINANG 681.64 KEDAH 1,121.17 PAHANG 768.64 TOTAL 156,110.92 ราคาสับปะรดหน้าฟาร์ม Year Price Price
(Cent/kg) (RM/Metric ton)
2000 17.00 170.00 2001 25.00 250.00 2002 25.00 250.00 2003 28.00 280.00 2004 33.00 330.00 2005 33.00 330.00 2006 33.00 330.00 2007 33.00 330.00 2008 39.00 390.00 หมายเหตุ : 1. อัตราแลกเปลี่ยน 1 ริงกิต ประมาณ 10 บาท 1 เซ็นต์ประมาณ 10 สตางค์
2. ราคาหน้าฟาร์มที่ชาวไร่ขายให้โรงงานเท่ากับกิโลกรัมละปะมาณ 3.90 บาท
หรือตันละประมาณ 3,900 บาท
Year Production
(metric ton)
2000 21,616 2001 20,662 2002 22,989 2003 22,844 2004 21,666 2005 22,257 2006 24,500 2007 17,900 2008 17,721 2. การส่งออก
การส่งออกสับปะรดสด
ในปี 2552 (มกราคม กันยายน) มาเลเซียส่งออกสับปะรดไปต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 15,362.09 เมตริกตัน โดยคิดเป็นมูลค่า 13.75 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.15 จากช่วงเดียวกันของปี 2551 โดยส่งออกไปสิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอารเบีย อิหร่าน
ปี 2551 มาเลเซียส่งออกสับปะรดไปต่างประเทศ 34,637 เมตริกตัน โดยคิดเป็นมูลค่า 22.34 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.63 เมื่อเทียบกับปี 2550 ซึ่งส่งออก 32,286 เมตริกตัน มูลค่า 20.97 ล้านริงกิต ยตลาดส่งออกสำคัญ คือ สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และอิหร่าน
การส่งออกสับปะรดกระป๋อง
ในปี 2552 (มกราคม กันยายน) มาเลเซียส่งออกสับปะรดกระป๋องรวมทั้งสิ้น 9,495 เมตริกตัน โดยคิดเป็นมูลค่า 24.04 ล้านริงกิต ลดลงร้อยละ 11.51 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีการส่งออก 11,067.32 เมตริกตัน มูลค่า 27.16 โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน และปากีสถาน
ปี 2551 มาเลเซียส่งออกสับปะรดกระป๋อง รวมทั้งสิ้น 12,530 เมตริกตันคิดเป็นมูลค่า 31.15 ล้านริงกิต ลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 33.83 ซึ่งมีการส่งออก 22,274 เมตริกตัน มีมูลค่า 47.08 ล้านริงกิต ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและตะวันออกกลาง
Year Quantity Value
(Metric ton) (Million RM)
2000 60,020 25.28 2001 76,629 32.91 2002 58,454 25.91 2003 64,989 28.23 2004 64,437 30.92 2005 52,474 26.91 2006 46,070 19.21 2007 32,286 20.97 2008 34,637 22.34 2009 (Jan-Sept) 15,362 13.75 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสับปะรดกระป๋อง Year Quantity Value
(Metric ton) (Million RM)
2000 16,305 38.40 2001 16,389 34.50 2002 19,228 39.80 2003 22,447 51.90 2004 19,837 48.70 2005 17,676 43.90 2006 17,547 43.30 2007 22,274 47.08 2008 12,530 31.15 2009(Jan-Sep) 9,495 24.04 3. การนำเข้า
มาเลเซียนอกจากเป็นประเทศผู้ส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศแล้ว ยังเป็นประเทศผู้นำเข้าจากต่างประเทศด้วย
การนำเข้าสับปะรดสด
ในปี 2552 (มกราคม กันยายน) มาเลเซียนำเข้าสับปะรดสด 668.17 เมตริกตัน มีมูลค่า 0.60 ล้านริงกิต ลดลงร้อยละ 34.65 เมื่อกับจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีมูลค่า0.93 ล้านริงกิต
ในปี 2551 มาเลเซีย นำเข้าสับปะรดสด มูลค่า 1.35 เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.58 เมื่อเทียบกับปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 0.714 ล้านริงกิต ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากไทยและไต้หวัน
การนำเข้าสับปะรดกระป๋อง
ในปี 2552 (มกราคม กันยายน) มาเลเซียนำเข้าสับปะรดกระป๋อง 490.30 เมตริกตัน มีมูลค่า 1.02 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 176.07 เมื่อกับจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีปริมาณ 196.82 เมตริกตัน 0.37 ล้านริงกิต
ในปี 2551 มาเลเซีย นำเข้าสับปะรดกระป๋อง 245.47 เมตริกตัน 0.471 ลดลงร้อยละ 57.10 เมื่อเทียบกับปี 2550 ซึ่งมีปริมาณ 484.65 เมตริกตัน มูลค่า 1.10 ล้านริงกิต ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากไทยและอินโดนีเซีย
สำหรับการนำเข้าผลไม้สดจากต่างประเทศของประเทศมาเลเซียนั้น ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า และเมื่อผลไม้มาถึงมาเลเซียแล้วเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียจะดำเนินการตรวจสอบสารเคมีตกค้างตามพระราชบัญญัติ Food Act อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะผลไม้สดที่มีปริมาณสารตกค้างทั้งที่ผิวเปลือกและของเนื้อไม้ ฉะนั้น ผู้ส่งออกควรระมัดระวังเรื่องสารเคมีตกค้างที่มากเกินไปจนทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะหากมีการตรวจพบ จะไม่ให้นำเข้าสู่ตลาดมาเลเซียอีกเลย
อัตราภาษีการนำเข้าสำหรับประเทศอาเซียน
- สับปะรดสด ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 80% ของมูลค่าการนำเข้า(C.I.F)
- สับปะรดกระป๋อง ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 0% ของมูลค่าการนำเข้า(C.I.F)
ทั้งนี้ การนำเข้าสับปะรดและผลิตภัณฑ์ จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้า(Import Permit) จากหน่วยงานด้านการควบคุมคุณภาพสินค้าอาหาร กระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซีย (Food Quality Control Division, Ministry of Health, Malaysia) รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2-3
ผลไม้ไทยเป็นที่นิยมของชาวมาเลเซีย แต่เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียยังคงเก็บภาษีการขายและภาษีนำเข้า ทำให้ต้นทุนของสินค้าสูงขึ้นมีผลต่อราคาที่สูงกว่าผลไม้ท้องถิ่น อย่างไรก็ตามราคาเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ชาวมาเลเซียตัดสินใจไม่เลือกซื้อผลไม้ไทย เนื่องจากชาวมาเลเซียมีระดับรายได้เฉลี่ยสูงกว่าคนไทยเกือบเท่าตัว ดังนั้นหากมีการวางแผนระยะยาวและทำประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผู้บริโภครับรู้และเห็นความแตกต่างระหว่างผลไม้ไทยและผลไม้ท้องถิ่นซึ่งจะเป็นการอาศัยประโยชน์จากราคาที่สูงกว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์และแบ่งชั้นระหว่างผลไม้ไทยและผลไม้ท้องถิ่นอย่างชัดเจน รวมทั้งในระยะยาวอาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนรสนิยมของผู้บริโภคให้หันมารับประทานผลไม้ไทยมากขึ้น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th