การลดค่าเงินด่องของเวียตนาม ... ผลกระทบต่อไทยและจีน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 6, 2010 14:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เวียตนามนับเป็นประเทศดาวรุ่งมาแรงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน กล่าวคือ เศรษฐกิจของเวียตนามในระหว่างปี 2543-2551 ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

ผู้ประกอบการต่างชาติได้หันมาให้ความสนใจลงทุนในเวียตนามมากขึน สำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ สินปี 2551 มีมูลค่ารวมกว่า 23,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนคนไทยจำนวนมากเริ่มอดนึกไม่ได้ว่า อีกไม่นานเศรษฐกิจของเวียตนามจะเติบใหญ่แซงหน้าประเทศไทยของเรา และหากเรายังไม่สามารถปรับทิศทางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเมืองให้เป็นเรื่องเป็นราว ไทยเราอาจต้องเริ่มแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นในกลุ่มอินโดจีนแทนในอนาคตอันใกล้

วิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ของเวียตนาม

เศรษฐกิจของเวียตนามนับว่าแล่นฉิวมาเป็นเวลาหลายปี และนับแต่ต้นปี 2552 รัฐบาลก็อัดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบผ่านการปล่อยสินเชื่อและโครงการพัฒนาโครงสร้างพืนฐานมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายคาดว่า เศรษฐกิจของเวียตนามในปี 2552 จะเติบโตในอัตราราวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา

แต่เครื่องยนต์เศรษฐกิจของเวียตนามก็ดูเหมือนส่งสัญญาณการสะดุดมาเป็นระยะ ดังจะเห็นได้จากปัญหาเงินเฟ้อ และการขาดดุลการค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึน ซึ่งตามด้วยการประกาศลดค่าเงินเป็นช่วง ๆ โดยล่าสุด ธนาคารกลางเวียตนามได้ลดค่าเงินด่องลงอีกกว่าร้อยละ 5 เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นครังที่ 3 ในรอบ 17 เดือน

ทั้งนี้ จากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจของเวียตนามในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาก่อนเหตุการณ์ประกาศลดค่าเงินด่อง สะท้อนว่าเวียดนามได้เผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจระลอกใหม่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

อัตราเงินเฟ้อที่สูง - การเข้ามาลงทุนของต่างชาติที่เพิ่มขึนอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บวกกับการขาดการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม ทำให้เม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจของเวียตนามเพิ่มสูงขึนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึนในอัตราที่สูง โดยในปี 2551 เวียตนามมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา และเคยสูงถึงร้อยละ 28 เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านัน

ในช่วงปี 2552 อัตราเงินเฟ้อของเวียตนามก็ส่งสัญญาณเตือนภัยอยู่หลายครังหลายหน กล่าวคือ ณ เดือนมิถุนายน 2552 อัตราเงินเฟ้อของเวียตนามพุ่งสูงถึงร้อยละ 25 และเพิ่มต่อไปถึงร้อยละ 28 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสูงที่สุดช่วงหนึ่งนับแต่เดือนมิถุนายน 2551 ขณะที่ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เพียงเดือนเดียว เงินเฟ้อของเวียตนามก็มีอัตราสูงถึงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 6 เดือน

การอ่อนค่าของเงินด่อง - ในช่วงปีที่ผ่านมาเงินด่องของเวียตนามสูญเสียความเชื่อมั่นจากตลาดลงไปมาก โดยมีค่าลดลงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในบรรดา 17 ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเซีย ขณะเดียวกันชาวเวียตนามก็ได้หันไปลงทุนซือทองคำเพื่อการเก็งกำไรเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ความต้องการเงินเหรียญสหรัฐฯ ในเวียตนามเพิ่มขึน ทำให้ค่าเงินด่องอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว

เช่น อัตราซือขายล่วงหน้าระยะเวลา 1 ปีลดลงเกือบร้อยละ 30 ซึ่งสะท้อนถึงการขาดความเชื่อมั่นที่มีต่อค่าเงินด่องในอนาคต แหล่งข่าวบางแห่งระบุว่า แม้กระทั่งชาวเวียตนามในบางพืนที่เองต่างก็หมดศรัทธาในค่าเงินด่อง จนถึงขนาดปฏิเสธการรับเงินด่องในการชำระเงินและหาแลกเงินสกุลแข็งผ่านตลาดค้าเงินที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องทางกฎหมาย ซึ่งทำให้อุปทานเงินด่อง (อุปสงค์เงินเหรียญสหรัฐฯ) ในระบบเพิ่มขึนอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อผนวกกับปัญหาเศรษฐกิจอื่นที่รุมเร้าก่อนหน้านีก็ทำให้ธนาคารกลางของเวียตนามดูเหมือนจะไม่มีทางเลือก นอกจากการประกาศลดค่าเงินด่องของตนเองลง

การขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาล - ความจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้านำเข้าและการส่งออก ณ เดือนพฤศจิกายน ที่ชะลอตัวลงถึงร้อยละ -11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาอันเนื่องจากการหดตัวของตลาดโลก ทำให้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เวียตนามประสบปัญหาการขาดดุลการค้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขการขาดดุลการค้าในปี 2552 เพิ่มขึนจาก 1,300 ล้านเหรียญฯ ในเดือนสิงหาคม ทะยานขึนเป็น 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน และเป็นกว่า 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม 2552 ทำให้การขาดดุลการค้าในช่วง 10 เดือนแรกของปีมีมูลค่ารวมสูงถึง 8,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ ณ เดือนพฤศจิกายน 2552 ก็มีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกินเป้าหมายที่รัฐบาลเวียตนามกำหนดไว้ก่อนหน้านี

การขาดดุลบัญชีทุน - เม็ดเงินจำนวนมากที่เคยหลั่งไหลเข้าเวียตนามชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปีที่ผ่านมา การชะลอตัวของการลงทุนทำให้บัญชีทุนติดลบมากขึนจาก -1,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2551 เป็น -5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 นอกจากนี การส่งเม็ดเงินของชาวเวียตนามในต่างแดนกลับประเทศในปีนีก็ลดลงถึงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สำรองเงินตราต่างประเทศของเวียตนามพลอยหดหายตามไปด้วย จาก 23,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อสินปี 2551 เหลือประมาณ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก่อนการลดค่าเงิน

การชะลอตัวของตลาดหลักทรัพย์ - ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์เวียตนามมีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยในปี 2551 ดัชนีฯ ลดลงเหลือ 235 จุด ชะลอตัวกว่าร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และพุ่งขึนไปถึง 640 จุดก่อนลงแตะ 482.6 จุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552

ผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนของไทยและจีน

ผลกระทบต่อการค้า ภาคการค้าระหว่างประเทศของเวียตนามดูเหมือนจะได้รับผลกระทบจากการลดค่าเงินด่องในหลายมิติ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจในอันดับแรกก็คือ ในช่วงที่ผ่านมา (ก่อนการลดค่าเงิน) ค่าเงินด่องลดค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาท แต่เปลี่ยนไปในทิศทางที่คล้ายคลึงเมื่อเทียบกับเงินหยวนของจีน (ซึ่งอ่อนค่าลงตามเงินเหรียญสหรัฐฯ) ดังนัน ในหลักการแล้ว การลดค่าเงินด่องในครังนีจึงทำให้สินค้าส่งออกของไทยไปยังตลาดเวียตนามจะมีราคาเพิ่มสูงขึนในความรู้สึกของผู้บริโภคในเวียตนาม และเทียบกับของสินค้าจีน ซึ่งอาจกระทบให้การส่งออกของไทยไปยังตลาดนีลดลงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าที่ต้องแข่งขันกับของท้องถิ่นและของจีน ซึ่งในกรณีหลังนี ความได้เปรียบของสินค้าส่งออกของไทยในตลาดเวียตนามเมื่อเทียบกับของจีนอันเนื่องจากอากรนำเข้าที่แตกต่างกัน ก็จะหมดลงในปี 2553 ตามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน

ขณะเดียวกัน สินค้าส่งออกของเวียตนามจะถูกลงในเชิงเปรียบเทียบในตลาดต่างประเทศ สินค้าส่งออกของไทยซึ่งต้องแข่งขันกับของเวียตนามในตลาดที่ 3 อาทิ ข้าว สิ่งทอและเสือผ้าสำเร็จรูป และเครื่องหนัง ก็จะประสบปัญหาในการแข่งขันด้านราคามากขึนด้วยเช่นกัน ตลาดดังกล่าวครอบคลุมตังแต่ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ตะวันออกกลาง และแอฟริกา สิ่งนีอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกของไทย การแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในระดับรากหญ้า และการฟืนตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคต

ในด้านการค้าระหว่างเวียตนามกับจีนนัน การลดค่าเงินด่องอาจไม่ได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาให้กับสินค้าของเวียตนามเมื่อเทียบกับของจีนมากเท่าใดนัก แต่อาจช่วยลดปัญหาการนำเข้าสินค้าจีนได้บ้างเท่านัน เพราะค่าเงินหยวนของจีนได้ลดค่าลงไปตามเงินเหรียญสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก (กว่าร้อยละ 10) ก่อนหน้านี

ทั้งนี้ ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าสำคัญของเวียตนาม (ร้อยละ 16) ในระดับที่ใกล้กับของประเทศในกลุ่มอาเซียน (ร้อยละ 18) กล่าวคือ จีนเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าสำคัญของเวียตนาม (ร้อยละ 23 ของมูลค่าการนำเข้าโดยรวม) ซึ่งมากกว่าการนำเข้าจากสหภาพยุโรป 3 เท่าและมากกว่าการนำเข้าจากอาเซียนนับพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ขณะเดียวกันจีนเป็นตลาดสำคัญอันดับ 3 ของเวียตนาม (ร้อยละ 8) รองจากสหรัฐฯ (ร้อยละ 20) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 15)

นอกจากนี ผมยังตรวจพบว่า ผู้ประกอบการของเวียตนามหลายรายยังรีรอดูท่าทีในการดำเนินธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะผู้นำเข้าที่ต่างชะลอการดำเนินพิธีการศุลกากรนำเข้าสินค้าและบริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อรอดูสถานการณ์ค่าเงินด่องในอนาคตอันใกล้ สถานการณ์ดังกล่าวย่อมไม่เป็นผลดีต่อภาคการผลิตเพื่อการส่งออกของเวียตนามที่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจำนวนมาก โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ผู้ส่งออกเวียตนามต้องเร่งส่งมอบสินค้าให้ทันช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน ดังนัน หากพิจารณาในประเด็นนีแล้ว ก็ถือว่าเป็นโอกาสของกิจการส่งออกของไทยที่จะเข้าไปรองรับตลาดดังกล่าว

ผลกระทบต่อการลงทุน นับแต่ต้นปี 2552 เศรษฐกิจของจีนยังคงขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ และฟืนตัวอย่างชัดเจนนับแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา โดยหลายฝ่ายคาดว่าค่าเงินหยวนจะต้อง

ปรับเพิ่มค่าขึ้นกว่าร้อยละ 10 ในปี 2553 (แม้ว่ารัฐบาลจีนจะออกมาให้ข่าวปฏิเสธการเพิ่มค่าเงินหยวนหลายครั้งหลายหนแล้วก็ตาม) ในทางกลับกัน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเงินยังให้ข้อมูลว่าการลดค่าเงินด่องเพียงประมาณร้อยละ 5 ในครั้งนี้ยังต่ำกว่าการอ่อนค่าของเงินด่องในตลาดซื้อขายอย่างไม่เป็นทางการที่เกิดขึนก่อนหน้า (กว่าร้อยละ 8) ทำให้ตลาดมืดตอบสนองในเชิงลบ ซึ่งยิ่งจะกดดันให้ค่าเงินด่องมีค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริง

ภายใต้สถานการณ์ที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ และค่าเงินของคู่แข่งขันที่ผูกกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อาทิ เงินหยวนของจีน มีแนวโน้มอ่อนค่าลง รวมทังราคาทองคำที่เพิ่มขึน การลดค่าเงินด่องในครังนียังอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของเวียตนามในระยะยาวได้ กอรปกับความไม่มั่นใจของนักลงทุนต่างชาติต่อความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาค่าเงินด่อง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในเวียดนามต่างชะลอการปล่อยสินเชื่อ ธุรกิจภายในประเทศเกิดปัญหาสภาพคล่อง และต่างชาติชะลอแผนการลงทุน ประการสำคัญ แรงกดดันดังกล่าวอาจหมายถึงการลดค่าด่องครังใหม่ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งหากปัญหานีไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจทำให้กิจการของต่างชาติตัดสินใจเลือกเข้าไปลงทุนในจีนเพื่อเอาประโยชน์จากค่าเงินหยวนที่เพิ่มค่าขึนและลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน

สำหรับประเทศไทย สถานการณ์การเมืองที่ยังไม่นิ่งและกรณีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการลงทุนที่มาบตาพุด ก็ดูเหมือนจะทำให้ไทยยังไม่สามารถเป็นทางเลือกที่จะเข้ามาสอดแทรกดึงเอาการลงทุนของต่างชาติจากเวียตนามไปได้

การรับมือของไทย

กลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง อาทิ ผู้ส่งออกและนำเข้ากับประเทศเวียตนาม รวมทังนักลงทุนของไทยในเวียตนามควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าเงินด่องของเวียตนามอย่างใกล้ชิด และเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ โดยอาจใช้ประโยชน์จากกลไกของธนาคารพาณิชย์ไทยในเวียดนามให้มากขึน

นอกจากนี นักลงทุนของไทยยังควรพิจารณาชะลอการลงทุนใหม่ในเวียดนามออกไปก่อน อย่างน้อยจนกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของเวียตนามจะมีความชัดเจนขึน เพราะผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายต่างคาดว่าธนาคารกลางของเวียตนามอาจทนแรงกดดันจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าไม่ไหว และอาจต้องประกาศลดค่าด่องอีกครังในอนาคตอันใกล้

ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลังควรคิดหามาตรการความช่วยเหลือระยะสันแก่ผู้ส่งออกไทย และเดินหน้าเต็มที่กับมาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทยในระยะยาว

รวบรวมและเรียบเรียงโดย

ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ผอ. สคต. ณ นครเซี่ยงไฮ้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ