รายงานสถานการณ์ส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจาเดือนพฤศจิกายน 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 8, 2010 17:42 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์ส่งออก

ในช่วง 11 เดือน (ม.ค. — พ.ย.) ของปี 2552 ไทยสํงออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้นมูลคำ 1,182.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีกํอนซึ่งส่งออกมูลค่า 1,855.2 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ -36.25 โดยมีสินค้าส่งออกสาคัญ 5 อันดับแรกได๎แกํ อัญมณีและเครื่องประดับ 149.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (-13.10 %) ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง 87.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (-12.29%) เครื่องปรับอากาศและสํวนประกอบ 85.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (-52.01%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 60.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (-32.12%) และรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 49.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (-46.94 %)

2. สาเหตุที่การส่งออกลดลง

เหตุผลที่การส่งออกมาอิตาลีในช่วง 11 เดือน (ม.ค. — พ.ย.) ของปี 2552 ลดลงร้อยละ -36.25 เนื่องจาก

2.1. โดยที่เป็นช่วงใกล้สิ้นปีที่จะต้องทำการปิดงบบัญชีการเงิน ทำให้ผู้ประกอบการอิตาลีส่วนใหญ่หยุดการสั่งซื้อและพยายามระบายสินค้าในสต็อกที่มีอยู่ถึง 20-30 % ออกขายให้มากที่สุด เพื่อเป็นการลดต้นทุนและการบริหารสต็อกในช่วงสิ้นปีและรอดูสถานการณ์ตลาดในช่วงหลังปีใหม่ก่อนการสั่งซื้อต่อไป

2.2. แม้สภาวะเศรษฐกิจอิตาลีจะได้ผ่านพ้นจุดวิกฤตไปแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นต้นมา และเริ่มฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ แต่อิตาลียังคงมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปี 2553 อันเนื่องมาจากปัญหาเนื่องมาจากการว่างงานที่ยังคงค่อนข้างสูง โดย ISTAT ได้รายงานวำอัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 52 สูงถึง 8.2% ซึ่งนับว่าสูงสุดนับตั้งแตํปี 2547 เป็นต้นมา ปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการและปัญหาการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ต้องพยายามบริหารให้สมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่าย เป็นต้น

2.3. ครอบครัวอิตาเลี่ยนยังคงประสบกับความลำบากในการใช้จ่ายเงินโดยร้อยละ 50 มีปัญหาในการจ่ายค่าเช่าบ้าน ร้อยละ 25 มีปัญหาในการชำระหนี้การกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราค่าเช่าบ้านที่เพิ่มขึ้นถึง +105% จากปี 2534 และราคาบ้านเพิ่มสูงขึ้นถึง + 164% ในขณะที่มีรายได้เพิ่มขึ้นเพียง +18%

2.4. OECD ได้คาดการว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะกระเตื้องขึ้นจากการค้าโลกที่ฟื้นตัวขึ้นแต่ปัญหาจากต้นทุนแรงงานที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก จะมีผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง และภาวะเงินเฟ้อลดลง ในขณะที่การว่างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การที่อิตาลีมีหนี้สาธารณะสูงเป็นที่ 3 ของโลกรองจากสหรัฐและญี่ปุ่น ทำให้อิตาลีไม่สามารถออกมาตรการที่มีวงเงินงบประมาณขนาดใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ OECD คาดการณ์ว่า GDP ของอิตาลีในปี 2552 จะเท่ากับ -4.8%, +1.1% ในปี 2553 และ +1.5% ในปี 2554

2.5. ในภาพรวมการนำเข้าของอิตาลี(ข๎อมูลจาก World Trade Atlas) ในช่วง 8 เดือน(ม.ค.-ก.ย.)ของปี 2552 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกมูลคำ 295,201 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -32.71 ซึ่งนำเข้าลดลงจากแทบทุกประเทศ ยกเว้น รัสเซีย (+14.05% ครองตลาดอันดับที่ 6)สินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ น้ำมันดิบ (88.09% ของการนาเข้าทั้งหมด) เหล็กและเหล็กกล้า ปุ๋ย อัลจีเรีย (+361.70% ครองตลาดอันดับที่ 14) สินค้านำเข้าสาคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ(98.96% ของการนำเข้าทั้งหมด) และนอรเวย์ (+33.76% ครองตลาดอันดับที่ 26) สินค้านำเข้าสาคัญได้แก่ น้ำมันดิบ (85.22% ของการนำเข้าทั้งหมด) อะลูมิเนียมและเครื่องจักร

2.6 ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์สาเหตุการนำเข้าที่ลดลงอย่างมีนัยสาคัญแยกรายสินค้าได้ดังนี้

2.6.1 อัญมณีและเครื่องประดับ

การส่งออกช่วง 11 เดือน(ม.ค. — พ.ย.)ของปี 2552 มีมูลค่า 149.3 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 171.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -13.10 เนื่องจาก

(1) เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและไม่ได้เป็นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจาวัน ทำให้ผู้บริโภคชาวอิตาเลี่ยนประหยัดการใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อใช้ซื้อสินค้าที่จำเป็นอื่นๆ

(2) ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของอิตาลีได้ลดการผลิตลงประมาณร้อยละ 20 อันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาทองในตลาดโลกสูงขึ้น

(3) อย่างไรก็ดี หาพิจารณาเฉพาะเดือนพ.ย. 52 ปรากฎว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ 21.76 เนื่องจากเป็นช่วงใกล้คริสมาสต์และปีใหม่ซึ่งผู้นำเข้าคาดว่าจะสามารถทำยอดขายในช่วงเทศกาลดังกล่าวได้

(4) อุตสาหกรรมจิวเวลรี่ของอิตาลีซึ่งตั้งอยู่แถบเมืองอเรชโซ่และวิเชนซ้ำต้องประสบปัญหาวิกฤตมาตั้งแต่ 7 ปีที่แล้วมีบริษัทผู้ประกอบการกว่า 10,000 บริษัท จำนวนคนงาน 45,000 คน (หากรวมเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายด้วยจะสูงถึง 120,000 คน) ซึ่งผลจากปัญหาดังกล่าวทำให้จำนวนผู้ประกอบการลดลง 12-20% และจำนวนคนงานลดลง 14-15 %

(5) ปัจจุบันผู้ประกอบการต้องปรับตัวและผลิตสินค้ตามความต้องการของตลาดเช่น บางรายยังคงรักษา Brand และตลาดที่เป็น Niche Market บางรายผลิตสินค้าที่มีแฟชั่นดีไซน์เฉพาะตัวสาหรับตลาดขนาดกลางแบบ mass market และบางรายผลิตสินค้าที่เป็นแบบ “useful jewelry” และ “Easy jewelry” คือสวมใส่ง่ายในราคาและคุณภาพที่ดี ซึ่งมิใช่เฉพาะวัตถุดิบแต่รวมถึงนวัตกรรมการออกแบบและดีไซน์ใหม่ๆ เทรนด์ของสินค้าที่มีแนวโน้มที่ดีคือต้องผสมผสานระหว่างการใช้ทองคาขาวพลอยสีทั้งราคาถูกและแพง รวมทั้งเพชรและมุก

(6) จากข้อมูลการนำเข้า (9 เดือนแรกของปี 52) ของอิตาลีปรากฎว่าไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 16 (สัดส่วนตลาด 1.02% ) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์(25.52%) อาฟริกาใต้(12.81%) สหรัฐอเมริกา(10.25%) ฝรั่งเศส(7.89%) และสหราชอาณาจักร(6.62%) ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ จีน(อันดับที่ 7 สัดส่วนตลาด 3.37%) ฮ่องกง(1.08%) อินเดีย(1.00%)

2.6.2 ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง

การส่งออกในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ของปี 2552 มีมูลค่า 87.8 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 100.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ -12.29 เหตุผลเนื่องจาก

(1) ผู้นำเข้าได้สั่งซื้อและนำเข้ามาก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากเป็นช่วงใกล้เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ โดยจะเห็นได้ว่าการส่งออกในเดือนต.ค. 52 มีมูลคำเพิ่มขึ้นจากเดือนกํอนหน๎าถึงร๎อยละ 55.60

(2) ผลจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจทาให้ผู้นำเข้าพยายามขายสินค้าในสต็อกซึ่งจะมีประมาณ 15% ออกไปก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าหมดอายุและค่าใช้จ่ายในการเก็บสต็อกประกอบกับเป็นช่วงใกล้สิ้นปีที่ต้องปิดงบบัญชี ผู้นำเข้าจึงไม่นิยมซื้อสินค้าในช่วงนี้และจะเลื่อนไปสั่งซื้ออีกครั้งในช่วงต้นปีหน้า

(3) ช่วงเทศกาลคริสต์มาส คนอิตาเลียนจะนิยมทานอาหารทะเลสดและนิยมออกไปทานอาหารนอกบ้านมากกว่า

(4) ISMEA (Italian Institute for the Agro Alimentary Market) ได้ประมาณการมูลค่าการขายสินค้าอาหารทะเลในตลาดอิตาลีในปี 2552 วำจะอยู่ในราว 993 ล้านยูโร ปริมาณ 103,000 ตัน เพิ่มขึ้น +3.3 % แยกเป็นแบบ Fresh and Chilled 52% แบบpreserved 13% และ แบบ Dried, Salted & smoked 7% โดยช่องทางการจาหน่ายที่ขายดีที่สุดได้แก่การขายผ่านห้างขนาดใหญํ สํวนร้านขนาดเล็กที่ขายเฉพาะอาหารทะเลจะมียอดขายคงที่

(5) อิตาลีจะนาเข้าอาหารทะเลสดจากประเทศในภูมิภาคยูโรปเป็นส่วนใหญ่ ส่วนอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งจะเข้าจากไทยและเวียดนามซึ่งมีการนำเข้าลดลงจากทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะปลาหมึก Squid และ Octopus

(6) จากการสอบถามกับผู้นำเข้าแจ้งว่าผู้ส่งออกไทยควรปรับปรุงและพัฒนาสินค้าให้มี Value added มากขึ้นแทนการส่งออกเป็นปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็งธรรมดาซึ่งจะต้องขายแข่งขันกับคู่แข่งสาคัญคือจีนและเวียดนาม ซึ่งผู้นำเข้าเห็นว่าผู้ส่งออกไทยมีศักยภาพในด้านนี้อยู่แล้ว

(7) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 6 (สัดส่วนตลาด 4.26%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ สเปน(17.40%) เนเธอร์แลนด์ (8.85%) เดนมาร์ก (8.11%) ฝรั่งเศส(7.81%) และกรีซ(6.38%)

ประเทศคู่แข่งสาคัญได๎แกํ เวียดนาม (สัดส่วนตลาด 3.08%) อินเดีย(2.07%) จีน(1.52%) และอินโดนีเซีย(0.98%)

2.6.3 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

การส่งออกในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ของปี 2552 มีมูลค่า 85.3 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 177.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ —52.01 เนื่องจาก

(1) เป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ และตลาดค่อนข้างจากัดผู้ประกอบการแจ้งว่ายังคงมีสินค้าค้างสต็อกอยู่ราว 16% นอกจากนี้สมาคมผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของอิตาลีได้ประมาณการว่าการผลิตในปี 2553 จะลดลงถึงร้อยละ 40

(2) ผู้บริโภคหยุดการซื้อเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว และคาดว่าความต้องการซื้อจะเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน ในเดือนพฤษภาคม 2553 เป็นต้นไป

(3) อย่างไรก็ดี หากพิจารณาการนาเข้าเฉพาะเดือน พ.ย.52 จะเห็นว่ามีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน +9.05% ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการมีการออกโปรโมชั่นส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เช่น การลดราคาสำหรับสินค้า “out of Season” การลดราคาการติดตั้งและการจัดเจ้าหน้าที่เทคนิคไว้บริการอย่างเต็มที่ซึ่งหากเป็นการซื้อในช่วงฤดูร้อนจะต้องมีการทำนัดและใช้เวลารอนานถึง 20 วัน

(4) ผู้ประกอบการอิตาลีซึ่งจาหนำยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านรายใหญ่ให้ความเห็นวำแม้ตลาดจะได๎รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมากแต่ผู้ประกอบการก็ยังประคองตัวอยู่ได่เนื่องจากมีการขายสินค้าหลายตัว โดยในบางครั้งหากยอดขายเครื่องปรับอากาศลดลง แตํในทางกลับกันยอดขายพัดลมไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีราคาถูกกว่าและสามารถใช้ทดแทนกันได้

(5) สมาคมผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบแห่งอิตาลี (ANIE) ให้ความเห็นว่า สินค้าเครื่องปรับอากาศที่จะมีศักยภาพและมีแนวโน้มตลาดที่ดีต้องเป็นเครื่องปรับอากาศคุณภาพพรีเมียม(เกรด A) ที่ประหยัดพลังงานและใช้ได้ทั้งระบบความเย็น และความร้อนในตัวเดียวกันซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมาแทนที่เครื่องปรับอากาศแบบเดิมๆ

(6) ไทยครองตลาดเป็นอันดับ 3 โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน (สัดส่วนตลาด 31.15%) เบลเยี่ยม (10.57%) ไทย (10.01%) ญี่ปุ่น (8.93%) และฝรั่งเศส (4.93%) สํวนประเทศคู่แข่งสาคัญ ได้แก่ เกาหลีใต้ (2.98%) มาเลเซีย (2.83%) ไต้หวัน (0.24%)

2.6.4 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

การส่งออกในชํวง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ของปี 2552 มีมูลคำ 60.2 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 88.6 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ -32.12 เนื่องจาก

(1) ความต้องการบริโภคในตลาดอิตาลีสำหรับสินค้าประเภทกระป๋องและแปรรูปจะน้อยกว่าความต้องการบริโภคอาหารทะเลแบบสด เนื่องจากคนอิตาเลี่ยนไม่นิยมบริโภคอาหารแบบกระป๋อง อย่างไรก็ดี คนอิตาเลี่ยนยังคงซื้ออาหารกระป๋องและแปรรูปเพื่อเก็บสารองไว้ในบ้านกรณีฉุกเฉิน สามารถเก็บไว้ได้นานไม่เน่าเสียง่ายเท่ากับอาหารประเภทของสดและสะดวกในการปรุงอาหารสำหรับเด็ก

(2) ตลาดอาหารกระป๋องและอาหารแปรรูปในอิตาลีมีมูลค่าการขายประมาณปีละ 190 ล้านยูโร ปริมาณ 19,000 ตัน โดยปลาทูน่ากระป๋อง(ทั้งชนิดในน้ำเกลือและน้ำมัน) ครองตลาดมากที่สุดถึง 70 % ตามด้วยปลาแมคเคอเรลกระป๋อง (20%) และอื่นๆ(10%)

(3) ผู้นำเข้าอิตาลีได้ให้ความเห็นว่าสินค้าจากไทยมีคุณภาพสูงกวำสินค้าที่นำเข้าจากประเทศอื่น เช่น โมรอคโค อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน

(4) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 11 (สัดส่วนตลาด 1.82%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ ฝรั่งเศส(19.51%) เยอรมัน(12.59%) สเปน(10.53%) เนเธอร์แลนด์ (10.16%) และจีน(8.80%)

ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ โมรอคโค (0.71%) อาร์เจนตินา(0.64%) และฟิลิปปินส์(0.33%)

2.6.5 รถยนต์/อุปกรณ์และสํวนประกอบ

การส่งออกในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ของปี 2552 มีมูลค่า 49.5 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 93.3 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ -46.94 เนื่องจาก

(1) เป็นภาคอุตสาหกรรมสาคัญของอิตาลีที่ดีรับผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจมากที่สุดโดยรัฐบาลต้องออกมาตราการช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อภายในประเทศ เช่น ให้เงินโบนัส 1,500 - 3,500 ยูโร สาหรับการซื้อรถใหม่ที่ประหยัดพลังงาน ลดมลพิษตั้งแต่ พ.ย. 51 เป็นต้นมา ซึ่งมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวจะหมดอายุลงในปี 2552 นี้ แต่ขณะนี้รัฐบาลอิตาลียังไมํมีผลการพิจารณาต่ออายุมาตราการช่วยเหลือสาหรับปี 2553 ออกมาทาให้ผู้นำเข้าชะลอการสั่งซื้อและทะยอยขายสินค้าในสต็อกออกไปก่อน

(2) สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอิตาลี (ANFIA-Italian Association of Automotive Industries) รายงานว่าในช่วง 11 เดือน(ม.ค.-พ.ย.) ของปี2552 มียอดการจดทะเบียนรถยนต์ใหมํ 1.9 ล้านคัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน —1.4% และในส่วนของผู้ประกอบการแจ้งว่ามูลค้าการค้า(turnover) ลดลงถึง - 30% โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมและพาณิชย์ซึ่งลดลงถึง -50% ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับมาตราการช่วยเหลือด้านการเงินดังกล่าว

(3) ผลจากมาตราการชํวยเหลือด้านการเงินที่รัฐบาลจัดสรรเงินให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ทาให๎ตลาดรถยนต์ประเภท Ecological car ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 5%เป็น 17% โดยในชํวง 11 เดือน(ม.ค.-พ.ย.) ของปี 2552 มียอดคำสั่งซื้อรถใหม่จานวน 2.075 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10

ทั้งนี้ สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์แห่งอิตาลี( UNRAE- Italian Association of cars importer) คาดว่าในปี 2552 จะมียอดคาสั่งซื้อรถทั้งสิ้น 2.150 ล้านคัน แนวโน้มของรถยนต์ที่มีศักยภาพในตลาดอิตาลีจะเป็นรถที่ผลิตในอิตาลี เป็นรถแบบประหยัด(ecological car)และใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ ส่วนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลจะมีความต้องการลดลง

(4) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 23 (สัดส่วนตลาด 0.23%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน(37.86%) ฝรั่งเศส(10.95%) สเปน(10.23%) โปแลนด์ (9.91%) และญี่ปุ่น(4.80%) คู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน(สัดส่วนตลาด 1.84%) อินเดีย(1.43%) เกาหลีใต้(1.41%) และไต้หวัน(0.70%)

ทั้งนี้ จากข้อมูลการนำเข้าช่วง 8 เดือน (ม.ค. — ก.ย.) ของปี 2552 ของ WTA การนำเข้าของอิตาลีจากทั่วโลกลดลง ยกเว้น อินเดีย(+26.36%) โรมาเนีย(+58.59%) และสวิสเซอร์แลนด์ (+7.92%)

2.6.6 ยางพารา

การสํงออกในชํวง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ของปี 2552 มีมูลคำ 45.9 ล๎านเหรียญสหรัฐลดลงจากชํวงเดียวกันของปีกํอนซึ่งสํงออก 134.0 ล๎านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร๎อยละ -65.75 เหตุผลเนื่องจาก

(1) กลุ่มอุตสาหกรรมตํอเนื่องของอิตาลีที่ใช๎ยางพาราเป็นวัตถุดิบ ได๎แก่ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นสํวนอุปกรณ์รถยนต์ (30%) ทํอยางและเทปยางเพื่อการหีบห่อ(20%)ที่อย่างที่ใช๎ในระบบไฮโดรลิก(10%) อุตสาหกรรมที่ใช๎ยางในการตกแตํงภายใน(10%) เครื่องจักรที่มียางเป็นสํวนประกอบ (15%)อุตสาหกรรมผลิตยางปูพื้น (10%) อุตสาหกรรมรองเท๎า (5%) เป็นกลุ่มที่ได๎รับผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจคํอนข๎างมาก

(2) ประเทศผู้ผลิตยางพาราธรรมชาติที่สาคัญ ได๎แกํ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีผลผลิตลดลงอันเนื่องมาจากภาวะน้าท่วม ทาให๎ราคายางเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเป็นชํวงปลายปีที่ผู้ประกอบการและผู้นาเข้าต้องจัดทางบดุลและงบการเงินประจาปี สํงผลให๎ผู้น้ำเข้าเลื่อนและชะลอการสั่งซื้อออกไปจนถึงปีหน๎า

(3) อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือและถุงมือยางที่ใช๎ในการแพทย์และอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ได๎รับมาตราการชํวยเหลือจากรัฐบาล

(4) ในภาพรวมข้อมูลการนำเข้าของอิตาลีในช่วง 9 เดือน (ม.ค. — ก.ย.)ของปี 52 จาก WTA อิตาลีนำเข้ายางพาราธรรมชาติจากทั่วโลก ลดลงถึงร้อยละ -61.57 โดยไทยครองตลาดเป็นอันดับ 1 (สัดส่วนตลาด 31.17%) รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย (16.19%) โคดิวัวร์ (15.39%) มาเลเซีย (10.54%) และเวียดนาม (7.06%)

2.6.7 เคมีภัณฑ์

การส่งออกในชํวง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ของปี 52 มีมูลคำ 42.7 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 97.6 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ -56.24 เนื่องจาก

(1) ผู้ประกอบการและผู้นำเข้าอิตาลียังคงมีความกังวลและไม่มั่นใจต่อภาวะตลาดในปีข๎างหน้า ประกอบกับต๎องประสบปัญหาจากการชาระเงินของลูกค้ารวมทั้งข้อจำกัดในการขอรับสินเชื่อจากธนาคาร ทาให้ผู้ประกอบการและผู้นำเข้าชะลอการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเก็บในสต็อกคราวละมากๆ แตํจะใช้วิธีสั่งซื้อตามคำสั่งซื้อและในปริมาณไม่มาก

(2) ผู้ผลิตได้ลดการผลิตลงระหว่าง 10-30 % และใช้กำลังการผลิตเพียง 27% ซึ่งเป็นผลจากคาสั่งซื้อที่ลดลงทำให้ผู้ผลิตมีต้นทุนคงที่สูงขึ้นและกำไรลดลงซึ่งไม่จูงใจให้ผู้ประกอบการลงทุนในการพัฒนาสินค้า อย่างไรก็ดี คาดวำในปี 2553 ความต้องการสินค้าเคมีภัณฑ์ในอิตาลีจะเพิ่มสูงขึ้น +3.5% และปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น +3.7%

(3) อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ การก่อสร้างได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมากทำให้ความตองการในประเทศลดลงส่งผลให้รัฐบาลต้องออกมาตราการ House Plan รวมทั้งลงทุนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการซึ่งคาดว่จะมีผลได้ในปี 2553 เป็นต้นไป

(4) สมาพันธ์อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์แห่งอิตาลี (Italian Chemical Industries Federation-FEDERCHIMICA) ได้คาดการว่ในปี 2553 ตลาดเคมีภัณฑ์ของอิตาลีจะมีมูลค่าประมาณ 5,500 ล้านยูโร ลดลงจากปีก่อน -16.4%

(5) ผลจากความต้องการที่ลดลงทำให้การแข่งขันในตลาดสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการอิตาลีหันมาใช้นโยบายด้านราคาเป็นหลัก ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องคานึงถึงการขายสินค้าในราคาที่แข่งขันได้ นอกเหนือไปจากคุณภาพสินค้าที่ยังต้องอยู่ในระดับมาตรฐานและเน้นด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมด้วย

(6) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 32 (สัดส่วนตลาด 0.14%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรกได๎แกํ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด 26.25%) ฝรั่งเศส (16.35%) เนเธอร์แลนด์ (10.07%) เบลเยี่ยม (7.27%) และสหรัฐอเมริกา (6.39%)

ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ อินโดนีเซีย (1.51%) ซึ่งอิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างนัยสาคัญ ถึง +279.22% ญี่ปุ่น (3.21%) จีน (1.36%) อินเดีย (0.54%) ไต๎หวัน (0.25%) มาเลเซีย (0.20%) และเกาหลีใต๎ (0.15%)

3. อนึ่ง สคต.โรม มีข้อสังเกตว่าสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นสินค้าที่ยังมีโอกาสและศักยภาพในตลาดอิตาลีคํอนข๎างมากโดยในปี 2552 อิตาลีนาเข้าสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงจากไทยในอัตราที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดนอกจากนี้ ยังพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงของอิตาลีมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยปีละ 5 % และเป็นสินค๎าที่ได๎รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจคํอนข๎างน๎อยเชํนเดียวกันกับ สินค๎าอาหาร โดยอิตาลีจะมีจานวนสัตว์เลี้ยงราว 60 ล๎านตัว (ร๎อยละ 90 เป็นสุนัขและแมว)

ข้อมูลจากสมาคมอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งอิตาลี (Italian Association of petfood —ASSALCO) คาดการการว่ายอดขายอาหารสัตว์ในปี 2552 จะมีมูลค่า 1.23 ล้านยูโร ปริมาณ 450,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 5.6% แยกเป็นอาหารแบบเปียก (wet food ) คิดเป็นร้อยละ 56.6 และแบบแห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.5 นอกจากนี้ ยังพบว่าแนวโน้มตลาดที่ดีคืออาหารสัตว์แบบ Snack ซึ่งเป็น niche market และมีอัตราการขยายตัวถึง +12.4% อยำงไรก็ดี การแข่งขันในตลาดอิตาลีค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงในอิตาลีจะเน้นสินค้าที่มีความหลากหลายและมีรสชาติที่สามารถสนองความต้องการได้ทั้งในด้านของขนาด ความหลากหลาย อายุและไลฟ์สไตล์ของสัตว์ชนิดนั้นๆ

ไทยครองตลาดอันดับที่ 6 (สัดส่วนตลาด 6.59%) โดยมีประเทสที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ ฝรั่งเศส (สัดส่วนตลาด 31.00%) เนเธอร์แลนด์(11.65%) เยอรมัน(11.8%) เบลเยี่ยม(8.35%) และสเปน (6.90%)

ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (สัดส่วนตลาด 0.45%) มาเลเซีย (0.07%)

ทั้งนี้ โอกาสที่สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทยจะเข้าสู่ตลาดอิตาลียังคงมีอีกมาก ซึ่งนอกเหนือจากอาหารสัตว์เลี้ยงแล้วยังมีสินค๎าที่เกี่ยวเนื่องกัน เชํน เครื่องประดับ ของขบเคี้ยวและของเลํนสาหรับสัตว์เลี้ยงเป็นต้น

4. ข้อคิดเห็น

4.1 เศรษฐกิจอิตาลีเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นและเป็นการฟื้นตัวอยำงช้าๆ ในขณะที่มีปัญหาการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นและมีหนี้สาธารณะที่สูงเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐและญี่ปุ่น ทาให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในการใช๎จำยและเลือกซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็นและในราคาถูก อย่างไรก็ดี หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตำง ๆ ของรัฐบาลทั้งมาตรการ House Plan และโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ มีผลในทางปฏิบัติซึ่งคาดว่าจะมีผลได๎ในปี2553 ก็นำจะมีผลช่วยให้ภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีในปี 2553 ฟื้นตัวอย่งเป็นรูปธรรมมากขึ้น

4.2 สินค้าที่คาดว่ายังคงมีศักยภาพได้แก่ จิวเวลรี่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบและอาหารสัตว์เลี้ยง

สานักงานสํงเสริมการค๎าในตำงประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ