ข้อมูลผลกระทบตามที่ไทยมีสินค้าผูกพันตามข้อตกลง AFTA จำนวน 23 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 11, 2010 16:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศ

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ข้อมูลเชิงลึกผลกระทบ AFTA ในมุมมองของประเทศฟิลิปปินส์

รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ผลิตในประเทศ จากการใช้ Full Implementation ของ AFTA-CEPT ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา โดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ยังคงสงวนสินค้าการเกษตร 2 รายการ คือ ข้าวและน้ำตาล ไว้ในบัญชี Sensitive list โดยสินค้าอื่นๆ ได้เตรียมมาตรการเบื้องต้นไว้รองรับ คือ การกำหนดมาตรฐานการนำเข้าและมาตรฐานด้านสุขอนามัย แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์มีมุมมองที่เป็น Positive ต่อ AFTA โดยมีความเชื่อว่า AFTA จะทำให้การค้าในภูมิภาคอาเซียนหรือ Intra-Reginal Trade ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น การลงทุน FDI จากต่างประเทศจะเข้ามาสู่ ASEAN มากขึ้น กลุ่มประเทศอาเซียนจะเกิดการจัดกลุ่มกันระหว่างกลุ่มประเทศที่เป็น Labor intensive เช่นเวียดนาม ลาว กัมพูชา และกลุ่มที่ผลิตสินค้า intermidiate Goods เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเชีย

รายการสินค้าที่ได้รับผลกระทบระบุกระทบอย่างไร ด้านบวก/ลบ

กลุ่มสินค้าที่รัฐบาลฟิลิปปินส์มีความกังวลมากที่สุดและจะได้รับผลกระทบด้านลบ คือ สินค้าเกษตรประเภท พืช ผัก ผลไม้ ต่างๆ แต่ก็พร้อมเปิดให้สินค้าจากประเทศสมาชิกเข้าตลาดได้ตามข้อตกลง 2010 ส่วนภาคบริการหรือแรงงาน ฟิลิปปินส์มีความเชื่อว่า แรงงานฟิลิปปินส์ด้านต่างๆ ในหลายๆ สาขาอาชีพ จะได้รับผลทางด้านบวก โดยจะเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์มีการขยายตัวอย่างมาก

ผลต่อสินค้าไทยในประเทศฟิลิปปินส์

สินค้าไทยที่จะสามารถขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น ได้แก่

1. สินค้าเกษตร ประเภท พืช ผัก ผลไม้ อาหารสำเร็จรูป เนื้อสัตว์

2. สินค้าอุตสาหกรรม เช่น อะไหล่รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

รัฐบาลฟิลิปปินส์มีมาตรการ/นโยบายรับมืออย่างไร

รัฐบาลฟิลิปปินส์กำหนดมาตรการระยะแรกในการเปิดเสรี AFTA ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 คือ

1. การกำหนดมาตรฐานการนำเข้าสินค้าโดยเข้มงวดในด้านมาตรฐานการผลิต และสุขอนามัยของสินค้านำเข้า

2. มุ่งพัฒนาด้าน Logistic Support เพื่อลดตุ้นทุนการผลิตให้สินค้าในประเทศมี Competitiveness

3. มาตรการด้านการปกป้องตลาด Safeguard /Anti-Dumping ในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อผู้ผลิตในประเทศ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ