รายงานอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศออสเตรเลีย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 12, 2010 16:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.1 การผลิต

ปัจจุบัน ผู้ผลิตรายใหญ่ทีมีฐานการผลิตในออสเตรเลียมีอยู่ 3 รายสำคัญ ได้แก่ Toyota, Holden และ Ford โดย Mitsubishi Mortors ได้ปิดโรงงานในออสเตรเลียลงเมื่อต้นปี 2008 เพื่อย้ายฐานการผลิตไปยังรัสเซียและจีน บริษัทที่เหลือเป็นรายย่อยที่ผลิตรถยนต์/รถบรรทุกขนาดใหญ่ และผู้ผลิตรายย่อย ซึ่งมีทั้งผลิตประเภทรถยนต์แบบพิเศษ หรือผลิตป้อนบริษัททั้งอื่นอีกต่อหนึ่ง ส่วนใหญ่อุตสาหกรรมจะมีฐานการผลิตที่รัฐ Vicotoria, South Austratia และ New South Wales อีกเล็กน้อย

ในปี 2009 จำนวนยานยนต์ที่ผลิตในออสเตรเลียมีทั้งสิ้น 225,713 คัน มีแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ไม่ต่ำกว่า 50,000 คนทั่วประเทศ รถยนต์ภายในประเทศที่ผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์โดยสารขนาดใหญ่ที่มีขนาดมากกว่า 1500 cc.และมากกว่า 3000 cc. เช่น Ford Falcon, Holden Commodore และ Toyota Camry เป็นต้น

1.2 ยอดขาย

ยอดขายยานยนต์ทั้งสิ้นในออสเตรเลียในปีที่ผ่านมามีจำนวน 937,328 คัน สูงกว่ายอดคาดการณ์ของสมาคมผู้ผลิตสินค้ายานยนต์ของออสเตรเลีย (Federation Chamber of Automotive Industries: FCAI) ซึ่งตั้งไว้ที่ 910,000 คัน อย่างไรก็ตามยอดขายของปี 2009 ลดลงจากยอดขายของปี 2008 ร้อยละ 7.4 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

1.3 การนำเข้า และการส่งออก

การส่งออก อุตสาหกรรมยานยนต์ถือว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการส่งออกของออสเตรเลีย โดยในปี 2008-2009 การส่งออกยานยนต์ของออสเตรเลียมีมูลค่าประมาณ 3 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย ในปี 2008 ออสเตรเลียส่งออกรถยนต์ประมาณ 162,000 คัน คิดเป็นร้อยละ 48 ของรถยนต์ที่ผลิตได้ในประเทศ ตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ประเทศใน Middle East, สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ โดยมีแนวโน้มการส่งออกที่มากขึ้นประเทศจีน อินเดีย และไทย

การนำเข้าและคู่แข่ง มูลค่าการนำเข้ายานยนต์จากต่างประเทศของออสเตรเลียเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างภาษีที่ลดลง และแนวโน้มความนิยมที่มีต่อรถยนต์ขนาดเล็ก รถ 4 วีลไดรฟ์ และรถประเภท luxury car โดยสัดส่วนของยอดขายของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศต่อยอดขายร้อยละ 80 ในช่วงปลายของ 1980 เป็นประมาณร้อยละ 16.9 ในปี 2008

ในปี 2009 (ม.ค.-พ.ย.) ออสเตรเลียนำเข้ายานยนต์จากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 11,363 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 33 แบ่งเป็นรถ passenger car ร้อยละ 73 และรถ pickup truck ร้อยละ 27 โดยแหล่งนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศจากญี่ปุ่น (42.49%) ไทย (17.48%) เยอรมนี (12.45%) เกาหลีใต้ (9.54%) และสหรัฐอเมริการ (6.23%) โดยนำเข้ารถปิ๊กอัพจากไทยเป็นอันดับ 1 ในปีที่ 2009 จีนเริ่มกลับเข้ามาทำตลาดในออสเตรเลียโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถปิ๊กอัพ และอินเดียเพิ่งเข้ามาทำตลาดยานยนต์เป็นครั้งแรกในกลุ่ม passenger car โดยจีนนำเข้ารถปิ๊กอัพเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22.18 ล้านเหรียญออสเตรเลีย และอินเดียนำเข้า passenger car เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 8.3 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ถือเป็นคู่แข่งที่น่าจับตามองแม้มูลค่าการนำเข้าจะยังน้อยอยู่

1.4 การบริโภคและราคา

ผู้บริโภคออสเตรเลียมีแนวโน้มในการใช้รถยนต์ที่มีขนาดเล็กลงและประหยัดน้ำมัน ทำให้ยอดของตลาดของรถยนต์ที่ผลิตได้ในประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ขนาดใหญ่ลดลงจากร้อยละ 30.2 ในปี 2002 เป็นร้อยละ 16.9 ในปี 2008 โดยผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศกำลังให้ความสนใจในการผลิตรถยนต์ที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และโดยการสนันสนุนของรัฐบาลออสเตรเลีย Toyota จะเริ่มผลิต Camry Hybrid ในประเทศเริ่มตั่งแต่เดือนธันวาคม 2552 Ford จะปรับเครื่องยนต์เป็น Ecoboost สำหรับ Ford Falcon โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2011 นอกจากนี้บริษัท Holden จะเริ่มผลิตรถยนต์ขนาดเล็กตั้งแต่ปี 2010

ราคารถยนต์ในออสเตรเลียต่ำกว่าเมืองไทยในโมเดลเดียวกัน ในขณะที่มูลค่ารายได้ต่อหัวของออสเตรเลียอยู่ที่ประมาณ 55,000 ดอลล่าห์ออสเตรเลียต่อปี

2. ช่องทางการจัดจำหน่าย

โดยปกติตัวแทนจำหน่ายจะทำหน้าที่จำหน่ายและให้บริการหลังการจำหน่ายด้วย สำหรับยานยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศมักจะนำเข้าไปยังนครซิดนีย์และเมลเบอร์ก่อน แล้วกระจายไปยังเมืองอื่นๆ ทั่วประเทศ

3. กฎระเบียบข้อกำหนดต่างๆ ในการนำเข้าและภาษีนำเข้า

3.1 ยานยนต์ทุกชนิดต้องผ่านการตรวจสอบโดย The Vehicle Safety Standards ซึ่งเป็นหน่วนงานในสังกัดของ Department of Transport and Reginal Services เพื่อรับใบอนุญาตแสดงว่าได้ผ่านมาตรฐานยานยนต์ของออสเตรเลีย ซึ่งยานยนต์ทุกชนิดที่จะจำหน่ายในออสเตรเลีย จะต้องเป็นไปตาม Australina Design Rules โดย Motor Vehicles and Trailers ซึ่งประมาณ 60% ของ ข้อกำหนดดังกล่าว ในส่วนของ Motor Vehicles and Trailers สอดคล้องกับเงื่อนไข UN/ECE ซึ่งเงื่อนไขหลักๆ ได้แก่ ความปลอดภัยเกี่ยวกับเรื่องไฟ, มุมมองของผู้ขับขี่, ระบบป้องกันขโมย, เบรค เป็นต้น ยานยนต์แต่ละประเภทจะมีเอกสาร และขั้นตอนในการตรวจสอบ ที่แตกต่างกันดังนั้นควรศึกษารายละเอียดหรือประสานกับผู้นำเข้าอย่างใกล้ชิด (รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้ที่ www.dotars.gov.au - DOTARS Transport Regulation Standards)

3.2 ชำระภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม (GST) และภาษีรถยนต์ฟุ่มเฟือย (Luxury Car Tax ในกรณีที่เข้าข่าย)

3.3 อัตราภาษีการนำเข้ายานยนต์

          สินค้ายานยนต์           อัตราภาษี            อัตราภาษีไทยภายใต้
                                 ปกติ              TAFTA ตั้งแต่วันที่
                               ปี 2010             1 มกราคม 2550
8703  PASSENGER MOTOR             5%                  Free
8704  MOTOR TRUCKS                5%                  Free

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ