1. ภาวะการผลิต/แหล่งวัตถุดิบภายในประเทศ
- แหล่งวัตถุดิบ เช่น
ซานตง Sapphire
ยูนนาน Ruby Emerald
เหลี่ยวหนิง Xiuyan Jade
- โรงงานผลิต - ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองเซินเจ้น มณฑลกวางตุ้ง
- ในมณฑลเสฉวนมีผู้ผลิตน้อยมาก
2. ข้อมูลทางการตลาด
- พฤติกรรมผู้บริโภค - นิยมเพชรเดี่ยว คุณภาพสูง มีใบประกาศคุณภาพ
- ดีไซน์ฮ่องกง
- กลุ่มวัยรุ่น/ทำงาน นิยมเครื่องประดับเงินมีดีไซน์ ขนาดใหญ่
- มีการแต่งงานจำนวนมาก เพรชจึงเป็นอัญมณีจำหน่ายได้ดีและมีความต้องการสูง
- การกำหนดราคาขาย - ราคาขายปลีกกำหนดตามคุณภาพสินค้า รูปแบบดีไซน์
- ขนาดตลาดปี 2008 - ปริมาณการจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในจีน 190 พันล้านหยวน
- จีนผลิตไข่มุกได้ 1400 ตัน มากที่สุดในโลก
- ผลิตทองได้ 282 ตัน กลายเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่สุดในโลก
- ช่องทางการจำหน่าย - บริษัทในฮ่องกงเปิดสาขาแฟรนไชน์ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ และย่านธุรกิจ สำคัญในเขตเมือง เช่น
นครเฉิงตู มหานครฉงชิ่ง
- การส่งเสริมการจำหน่าย - ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัทแม่ เช่น การลดราคาเป็นหลัก
3. โครงสร้างภาษี อาทิ อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ
- ภาษีนำเข้าร้อยละ 0
- ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 17
4. ข้อกีดกันทางการค้า
- Non-Tariff Barriers สินค้าบางรายการต้องขออนุญาตนำเข้า
5. อื่นๆ
- อุตสาหกรรมอัญมณีมีการพัฒนาสูงในมณฑลสำคัญ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง(เซินเจ้น)
- สมาคมในมณฑลตอนในยังไม่เข้มแข็ง มีสมาชิกไม่มากนักและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เช่น อัญมณีประเภทหินสีจากทิเบต ซีอาน หยกพม่า
- งานแสดงสินค้าเฉพาะมีน้อยและยังไม่ได้มาตรฐาน
- สมาคมนิยมเดินทางไปชมงานแสดงสินค้าที่ฮ่องกง เนื่องจากผู้จัดงานสนับสนุนค่าใช้จ่าย เช่น ที่พัก อาหารและเงินขวัญถุง ตลอดจน การเดินทางประเทศจีนไปฮ่องกงไม่เสียค่าวีซ่า ปกติค่าธรรมเนียมการขอวีซ่าประเภทท่องเที่ยวเข้าประเทศไทย 230 หยวนต่อคน ประเภทธุรกิจ 450 หยวนต่อคน (ขณะนี้ประเทศไทย ยกเว้นค่าวีซ่าประเภทท่องเที่ยวถึงวันที่ 4 มีนาคม 2553)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู
ที่มา: http://www.depthai.go.th