ตลาดผลิตภัณฑ์ยางพาราในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 19, 2010 14:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ผลผลิต
                              ล้านยูโร      ส่วนแบ่ง %      กิจการผู้ผลิต
ผลผลิตโดยเฉลี่ยปีละ               10,484
ปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.)           4,412.5       100.0           358
- ยางรถเก๋ง                   1,174.4        26.6             6
- แท่นยางเสริมเหล็ก               323.9         7.3            29
- ปะเก็น                        242.1         5.5            63
- ยางรถบรรทุกเบา                170.6         3.9             5
- ยางรถบรรทุกหนัก                166.4         3.8             3

มูลค่าผลผลิตสินค้าทำด้วยยางพาราของเยอรมนีปี 2549 — 2552 (ม.ค.-มิ.ย.)

หน่วย = ล้านยูโร

ชนิดสินค้า                  ปี 2549      ปี 2550      ปี 2551      ปี 2551     ปี 2252     +/- %      กิจการ

ม.ค.-มิ.ย. ม.ค.-มิ.ย. ม.ค.-มิ.ย. ปี 2552 - ยางยานยนต์ใหม่

และยางหล่อดอก            4,031.3     4,273.6     3,989.5     2,125.5    1,639.3    -22.87        25
- ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ          6,718.9     7,275.5     7,266.1     3,900.6    2,773.2    -28.95       333
รวมทั้งสิ้น                10,750.2    11,549.1    11,255.6     6,028.9    4,412.5    -26.81       358
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ เยอรมัน

2. การนำเข้า

ล้านเหรียญสหรัฐ +/- แหล่งนำเข้าสำคัญ และส่วนแบ่ง %

มูลค่านำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ           10,509.6            ฝรั่งเศส (13.9) เช็ค (9.2) อิตาลี (7.0) โปแลนด์ (6.2) ไทย (1.4)
- ปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.)           6,577.8   -30.5%
ประกอบด้วย
- ยางยานพาหนะ                  3,762.0   -24.7%   ฝรั่งเศส (16.3) เช็ค (10.1) เนเธอร์แลนด์ (7.1) สโลเวเกีย (6.4) ไทย (0.8)
- ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ (ปะเก็น)         1,020.6   -36.8%   ฝรั่งเศส (16.5) อิตาลี (12.1) เช็ค (8.8) อังกฤษ (7.7) ไทย (0.11)
- ยางรัดของ                       592.6   -49.0%   เช็ค (10.6) โปแลนด์ (9.9) สเปน (8.6) อิตาลี (8.3) ไทย (0.7)
- ท่อยาง สายยาง                   430.4   -37.9%   เช็ค (13.9) อิตาลี (12.3) ฮังการี (11.1) โปแลนด์ (8.8) ไทย (0.5)


3. การส่งออก

ล้านเหรียญสหรัฐ +/- แหล่งนำเข้าสำคัญ และส่วนแบ่ง %

มูลค่าส่งออกโดยเฉลี่ยปีละ            11,250.1            ฝรั่งเศส (11.6) อังกฤษ (7.1) อิตาลี (6.8) สเปน (6.3) ออสเตรีย(6.2)
- ปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.)            7,270.5   -26.9%
ประกอบด้วย
- ยางยานพาหนะ                   3,762.0   -22.9%   ฝรั่งเศส (13.3) อิตาลี (9.3) อังกฤษ (8.0) สเปน (7.5)
- ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ (ปะเก็น)          3,762.0   -27.4%   ฝรั่งเศส (11.5) โปแลนด์ (8.3) เช็ค (8.0) อังกฤษ (6.1)
- ยางรัดของ                        930.8   -32.6%   ฝรั่งเศส (8.4) สหรัฐ (8.3) จีน (7.2) อังกฤษ (6.3)
- ท่อยาง สายยาง                    597.8   -40.1%   ฝรั่งเศส (8.7) ออสเตรีย (8.5) จีน (6.5) อังกฤษ (6.5)

4. การค้ากับประเทศไทย

เยอรมนีนำเข้าผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางจากประเทศไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 106.4 ล้านเหรียญสหรัฐ(ระหว่างปี 2549 — 2551) สำหรับปี 2552 ในช่วง 9 เดือนแรก มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 90.0 ล้านเหรียญสหรัฐมูลค่าลดลงร้อยละ 30.5 ดังนี้

4.1 ถุงมือยาง

ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2552 เยอรมนีนำเข้าถุงมือยางจากประเทศไทยมูลค่า 48.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 53.3 ของผลิตภัณฑ์ยางที่นำเข้าจากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.1 ไทยมีส่วนตลาดร้อยละ 17.4 แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ มาเลเชีย เนเธอร์แลนด์ และออสเตรีย มีส่วนแบ่งร้อยละ 36.5, 10.8 และ 9.3 ตามลำดับ

สถิติการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางประเภทต่างๆ ของเยอรมันจากไทยในปี 2547 — 2550 (ม.ค.-มิ.ย.)

                                               ล้านเหรียญสหรัฐ                      %ส่วนตลาด          %เพิ่ม/ลด
                                 2549   2550   2551    2551       2552        2551      2552        52/51

ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย.

ผลิตภัณฑ์ทำด้วยยาง                   92.8  109.2   117.1    93.8      90.0        0.99        1.37       -30.5
550 c ถุงมือยาง                    48.6   56.7    61.0    47.4      48.0       50.59       53.29       + 1.1
550 a ยางยานพาหนะ                29.0   32.4    31.0    26.8      31.0       28.57       34.44       +15.7
550 b ยางรัดของ และสินค้ายางอ่อนอื่นๆ   6.2    8.0     8.2     6.4       4.2        6.85        4.62       -35.2
550 f สินค้ายางใช้ทางเภสัชกรรม        2.8    5.6     7.1     5.6       3.2        5.96        3.59       -42.2
550 d หลอด ท่อยาง                  4.6    4.2     7.1     5.9       2.1        6.34        2.37       -64.1
550 h ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ                1.3    1.7     1.2     0.9       1.1        0.92        1.25       +29.3
550 g ยางวัลคาไนท์                  0.2    0.3     1.1     0.5       0.2        0.51        0.24       -54.4
550 e สายพาน สายลำเลียง            0.1    0.3     0.3     0.3       0.2        0.26        0.21       -25.2
ที่มา: Eurostat, สำนักงานสถิติแห่งชาติ เยอรมัน

4.2 ยางยานพาหนะ

ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2552 มีการนำเข้าจากไทยมูลค่า 31.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 34.4 ของผลิตภัณฑ์ยางที่เยอรมนีนำเข้าจากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.82 แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส เช็ค และเนเธอร์แลนด์ มีส่วนแบ่งร้อยละ 16.3, 10.1 และ 7.4 ตามลำดับ

4.3 ยางรัดของและสินค้ายางอ่อนอื่นๆ

ในปี 2552 ในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) เยอรมนีนำเข้าสินค้ารายการนี้จากไทยเป็นมูลค่า 4.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 35.2 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.7 คู่ค้าอื่นๆ ที่สำคัญๆ ได้แก่ เช็ค โปแลนด์ และ สเปน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.6 , 9.9 และ 8.6 ตามลำดับ

5. อัตราภาษีและข้อจำกัดทางการค้า

5.1 การนำเข้าสามารถทำได้อย่างเสรี ไม่มีข้อจำกัด

5.2 อัตราภาษีนำเข้าระหว่างร้อยละ 2 — 6.5 ของมูลค่าสินค้าที่นำเข้า โดยมีอัตรา สำคัญๆ สำหรับสินค้าแต่ละชนิด ดังนี้

  • ถุงมือยางใช้ทางการแพทย์ ร้อยละ 2.0
               -  ถุงมือยางอื่นๆ             “    2.7
               -  ยางรถยนต์               “    4.5
               -  ยางใน                  “    4.0
               -  ท่อยาง                  “    3.0
  • แท่นยาง หรือที่ใช้ทางเทคนิค “ 3.5
               -  สายพาน                 “    6.5

นอกจากนี้จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 19 ของมูลค่าสินค้าที่นำเข้า ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับสินค้าอื่นๆ

5.3 ในด้านข้อจำกัดทางการค้า เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพสินค้า ที่ต้องผลิตให้ได้มาตรฐาน และมีคุณสมบัติ คุณภาพถูกต้อง และเหมาะสมกับการใช้งานในด้านต่างๆ ซึ่ง หากเกิดผิดพลาด และก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ โดยสามารถพิสูจน์ได้ว่า เกิดจากความผิด ความบกพร่องของผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ผลิตสินค้านั้นๆ จะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้น

5.4 ในการผลิตสินค้า จะต้องระวังเกี่ยวกับตัวยา สารเคมีที่ใช้ ต้องไม่ขัดกับระเบียบ Reach ที่มีรายชื่อสารเคมีต่างๆ ที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตผลิต

6. ช่องทางการตลาด

(1) นำเข้าโดยตรงจากผู้ใช้หรือโรงงานอุตสาหกรรม

(2) นำเข้า โดยผู้นำเข้า (Importer) หรือ ตัวแทนจัดซื้อ (Buying Agent) เพื่อส่งมอบให้กับผู้ใช้หรือโรงงานอุตสาหกรรมตามสัญญาต่อไป ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมมากกว่ารูปแบบตามข้อ (1)

7. แนวโน้มการตลาด

7.1 ผลผลิตสินค้าทำด้วยยางในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิต

7.2 สินค้าทำด้วยยางที่เยอรมนีนำเข้าจากต่างประเทศ เกือบทั้งหมดจะใช้ในอุตสาหกรรมยานพาหนะในประเทศ ดังนั้น ภาวะความต้องการสินค้าของเยอรมนีจึงเกี่ยวพันกับภาวะเศรษฐกิจอุตสากรรมการผลิตรถยนต์เป็นสำคัญ ซึ่งปัจจุบันได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ทำให้ความต้องการตลาดจะลดน้อยลงมากในปี 2553 เนื่องจากในปี 2552 ที่ผ่านมา มีมาตรการส่งเสริมการซื้อรถใหม่ทำให้ยอดการขายรถยนต์เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 25 เป็นจำนวนกว่า 3.5 ล้านคัน ทำให้ในปีนี้การผลิตรถใหม่จะมีปริมาณลดลงมาก ส่งผลให้ความต้องการสินค้ายางประเภทนี้ลดลง

7.3 สำหรับถุงมือยาง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกของไทยสำคัญของไทย ตลาดยังคงมีความต้องการต่อเนื่องสินค้าคุณภาพที่มีราคาเหมาะยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศฯ ณ กรุงเบอร์ลิน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ